คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรหาร มูลทวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: ความรู้เจตนาขณะกระทำผิดมีผลต่อการลงโทษตามมาตรา 357 วรรคสอง
แม้ในทางพิจารณาจะได้ความว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรของจำเลยได้กระทำต่อทรัพย์อันได้มาโดยการปล้นทรัพย์ ซึ่งต้องด้วยลักษณะฉกรรจ์ในความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคสอง ก็ตาม แต่จะลงโทษจำเลยให้หนักขึ้นตามลักษณะฉกรรจ์ดังกล่าวได้ก็ต่อเมื่อได้ความว่า ในขณะกระทำความผิดจำเลย ได้รู้อยู่แล้วว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ ทั้งนี้ ตามมาตรา 62 วรรคท้าย เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยได้รู้อยู่แล้วว่าทรัพย์ของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ คดีจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร อันต้องด้วยลักษณะฉกรรจ์ตามมาตรา 357 วรรคสอง ไม่ได้ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานรับของโจรตาม มาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น
ปัญหาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 วรรคแรก หรือฐานรับของโจร ตามมาตรา 357 วรรคสอง เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5264/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของโจร: ความรู้ว่าทรัพย์นั้นได้มาจากการกระทำความผิดเป็นสาระสำคัญในการลงโทษตามมาตรา 357 วรรคสอง
จำเลยรับว่ามีคนนำรถยนต์ที่ลักมาให้จำเลยเปลี่ยนเครื่องยนต์ ดังนี้ เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าขณะกระทำความผิด จำเลยได้รู้อยู่แล้วว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์อันได้มาโดยการกระทำความผิดฐานปล้นทรัพย์ จึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตาม ป.อ. มาตรา 357 วรรคสอง ไม่ได้ การกระทำของจำเลยคงเป็นความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคแรก เท่านั้น ปัญหาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคแรก หรือฐานรับของโจรตามมาตรา 357 วรรคสอง เป็นปัญหาอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยจะมิได้ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5166/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 ถือเป็นหนี้เด็ดขาด หากผู้ถูกทวงหนี้ไม่ปฏิเสธตามกำหนด
หนังสือทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่มีไปถึงผู้ร้องได้ระบุว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทวงหนี้โดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 และระบุจำนวนหนี้ที่ผู้ร้องจะต้องชำระแก่ผู้บริหารแผนตามสัญญาเช่าซื้อที่ผู้ร้องทำกับลูกหนี้ว่าหนี้ที่ต้องชำระเป็นหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และจะต้องชำระแก่ผู้บริหารแผนของลูกหนี้ภายในระยะเวลาใดอย่างชัดแจ้ง ทั้งยังแจ้งด้วยว่าหากผู้ร้องจะปฏิเสธหนี้ให้แสดงเหตุผลประกอบข้อปฏิเสธไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 14 วัน นับแต่วันรับหนังสือ มิฉะนั้นถือว่าเป็นหนี้ลูกหนี้ตามที่แจ้งไปเป็นการเด็ดขาดนั้น จึงเป็นการแจ้งตามบทบัญญัติมาตรา 90/39 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ แล้ว ผู้ร้องจะอ้างว่าเข้าใจว่าหนังสือทวงหนี้ดังกล่าวเป็นหนังสือทวงหนี้ทั่ว ๆ ไป และไม่เข้าใจบทบัญญัติมาตรา 90/39 ดังกล่าวหาได้ไม่ ดังนั้น เมื่อผู้ร้องมิได้ปฏิเสธหนี้ไปยังเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันรับหนังสือ หนี้ตามจำนวนที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งไปจึงเป็นหนี้เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/39 วรรคสอง ผู้ร้องจึงไม่อาจยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางให้ไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเพื่อพิจารณายอดหนี้ที่เป็นหนี้ลูกหนี้ใหม่ได้
ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14 เป็นกฎหมายที่ให้อำนาจศาลล้มละลายกลางที่จะใช้ดุลพินิจพิจารณาเหตุผลตามรูปคดีว่ามีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดีไว้หรือไม่ เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลล้มละลายกลางไต่สวนคำร้องของผู้ร้องเพื่อพิจารณายอดหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือทวงหนี้ไปยังผู้ร้องใหม่และขอให้งดการบังคับคดีไว้ อันเป็นการของดการบังคับคดีไว้ก่อนในระหว่างไต่สวนคำร้องของผู้ร้องดังกล่าวโดยมิได้อ้างเหตุอันสมควรประการอื่นเพื่อให้ศาลล้มละลายกลางได้พิจารณาว่ามีเหตุสมควรที่จะงดการบังคับคดีไว้หรือไม่ จึงเป็นคำร้องที่มิชอบที่ศาลล้มละลายกลางจะรับไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4956/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระของเจ้าหนี้หลังการประมูลหุ้นกู้และฟื้นฟูกิจการลูกหนี้
เจ้าหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินเป็นผู้ถือหุ้นกู้ของลูกหนี้ โดยมีเงื่อนไขว่าลูกหนี้จะชำระดอกเบี้ยปีละ 2 ครั้ง ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ และวันที่ 2 สิงหาคม ลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหุ้นกู้ตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2540 ถึงวันที่ 2 สิงหาคม 2541 ต่อมาเจ้าหนี้ถูกระงับการดำเนินกิจการและไม่อาจดำเนินกิจการต่อไปได้และองค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน หรือ ปรส. ได้นำหุ้นกู้ของลูกหนี้ที่เจ้าหนี้ถือไว้ออกประมูลขาย ในการขายหุ้นกู้ดังกล่าว ปรส. ได้ออกข้อสนเทศการจำหน่ายสินทรัพย์การประมูลหุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพภาคเอกชน ลงวันที่ 24 สิงหาคม 2541 กำหนดให้ผู้เข้าร่วมประมูลต้องกรอกราคาประมูลต่อหน่วยของหุ้นกู้ที่ต้องการจะประมูล โดยต้องแสดงด้วยราคาที่รวมดอกเบี้ยค้างรับต่อหน่วยตามสูตรที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้อธิบายถึงคำว่าดอกเบี้ยค้างรับในกรณีที่การซื้อขายหุ้นกู้ไม่ได้อยู่ในช่วงปิดพักทะเบียนว่าหมายถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ผู้ซื้อหลักทรัพย์ต้องชดเชยแก่ผู้ขายตามสัดส่วน โดยคิดตามจำนวนวันนับจากวันกำหนดจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดก่อนส่งมอบจนถึงวันที่ส่งมอบในการประมูลขายหุ้นกู้ดังกล่าวจึงเป็นการประมูลไปซึ่งมูลค่าของหุ้นกู้รวมถึงสิทธิที่จะได้รับดอกเบี้ยเพียงนับจากวันกำหนดจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดก่อนส่งมอบหุ้นกู้จนถึงกำหนดไถ่ถอนหุ้นกู้อันผู้ประมูลมีสิทธิได้รับ แต่มิได้ประมูลขายดอกเบี้ยค้างชำระที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้รวมไปด้วย ทั้งตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ฯ มาตรา 54 ห้ามมิให้บริษัทที่ออกหลักทรัพย์จ่ายผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ แก่บุคคลที่มิได้มีชื่อในทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ ประกอบกับในหนังสือชี้ชวนให้ซื้อหุ้นกู้ของลูกหนี้ยังกำหนดให้นายทะเบียนหุ้นกู้จ่ายดอกเบี้ยแต่ละงวดให้แก่ผู้ถือหุ้นเป็นเช็คขีดคร่อมห้ามเปลี่ยนมือสั่งจ่ายในนามผู้ถือหุ้นที่ปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ เช่นนี้ ย่อมหมายความว่าในวันกำหนดจ่ายดอกเบี้ยในแต่ละงวด นายทะเบียนจะต้องจ่ายให้แก่บุคคลที่มีชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นกู้ เมื่อขณะที่ถึงกำหนดจ่ายดอกเบี้ยเจ้าหนี้ยังมีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นกู้อยู่ยังมิได้โอนไปยังผู้ประมูลซื้อได้ สิทธิเรียกร้องในดอกเบี้ยหุ้นกู้ที่ค้างชำระดังกล่าวจึงเป็นสิทธิของเจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำกับผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ไม่มีผลผูกพัน และกระทบต่อสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมรายอื่น
โจทก์และจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท 2 แปลง ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลง โดยให้โจทก์ได้ที่ดินแปลงละ 1 ไร่ และระบุตำแหน่งที่ดินส่วนของโจทก์ไว้ด้วย อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 เท่ากับว่า กรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 12 ยังคงครอบไปเหนือที่ดินพิพาททั้งหมดตามส่วนของตนจนกว่าจะมีการแบ่งแยก ซึ่งมีผลไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของที่ดินเท่านั้น แต่ยังมีผลรวมตลอดไปถึงจำนวนเนื้อที่ดินด้วย เพราะหากแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แปลงละ 1 ไร่ ตามข้อตกลงแล้ว ที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือย่อมจะมีจำนวนลดน้อยลง และไม่อาจนำมาแบ่งให้แก่จำเลยทั้งสิบสองได้ในจำนวนเท่า ๆ กันโดยไม่กระทบถึงสิทธิในจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยที่ 12 จะพึงได้รับ เมื่อข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเช่นนี้แล้ว ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรม ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 7/2548)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำในขณะที่ผู้เยาว์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากศาล และผลกระทบต่อสิทธิในกรรมสิทธิ์รวม
จำเลยที่ 12 ทำข้อตกลงแบ่งแยกที่ดินพิพาทกับโจทก์ อันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลย 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบถึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยก ย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรมซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกากำหนดตำแหน่งของที่ดินที่จะขอแบ่งแยกเป็นของตนเองเท่านั้น โดยจำเลยทั้งสิบสองไม่ได้โต้แย้งในเรื่องจำนวนที่ดินที่โจทก์พึงได้รับอีก จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง 1 (2) (ก) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความของผู้เยาว์ที่ไม่มีการอนุญาตจากศาลเป็นโมฆะ และมีผลกระทบต่อสิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
โจทก์และจำเลยทั้งสิบสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท 2 แปลง ได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับการแบ่งแยกกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาททั้งสองแปลงโดยให้โจทก์ได้ที่ดินแปลงละ 1 ไร่ และระบุตำแหน่งที่ดินส่วนของโจทก์ไว้ด้วยอันมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1574 (12) ในขณะที่จำเลยที่ 12 เป็นผู้เยาว์โดยไม่ปรากฏว่าได้รับอนุญาตจากศาล ข้อตกลงในเรื่องการแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 เท่ากับว่ากรรมสิทธิ์รวมของจำเลยที่ 12 ยังคงครอบไปเหนือที่ดินพิพาททั้งหมดตามส่วนของตนจนกว่าจะมีการแบ่งแยก ซึ่งมีผลไม่เพียงแต่เฉพาะในเรื่องการกำหนดตำแหน่งของที่ดินเท่านั้น แต่ยังมีผลรวมตลอดไปถึงจำนวนเนื้อที่ดินด้วย เพราะหากแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์แปลงละ 1 ไร่ ตามข้อตกลงแล้ว ที่ดินพิพาทในส่วนที่เหลือย่อมจะมีจำนวนลดน้อยลง และไม่อาจนำมาแบ่งให้แก่จำเลยทั้งสิบสองได้ในจำนวนเท่าๆ กัน โดยไม่กระทบถึงสิทธิในจำนวนเนื้อที่ดินที่จำเลยที่ 12 จะพึงได้รับ เมื่อข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 12 และมีผลกระทบจึงจำนวนเนื้อที่ดินตลอดจนตำแหน่งของที่ดินที่จะแบ่งแยกเช่นนี้แล้วย่อมเป็นสิ่งที่เกี่ยวพันไม่อาจแบ่งแยกออกได้จากนิติกรรม ซึ่งจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ร่วมกระทำ ข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินจึงไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 1 ถึงที่ 11 ด้วย โจทก์ไม่อาจบังคับให้จำเลยทั้งสิบสองแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ตนตามข้อตกลงเรื่องแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4650/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการซ้ำ: ศาลยกคำร้องหากช่องทางฟื้นฟูไม่มีสาระสำคัญต่างจากเดิม แม้มีรายละเอียดต่างกัน
บทบัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำนั้น พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 ไม่ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ที่ว่านำมาใช้บังคับโดยอนุโลมนั้น หมายความถึงว่านำมาปรับใช้ให้สอดคล้องกับกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ ป.วิ.พ. บัญญัติเรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำไว้ในมาตรา 144 ว่า "เมื่อศาลใดมีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดหรือในประเด็นข้อใดแห่งคดีแล้ว ห้ามมิได้ดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้นอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น?" บทบัญญัติของกฎหมายล้มละลายส่วนที่ว่าด้วยการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาองค์กรทางธุรกิจไว้ และเพื่อให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/8 บัญญัติว่า "ผู้ร้องจะขอถอนคำร้องขอไม่ได้ เว้นแต่ศาลจะอนุญาต แต่ถ้าศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการแล้ว ศาลจะอนุญาตให้ถอนคำร้องขอไม่ได้ ในกรณีที่ผู้ร้องทิ้งคำร้องขอ หรือขาดนัดพิจารณา หรือศาลอนุญาตให้ถอนคำร้องขอ ก่อนที่ศาลจะสั่งจำหน่ายคดี ให้โฆษณาในหนังสือพิมพ์รายวันที่แพร่หลายอย่างน้อยหนึ่งฉบับเพื่อให้เจ้าหนี้ทั้งหลายและลูกหนี้ทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน" และมาตรา 90/9 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "เมื่อศาลสั่งรับคำร้องขอแล้ว ให้ดำเนินการไต่สวนเป็นการด่วน? กับให้ส่งสำเนาคำร้องขอแก่เจ้าหนี้ทั้งหลายเท่าที่ทราบ?" จากวัตถุประสงค์และหลักกฎหมายดังกล่าวจึงเห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามมาตรา 90/4 นั้นเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งหลาย การดำเนินกระบวนพิจารณาในคดีฟื้นฟูกิจการโดยผู้ร้องขอฟื้นฟูกิจการในคดีหนึ่งถือเสมือนหนึ่งว่า เป็นการกระทำการแทนบุคคลอื่น ๆ ด้วย เช่นนี้หากคดีก่อนศาลได้วินิจฉัยเกี่ยวกับช่องทางในการฟื้นฟูกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งแล้วว่าไม่เป็นช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้และในคดีหลังมีการเสนอช่องทางในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีสาระสำคัญเหมือนกับคดีก่อน การพิจารณาวินิจฉัยคดีหลังย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
ในคดีก่อนลูกหนี้ขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างเหตุช่องทางการฟื้นฟูกิจการว่า จะพัฒนาพื้นที่ให้เช่าตอบสนองความต้องการของลูกค้า จัดสรรให้มีพื้นที่เช่าสูงสุดเพื่อให้ผลกำไรของลูกหนี้เพิ่มขึ้นโดยมีแผนกลยุทธ์ด้านต่าง ๆ คือ แผนด้านผลิตภัณฑ์ จะพัฒนาสาธารณูปโภคได้แก่ ไฟฟ้า น้ำประปา ที่จอดรถ การรักษาความปลอดภัย ให้เป็นที่น่าพึงพอใจสูงสุดแก่ลูกค้าและผู้ใช้บริการ แผนด้านราคา เน้นการกำหนดราคาที่หลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวนพื้นที่เช่าและรูปแบบการเช่า อาศัยความได้เปรียบของทำเลที่ตั้งอาคารเปรียบเทียบกับค่าบริการของอาคารให้เช่าอื่น ๆ ในระดับใกล้เคียงกัน แผนด้านช่องทางการจัดจำหน่าย เน้นที่ความหลากหลายของโครงการ เช่น การจัดนิทรรศการต่าง ๆ ภายในอาคาร เพื่อช่วยเพิ่มการหมุนเวียนของผู้ใช้บริการในอาคาร ศาลล้มละลายกลางพิจารณาแล้วเห็นว่า แนวทางดังกล่าวไม่น่าเชื่อว่าจะทำให้ลูกหนี้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้นจนเพียงพอที่จะนำมาหมุนเวียนในกิจการและแบ่งสรรไปชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ได้ในเมื่อผู้ร้องขอก็ไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการระดมทุนตลอดถึงแหล่งเงินทุนที่จะมาสนับสนุนวิกฤติการณ์ทางการเงินอันเป็นข้อสำคัญของการฟื้นฟูกิจการ การปรับโครงสร้างหนี้กับบรรดาเจ้าหนี้ก็ดี การติดตามหนี้สินที่ลูกค้าของลูกหนี้ค้างชำระก็ดี การเจรจากับเจ้าหนี้ภาระค้ำประกันโดยขอให้ใช้สิทธิเรียกร้องต่อลูกหนี้ชั้นต้นให้ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ภาระค้ำประกันก่อนก็ดี ล้วนเป็นเรื่องที่เลื่อนลอยไม่อาจคาดหมายได้ คดีไม่มีเหตุอันสมควรและไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ได้ จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องขอ คดีนี้ผู้ร้องขอเสนอช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ว่า จะทำให้กิจการของลูกหนี้เกิดผลกำไรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีความสามารถในการบริหารจัดการทางการเงินให้มีกระแสเงินสดหมุนเวียนอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ภาระหนี้สินต่อทรัพย์สินอยู่ในอัตราที่เหมาะสมตามแนวทางต่าง ๆ ได้แก่ การเพิ่มมูลค่าทรัพย์สิน โดยปรับปรุงคุณภาพสถานที่เพื่อให้เป็นอาคารสำนักงานที่มีความโดดเด่นที่สุดอาคารหนึ่งในย่านสีลมและพื้นที่ใกล้เคียง ปรับเปลี่ยนพื้นที่เช่าบางส่วนให้เป็นสถานบันเทิงแบบครบวงจร เช่น โรงภาพยนต์ขนาดเล็ก ลานโบว์ลิ่ง หรือลานเบียร์สด โดยอาศัยความได้เปรียบด้านที่ตั้งและพื้นที่ของอาคาร การเพิ่มรายได้ด้านอื่น ๆ คือเพิ่มค่าเช่าสำนักงานและพื้นที่การให้เช่า ให้บริการที่จอดรถ ให้เช่าพื้นที่จัดนิทรรศการต่าง ๆ เรียกเก็บค่าบริการและค่าสาธารณูปโภคจากลูกค้า รับเป็นผู้บริหารอาคารสำนักงานอื่น ๆ ขายพื้นที่หรือเช่าพื้นที่ระยะยาวโดยได้รับความเห็นชอบจากเจ้าหนี้มีประกัน ลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น การชำระหนี้จะมีการปรับโครงสร้างหนี้กับเจ้าหนี้ทั้งหลาย รายละเอียดตามตารางการชำระหนี้ที่จะเสนอภายหลัง ช่องทางฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่ผู้ร้องขอเสนอมาดังกล่าวมีความแตกต่างจากช่องทางที่ลูกหนี้เสนอในคดีก่อนเพียงถ้อยคำและรายละเอียดวิธีปฏิบัติตามช่องทาง แต่สาระสำคัญหรือหลักการเหมือนกับคดีก่อน จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4417/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สายลับล่อซื้อยาเสพติดชอบด้วยกฎหมาย หากจำเป็นต่อการพิสูจน์ความผิดที่ได้กระทำไปแล้ว
การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนเป็นการกระทำเท่าที่จำเป็นและสมควรในการแสวงหาพยานหลักฐานในการกระทำความผิดของจำเลยที่ได้กระทำอยู่แล้วตามอำนาจในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2 (10) ชอบที่เจ้าพนักงานตำรวจจะกระทำได้เพื่อให้ได้โอกาสจับกุมจำเลยพร้อมพยานหลักฐาน การใช้สายลับไปล่อซื้อเมทแอมเฟตามีนจากจำเลยจึงเป็นเพียงวิธีการพิสูจน์ความผิดของจำเลย มิใช่เป็นการแสวงหาพยานหลักฐานโดยไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4291/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทโดยการโฆษณา: การส่งเอกสารร้องเรียนเฉพาะเจาะจงบุคคลเดียว ไม่ถือเป็นการโฆษณาต่อสาธารณชน
จำเลยที่ 1 ทำหนังสือร้องเรียนซึ่งมีข้อความหมิ่นประมาท น. ยื่นต่อนายอำเภอคอนสารโดยเฉพาะเจาะจง ไม่เป็นการโฆษณาด้วยเอกสาร เพราะหนังสือร้องเรียนดังกล่าวยื่นต่อนายอำเภอคอนสารซึ่งเป็นบุคคลที่สามเพียงคนเดียวเท่านั้น จำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาใส่ความโดยโฆษณาให้บุคคลอื่นทั่วไปทราบนอกจากนายอำเภอคอนสาร จึงไม่เป็นการหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
of 9