พบผลลัพธ์ทั้งหมด 219 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์โรงแรมและสินสมรส: การแบ่งทรัพย์สินระหว่างคู่สมรสและมรดก
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภริยาไม่ได้จดทะเบียนสมรสร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1 โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดิน
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากันทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภริยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส
เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 111 และมาตรา1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้จำเลยที่ 4 ปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แบ่งมรดกที่ดิน, โรงแรม, เงินฝาก, รายได้โรงแรม ระหว่างทายาทและอดีรภัสยา โดยคำนึงถึงสัดส่วนการเป็นเจ้าของและรายได้
ผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาร่วมกันทำกิจการโรงแรมมีเจตนาเป็นเจ้าของร่วมกัน เงินที่ใช้เป็นทุนปลูกสร้างโรงแรมจะเกิดจากฝ่ายใดหามาไม่สำคัญ ต้องถือว่าโรงแรมเป็นทรัพย์สินร่วมกันระหว่างผู้ตายกับโจทก์ที่ 1 เมื่อผู้ตายยินยอมให้ใช้ที่ดินดังกล่าวปลูกสร้างโรงแรมเพื่อทำกิจการค้าร่วมกันกับโจทก์ที่ 1โรงแรมจึงไม่เป็นส่วนควบกับที่ดินเข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 109 จำเลยที่ 5 จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย แม้จำเลยที่ 5 จะเลิกร้างกับผู้ตายไปนานแล้ว แต่เมื่อไม่ได้จดทะเบียนหย่ากัน ทรัพย์ที่ผู้ตายได้มาระหว่างที่เป็นสามีภรรยากับจำเลยที่ 5 ย่อมเป็นสินสมรส เงินรายได้จากกิจการโรงแรมรวมทั้งร้านตัดผมที่ได้มาหลังจากที่ผู้ตายถึงแก่กรรมแล้ว มิใช่ทรัพย์มรดกของผู้ตายเพราะมิใช่ทรัพย์ที่มีอยู่ก่อนหรือในขณะที่ผู้ตายถึงแก่กรรม แต่เป็นดอกผลของโรงแรมตกได้แก่ผู้ที่เป็นเจ้าของโรงแรมตามสัดส่วนแห่งความเป็นเจ้าของโรงแรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 111และมาตรา 1360 และเมื่อเงินดังกล่าวมิใช่มรดกของผู้ตาย แม้ทายาทคนหนึ่งปิดบังหรือยักย้ายเงินส่วนนี้ ทายาทคนนั้นก็ไม่ถูกกำจัดมิให้รับมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 590/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วม แม้มีวัตถุประสงค์ให้ครอบครองร่วมกัน และการครอบครองปรปักษ์ต้องมีการบอกกล่าว
เจ้าของที่ดินยกที่ดินให้แก่บุตรทั้งหกถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันโดยไม่มีวัตถุประสงค์จะให้เป็นเจ้าของรวมกันมีลักษณะเป็นการถาวรอันจะแบ่งแยกกันไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1363 วรรคแรก โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกของเจ้าของรวมคนหนึ่งจึงมีสิทธิฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินแปลงพิพาทได้ ที่ดินพิพาทใส่ชื่อผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมทุกคนไว้โดยไม่ได้มีการตกลงแบ่งแยกกันเป็นสัดส่วนในระหว่างเจ้าของรวม การถือครองที่ดินของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมเป็นการครอบครองแทนเจ้าของรวมคนอื่นที่มิได้อยู่อาศัยในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 จะอ้างการครอบครองปรปักษ์ไม่ได้จนกว่าจะได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 เสียก่อน เมื่อไม่ได้แสดงเจตนาเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือแก่เจ้าของรวมคนอื่นว่าจะยึดถือครอบครองเป็นของตนจำเลยที่ 1 ไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินส่วนที่ครอบครอง โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสี่แบ่งส่วนกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทให้โจทก์ ปัญหามีเพียงว่า โจทก์มีสิทธิเรียกให้แบ่งส่วนของตนได้หรือไม่ ข้อที่ว่าจำเลยที่ 1 ครอบครองบ้านและโรงรถอยู่จะได้ภารจำยอมในที่ดินพิพาทส่วนที่ปลูกสร้างนั้นหรือไม่ ไม่เป็นประเด็นพิพาทในคดี เพราะว่าภารจำยอมไม่ถูกกระทบกระเทือนจากการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1393,1394
