คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ม. 32

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 10 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3616/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับอาคารควบคุมการใช้ที่ฝ่าฝืนกฎหมายควบคุมอาคาร: โทษปรับรายวัน, การแก้ไขโทษ, และการพิจารณาโทษซ้ำ
จำเลยได้รับอนุญาตก่อสร้างอาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว แต่การที่จำเลยจะใช้อาคารที่จำเลยก่อสร้างนั้นต้องได้รับการตรวจสอบและใบรับรองให้ใช้อาคารจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อน การที่จำเลยยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคารแต่กลับเข้าใช้อาคารจึงเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่ได้ใบรับรองให้ใช้อาคารซึ่งเป็นเจตนากระทำผิดกรรมหนึ่งที่เกิดขึ้นแล้ว โดยไม่ต้องคำนึงว่าเป็นการเข้าใช้ในกิจการตามที่ได้รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง หรือเข้าใช้เพื่อกิจการอื่นต่างจากที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือไม่
จำเลยใช้อาคารดำเนินกิจการโรงแรมซึ่งเป็นอาคารควบคุมการใช้เช่นเดียวกับที่จำเลยใช้เพื่อดำเนินกิจการพาณิชยกรรมตามที่จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32(1)(2)แต่การจะเปลี่ยนการใช้อาคารเป็นโรงแรม ต้องได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนตามมาตรา 33 วรรคสอง เมื่อจำเลยยังไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นหรือได้แจ้งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นทราบก่อนจึงเป็นการฝ่าฝืนใช้อาคารที่ได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างสำหรับใช้เพื่อกิจการพาณิชยกรรมไปใช้เพื่อกิจการอื่น อันเป็นความผิดตามมาตรา 32 วรรคท้าย และมาตรา 33 วรรคสองอีกกระทงหนึ่ง
จำเลยกระทำความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองให้ใช้อาคาร และฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารส่วนที่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตให้เปลี่ยนการใช้อาคารฯ เป็นความผิดหลายกรรมแยกต่างหากจากกันได้ แม้เจ้าพนักงานท้องถิ่นจะแจ้งคำสั่งให้ระงับการใช้อาคารทั้งสองลักษณะให้จำเลยทราบพร้อมกันและจำเลยได้ฝ่าฝืนคำสั่งในขณะเดียวกันก็ตาม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานเป็นเจ้าของและผู้ครอบครองอาคารประเภทควบคุมการใช้ใช้อาคารเพื่อกิจการอื่นนอกจากที่ระบุในใบอนุญาตจำคุก2 เดือน ปรับ 40,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดโทษตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 วรรคสอง ที่ให้ปรับจำเลยอีกวันละไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนหรือจนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้องจึงเป็นการไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดี พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและสอง
พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 65 มุ่งประสงค์จะลงโทษผู้กระทำความผิดสำเร็จตามบทมาตราที่ระบุไว้ทั้งสองวรรคไปในคราวเดียวกันกล่าวคือนอกจากผู้กระทำความผิดสำเร็จจะต้องรับโทษทั้งจำคุกหรือปรับ หรือทั้งจำทั้งปรับตามมาตรา 65 วรรคหนึ่งแล้ว ยังจะต้องรับโทษปรับเป็นรายวันตามมาตรา 65 วรรคสองพร้อมกันไปในคราวเดียวกันด้วย การนับอายุความสำหรับความผิดตามมาตรา 65 จึงต้องใช้ระวางโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ หาใช่นับอายุความในแต่ละวรรคแยกต่างหากจากกันไม่ ส่วนโทษปรับตามมาตรา 65 วรรคสอง คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจะมีอำนาจเปรียบเทียบตามมาตรา 74 หรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่เกี่ยวกับการนับอายุความ เมื่อมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีระวางโทษขั้นสูงให้จำคุกไม่เกิน3 เดือน จึงมีอายุความฟ้องร้อง 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 ยังไม่พ้นกำหนด 5 ปี นับแต่วันที่ 9 มิถุนายน 2540ซึ่งเป็นวันที่จำเลยทั้งสามเริ่มกระทำความผิด คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสามเป็นผู้ครอบครองและดำเนินการดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคารดังกล่าวซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพสำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารดังกล่าวแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น อันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามที่พระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม บัญญัติไว้ จึงถือได้ว่าความผิดดังกล่าวเป็นการกระทำความผิดของผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคารดังกล่าว ซึ่งต้องระวางโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้นตามมาตรา 69
จำเลยทั้งสามได้ร่วมกันกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 มาตรา 32 วรรคสาม ประกอบมาตรา 65,69 และ 70 และโจทก์ได้มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสามตามบทมาตราดังกล่าวมาโดยครบถ้วนแล้ว จึงเป็นอำนาจของศาลที่จะต้องปรับบทลงโทษและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง ดังนั้น การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65 วรรคหนึ่ง แต่มิได้พิพากษาปรับบทลงโทษจำเลยทั้งสามตามมาตรา 65วรรคหนึ่งมาด้วย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้อง
อายุความฟ้องคดีอาญา ตาม ป.อ.มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับ เมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 95 (4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น ได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรม โรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร ฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 142 (5) ประกอบด้วย มาตรา 246 , 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5002/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีอาญาควบคุมอาคาร และการปรับบทลงโทษที่ถูกต้องตามกฎหมาย
อายุความฟ้องคดีอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95 ต้องถือตามอัตราโทษที่พิจารณาได้ความและกำหนดไว้ในมาตราที่ศาลยกขึ้นปรับเมื่อได้ความว่าการกระทำของจำเลยทั้งสามเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งสองวรรค การพิจารณาอายุความจึงต้องใช้อัตราโทษในวรรคหนึ่งซึ่งมีโทษหนักที่สุดเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา ซึ่งมาตรา 65 วรรคหนึ่ง มีอัตราโทษสูงสุดจำคุกไม่เกิน 3 เดือน จึงมีอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95(4) และคดีนี้เหตุเกิดวันที่ 9 มิถุนายน 2540 โจทก์ฟ้องเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2543 จึงไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้ครอบครองและดัดแปลงอาคารตามที่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ร่วมกันใช้และยินยอมให้บุคคลอื่นใช้อาคาร ซึ่งเป็นอาคารประเภทควบคุมการใช้ ประกอบกิจการพาณิชยกรรมโรงแรม คลังสินค้า โรงมหรสพ สำนักงาน ห้างสรรพสินค้า โดยที่จำเลยทั้งสามยังไม่ได้รับใบรับรองการดัดแปลงอาคารแล้วเสร็จจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น การกระทำของจำเลยทั้งสามจึงเป็นการกระทำความผิดในฐานะผู้ดำเนินการดัดแปลงอาคาร ซึ่งจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสองเท่าของโทษที่บัญญัติไว้สำหรับความผิดนั้น ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 69
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาและกำหนดโทษจำเลยทั้งสามตาม พระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 ทั้งวรรคหนึ่งและวรรคสอง โดยมิได้ปรับบทมาตรา 65 วรรคหนึ่งมาด้วย ปัญหาว่าศาลล่างทั้งสองปรับบทมาตราถูกต้องหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบด้วย มาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2461/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำผิดซ้ำ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร แม้ช่วงเวลาทับซ้อน ศาลฎีกาวินิจฉัยเป็นความผิดสองกรรม
จำเลยทั้งสองใช้อาคารเป็นสำนักงานเพื่อกิจการพาณิชย์กรรมโดยฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯมาตรา32วรรคสามตั้งแต่วันที่24สิงหาคม2535ถึงวันที่24พฤศจิกายน2535เป็นการกระทำความผิดกรรมหนึ่งแล้วเมื่อจำเลยทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นที่สั่งให้ระงับการใช้อาคารตามมาตรา44แล้วตั้งแต่วันที่9ตุลาคม2535ยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปอีกจนถึงวันที่24พฤศจิกายน2535ก็เป็นการกระทำผิดอีกกรรมหนึ่งต่างจากกรรมแรกการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดสองกรรมต้องเรียงกระทงลงโทษแม้ระยะเวลาการกระทำความผิดทั้งสองกรรมจะซ้อนกันในช่วงหลังก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาคารผิดกฎหมายและการฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงานท้องถิ่น จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จจำเลยจึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานงานท้องถิ่นมีคำสั่งโดยชอบให้จำเลยระงับการใช้ จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปจึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้ อาคารควบคุมก่อนรับรอง และฝ่าฝืนคำสั่งระงับการใช้ ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งให้จำเลยระงับการใช้จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไปจึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้างด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้อาคารควบคุมก่อนรับรองและฝ่าฝืนคำสั่งระงับการใช้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
