พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3410/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะวัดในต่างประเทศและภูมิลำเนาสำหรับจัดการมรดก
พระภิกษุในคณะสงฆ์ไทยรวมทั้งผู้ตายที่ได้ไปพำนักและปฏิบัติศาสนกิจอยู่ที่วัดผู้คัดค้านที่ 2 ยังคงถือว่าอยู่ในความปกครองดูแลโดยมหาเถรสมาคม แต่การจัดระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ในลักษณะดังกล่าว ไม่เป็นผลให้วัดผู้คัดค้านที่ 2 ที่ตั้งอยู่นอกราชอาณาจักรมีฐานะเป็นวัดตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 เมื่อไม่ปรากฏว่ามีกฎหมายอื่นบัญญัติรับรองให้วัดผู้คัดค้านที่ 2 มีฐานะเป็นนิติบุคคลประเภทวัด จึงถือไม่ได้ว่าวัดผู้คัดค้านที่ 2 มีฐานะเป็นวัดตามกฎหมาย และไม่อาจถือได้ว่าที่ตั้งของวัดผู้คัดค้านที่ 2 ในประเทศดังกล่าว ที่ผู้ตายพำนักเป็นภูมิลำเนาของผู้ตาย ดังนั้น เมื่อผู้ตายถึงแก่มรณภาพ ทรัพย์สินของผู้ตายที่ได้มาในระหว่างเวลาที่อยู่ในสมณเพศจึงตกเป็นสมบัติของวัดผู้คัดค้านที่ 1 ที่เป็นภูมิลำเนาของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1623 ผู้คัดค้านที่ 2 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีสิทธิขอจัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14779/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีอำนาจฟ้องของวัด: หลักฐานการสร้างวัดตามกฎหมาย และฐานะนิติบุคคล
วัดโจทก์เป็นวัดที่สร้างในปี 2478 แต่ยังไม่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา วัดโจทก์จึงมีสถานะเป็นวัดประเภท "ที่สำนักสงฆ์" ตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ ร.ศ. 121 มาตรา 5 ที่บังคับใช้ในขณะนั้น และได้สร้างวัดขึ้นถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดไว้ 5 ประการ โดยนายอำเภอและเจ้าคณะแขวงเห็นว่าเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั้ง 5 ข้อแล้ว ให้เจ้าคณะแขวงมีอำนาจทำหนังสืออนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ และให้นายอำเภอประทับตรากำกับในหนังสือนั้น และเจ้าของที่ดินนั้นจะต้องจัดการโอนโฉนดเนื้อที่วัดถวายแก่สงฆ์ตามกฎหมายก่อน จึงจะสร้างที่สำนักสงฆ์ได้ ดังนั้น การสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวย่อมมีหลักฐานเป็นหนังสือที่สามารถตรวจสอบได้คือ จดหมายของผู้ประสงค์จะสร้างที่สำนักสงฆ์ถึงนายอำเภอ 1 ฉบับ หนังสือของเจ้าคณะแขวงอนุญาตให้สร้างที่สำนักสงฆ์ซึ่งนายอำเภอประทับตรากำกับ 1 ฉบับ และโฉนดที่ดินซึ่งเจ้าของที่ดินจดทะเบียนโอนให้เป็นที่วัดแล้ว เอกสารดังกล่าวเป็นเอกสารราชการ ควรจะมีการเก็บรักษาหรือบันทึกไว้เป็นหลักฐานเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวของหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะโฉนดที่ดินที่มีผู้อุทิศให้สร้างวัดนั้นย่อมเป็นหลักฐานที่สามารถตรวจสอบได้ง่ายว่ามีการสร้างวัดหรือที่สำนักสงฆ์ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ แต่โจทก์ไม่มีหนังสือเกี่ยวกับการสร้างที่สำนักสงฆ์ตามกฎหมายดังกล่าวข้างต้นจากอำเภอ เจ้าคณะแขวงหรือโฉนดที่ดินมาแสดง ดังนั้น โจทก์จึงไม่ใช่วัดตามมาตรา 31 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลตามกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของวัด: เจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการศาสนสมบัติและฟ้องคดีได้ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์
พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า ...ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกรณีทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี... และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของพระศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เจ้าอาวาสจึงเป็นผู้แทนของวัด และมีหน้าที่บำรุงรักษาวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี ซึ่งคำว่า จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดนั้น หมายถึง การบริหารจัดการวัดและศาสนสมบัติของวัดนั่นเอง โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดิน ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโจทก์โดยละเมิดได้ ส่วนบทบัญญัติมาตรา 40 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า การดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้น หาตัดสิทธิตัวการที่กระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ อีกทั้งคดีนี้เป็นการฟ้องให้รับผิดในข้อหาละเมิด เมื่อโจทก์หรือเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่แล้ว โจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ พ. หรือ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนของโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้น หาตัดสิทธิตัวการที่กระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ อีกทั้งคดีนี้เป็นการฟ้องให้รับผิดในข้อหาละเมิด เมื่อโจทก์หรือเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่แล้ว โจทก์ย่อมมอบอำนาจให้ พ. หรือ ส. ฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 20664/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของเจ้าอาวาส กรณีที่ดินศาสนสมบัติ และการมอบอำนาจฟ้องคดี
เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัด มีหน้าที่บำรุงรักษาวัด การบริหารจัดการกิจการและศาสนสมบัติของวัด โจทก์โดยเจ้าอาวาสจึงย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่ผู้ที่อยู่ในที่ดินของโจทก์ ซึ่งเป็นศาสนสมบัติของวัดโดยละเมิดได้ ส่วนการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงนั้น เป็นเรื่องของการกำหนดวิธีการในการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัด ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับเรื่องอำนาจฟ้อง
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้นหาตัดสิทธิตัวการที่จะกระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ และโจทก์โดยเจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเป็นเพียงตัวแทนโจทก์ในการนำที่ดินศาสนสมบัติของวัดโจทก์ออกให้เช่า ซึ่งการตั้งตัวแทนให้กระทำการต่าง ๆ นั้นหาตัดสิทธิตัวการที่จะกระทำการนั้นด้วยตนเองไม่ และโจทก์โดยเจ้าอาวาสมีอำนาจมอบอำนาจให้บุคคลอื่นฟ้องและดำเนินคดีแทนโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจที่ขีดฆ่าอากรแสตมป์โดยไม่ลงวันที่ ยังใช้เป็นหลักฐานได้ และเจ้าอาวาสมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 103 ให้ความหมายของคำว่า "ขีดฆ่า" หมายความว่า "การกระทำเพื่อมิให้ใช้แสตมป์ได้อีก โดยในกรณีแสตมป์ปิดทับได้ลงลายมือชื่อหรือลงชื่อห้างร้านบนแสตมป์ หรือขีดเส้นคร่อมฆ่าแสตมป์ที่ปิดทับกระดาษและลงวัน เดือน ปี ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ด้วย..." การระบุวัน เดือน ปี พร้อมขีดฆ่าอากรแสตมป์ ก็เพียงมุ่งหมายให้ทราบว่าได้มีการปิดและขีดฆ่าอากรแสตมป์เมื่อใดเท่านั้น สาระสำคัญจึงอยู่ที่มีการขีดฆ่าอากรแสตมป์มิให้นำไปใช้ได้อีก เมื่อหนังสือมอบอำนาจได้ขีดฆ่าอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว แม้จะไม่ได้ลงวันที่ เดือน ปี กำกับด้วย ก็ถือว่าหนังสือมอบอำนาจรับฟังพยานหลักฐานได้ ไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
โจทก์เป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 แม้กฎกระทรวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 จะมิได้กำหนดวิธีจัดการศาสนสมบัติของวัดเกี่ยวกับการฟ้องคดีไว้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบแล้วว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับลงโดยโจทก์แจ้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 วรรคสาม ว่าด้วยการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงในเรื่องการเช่าแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกัน โจทก์ในฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไป ผู้แทนของโจทก์ย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการใด ๆ อันเกี่ยวกับการจัดการศาสนสมบัติของวัดแทนโจทก์ได้ การจัดการทรัพย์สินของวัดซึ่งรวมทั้งการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ จึงเป็นอำนาจของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ที่จะดำเนินการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไปตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 แม้กฎกระทรวง (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2511 จะมิได้กำหนดวิธีจัดการศาสนสมบัติของวัดเกี่ยวกับการฟ้องคดีไว้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏตามทางนำสืบแล้วว่าสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยระงับลงโดยโจทก์แจ้งให้สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทกับจำเลย อันเป็นการปฏิบัติตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 40 วรรคสาม ว่าด้วยการดูแลรักษาและจัดการศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงในเรื่องการเช่าแล้ว และเมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกัน โจทก์ในฐานะเป็นนิติบุคคล โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของโจทก์ในกิจการทั่วไป ผู้แทนของโจทก์ย่อมมีอำนาจดำเนินกิจการใด ๆ อันเกี่ยวกับการจัดการศาสนสมบัติของวัดแทนโจทก์ได้ การจัดการทรัพย์สินของวัดซึ่งรวมทั้งการฟ้องขับไล่จำเลยเป็นคดีนี้ จึงเป็นอำนาจของเจ้าอาวาสวัดโจทก์ที่จะดำเนินการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6778/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งวัดและการมีอำนาจฟ้องของวัด: การแต่งตั้งโดยปริยายและการไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 1 (พ.