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องแบ่งทรัพย์สินร่วม: แม้เป็นพระภิกษุ ก็มีสิทธิเรียกร้องในฐานะเจ้าของรวมได้
เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์และ ล.บุตรเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาและร่วมกันครอบครองโดยมิได้แบ่งแยกที่ดินพิพาทจึงมิใช่มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไป แต่เป็นทรัพย์สินร่วมกันของโจทก์และ ล. มารดาของจำเลยทั้งห้าเมื่อ ล.ตายส่วนของ ล. ตกแก่จำเลยทั้งห้า การที่จำเลยทั้งห้าไม่ยอมแบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ในฐานะเจ้าของรวม จึงมีอำนาจฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทได้ แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุ ก็หามีบทกฎหมายห้ามโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งห้าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 470/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของเจ้าของรวมแม้เป็นพระภิกษุ: คดีทรัพย์สินร่วมหลังมรดก
เจ้ามรดกตาย โจทก์และ ล. บุตรเจ้ามรดกซึ่งเป็นทายาทได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาแล้วร่วมกันครอบครองโดยมิได้แบ่งแยกจึงมิใช่มรดกของเจ้ามรดกอีกต่อไป แต่เป็นทรัพย์สินร่วมกันของโจทก์และ ล. เมื่อ ล. ตายส่วนของ ล. ตกแก่จำเลยทั้งห้าซึ่งเป็นบุตร ล. โจทก์ขอแบ่งส่วนของตน จำเลยทั้งห้าไม่ยอม จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ฟ้องขอให้แบ่งที่ดินพิพาทให้โจทก์ในฐานะที่เป็นเจ้าของรวม มิใช่ในฐานะที่เป็นทายาทโดยธรรมเนียม เรียกร้องเอาทรัพย์มรดก แม้โจทก์จะเป็นพระภิกษุก็ฟ้องจำเลยทั้งห้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 418/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์มรดก: ทรัพย์สินที่ได้มาระหว่างสามีภรรยาเป็นของทั้งสองคน และอายุความมรดกสะดุดเมื่อมีผู้จัดการมรดก
ค.เป็นผู้ปกครองเด็กชายท. ตามคำสั่งศาล มีอำนาจฟ้องจำเลยขอแบ่งมรดกให้แก่เด็กชาย ท. ได้ โจทก์ระบุในหน้าฟ้องว่า ค.ในฐานะผู้ปกครองเด็กชายท.แต่เมื่อข้อความตามที่โจทก์ระบุไว้หน้าฟ้องดังกล่าวและตามที่โจทก์บรรยายไว้ในคำฟ้องฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องคดีนี้แทนเด็กชาย ท.ในฐานะผู้ปกครองเด็กชาย ท. ผู้เยาว์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ระบุว่า ผู้มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งมรดกของ บ.เจ้ามรดกได้แก่เด็กชาย ท. และจำเลย พร้อมกับบอกสัดส่วนที่เด็กชาย ท. มีสิทธิได้รับทรัพย์มรดกเป็นจำนวนเท่าใดไว้แล้วไม่จำเป็นต้องระบุเจ้ามรดกมีทายาทจำนวนกี่คน และเป็นผู้ใดหากจำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกเห็นว่า จำนวนทายาทของเจ้ามรดกหรือจำนวนทรัพย์สินที่โจทก์ขอแบ่งไม่ถูกต้องก็เป็นเรื่องที่จำเลยจะต้องให้การต่อสู้คดีไว้ ส่วนที่ฟ้องโจทก์ระบุวันที่ ส.ถึงแก่กรรมผิดไป แต่ตามภาพถ่ายใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องได้ระบุว่าส. ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่เท่าไร ซึ่งเมื่ออ่านฟ้องโจทก์ประกอบกับใบมรณบัตรเอกสารท้ายฟ้องแล้วย่อมเข้าใจได้ว่า เป็นเรื่องพิมพ์ข้อความผิดพลาดที่ถูกต้องเป็นวันที่ตามใบมรณบัตรที่แนบมาท้ายฟ้อง ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม มรดกที่มีผู้จัดการ อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันตั้งผู้จัดการมรดก ทายาทจึงไม่จำต้องฟ้องเรียกให้แบ่งมรดกภายใน 1 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 81/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสหลังหย่า: ทรัพย์สินยังเป็นของร่วมกันจนกว่าจะแบ่ง
