พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2364/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างซ้ำคำเตือน แม้ไม่เป็นไปตามขั้นตอนการลงโทษตามระเบียบ
แม้ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างจะกำหนดขั้นตอนการลงโทษเป็นข้อ ๆ ตามลำดับว่า 1. ตักเตือนด้วยวาจา 2. ตักเตือนเป็นลายลักษณ์อักษร 3. พักงานชั่วคราวโดยไม่ได้รับค่าจ้าง 4. ตัดค่าจ้าง 5. ปลดออก 6. ไล่ออก เว้นแต่กรณีความผิดร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องลงโทษตามขั้นตอนก็ตาม แต่ก็ได้กำหนดไว้ด้วยว่า พนักงานซึ่งไม่ปฏิบัติตามระเบียบวินัยและข้อบังคับอาจถูกผู้บังคับบัญชาหรือฝ่ายบุคคลพิจารณาลงโทษได้ตามลักษณะความผิดเป็นกรณี ๆ ไป โดยไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอน ดังนั้น เมื่อพนักงานกระทำความผิดในกรณีไม่ร้ายแรง แต่เป็นการกระทำผิดซ้ำคำตักเตือน นายจ้างก็มีอำนาจปลดออกหรือไล่ออกได้ หาจำต้องลงโทษตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ไม่
ก่อนมีคำสั่งเลิกจ้าง จำเลยเคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532 ระบุว่า โจทก์หยุดงานโดยไม่ลาและไม่มีเหตุอันควรในวันที่ 1, 4, 6 และ 8 กันยายน 2532 เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในเรื่องการหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร คำตักเตือนของจำเลยจึงเป็นการตักเตือนโจทก์เกี่ยวกับการหยุดงานโดยไม่ลากิจล่วงหน้า หรือลาป่วยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่โจทก์ขาดงานในวันที่ 4, 9, 20, 23, 31 มกราคม 2533 และวันที่ 1, 3 กุมภาพันธ์ 2533 โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ยื่นใบลากิจหรือลาป่วยเช่นเดียวกันอีก จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
ก่อนมีคำสั่งเลิกจ้าง จำเลยเคยมีหนังสือตักเตือนโจทก์เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2532 ระบุว่า โจทก์หยุดงานโดยไม่ลาและไม่มีเหตุอันควรในวันที่ 1, 4, 6 และ 8 กันยายน 2532 เป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับในเรื่องการหยุดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควร คำตักเตือนของจำเลยจึงเป็นการตักเตือนโจทก์เกี่ยวกับการหยุดงานโดยไม่ลากิจล่วงหน้า หรือลาป่วยตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่โจทก์ขาดงานในวันที่ 4, 9, 20, 23, 31 มกราคม 2533 และวันที่ 1, 3 กุมภาพันธ์ 2533 โดยไม่มีเหตุอันสมควรและไม่ยื่นใบลากิจหรือลาป่วยเช่นเดียวกันอีก จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือน จำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า