พบผลลัพธ์ทั้งหมด 88 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2618/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหนี้, การแปลงหนี้, และอายุความฟ้องร้องคดีสัญญาซื้อขาย
คดีล้มละลายเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว ประเด็นมีว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ เป็นคนละประเด็นกับคดีนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ในมูลหนี้ตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่ใช่เรื่องเดียวกันตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง ไม่เป็นฟ้องซ้อน
ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 มิใช่เป็นแต่เพียงโอนสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น กรณีมิใช่เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 306 มาใช้บังคับได้ แต่การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำข้อตกลงกันต่อมาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายดินกันซึ่งเป็นดินแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ขุดดินของโจทก์ไปครบแล้ว จำเลยที่ 2 ยังชำระค่าดินให้แก่โจทก์ไม่ครบ ถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350 ซึ่งทำให้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายดิน
ข้อตกลงตามสัญญาซื้อขายดินระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 เป็นเรื่องที่จำเลยที่ 1 โอนสิทธิและหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาซื้อขายที่มีอยู่แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 มิใช่เป็นแต่เพียงโอนสิทธิเรียกร้องแก่โจทก์ให้จำเลยที่ 2 เท่านั้น กรณีมิใช่เรื่องการโอนสิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำ ป.พ.พ. มาตรา 306 มาใช้บังคับได้ แต่การที่โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำข้อตกลงกันต่อมาว่า โจทก์กับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายดินกันซึ่งเป็นดินแปลงเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อขายจากโจทก์และจำเลยที่ 2 ได้ขุดดินของโจทก์ไปครบแล้ว จำเลยที่ 2 ยังชำระค่าดินให้แก่โจทก์ไม่ครบ ถือได้ว่าเป็นสัญญาระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้คนใหม่ ย่อมมีผลเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามมาตรา 350 ซึ่งทำให้หนี้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นอันระงับสิ้นไปตามมาตรา 349 แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสัญญาซื้อขายดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6517/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลายที่ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขเจ้าหนี้มีประกัน ทำให้ศาลไม่รับฟ้องและไม่อุทธรณ์ได้
คำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ไม่รับคำฟ้องโจทก์เนื่องจากเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 10 (2) ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 24 วรรคสอง เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องเพื่อขออนุญาตอุทธรณ์ต่อศาลฎีกามาพร้อมกับอุทธรณ์ ศาลล้มละลายกลางจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง โดยต้องส่งอุทธรณ์และคำร้องดังกล่าวไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณา การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์และรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว อย่างไรก็ตามศาลฎีกาพิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ที่ต้องห้ามอุทธรณ์ดังกล่าวแล้ว ไม่มีเหตุสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดที่จะรับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาตามมาตรา 26 วรรคสี่ แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจใจให้ทำงาน-กักขังหน่วงเหนี่ยว: จำเลยต้องมีความผิดชัดเจน-ฟ้องต้องระบุรายละเอียด
ผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต่างประสงค์จะมาทำงานเป็นลูกเรือประมงตั้งแต่พบคนชักชวนแล้ว จึงมาพบจำเลยทั้งห้ากับพวก และไม่ปรากฏข้อเท็จจริงอีกเลยว่าผู้เสียหายทั้ง 27 คน เปลี่ยนใจไม่ประสงค์จะทำงานเป็นลูกเรือประมง จึงถูกจำเลยทั้งห้ากับพวกข่มขืนใจให้ต้องจำยอมดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง ข้อเท็จจริงกลับฟังได้ว่าผู้เสียหายทั้ง 27 คน มีความประสงค์จะได้งานทำเป็นลูกเรือประมงจึงสมัครใจมาอยู่กับจำเลย ห้องแถวที่เกิดเหตุลักษณะเป็นที่อยู่อาศัย มิใช่ที่จองจำหรือกักขังคนแต่อย่างใด การที่จำเลยพาผู้เสียหายมาให้อยู่รวมกันโดยจัดหาอาหารให้รับประทาน แม้การออกไปภายนอกจะต้องอนุญาตก่อนก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏว่าเป็นการห้ามเด็ดขาดแต่อย่างใด พฤติการณ์น่าจะเป็นเรื่องที่ต้องการให้อยู่พร้อมกันเพื่อที่จะลงเรือประมงตามที่ตกลงกันไว้ จึงยังฟังไม่ได้ว่ากระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยทั้งห้ากับพวกบังอาจร่วมกันข่มขืนใจและกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธขู่เข็ญให้จำยอมไปเป็นลูกเรือประมงตามที่จำเลยทั้งห้ากับพวกจะจัดสรรและมอบหมายให้ โดยจำเลยทั้งห้าขู่เข็ญว่าหากผู้เสียหายไม่ยินยอมจะถูกทำร้ายร่างกายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต้องจำยอมกระทำการตามที่ขู่เข็ญ ตามคำฟ้องหาได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งห้ากระทำการเช่นใดอันเป็นการกักขังหรือหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพ พอที่จะเข้าใจข้อหาในความผิดตามมาตรา 310 ได้ คำฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกามาด้วย และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยทั้งห้ากับพวกบังอาจร่วมกันข่มขืนใจและกักขังหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพในร่างกายโดยใช้มีดปลายแหลมเป็นอาวุธขู่เข็ญให้จำยอมไปเป็นลูกเรือประมงตามที่จำเลยทั้งห้ากับพวกจะจัดสรรและมอบหมายให้ โดยจำเลยทั้งห้าขู่เข็ญว่าหากผู้เสียหายไม่ยินยอมจะถูกทำร้ายร่างกายจนอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ จนผู้เสียหายทั้ง 27 คน ต้องจำยอมกระทำการตามที่ขู่เข็ญ ตามคำฟ้องหาได้บรรยายข้อเท็จจริงว่าจำเลยทั้งห้ากระทำการเช่นใดอันเป็นการกักขังหรือหน่วงเหนี่ยวผู้เสียหายทั้ง 27 คน ให้ปราศจากเสรีภาพ พอที่จะเข้าใจข้อหาในความผิดตามมาตรา 310 ได้ คำฟ้องของโจทก์ในข้อหานี้ จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกาก็ตาม ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่าพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 กับพวกกระทำความผิดตามฟ้อง แม้จำเลยที่ 4 จะมิได้ฎีกามาด้วย และปัญหาที่ว่าฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและปัญหาดังกล่าวเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 4 ที่มิได้ฎีกาให้มิต้องรับโทษได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขวันที่ในเช็คโดยไม่ได้รับความยินยอมของผู้สลักหลัง ทำให้เช็คเสียเฉพาะผู้สลักหลัง และไม่ต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยที่ 1 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาท โดยมีจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสลักหลัง ต่อมาจำเลยที่ 1 นำเช็คพิพาทไปแลกเงินสดจากโจทก์ โดยจำเลยที่ 1 ได้แก้ไขวันที่ลงในเช็ค ซึ่งถือเป็นข้อสำคัญ เมื่อจำเลยที่ 2 ผู้สลักหลังมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการแก้ไขเปลี่ยนแปลงนั้น เช็คพิพาทเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คพิพาทมาฟ้องร้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6442/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสลักหลังเช็คก่อน/หลังแก้ไขวันที่ และผลต่อความรับผิดของผู้สลักหลัง
จำเลยที่ 2 สลักหลังเช็คก่อนที่มีการนำไปขายให้โจทก์ ไม่ใช่สลักหลังภายหลังที่มีการแก้ไขวันที่ลงในเช็คและจำเลยที่ 2 ไม่ได้ยินยอมให้แก้ไข การแก้ไขดังกล่าวเป็นข้อสำคัญและเห็นประจักษ์เช็คเป็นอันเสียเฉพาะจำเลยที่ 2 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1007 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธินำเช็คมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6440/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเป็นเหตุไม่ควรให้ล้มละลาย แม้หนี้ยังไม่สูญ
หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในคดีนี้เป็นหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 ที่โจทก์อาจขอรับชำระหนี้ได้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 แต่โจทก์มิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวจนต่อมาเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้จำนวน 3 ราย ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวทุกราย ศาลแพ่งจึงถือเป็นเหตุไม่ควรให้จำเลยถูกพิพากษาให้ล้มละลายและมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยแล้ว แม้ผลของคำสั่งดังกล่าวไม่ทำให้จำเลยหลุดพ้นหนี้สินตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135 (2) ประกอบมาตรา 136 และโจทก์ยังอาจนำหนี้ตามคำพิพากษาของศาลแพ่งคดีหมายเลขแดงที่ 6312/2537 มาฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้อีกในคดีนี้ก็ตาม แต่พฤติการณ์ที่โจทก์ละเลยมิได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายของศาลแพ่งหมายเลขแดงที่ ล. 171/2541 โดยไม่ปรากฏเหตุอันสมควรทั้งที่มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 91 กรณีดังกล่าวจึงถือเป็นเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลายตามมาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6437/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้หลังยื่นฟื้นฟูกิจการ: สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระ
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้มีข้อตกลงว่า ภายหลังทำสัญญาหากมีเหตุการณ์กรณีมีการไม่ชำระเงินตามสัญญาหรือกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายได้ถูกริเริ่มขึ้น หรือลูกหนี้ถูกตัดสินชี้ขาดว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีการประชุมเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ตกลงชี้ขาดเป็นประการอื่นให้ถือว่าลูกหนี้ผิดนัดแล้ว และต้องชำระดอกเบี้ยค้างจ่ายที่คำนวณจากมูลหนี้เดิมก่อนทำสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลูกหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยยอมรับว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว และต่อมาศาลได้มีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว ลูกหนี้ไม่อาจชำระเงินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้แก่เจ้าหนี้ได้อีกต่อไปเนื่องจากถูกจำกัดสิทธิในการชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 90/12 (9) จึงเป็นกรณีที่ถือได้ว่าถูกหนี้ไม่ชำระเงินตามสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ และถูกตัดสินชี้ขาดว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการเรียกประชุมเจ้าหนี้ผู้ให้กู้ตกลงชี้ขาดเป็นประการอื่น ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดและต้องผูกพันปฏิบัติตามผลของสัญญาปรับโครงสร้างหนี้ โดยยังคงต้องรับผิดชำระหนี้ในส่วนของดอกเบี้ยค้างชำระตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6214/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย: การอนุญาตเลื่อนคดีและสิทธิในการสืบพยาน