ฎีกาของผู้ร้องทั้งสองโต้แย้งเพียงว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ผู้ร้องที่ 2 มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ด้วย ข้อโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องที่ 2จึงยุติเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1 เพราะในชั้นอุทธรณ์ผู้ร้องที่ 2 ก็มิได้โต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 2 ดังนั้น ผู้ร้องที่ 2 จึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นของผู้ร้องที่ 1 แต่ผู้เดียว ทรัพย์พิพาทเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องที่ 1 กับจำเลยที่ 1เมื่อผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 จดทะเบียนหย่ากันโดยยังไม่มีการแบ่งสินสมรส ทรัพย์พิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องที่ 1 และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกัน หาใช่ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ 1แต่ผู้เดียวไม่ ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมโอนมรดกโดยผู้จัดการมรดกเกินอำนาจ ทำให้ทายาทเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ญ. ซึ่งเป็นพี่ของโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของ ญ. เมื่อ ญ. ตาย ที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจำนวนหนึ่งในสามทันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ญ. โอนที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 200,000 บาทเศษ ตีใช้หนี้จำนวน 70,000 บาท ที่ ญ. เป็นหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกิน ขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้เพราะเป็น กรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5966/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายมรดก: ผู้จัดการมรดกโอนทรัพย์สินเกินอำนาจทำให้ทายาทเสียหาย
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ญ. ซึ่งเป็นพี่ของโจทก์จำเลยที่ 1 เป็นภริยาของ ญ.เมื่อญ. ตาย ที่ดินพิพาทย่อมตกทอดมาเป็นของโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจำนวนหนึ่งในสามทันที โจทก์จึงเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท การที่จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของ ญ. โอนที่ดินพิพาทซึ่งมีราคา 200,000 บาทเศษตีใช้หนี้จำนวน 70,000 บาท ที่ ญ. เป็นหนี้ให้แก่จำเลยที่ 2เช่นนี้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกได้จัดการมรดกทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งเป็นการเกินขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมซื้อขายดังกล่าวได้เพราะเป็นกรณีที่เจ้าของทรัพย์สินใช้สิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินจากบุคคลอื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1336.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5252/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในทรัพย์สินจากการอยู่กินฉันสามีภริยา แม้มีคู่สมรสอื่น ย่อมมีสิทธิแบ่งทรัพย์สินร่วมกัน
โจทก์จำเลยต่างมีคู่สมรสอยู่ก่อนแล้ว ต่อมาได้มาอยู่กินฉันสามีภริยาและช่วยกันประกอบอาชีพขับรถรับส่งผู้โดยสารทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ในระหว่างนั้นเป็นของโจทก์และจำเลยร่วมกันคนละเท่า ๆ กัน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขอแบ่งส่วนของโจทก์จากจำเลยได้ และแม้ทรัพย์สินดังกล่าวจะเกิดขึ้นในขณะที่โจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันโดยยังมิได้ขาดจากการสมรสอยู่กับคู่สมรสเดิมก็หาเป็นเหตุขัดข้องในการขอแบ่งไม่ แต่ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์จำเลยหาใช่เป็นหุ้นส่วนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1012 ไม่.