อาคารประเภทควบคุมการใช้เมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว ก่อนใช้จะต้องได้รับใบรับรองการก่อสร้างก่อน การที่จำเลยเปิดใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้ตั้งแต่การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ จำเลยจึงมีความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมการใช้โดยไม่มีใบรับรองการก่อสร้าง และเมื่อเจ้าพนักงานท้องถิ่นมีคำสั่งโดยชอบให้จำเลยระงับการใช้ จำเลยยังคงฝ่าฝืนใช้อาคารต่อไป จึงมีความผิดฐานฝ่าฝืนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นให้ระงับการใช้อาคารที่ยังไม่ได้รับใบรับรองการก่อสร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 877/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคารและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ศาลยืนตามคำสั่งรื้อถอน
คำสั่งกรุงเทพมหานครที่ออกมาโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติ ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 เป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายและมีผลใช้บังคับตลอดมา แม้ต่อมาพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจะถูกยกเลิกโดยมีพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ออกมาใช้บังคับแต่ก็มิได้มีการยกเลิกคำสั่งหรือมีคำสั่งใหม่จึงต้องเป็นไปตามบทเฉพาะกาลในมาตรา 124 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 ที่ให้นำคำสั่งดังกล่าวมาใช้บังคับโดยอนุโลม อาคารประเภทควบคุมการใช้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522จะต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นก่อนจึงจะทำการปลูกสร้างได้ จำเลยได้รับอนุญาตให้ก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนหนึ่ง แต่จำเลยก่อสร้างอาคารตามแบบแปลนอื่น ซึ่งมีรูปแบบผิดไปในสาระสำคัญโดยไม่รับใบอนุญาตให้ก่อสร้าง จึงเป็นการก่อสร้างดัดแปลงต่อเติมอาคารให้ผิดไปจากเดิมโดยไม่ได้รับอนุญาต ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพ.ศ. 2522 หมวด 7 ข้อ 81 กำหนดว่า อาคารที่ก่อสร้างเพื่อใช้เก็บของสำหรับพาณิชยกรรมหรืออุตสาหกรรมต้องมีที่ว่างอันปราศจากหลังคาหรือสิ่งใดปกคลุมไม่น้อยกว่า 10 เมตรสองด้าน จำเลยก่อสร้างอาคารโดยมีด้านหน้าเพียงด้านเดียวมีที่ว่างเกิน 10 เมตร ส่วนอาคารด้านหลังห่างแนวเขตที่ดินของจำเลยไม่เกิน 2 เมตร และมีการก่อสร้างรั้วคอนกรีตไว้บนแนวเขตที่ดินดังกล่าว แม้จำเลยเช่าที่ดินด้านหลังอาคารออกไปกว้าง 7 เมตร แต่ก็มีผู้อื่นปลูกโรงเรือนรุกล้ำเข้ามา 2 เมตร สภาพดังกล่าวจึงถือไม่ได้ว่ามีที่ว่าง10 เมตร อาคารที่จำเลยก่อสร้างจึงผิดข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและอยู่ในสภาพที่ไม่สามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3185/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับรายวันในความผิด พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร: การพิสูจน์วันเริ่มใช้และข้อจำกัดการอุทธรณ์
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานใช้อาคารประเภทควบคุมก่อนได้รับใบรับรองการก่อสร้าง ตาม พ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯมาตรา 32,65 แต่ฟ้องโจทก์ในข้อหานี้ไม่ได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยทั้งสองใช้อาคารที่ก่อสร้างวันใดระยะเวลาที่โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยทั้งสองกระทำความผิด คือระหว่างวันที่ 2 มิถุนายน 2531ถึงวันที่ 8 กันยายน 2531 นั้น ไม่อาจทราบได้ว่าจำเลยทั้งสองก่อสร้างอาคารเสร็จเมื่อใด เปิดใช้อาคารเมื่อใด แม้จำเลยทั้งสองจะให้การรับสารภาพ เมื่อไม่มีวันที่จำเลยทั้งสองใช้อาคารที่สร้างเสร็จแล้วเมื่อใด จึงไม่อาจคำนวณโทษปรับนับแต่วันที่จำเลยทั้งสองใช้อาคารที่สร้างเสร็จโดยไม่ได้รับใบรับรองจากเจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ ฟ้องของโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158(5) ศาลไม่อาจลงโทษปรับเป็นรายวันตามพ.ร.บ. ควบคุมอาคารฯ มาตรา 65 วรรคสอง.