การที่จะถือว่าคู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งขาดนัดพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่มาศาลในวันนัดสืบพยานและไม่ได้รับอนุญาตจากศาลให้เลื่อนคดี คำว่า คู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (11) หมายความว่า บุคคลผู้ยื่นคำฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทำการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือในฐานะทนายความ การที่ผู้รับมอบฉันทะจากทนายจำเลยที่ 1 มาศาลถือว่าคู่ความฝ่ายจำเลยที่ 1 มาศาลแล้ว กรณีไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 200 วรรคหนึ่ง ที่จะถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณา และนำเอากระบวนพิจารณาโดยขาดนัดมาใช้บังคับแก่คดี ดังนั้น คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ถือว่าจำเลยที่ 1 ขาดนัดพิจารณาและดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวโดยมิได้ให้จำเลยที่ 1 มีโอกาสสืบพยานของตน จึงเป็นคำสั่งและการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ มิได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน อีกทั้งการที่ทนายจำเลยที่ 1 ขอเลื่อนการพิจารณาคดีเนื่องจากเพิ่งได้รับการติดต่อจากจำเลยที่ 1 ให้เป็นทนายความและทนายความจำเลยที่ 1 ติดว่าความที่ศาลอื่นซึ่งได้นัดไว้ก่อนแล้ว ถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 40 ศาลฎีกามีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) และมาตรา 247 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6158/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้องคดีล้มละลาย: ศาลต้องอนุญาตหากเป็นความผิดพลาดเล็กน้อยในการระบุวันถึงแก่ความตาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ศ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2546 แทนที่จะเป็นวันที่ 27 กันยายน 2546 โดยโจทก์ได้แนบเอกสารเกี่ยวกับการตายของ ศ. ที่ระบุว่า ศ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2546 มาท้ายคำฟ้องด้วย เห็นได้ว่า การพิมพ์ฟ้องของโจทก์ผิดพลาดคลาดเคลื่อนจากเจตนา ถือได้ว่าเป็นการพิมพ์ผิดพลาดเล็กน้อยหรือผิดหลงเล็กน้อย โจทก์ย่อมยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องว่า ศ. ถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 27 กันยายน 2546 ได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 180 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6060/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ผู้เผยแพร่ต้องรับผิดชอบแม้จะไม่ได้แต่งเติมข้อความ แต่ต้องตรวจสอบความจริงก่อนเผยแพร่
หนังสือพิมพ์ไทยรัฐลงพิมพ์ข้อความมีหัวข้อข่าวว่า "แฉชัด ๆ "ชวน" บอกให้ปกปิด" ส่วนเนื้อข่าวมีข้อความว่า "ร้อยตำรวจเอกเฉลิมกล่าวว่า คดีบีบีซีเกิดขึ้น นายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีการคดโกงธนาคารบีบีซี นายชวนหลีกภัย หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ นายกรัฐมนตรีสมัยนั้นทราบ ก็มีการบอกให้ปกปิดไว้อย่าพูดอะไร ตัวเองก็ยิ้มเงียบ อย่างนุ่มนวล รัฐมนตรีพรรคประชาธิปัตย์แต่ละคนผูกไทใส่สูทพูดเพราะอย่างเดียว สื่อมวลชนก็ชื่นชม..." ข้อความที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบรรณาธิการผู้พิมพ์ผู้โฆษณาลงพิมพ์ดังกล่าวมีความหมายธรรมดา ประชาชนทั่วไปเข้าใจความหมายได้ว่า โจทก์ในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกระทำการโดยไม่ชอบด้วยหน้าที่ ละเว้นการปฏิบัติการตามหน้าที่ไม่ดำเนินการสอบสวนหาตัวผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับเรื่องทุจริตในธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชยการ จำกัด (มหาชน) หรือธนาคารบีบีซี ทั้ง ๆ ที่นายธารินทร์รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้รายงานเรื่องการทุจริตดังกล่าวให้ทราบแล้ว แต่โจทก์กลับเพิกเฉยไม่ดำเนินการทั้งยังบอกให้นายธารินทร์ปกปิดเรื่องการทุจริตไว้ไม่ให้เปิดเผย มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยประการที่น่าจะทำให้โจทก์เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง เป็นการเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของโจทก์ จึงเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แม้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ภายหลังจากการอภิปรายในรัฐสภา และจำเลยที่ 2 มาลงพิมพ์โฆษณาเผยแพร่โดยมิได้เสริมแต่งข้อความหรือสอดแทรกความคิดเห็นก็ไม่ทำให้ไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท