คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 ม. 119 วรรคสาม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายและเงินมัดจำ: การตีความเอกสารสัญญาเมื่อข้อความขัดแย้งกัน
สัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ระบุว่าตกลงวางมัดจำในวันทำสัญญา 100,000 บาท และมีรายการกำหนดเวลาชำระเงินส่วนที่เหลือไว้เป็น 2 งวด เมื่อครบกำหนดชำระงวดแรกผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเพิ่มเงินมัดจำขึ้นอีก แต่ข้อความในสัญญาดังกล่าวระบุชัดว่าผู้จะขายได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระงวดแรก ตามที่ระบุไว้ในสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขาย แม้ผู้ร้องจะมีพยานมานำสืบอธิบายสัญญาว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินมัดจำก็ขัดกับข้อความในเอกสาร ฟังได้ว่าสัญญาเพิ่มเงินมัดจำคือหลักฐานการชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายนั่นเอง ผู้ร้องหามีสิทธิรับเงินจำนวนดังกล่าวไม่เมื่อมีการเลิกสัญญาแล้วผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 737/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคำร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ในคดีล้มละลาย: ศาลฎีกาตัดสินให้คิดค่าธรรมเนียมตามตาราง 2(3) ป.วิ.พ. เพียง 20 บาท
ในคดีล้มละลายที่ผู้คัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้น พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 119 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดให้ทำเป็นคำร้องซึ่งค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับคำร้องนี้พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 179 มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ ดังนี้ผู้คัดค้านต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาท ตามตาราง 2(3) ท้าย ป.วิ.พ..

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6159/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าธรรมเนียมคดีล้มละลาย: การคัดค้านการยืนยันหนี้ – คำร้อง vs. คดีมีทุนทรัพย์
ในคดีล้มละลายที่ผู้ร้องร้องคัดค้านการยืนยันหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นั้นพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 119 วรรคสอง และวรรคสาม กำหนดให้ผู้คัดค้านดังกล่าวทำเป็นคำร้องยื่นต่อศาล ซึ่งค่าธรรมเนียมในคดีล้มละลายเกี่ยวกับคำร้องนี้มิได้บัญญัติไว้ในกฎหมายล้มละลาย ผู้ร้องต้องเสียค่าคำร้อง 20 บาทตามตาราง 2(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ประกอบด้วยมาตรา 179 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2239/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านหนี้ในคดีล้มละลาย: ความสำคัญของกรอบเวลาตามกฎหมาย และผลของการยื่นคำคัดค้านเกินกำหนด
ผู้ร้องบรรยายมาในคำร้องว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ไปยังผู้ร้อง และผู้ร้องได้รับหนังสือเมื่อวันที่10 มีนาคม 2531 ครบกำหนดที่ผู้ร้องจะต้องคัดค้านต่อศาลภายใน14 วัน คือวันที่ 24 มีนาคม 2531 คำร้องของผู้ร้องจึงตรงตามนัยพ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 119 วรรคสาม แต่เมื่อผู้ร้องมายื่นคำร้องคัดค้าน ในวันที่ 8 เมษายน 2531 ซึ่งเห็นได้ชัดว่าเกินกำหนดเวลาที่จะต้องยื่นคำคัดค้าน และการคัดค้านไม่ชอบถือว่าไม่มีคำร้องคัดค้านยื่นต่อศาล การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแก้ไขคำร้องคัดค้าน ในวันที่ 29 เมษายน 2531 เพื่อให้เห็นว่าผู้ร้องยื่นคำคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามกฎหมายนั้น จึงไม่มีคำร้องคัดค้านที่จะต้องแก้ไข.