ศ.2507) ออกตามความใน พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ ข้อ 4 วรรคหนึ่ง ผู้มีอำนาจเสนอรายงานขอตั้งวัดคือผู้ได้รับอนุญาตสร้างวัด ทายาท หรือผู้แทน แม้ พ. ผู้เสนอรายงานขอตั้งวัดจะไม่ใช่ทายาทของจำเลยผู้ได้รับอนุญาตสร้างวัด และจำเลยไม่ได้แต่งตั้งโดยชัดแจ้งให้ พ. เป็นผู้แทนเสนอรายงานขอตั้งวัดก็ตาม แต่ในระหว่างสร้างวัดและขอตั้งวัดจำเลยไม่ได้โต้แย้งหรือคัดค้านการดำเนินการของ พ. พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่าจำเลยแต่งตั้งโดยปริยายให้ พ. เป็นผู้แทนของจำเลยในการเสนอรายงานขอตั้งวัดตาม ป.พ.พ. มาตรา 797 วรรคสอง แล้ว เมื่อกระทรวงศึกษาธิการโดยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคมได้ประการตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาตั้งแต่วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2542 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 22 มิถุนายน 2542 แล้ว การขอตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาจึงดำเนินการโดยชอบแล้ว โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ฯ มาตรา 31 วรรคสอง และมีอำนาจฟ้อง
ขณะยื่นฟ้องคดีก่อน กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้ประกาศตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลจึงไม่มีอำนาจฟ้องและยกฟ้องโจทก์ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจฟ้อง ประเด็นที่วินิจฉัยในทั้งสองคดีมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
ขณะยื่นฟ้องคดีก่อน กระทรวงศึกษาธิการยังไม่ได้ประกาศตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า โจทก์ไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลจึงไม่มีอำนาจฟ้องและยกฟ้องโจทก์ แต่ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศตั้งวัดโจทก์ให้เป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว โจทก์ย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลและมีอำนาจฟ้อง ประเด็นที่วินิจฉัยในทั้งสองคดีมิได้อาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำอันต้องห้ามมิให้รื้อร้องฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1580-1585/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของวัด: การมอบอำนาจ การประทับตรา และสัญญาเช่าที่ดิน
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 31 วรรคสาม บัญญัติเพียงว่าให้เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไปเท่านั้น มิได้บังคับว่าการกระทำกิจการแทนวัดจะต้องประทับตราสำคัญของวัดด้วย ดังนั้นแม้หนังสือมอบอำนาจที่พระราชสุธรรมาภรณ์มอบอำนาจให้ ป. มีอำนาจฟ้องคดีและทำ นิติกรรมสัญญาใดๆ แทนวัดโจทก์ที่ 1 จะมีพระราชสุธรรมาภรณ์ลงลายมือชื่อโดยมิได้ประทับตราสำคัญของโจทก์ที่ 1 ไว้ด้วย ก็มีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย โจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจช่วงจาก ป. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 1 ได้
การทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 จึงเป็นการเช่าที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตาม ข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505
การทำหนังสือสัญญาเช่าที่ดินที่ไม่ได้จดทะเบียนการเช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ย่อมมีผลฟ้องร้องบังคับคดีได้เพียง 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 จึงเป็นการเช่าที่ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรมการศาสนาตาม ข้อ 4 ของกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ.2511) ที่ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมีฐานะนิติบุคคลของวัด: ขั้นตอนการตั้งวัดตามกฎหมาย
ตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล และวัดมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคือสำนักสงฆ์ ตามมาตรา 32การสร้างวัดและการตั้งวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว กำหนดวิธีการสร้างวัดและการตั้งวัดไว้ ซึ่งเห็นได้ว่าวัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากกรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณา การปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่าง ๆ ตามลำดับ จนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้ว กระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ วัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมจะถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์อันจะทำให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7490/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะนิติบุคคลของวัด: การดำเนินการตามขั้นตอนกฎหมายเพื่อการตั้งวัด
ตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคลและวัดมีสองอย่าง อย่างหนึ่งคือสำนักสงฆ์ตามมาตรา 32 การสร้างวัดและการตั้งวัดให้เป็นไปตามวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวง และตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 1(พ.ศ. 2504) ซึ่งออกตามความในมาตรา 6 และมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวกำหนดวิธีการสร้างวัดและการตั้งวัดไว้ซึ่งเห็นได้ว่าวัดที่จะมีฐานะเป็นนิติบุคคลซึ่งรวมถึงวัดประเภทสำนักสงฆ์ด้วยนั้น หลังจากกรมการศาสนาออกหนังสืออนุญาตให้สร้างวัดแล้ว ยังจะต้องมีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดต่อนายอำเภอและผ่านขั้นตอนการพิจารณาการปรึกษา และการรายงานการขอตั้งวัดโดยหน่วยงานราชการต่างๆ ตามลำดับจนเมื่อมหาเถรสมาคมพิจารณาเห็นชอบด้วยแล้วกระทรวงศึกษาธิการจึงจะประกาศตั้งเป็นวัดในราชกิจจานุเบกษาได้ วัดโจทก์แม้จะได้รับอนุญาตให้สร้างวัดแล้วแต่เมื่อยังไม่ได้มีการดำเนินการเพื่อขอตั้งเป็นวัดและยังไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้ตั้งวัดตามกฎหมาย ย่อมจะถือว่าขณะยื่นฟ้องโจทก์เป็นวัดประเภทสำนักสงฆ์อันจะทำให้มีฐานะเป็นนิติบุคคลหาได้ไม่ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อถอนกำแพงวัดต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าอาวาส สัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หากจำเลยไม่รื้อถอนตามสัญญาถือเป็นผิดสัญญา
ข้อสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยว่าจำเลยจะทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตของวัดที่อยู่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของที่ดินแปลงตามสัญญาตกลงร่วมหุ้นออกไปภายใน 40 วัน นับแต่วันทำหนังสือนั้น เมื่อตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 31 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2535 บัญญัติว่า วัดมีสองอย่าง (1) วัดที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา (2) สำนักสงฆ์ ให้วัดมีฐานะเป็นนิติบุคคล เจ้าอาวาสเป็นผู้แทนของวัดในกิจการทั่วไป มาตรา 37 บัญญัติว่า เจ้าอาวาสมีหน้าที่ดังนี้ (1) บำรุงวัด จัดกิจการและศาสนสมบัติของวัดให้เป็นไปด้วยดี และมาตรา 40 บัญญัติว่า ศาสนสมบัติแบ่งออกเป็นสองประเภท (1) ศาสนสมบัติกลาง ได้แก่ ทรัพย์สินของศาสนาซึ่งมิใช่ของวัดใดวัดหนึ่ง (2) ศาสนสมบัติของวัด ได้แก่ ทรัพย์สินของวัดใดวัดหนึ่ง ดังนั้น เมื่อวัดเป็นนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกันบุคคลบุคคลธรรมดา กำแพงวัดเป็นเพียงศาสนสมบัติของวัดซึ่งเจ้าอาวาสมีอำนาจจัดการก่อสร้างหรือรื้อถอนเพื่อประโยชน์ของวัดได้ หากจำเลยสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสเพื่อขอรื้อถอนกำแพงวัดและทางวัดยินยอม จำเลยย่อมสามารถรื้อถอนกำแพงวัดได้ การที่จำเลยได้ทำสัญญาดังกล่าวกับโจทก์เนื่องจากจำเลยเห็นว่าตนสามารถทำความตกลงกับเจ้าอาวาสได้ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนแต่อย่างใด จึงไม่เป็นโมฆะ
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2(จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
ตามหนังสือสัญญาตกลงร่วมหุ้นมีข้อความว่า "เมื่อผู้ร่วมหุ้นที่ 2(จำเลย) ทำการรื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนดที่ดินที่จะซื้อขายภายใน 40 วัน นับตั้งแต่วันทำสัญญาฉบับนี้" แม้จะไม่มีข้อความใดระบุว่าให้จำเลยรื้อถอนจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่เมื่อถ้อยคำในสัญญาระบุชัดแจ้งแล้วว่าให้รื้อถอนกำแพงคอนกรีตที่ติดกับถนนสาธารณประโยชน์ทางทิศตะวันออกของโฉนด ย่อมแสดงว่าจำเลยต้องรื้อถอนกำแพงด้านทิศตะวันออกทั้งหมด จำเลยรื้อถอนกำแพงออกไป6 ช่องแล้วถูกดำเนินคดี จึงก่อสร้างกำแพงกลับสู่สภาพเดิม 5 ช่อง คงเหลือส่วนที่จำเลยทุกออก 1 ช่อง และส่วนที่ผู้อื่นทุบออก 1 ช่อง ถือได้ว่าจำเลยไม่สามารถรื้อถอนกำแพงออกไปหมดตามสัญญาจำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา