พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7332/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่, นับโทษกรรมต่างกันชอบ, อายุความความผิดปรับ
จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงที่จำเลยมิได้ยกขึ้นอ้างไว้ในฟ้องอุทธรณ์เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
กฎหมายเป็นเครื่องมือของรัฐที่ใช้สำหรับจัดระเบียบสังคมให้ผู้คนในสังคมได้อยู่ร่วมกันด้วยความปกติสุข เมื่อจำเลยกระทำผิดก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อยในสังคมแล้ว จำเลยจึงต้องถูกลงโทษตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ในความผิดเรื่องนั้น ๆ จำเลยกระทำผิดในคดีอาญาเป็นการกระทำต่างกรรมกัน การที่ศาลล่างทั้งสองให้นับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษในคดีอาญาอีกคดีหนึ่งเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมายตามที่โจทก์ขอมาท้ายฟ้อง เป็นการใช้ดุลพินิจชอบ ไม่ได้ขัดต่อสิทธิมนุษยชนใด ๆ
ข้อหาความผิดตาม ป.อ. มาตรา 371 มีโทษปรับไม่เกินหนึ่งร้อยบาท จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตามมาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 28 พฤษภาคม 2542 เกิน 1 ปีคดีของโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา, การปรับบทลงโทษผิดพลาด, และข่มขู่เจ้าพนักงาน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนไว้ในครอบครองตามฟ้อง กระทงแรก มาตรา 7, 72 วรรคสาม ศาลล่างปรับบทลงโทษฐานมีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นไว้ในครอบครองตาม พ.ร.บ. อาวุธปืนฯ ซึ่งมีระวางโทษ จำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท เพียงบทเดียว โดยมิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยฐาน มีเครื่องกระสุนปืนตามมาตรา 7, 72 วรรคสอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ และโจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาคัดค้านในส่วนนี้ ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืน จึงเป็นอันยุติไปตาม คำพิพากษาศาลล่าง สำหรับข้อหามีอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นและข้อหาพาอาวุธปืนตามฟ้องกระทงที่สอง ซึ่งมีระวางโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 1,000 บาท ถึง 10,000 บาท กับเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ซึ่งมีระวางโทษปรับไม่เกิน 100 บาท อีกบทหนึ่งด้วยนั้น โจทก์มิได้ฟ้องภายใน 10 ปี นับแต่วันกระทำความผิด จึงเป็นอันขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (3) และมาตรา 95 (5)
จำเลยกระทำความผิดโดยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งขู่เข็ญเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะเข้าจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก และวรรคสาม ซึ่งคำนวณแล้วมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลล่างจะปรับบทลงโทษว่าเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้คดีโจทก์ในความผิดนี้ต้องขาดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 (3) ไม่ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล่างปรับบทลงโทษผิดพลาด
จำเลยกระทำความผิดโดยใช้อาวุธปืนจ้องเล็งขู่เข็ญเจ้าพนักงานตำรวจซึ่งจะเข้าจับกุมจำเลย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก และวรรคสาม ซึ่งคำนวณแล้วมีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 15,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ แม้ศาลล่างจะปรับบทลงโทษว่าเป็นความผิดตามมาตรา 138 วรรคสอง ประกอบมาตรา 140 วรรคแรก ซึ่งระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับก็ตาม ก็หาเป็นเหตุให้คดีโจทก์ในความผิดนี้ต้องขาดอายุความฟ้องร้องตามมาตรา 95 (3) ไม่ เพราะเป็นกรณีที่ศาลล่างปรับบทลงโทษผิดพลาด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8946/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาทุจริตในการปล้นทรัพย์ – อายุความความผิดฐานทำร้ายร่างกาย – ศาลยกฟ้อง
