คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1356

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิทายาทสืบเชื้อสายและครอบครองร่วมกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกของอ.เจ้ามรดกตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้อง โดยเมื่อ อ.วายชนม์ที่พิพาทตกได้แก่ย.บุตรของ อ.ยวายชนม์มรดกส่วนของย.ตกได้แก่ค.ยายของโจทก์ค.วายชนม์ ตกได้แก่ช.และตกได้แก่โจทก์เมื่อช.มารดาโจทก์วายชนม์ โจทก์ครอบครองที่พิพาทตลอดมาเช่นเดียวกันกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ.สาย ล.บุตรของ อ.อีกคนหนึ่ง เพียงสองคนเท่านั้น ไม่มีทายาทอื่นเกี่ยวข้อง จึงฟ้องขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าโจทก์ฟ้องขอแบ่งมรดกโดยอาศัยสิทธิรับมรดกสืบทอดมาจาก ย.ทวดของโจทก์ซึ่งมีการรับมรดกของอ.เป็นทอดๆ กันมาตามบัญชีเครือญาติท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของฟ้อง ฟ้องของโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้ย.จะวายชนม์ก่อนอ.ก็ตามเมื่อย.บุตรอ.เจ้ามรดกมีผู้สืบสันดานคือ ค. ค.จึงเป็นผู้รับมรดกอ.แทนที่ย.บิดา และมีการรับมรดกสืบต่อมาจนถึงโจทก์บุตรของ ช.ซึ่งเป็นบุตรของค. โจทก์จึงเป็นทายาทมีสิทธิได้รับส่วนแบ่งจากกองมรดกของ อ.เจ้ามรดก และมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ครอบครองที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ร่วมกับจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ อ. เจ้ามรดกตลอดมา แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความ มาตรา 1754 ก็ดี โจทก์ก็มีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ อ.ได้
โจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกของ อ. เจ้ามรดกร่วมกับจำเลย โดยทายาทอื่นๆ ของ อ.ที่มีชีวิตอยู่ไม่ได้ยุ่งเกี่ยวและโต้แย้ง ถือได้ว่าโจทก์จำเลยครอบครองที่พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของรวมกัน โจทก์จึงมีสิทธิขอแบ่งที่พิพาทครึ่งหนึ่งได้ในฐานะกรรมสิทธิ์รวม
ทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างเป็นพยานเบิกความว่าได้ออกจากที่พิพาทไป 40 ปีแล้ว ไม่เกี่ยวข้องกับที่พิพาท ไม่ขอรับส่วนแบ่งในที่พิพาท ส่วนทายาทอื่น ๆ ที่อยู่ในที่พิพาทก็เป็นบุตรจำเลยอยู่โดยอาศัยสิทธิของจำเลย บ้างอยู่โดยอาศัยสิทธิของ ช.มารดาโจทก์ ไม่ได้มายุ่งเกี่ยวด้วย ดังนี้จึงถือได้ว่าทายาทอื่นๆ ของ อ.ต่างไม่มีสิทธิในที่พิพาทคือโจทก์จำเลยสองคนเท่านั้น โจทก์จึงย่อมมีสิทธิแบ่งครึ่งได้ หาได้เกินสิทธิที่โจทก์ควรจะได้รับไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1561-1562/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์ร่วมในทรัพย์สินระหว่างคู่ความสัมพันธ์ฉันสามีภริยา ต้องพิสูจน์การร่วมแรงร่วมทุน
ชายและหญิงที่อยู่กินฉันสามีภริยากันหลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส หากชายหรือหญิงได้ทรัพย์สินใดมาในระหว่างที่อยู่กินฉันสามีภริยากัน ทรัพย์นั้นจะเป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกันระหว่างชายกับหญิงก็ต่อเมื่อชายและหญิงได้ร่วมแรงรวมทุนหาทรัพย์สินนั้นมา หากเป็นทรัพย์สินที่บุคคลอื่นยกให้แก่ชายหรือหญิง หรือชายหรือหญิงได้มาด้วยแรงหรือด้วยทุนของตน ทรัพย์สินนั้นก็เป็นกรรมสิทธิ์ของชายหรือหญิงซึ่งได้รับการยกให้หรือซึ่งออกทุนออกแรงแต่ฝ่ายเดียว ไม่เป็นกรรมสิทธิ์ร่วมกัน
จำเลยและผู้ร้องอยู่กินฉันสามีภริยาหลังจากประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน ระหว่างที่อยู่กินกับผู้ร้องได้รับ ยกให้ที่ดินพิพาท ต่อมาผู้ร้องขายที่ดินพิพาทให้แก่ บ.แล้วซื้อคืนจาก บ. โดยไม่ปรากฏว่าผู้ร้องเอาเงินที่ผู้ร้องและจำเลยทำมาหาได้ร่วมกันไปซื้อคืน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาได้นำยึดที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมีโฉนดและมีชื่อผู้ร้องเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์อยู่ โดยอ้างว่าที่พิพาทเป็นของภริยาจำเลย ผู้ร้องจึงร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ ดังนี้กรณีต้องสันนิษฐานว่าผู้ร้องเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแต่ผู้เดียว เป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวให้ได้ความว่าผู้ร้องซื้อที่พิพาทคืนด้วยเงินที่ผู้ร้องและจำเลยทำมาหาได้ร่วมกัน มิฉะนั้นโจทก์จะยึดที่พิพาทไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อนในคดีขับไล่: เจ้าของรวมฟ้องคดีเดียวกันซ้ำ
