คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บรรหาร มูลทวี

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และผลกระทบต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว
ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้ น. เข้าสวมสิทธิเป็นโจทก์แทนโจทก์เดิมเป็นเวลาภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์คดีจึงอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลาย จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายที่จะสั่งคำร้องของ น. ที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ศาลล้มละลายกลางไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ น. เข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์
มูลหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้เป็นหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินตามสิทธิที่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์มีอยู่ตามตราสารและสัญญาตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์กลับนำหนี้ที่มีอยู่มาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความฟ้องร้องในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนดเวลา 3 ปีและมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนดเวลา 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001 และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายกลางจะได้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดโดยมิได้มีการยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาพิจารณาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ก็ตาม ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายกลางได้วินิจฉัยยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27 ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อบทบัญญัติในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้แต่ละรายยื่นคำขอรับชำระหนี้ เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้ที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้มานั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วก็ตาม แต่ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระเป็นหนี้ที่ขาดอายุความ จึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3960/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้และการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย แม้มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว เจ้าหนี้ต้องพิสูจน์หนี้ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางสั่งรับฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา ย่อมเป็นอำนาจของศาลฎีกาแผนกคดีล้มละลายที่จะสั่งคำร้องของ น. ที่จะเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ ศาลล้มละลายกลางไม่มีอำนาจสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาต
เจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ขอรับชำระหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินและสัญญาขายลดตั๋วเงินซึ่งอาจใช้สิทธิเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระเงินได้ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2532 แต่เจ้าหนี้กลับนำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องลูกหนี้เป็นคดีล้มละลายเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2543 จึงขาดอายุความในมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่มีกำหนด 3 ปี และมูลหนี้ตามสัญญาขายลดตั๋วเงินที่มีกำหนด 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1001และมาตรา 193/30 แล้ว แม้ศาลล้มละลายจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดโดยมิได้ยกเหตุเรื่องอายุความขึ้นมาวินิจฉัยยกฟ้องโจทก์ ก็หาใช่ว่าศาลล้มละลายได้ยอมรับรองว่าเป็นหนี้ที่อาจขอรับชำระหนี้ได้ไม่ อีกทั้งกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย ในส่วนของการขอรับชำระหนี้เป็นกระบวนพิจารณาที่แยกต่างหากจากกระบวนพิจารณาคดีและมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เมื่อในมาตรา 91,94,106,107 และ 108 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลที่จะต้องพิจารณาในชั้นขอรับชำระหนี้อีกครั้งหนึ่งด้วยว่าหนี้ที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ได้หรือไม่ แม้หนี้นั้นจะเป็นหนี้ที่เจ้าหนี้นำมากล่าวอ้างฟ้องเป็นคดีล้มละลายจนศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลให้จำต้องถือตามไม่ เมื่อเป็นหนี้ที่ขาดอายุความจึงต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1341/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดบังคับคดีต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง การอ้างเหตุวิกฤตเศรษฐกิจโดยไม่เข้าหลักเกณฑ์จึงไม่อาจงดบังคับคดีได้
กรณีที่จะงดการบังคับคดีได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ตามมาตรา 292 และ 293 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คือกรณีที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ยื่นคำขอให้พิจารณาใหม่หรือได้ยื่นฟ้องเป็นคดีเรื่องอื่นในศาลเดียวกันนั้นซึ่งศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาด แต่ตามคำร้องของจำเลยหาได้อ้างเหตุตามบทบัญญัติดังกล่าวเพื่อขอให้ศาลงดการบังคับคดีไม่ กลับอ้างวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งเกิดขึ้นนอกประเทศไทยและในประเทศไทยเป็นเหตุสุดวิสัยทำให้จำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้มาของดการบังคับคดี โดยอ้างว่าได้รับความคุ้มครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150,205 และ 219 อันเป็นกฎหมายในส่วนสารบัญญัติซึ่งไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับการงดการบังคับคดีแต่อย่างใด ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้องของจำเลยจึงชอบแล้ว
ปัญหาที่ว่า ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 ถึงมาตรา 305(ว่าด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่ง) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 3,4,6,30 และ 48 จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นอุทธรณ์ทั้งมิได้กล่าวโดยชัดแจ้งว่าบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 ถึงมาตรา 305 ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้และไม่จำต้องส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 58/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์: เจตนาทุจริต, การใช้กำลัง, ร่วมกระทำความผิด, การติดตามของผู้เสียหาย, การร่วมมือของจำเลย
ผู้เสียหายขับรถจักรยานยนต์เฉี่ยวชนกับรถเก๋ง รถจักรยานยนต์ล้มทับขาผู้เสียหายจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์ซ้อนท้ายกันมามีเจตนาจะลักรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายมาแต่แรก จึงใช้อุบายทำทีเข้าช่วยเหลือหลอกลวงว่าจะพาไปส่งบ้าน ขณะที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหาย โดยจำเลยที่ 3 ขับรถจักรยานยนต์มีผู้เสียหายนั่งซ้อนท้ายตามกันไป การลักทรัพย์ยังไม่ขาดตอน แม้ว่าเมื่อถึงบริเวณทางแยก จำเลยที่ 2จะขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายลับสายตาไปแล้ว แต่ผู้เสียหายยังไม่ละการติดตามโดยบอกจำเลยที่ 3 ให้หยุดรถเพื่อแจ้งศูนย์วิทยุติดตามจำเลยที่ 2 อีกทางหนึ่ง ทั้งคนร้ายคือจำเลยที่ 3 ก็ยังอยู่กับผู้เสียหาย การที่จำเลยที่ 3 ใช้กำลังประทุษร้ายโดยใช้ศอกตวัดกระแทกผู้เสียหายตกจากรถจักรยานยนต์ก็เพื่อความสะดวกแก่การลักทรัพย์หรือการพาทรัพย์นั้นไป และกรณีไม่ใช่การกระทำของจำเลยที่ 3 โดยลำพัง เพราะพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ย้อนกลับมายังจุดที่นัดหมายกันไว้ ย่อมเป็นการแสดงชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 2 มีเจตนาร่วมกระทำด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงมีความผิดฐานร่วมกันชิงทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6992/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือรับสภาพหนี้มีผลผูกพันแม้ระบุแหล่งเงินชำระหนี้ หากลูกหนี้ผิดนัด ผู้ค้ำประกันต้องชำระหนี้
แม้หนังสือรับสภาพหนี้จะมีข้อความชัดเจนว่า จำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ที่บริษัทจำเลยที่ 1 ซื้อวัสดุก่อสร้างจากโจทก์เพื่อนำไปก่อสร้างสถานบริการน้ำมัน โดยจำเลยที่ 2 จะได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัท บ. เมื่อได้รับเงินช่วยเหลือดังกล่าวแล้วจะชำระเงินให้แก่ห้างฯ โจทก์ทันทีก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์และผิดนัด จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้นั้นแก่โจทก์ตามกฎหมาย ส่วนเงินที่นำมาชำระหนี้จะนำมาจากที่ไหนเป็นเรื่องของจำเลยที่ 2 ดังนั้น ข้อความที่ระบุว่าจำเลยที่ 2 จะได้รับเงินช่วยเหลือจากบริษัท บ. และนำมาชำระหนี้แก่โจทก์นั้น จึงมีความหมายเพียงว่าเงินที่จำเลยที่ 1 จะนำมาชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยที่ 2 ได้มาจากที่ไหนเท่านั้น หาใช่เป็นเงื่อนไขในการชำระหนี้อันจะทำให้โจทก์ยังไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ชำระหนี้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6064/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาออกเช็ค – นิติบุคคล – กรรมการ – ความรับผิดร่วม – ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ความประสงค์หรือเจตนาแสดงออกโดยผู้แทนนิติบุคคล คือจำเลยที่ 2 กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการของจำเลยที่ 1 ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ออกเช็คทั้งสองฉบับเพื่อชำระหนี้ค่าสินค้า ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1 จึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยที่ 2 กระทำทั้งฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 เป็นการร่วมกันกระทำผิด จำเลยที่ 2 ไม่อาจอ้างได้ว่าไม่มีเจตนาออกเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7947/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฎีกาและการแก้ไขข้อบกพร่องของคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ
จำเลยยื่นฎีกาโดย ธ. ทนายจำเลยลงชื่อเป็นผู้ฎีกาแทนจำเลย แต่ใบแต่งทนายไม่ได้ระบุให้ทนายความมีอำนาจฎีกา ศาลฎีกามีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นจัดการแก้ไขข้อบกพร่องโดยให้จำเลยลงชื่อในฐานะผู้ฎีกาในคำฟ้องฎีกาให้ถูกต้อง จำเลยไม่มาแก้ไขข้อบกพร่องภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด คำฟ้องฎีกาของจำเลยจึงมี ธ. ทนายความของจำเลยลงชื่อเป็นผู้ยื่นฎีกาแทนจำเลยโดยไม่มีอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใช้สิทธิในการฎีกาได้ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 62 คำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ ธ. ลงชื่อเป็นผู้ฎีกาจึงเป็นคำฟ้องฎีกาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 9