การที่พวกของจำเลยได้กระชากสร้อยคอของผู้เสียหายที่ 1 และที่ 2 ไปในระหว่างที่จำเลยกับพวกได้ร่วมกันทำร้ายผู้เสียหายทั้งสอง เป็นเจตนาทุจริตของพวกจำเลยที่เกิดขึ้นในระหว่างการทำร้ายเฉพาะหน้าจำเลยอย่างปัจจุบันทันด่วนโดยจำเลยไม่คาดคิดมาก่อน และไม่ทราบว่าพวกของจำเลยมีอาวุธมีดที่ใช้ฟันผู้เสียหายที่ 2 ติดตัวมาด้วย ถือไม่ได้ว่าจำเลยมีส่วนรู้เห็นในการกระทำของพวกจำเลย จำเลยจึงไม่ได้ร่วมมีเจตนาทุจริตกับพวกจำเลยด้วย จำเลยไม่ต้องรับผลในการกระทำของพวกจำเลย การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยกับพวกใช้กำลังชกต่อยผู้เสียหายทั้งสอง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แต่เนื่องจากความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าไม่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันกระทำผิด คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อคดีนี้จำเลยกระทำผิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานปล้นทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 340 โดยบรรยายฟ้องด้วยว่าจำเลยกับพวกใช้กำลังชกต่อยผู้เสียหายทั้งสอง แม้ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานปล้นทรัพย์ตามฟ้อง แต่เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทำร้ายผู้เสียหายที่ 1 โดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย แต่เนื่องจากความผิดตาม ป.อ. มาตรา 391 มีระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าไม่ได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำผิดมายังศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันกระทำผิด คดีย่อมขาดอายุความตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) เมื่อคดีนี้จำเลยกระทำผิดวันที่ 3 กรกฎาคม 2537 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 10 ตุลาคม 2540 ซึ่งเกินกว่า 1 ปี ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ ศาลต้องพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 185 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกาพิจารณาเองได้แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา43, 78, 157, 160 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมา จึงมีอายุความเพียง 1 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 95 (5) จำเลยกระทำความผิดวันที่ 4 มกราคม 2529 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 8 มิถุนายน 2537 คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไป ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6) ปัญหานี้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2870/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีจราจร: ศาลฎีกายกฟ้องข้อหาจราจรที่ขาดอายุความ แม้ไม่มีการอุทธรณ์
ข้อหาความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522มาตรา43,78,157,160วรรคหนึ่งมีอัตราโทษจำคุกตั้งแต่1เดือนลงมาจึงมีอายุความเพียง1ปีตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา95(5)จำเลยกระทำความผิดวันที่4มกราคม2529นับถึงวันฟ้องคือวันที่8มิถุนายน2537คดีของโจทก์สำหรับความผิดตามมาตราดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา39(6)ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ฎีกาศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5494/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีอาญา พิจารณาจากอัตราโทษของความผิดที่ศาลลงโทษ แม้ฟ้องตามข้อหาอื่น
อายุความฟ้องคดีอาญาตาม ป.อ. มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษของความผิดที่พิจารณาได้ความ เมื่อได้ความเป็นยุติว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 390 ซึ่งมีอายุความฟ้องภายใน 1 ปี ตามมาตรา 95(5) และปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้เกิน1 ปี นับแต่วันกระทำผิด ฟ้องโจทก์จึงขาดอายุความ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1124/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดรถกรณีอุบัติเหตุและการหมดอายุความของความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการยึดยังอยู่ในอำนาจตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องกล่าวเป็นประเด็นในคำฟ้องว่า จำเลยทั้งสองยึดรถของโจทก์ไว้โดยไม่มีสิทธิและอำนาจที่จะพึงกระทำได้ โจทก์ไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจกระทำการยึดรถไว้โดยไม่มีความจำเป็นที่ต้องกระทำ ข้อเท็จจริงตามฎีกาโจทก์ที่ว่าเจ้าพนักงานไม่มีความจำเป็นต้องยึดรถโจทก์ไว้ต่อไปแล้ว จึงเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์เพิ่งยกขึ้นมาอ้างในชั้นฎีกา ไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม2526 ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด
โจทก์อ้างว่า ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 160วรรคแรก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนหรือปรับไม่เกินสองพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับคดีจะขาดอายุความในหนึ่งปีตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 (5) พนักงานเจ้าหน้าที่จึงมีอำนาจยึดรถไว้ถึงวันที่ 1 มกราคม 2527 เท่านั้น พ้นจากนั้นอำนาจในการยึดย่อมสิ้นสุดลง และจะต้องคืนรถทันที จำเลยทั้งสองไม่คืนให้เป็นการละเมิดโจทก์ ปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 19 ธันวาคม2526 ในวันดังกล่าวจำเลยทั้งสองยังมีอำนาจยึดรถของโจทก์ไว้ได้ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกพ.ศ.2522 มาตรา 78 การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว: ความผิดสำเร็จรายปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่มีอายุเกิน 12 ปีแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ. 2493 มาตรา 5 จำเลย ต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถ้าไม่มีก็เป็นความผิดซึ่งมาตรา 20 กำหนดโทษปรับเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 500 บาท ตลอดเวลาที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จในแต่ละปีไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ความผิดในปีสุดท้ายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 240/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดคนต่างด้าวไม่มีใบสำคัญประจำตัว: ความผิดสำเร็จรายปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง
จำเลยเป็นคนต่างด้าวที่มีอายุเกิน 12 ปีแล้ว อยู่ในราชอาณาจักรไทยตลอดมาโดยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวตามพระราชบัญญัติทะเบียนคนต่างด้าว พ.ศ.2493 มาตรา 5 จำเลยต้องมีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าว ถ้าไม่มีก็เป็นความผิดซึ่งมาตรา 20 กำหนดโทษปรับเป็นรายปี ปีละไม่เกิน 500 บาท ตลอดเวลาที่จำเลยไม่มีใบสำคัญประจำตัวคนต่างด้าวความผิดดังกล่าวเป็นความผิดสำเร็จในแต่ละปี ไม่ใช่ความผิดต่อเนื่อง ความผิดในปีสุดท้ายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3118/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินโดยสุจริตหลังประกาศให้พิสูจน์สิทธิ และเจตนาความผิดทางอาญา
เพื่อดำเนินการตามมติของคณะรัฐมนตรีที่ให้จัดการสำรวจป่าไม้หรือที่สงวนหวงห้ามซึ่งมีราษฎรบุกรุกเข้าไปทำกิน แล้วพิจารณาว่าที่แห่งใดสมควรถอนการสงวนให้ราษฎรทำกินต่อไป ตามประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ใดถอนการสงวนไม่ได้ ควรผ่อนผันให้ราษฎรทำกินต่อไปโดยวิธีการเช่า หรือตามระเบียบที่จะควบคุมไม่ให้เกิดความเสียหาย และถ้าจำเป็นจะต้องให้ราษฎรที่บุกรุกออกจากที่สงวนนั้น ก็ให้นิคมสร้างตนเองรับเป็นสมาชิก ผู้ว่าราชการจังหวัดจึงออกประกาศให้ผู้อ้างสิทธิว่าเป็นเจ้าของที่ดินในที่ดินสาธารณประโยชน์หรือที่สงวนหวงห้าม"เหล่าหนองโน" ไปยื่นคำร้องขอพิสูจน์สิทธิต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2513จำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินส่วนหนึ่งของที่ดิน"เหล่าหนองโน" อยู่ก่อนแล้ว เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศดังกล่าว ทำให้จำเลยเข้าใจโดยสุจริตว่านับตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2513 เป็นต้นไป จำเลยครอบครองที่ดินตามฟ้องโดยชอบโดยทางราชการผ่อนผันให้ครอบครองไปจนกว่าทางราชการจะพิจารณาแล้วเห็นว่าจำเป็นจะต้องให้จำเลยออกจากที่ดินและแจ้งให้ออกแล้ว ดังนั้น แม้ต่อมานายอำเภอได้แจ้งให้จำเลยออกไปจากที่ดินนั้น โดยอ้างว่า การที่จำเลยบุกรุกเข้าไปครอบครองที่ดินนั้นก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่สาธารณชน จำเลยทราบคำสั่งแล้วไม่ออกไป ก็ไม่เป็นการจงใจฝ่าฝืนกฎหมายหรือคำสั่งของนายอำเภอ การกระทำของจำเลยตั้งแต่วันที่ 28 กรกฎาคม 2513 เป็นต้นมาจึงขาดเจตนาอันเป็นองค์ประกอบความผิดทางอาญา ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368 และประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 9 แต่การบังอาจยึดถือที่ดินนี้ตั้งแต่ก่อนวันที่28 กรกฎาคม 2513 เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ซึ่งมีโทษตามมาตรา 108 และมีอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(5) โจทก์ฟ้องเมื่อเกิน 1 ปีแล้ว จึงลงโทษจำเลยไม่ได้