โจทก์กับ ส.ท.ภ. และ ล. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน จำเลยเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ส. ครบกำหนดแล้ว ส.ฟ้องขับไล่จำเลย ดังนี้ เป็นเรื่องที่ ส.เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1356, 1359 ประกอบด้วยมาตรา 302 กล่าวคือเจ้าของรวมแต่ละคนมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนโดยไม่จำต้องไห้เจ้าของรวมทุกคนร่วมกันฟ้อง และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมหมดทุกคน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีแทน เมื่อ ส.ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าแล้ว และคดีอยู่ระหว่างพิจารณา โจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีที่ ส.ฟ้องนั้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้อน: เจ้าของรวมฟ้องขับไล่จำเลยเรื่องเดียวกันซ้ำ ศาลพิพากษายกฟ้อง
โจทก์กับ ส.ท.ภ. และ ล. มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินร่วมกัน จำเลยเช่าที่ดินดังกล่าวจาก ส.ครบกำหนดแล้วส. ฟ้องขับไล่จำเลยดังนี้ เป็นเรื่องที่ ส. เจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนจากจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจึงต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1356,1359 ประกอบด้วยมาตรา 302 กล่าวคือเจ้าของรวมแต่ละคนมีอำนาจฟ้องเรียกทรัพย์คืนโดยไม่จำต้องให้เจ้าของรวมทุกคนร่วมกันฟ้อง และจะต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์แก่เจ้าของรวมหมดทุกคน จึงเท่ากับเป็นการฟ้องคดีแทนเมื่อ ส. ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่เช่าแล้วและคดีอยู่ระหว่างพิจารณาโจทก์มาฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินเช่นเดียวกับคดีที่ ส. ฟ้องนั้นอีกจึงเป็นฟ้องซ้อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 (ปัญหาเรื่องฟ้องซ้อนนี้ จำเลยมิได้ฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเอง)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ขายฝากแล้วฟ้องแย้งสิทธิ เป็นการใช้สิทธิไม่สุจริต ส่วนโรงงานน้ำแข็งในที่ดินของผู้อื่นยังเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้เช่าซื้อ
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรสเป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดที่พิพาท แต่โจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แต่แล้วโจทก์ที่ 1 กลับใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมฟ้องเรียกที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 คืนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เอกสารสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ในขณะทำสัญญากันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างจะขอศาลให้สั่งเจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการปิดให้ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโรงงานทำน้ำแข็งและอุปกรณ์เครื่องทำน้ำแข็งพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 2 ได้ก่อสร้างลงในที่ดินโฉนดที่ 2295 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ และโจทก์ที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน โดยโจทก์ที่1และจำเลยที่1ได้ยินยอมให้ปลูกลงในที่ดินเพื่อให้โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ แต่โจทก์ที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โรงงานน้ำแข็งและเครื่องทำน้ำแข็งจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดที่ 2295 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แม้ภายหลังต่อมาที่ดินโฉนดที่ 2295 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดินจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากโรงงานทำน้ำแข็ง และเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 2 มิได้ครอบครองโรงงานทำน้ำแข็งพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2987/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้จำนอง/ขายฝากแล้วฟ้องขอคืนสิทธิ ย่อมเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต และกรรมสิทธิ์โรงงานยังเป็นของเจ้าของเดิม
โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยากันโดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส เป็นเจ้าของร่วมในที่ดินโฉนดที่พิพาท แต่โจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว และโจทก์ที่ 1 ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ขายฝากที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แต่แล้วโจทก์ที่ 1 กลับใช้สิทธิในฐานะเจ้าของที่ดินร่วมฟ้องเรียกที่ดินส่วนของโจทก์ที่ 1 คืนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เอกสารสัญญาเช่าซื้อนั้น แม้ในขณะทำสัญญากันจะมิได้ปิดอากรแสตมป์แต่ต่อมาได้ปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนแล้ว จะโดยผู้อ้างปิดอากรแสตมป์เองหรือผู้อ้างจะขอศาลให้สั่งเจ้าหน้าที่สรรพากรจัดการปิดให้ ก็มีผลเช่นเดียวกัน ศาลย่อมรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้
เมื่อโรงงานทำน้ำแข็งและอุปกรณ์เครื่องทำน้ำแข็งพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 2 ได้ก่อสร้างลงในที่ดินโฉนดที่ 2295 ซึ่งจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ และโจทก์ที่ 1 มีส่วนเป็นเจ้าของร่วมในที่ดิน โดยโจทก์ที่1และจำเลยที่1ได้ยินยอมให้ปลูกลงในที่ดินเพื่อให้โจทก์ที่ 1 เช่าซื้อ แต่โจทก์ที่ 1 ยังชำระค่าเช่าซื้อให้โจทก์ที่ 2 ยังไม่ครบถ้วน โรงงานน้ำแข็งและเครื่องทำน้ำแข็งจึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 1 โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งดังกล่าวจึงเป็นสิ่งปลูกสร้างอันผู้มีสิทธิในที่ดินของผู้อื่นใช้สิทธินั้นปลูกทำลงไว้ในที่ดินนั้น จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดที่ 2295 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 แม้ภายหลังต่อมาที่ดินโฉนดที่ 2295 ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 ตามหนังสือสัญญาขายฝาก โรงงานน้ำแข็งและเครื่องอุปกรณ์ทำน้ำแข็งก็ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ที่ 2 ไม่ใช่ส่วนควบของที่ดิน จึงไม่ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่โจทก์ที่ 1 ออกจากโรงงานทำน้ำแข็ง และเรียกค่าเสียหายในการที่จำเลยที่ 2มิได้ครอบครองโรงงานทำน้ำแข็งพิพาทจากโจทก์ที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินร่วม กรณีทายาทรับมรดกและเจ้าของร่วม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่าการกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดา ซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1782/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนที่ดินโดยหลอกลวงและสิทธิในทรัพย์สินมรดก ศาลพิจารณาการแบ่งสิทธิร่วมในที่ดินพิพาท
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้ที่ดินพิพาทระหว่างโจทก์ที่ 1 กับจำเลยโดยบรรยายข้อเท็จจริงมาในฟ้องเกี่ยวกับเจตนาในการทำนิติกรรมรายนี้ว่า โจทก์ที่ 1 ถูกจำเลยหลอกลวงว่าให้ทำนิติกรรมเสียทีหนึ่งก่อน แล้วค่อยโอนให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4ในภายหลัง โจทก์ที่ 1 จึงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยโดยไม่รู้เท่าทันถึงเหตุการณ์ โจทก์ที่ 1 ไม่มีเจตนายกที่ดินพิพาทให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียวเป็นฟ้องที่กล่าวโดยชัดแจ้งพอให้จำเลยเข้าใจสภาพแห่งข้อหาของโจทก์แล้ว แม้โจทก์จะระบุด้วยว่า การกระทำดังกล่าวเป็นกลฉ้อฉลและเป็นการแสดงเจตนาลวงอันเป็นการขัดกันก็เป็นการยกเอากฎหมายมาปรับกับข้อเท็จจริงตามความเข้าใจของโจทก์ หาเป็นเหตุที่จะถือว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมไม่
