คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 ม. 143

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานก่อน แม้ศาลจะอนุญาตภายหลัง ก็ไม่ทำให้ความผิดนั้นสิ้นสุด
ตาม บทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างด้วย เหตุอันใดนายจ้างจะต้องได้ รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อนเสมอจึงจะเลิกจ้างได้ จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมซึ่ง เป็นกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 โดย มิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางก่อนเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ. 2518 ต้อง รับโทษตาม มาตรา 143 และต้องถือ ว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่ วันดังกล่าว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อ ศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ร่วมและศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมโดย ให้มีผลย้อนหลังไปถึง วันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เป็นความผิดอยู่แล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดไปได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3016/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างต้องได้รับอนุญาตศาลก่อน แม้ศาลอนุญาตย้อนหลังก็ไม่ทำให้ความผิดหมดไป
ตามบทบัญญัติมาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ไม่ว่าจะเป็นการเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างด้วยเหตุอันใด นายจ้างจะต้องได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานเสียก่อนเสมอจึงจะเลิกจ้างได้
จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้าง เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 โดยมิได้รับอนุญาตจากศาลแรงงานกลางก่อน เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 52 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 ต้องรับโทษตาม มาตรา 143 และต้องถือว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดสำเร็จตั้งแต่วันดังกล่าว แม้ต่อมาภายหลังจำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องต่อศาลแรงงานกลางขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ร่วม และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์ร่วมโดยให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่ 19 พฤษภาคม 2529 ก็ตาม ก็ไม่มีผลให้การกระทำของจำเลยทั้งสองที่เป็นความผิดอยู่แล้วกลายเป็นการกระทำที่ไม่เป็นความผิดไปได้