คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.อ. (ฉบับที่ 17) พ.ศ.2532

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับ เนื่องจากคำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดในคดีผิดสัญญาประกันต่อศาล
กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลสั่งปรับผู้ประกัน ผู้ประกันยื่นคำร้องขอลดค่าปรับ ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผู้ประกันจะฎีกาไม่ได้ เพราะคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัยหลังพ.ร.บ.แก้ไขป.วิ.อาญา (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 บัญญัติให้คำวินิจฉัยศาลอุทธรณ์ในคดีผิดสัญญาประกันเป็นที่สุด
ผู้ประกันประกันตัวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันถูกศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันเป็นเงิน 300,000 บาท ผู้ประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ประกันยื่นฎีกาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 อันเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นฎีกา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขแล้ว และ ใช้บังคับในขณะที่ผู้ประกันยื่นฎีกาบัญญัติไว้ว่า "กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2055/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การผิดสัญญาประกันตัวและการสิ้นสุดสิทธิฎีกาตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่แก้ไขใหม่
ผู้ประกันประกันตัวจำเลยในระหว่างอุทธรณ์ ต่อมาผู้ประกันผิดสัญญาประกันถูกศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ประกันตามสัญญาประกันเป็นเงิน 300,000 บาท ผู้ประกันอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนผู้ประกันยื่นฎีกาวันที่ 1 พฤศจิกายน 2532 อันเป็นเวลาหลังจากที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา(ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2532 มีผลใช้บังคับแล้ว สิทธิในการฎีกาจึงต้องพิจารณาตามบทกฎหมายที่ใช้ในขณะยื่นฎีกา ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119 ที่แก้ไขแล้ว และใช้บังคับในขณะที่ผู้ประกันยื่นฎีกาบัญญัติไว้ว่า "กรณีผิดสัญญาประกันต่อศาล ศาลมีอำนาจสั่งบังคับตามสัญญาประกันหรือตามที่ศาลเห็นสมควรโดยมิต้องฟ้องเมื่อศาลสั่งประการใดแล้ว ฝ่ายผู้ถูกบังคับตามสัญญาประกันหรือพนักงานอัยการมีอำนาจอุทธรณ์ได้ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ให้เป็นที่สุด" ดังนั้น กรณีของผู้ประกันจึงเป็นที่สุดไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกา: พิจารณาจากบทกฎหมายและสิทธิ ณ วันยื่นฎีกา กรณีศาลชั้นต้น/อุทธรณ์สั่งปรับ
การพิจารณาว่าผู้ขอประกันมีสิทธิฎีกาได้หรือไม่เพียงไรต้องพิจารณาตามบทกฎหมายและสิทธิในวันยื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ขอประกัน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน สิทธิของผู้ขอประกันจึงเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ที่แก้ไขและมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ที่ผู้ขอประกันยื่นฎีกา.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 391/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฎีกาของผู้ขอประกัน พิจารณาจากกฎหมายในวันยื่นฎีกา แม้ศาลชั้นต้นและอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว
การพิจารณาว่าผู้ขอประกันมีสิทธิฎีกาได้หรือไม่เพียงไรต้องพิจารณาตามบทกฎหมายและสิทธิในวันยื่นฎีกา เมื่อศาลชั้นต้นสั่งปรับผู้ขอประกัน และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน สิทธิของผู้ขอประกันจึงเป็นที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ที่แก้ไขและมีผลใช้บังคับก่อนวันที่ที่ผู้ขอประกันยื่นฎีกา.