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินพิพาทจากจำเลยทั้งหมด แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ได้ยกส่วนของตนให้จำเลยไปแล้ว และโจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ ส. บิดาซึ่งยังมีทายาทอื่นอีก เช่น จำเลย อีกด้วย. เฉพาะส่วนของ โจทก์ที่ 1ในฐานะภริยาของ ส. ซึ่งยกให้จำเลยนั้น ข้อเท็จจริงก็ยังฟังเป็นยุติไม่ได้ว่ามีอยู่ครึ่งหนึ่งหรือ 1 ใน 3 ดังนี้ ยังไม่สมควรที่ศาลจะพิพากษาให้แบ่งส่วนในที่ดินพิพาทไปเลย ควรให้โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 4 มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลยในโฉนดที่ดินรายพิพาทตามคำขอของโจทก์เท่านั้นฝ่ายใดจะมีกรรมสิทธิ์อยู่เป็นส่วนเท่าใด เป็นเรื่องที่จะต้องไปว่ากล่าวเอาแก่กันเป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2515

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของร่วมมรดกและการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินรวม เจ้าของร่วมไม่มีอำนาจขัดทรัพย์
ผู้ตายถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกสวนของตนให้แก่ผู้ใดไว้ สวนจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคน
ครอบครัวของจำเลยอยู่ร่วมเรือนเดียวกันกับผู้ร้อง จำเลยแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของสวนยางพารารายนี้เช่น เป็นผู้นำสำรวจที่ดินสวนยางพารานี้เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่ และเป็นผู้ไปเสียภาษีบำรุงท้องที่เอง ทั้งได้ไปแจ้งใบสุทธิยางผู้ร้องรับว่าสวนยางพารายังมิได้แบ่งปันกันในระหว่างทายาท ฉะนั้น จำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นเจ้าของสวนยางพารารวมอยู่ด้วย
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิที่จะยึดสวนยางพาราซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของรวมบางส่วนเพื่อบังคับชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์มีสิทธิจะยึดที่ดินแปลงใดของจำเลยตามคำพิพากษามาบังคับชำระหนี้ก็ได้เพราะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยสิ้นเชิง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1090/2515 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของร่วมมรดกและการบังคับชำระหนี้จากทรัพย์สินร่วม ศาลยืนยึดสิทธิเจ้าหนี้
ผู้ตายถึงแก่กรรมโดยมิได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกสวนของตนให้แก่ผู้ใดไว้ สวนจึงเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาทโดยธรรมทุกคน
ครอบครัวของจำเลยอยู่ร่วมเรือนเดียวกันกับผู้ร้อง จำเลยแสดงให้เห็นถึงการเป็นผู้มีส่วนเป็นเจ้าของสวนยางพารารายนี้เช่น เป็นผู้นำสำรวจที่ดินสวนยางพารานี้เพื่อเสียภาษีบำรุงท้องที่และเป็นผู้ไปเสียภาษีบำรุงท้องที่เอง ทั้งได้ไปแจ้งใบสุทธิยางผู้ร้องรับว่าสวนยางพารายังมิได้แบ่งปันกันในระหว่างทายาท ฉะนั้นจำเลยซึ่งเป็นทายาทด้วยผู้หนึ่ง จึงมีสิทธิเป็นเจ้าของสวนยางพารารวมอยู่ด้วย
โจทก์เป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษา จึงมีสิทธิที่จะยึดสวนยางพาราซึ่งจำเลยเป็นเจ้าของรวมบางส่วนเพื่อบังคับชำระหนี้ได้
ผู้ร้องขัดทรัพย์ซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันไม่มีอำนาจร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด
โจทก์มีสิทธิจะยึดที่ดินแปลงใดของจำเลยตามคำพิพากษามาบังคับชำระหนี้ก็ได้เพราะโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้มีสิทธิที่จะให้ชำระหนี้ของตนจากทรัพย์สินของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โดยสิ้นเชิง
of 22