คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 378 (1)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำและการชำระหนี้ค่าจ้างก่อสร้างเมื่อจำเลยผิดสัญญาและเลิกสัญญา
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา378(1)มัดจำนั้นถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่นเงินมัดจำที่ริบจะจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องกันตามสัญญาเมื่อจำเลยที่1เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมีการเลิกสัญญาแสดงว่าจำเลยที่1มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญาเงินมัดจำที่ริบจึงไม่อาจจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนสำหรับหนี้ค่าจ้างก่อสร้างที่จำเลยที่1ค้างชำระแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินมัดจำเมื่อผิดสัญญา ค่ามัดจำไม่ถือเป็นการชำระหนี้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378 (1) มัดจำนั้น ถ้ามิได้ตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น เงินมัดจำที่ริบจะจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนได้ต่อเมื่อมีการปฏิบัติการชำระหนี้ถูกต้องกันตามสัญญา เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมีการเลิกสัญญาแสดงว่าจำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติการชำระหนี้ให้ถูกต้องตามสัญญา เงินมัดจำที่ริบจึงไม่อาจจัดเอาเป็นการใช้เงินบางส่วนสำหรับหนี้ค่าจ้างก่อสร้างที่จำเลยที่ 1ค้างชำระแก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเรียกคืนเงินมัดจำจากข้อตกลงซื้อขายที่ยังไม่สมบูรณ์ และอายุความการฟ้องเรียกคืน
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยานคือเอกสารในคดีอื่นซึ่งโจทก์จำเลยส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนคดีดังกล่าว มา ผูกติดกับสำนวนคดีนี้ และเมื่อเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอ แก่ การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดสืบ พยานโจทก์จำเลยได้ เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาลโดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(1) และถือไม่ได้ว่า เป็น การ เลิกสัญญา ซึ่ง ต้อง ให้ คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิม ตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงิน มัดจำคืนดังกล่าวไม่มี กฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญา ตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลย เป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่ง ต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินมัดจำ, สัญญาจะซื้อจะขาย, อายุความ, การผิดนัดชำระหนี้, ดอกเบี้ย
เมื่อข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยาน และศาลพิจารณาแล้วเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีได้แล้ว ศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจที่จะมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยได้ เมื่อข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยยังไม่ยุติ เพราะยังจะต้องมีการดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินให้เสร็จก่อนแล้วจึงจะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ ฉะนั้นเมื่อโจทก์และจำเลยยังมิได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่ได้กระทำกันมาแล้วได้ และจะถือเอาข้อตกลงนั้นมีผลเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วโจทก์ก็มีสิทธิให้จำเลยคืนเงินมัดจำได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 378(1) การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืนไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่นจึงฟ้องได้ภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 การฟ้องเรียกเงินมัดจำคืน ซึ่งไม่ใช่เป็นกรณีเลิกสัญญา ตามป.พ.พ. มาตรา 391 การชำระดอกเบี้ยจึงไม่ตกอยู่ภายใต้บังคับของป.พ.พ. มาตรา 391 วรรคสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5735/2534 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อตกลงซื้อขายที่ดิน, เงินมัดจำ, การยกเลิกสัญญา, อายุความ, ดอกเบี้ยผิดนัด
ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นอยู่ในเอกสารที่โจทก์และจำเลยอ้างเป็นพยานคือเอกสารในคดีอื่นซึ่งโจทก์จำเลยส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวต่อศาลชั้นต้นแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องนำสำนวนคดีดังกล่าวมาผูกติดกับสำนวนคดีนี้ และเมื่อเห็นว่าพยานเอกสารดังกล่าวเพียงพอแก่การวินิจฉัยคดีแล้ว ศาลชั้นต้นมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งให้งดสืบพยานโจทก์จำเลยได้
เงินมัดจำ 500,000 บาท ที่โจทก์ชำระให้จำเลยซึ่งเป็นราคาที่ดินส่วนหนึ่งอันจะนำไปสู่การทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในศาล โดยมีข้อตกลงกันว่าก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความต้องดำเนินการรังวัดแบ่งแยกโฉนดที่ดินนั้น เมื่อโจทก์จำเลยยังไม่ได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน โจทก์หรือจำเลยย่อมมีสิทธิยกเลิกข้อตกลงเบื้องต้นที่กระทำกันมาแล้วเสียได้ และจะถือว่าข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาจะซื้อจะขายหาได้ไม่ แม้จะมีการชำระเงินมัดจำกันแล้วก็ตาม โจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกเงินมัดจำดังกล่าวคืนได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378 (1) และถือไม่ได้ว่าเป็นการเลิกสัญญา ซึ่งต้องให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 หรือเป็นเรื่องลาภมิควรได้ตามมาตรา 406 การเรียกเงินมัดจำคืนดังกล่าวไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 ส่วนดอกเบี้ยในเงินค่ามัดจำดังกล่าวนั้นเมื่อกรณีไม่ใช่การเลิกสัญญาตามมาตรา 391 จึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 391 วรรคสอง เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ทวงถามเมื่อใด จึงถือว่าจำเลยเป็นผู้ผิดนัดตั้งแต่วันฟ้อง ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3939/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้กลายเป็นพ้นวิสัยจากเหตุสุดวิสัยหลังก่อหนี้ ลูกหนี้หลุดพ้นจากการชำระหนี้
เหตุที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถจัดการออกโฉนดและโอนที่ดินให้แก่โจทก์ได้ตามสัญญาจะซื้อขาย เป็นเพราะผู้ขายซึ่งซื้อที่ดินแปลงดังกล่าวมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลไม่สามารถโอนที่ดินให้แก่จำเลยทั้งสี่ เนื่องจากถูกบุคคลอื่นฟ้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาด และศาลฎีกาได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนการขายทอดตลาดในเวลาต่อมา ต้องถือว่าการชำระหนี้ของจำเลยทั้งสี่กลายเป็นพ้นวิสัยและพฤติการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นภายหลังที่จำเลยทั้งสี่ก่อหนี้ตามสัญญาจะซื้อขายทั้งไม่ปรากฏว่าได้เกิดขึ้นเนื่องจากการกระทำของจำเลยทั้งสี่จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบในพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นหาได้ไม่ จำเลยทั้งสี่จึงหลุดพ้นจากการชำระหนี้ ไม่ต้องโอนที่ดินแปลงดังกล่าวให้แก่ฝ่ายโจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 219 เมื่อการชำระหนี้บางส่วนกลายเป็นพ้นวิสัยเพราะพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ในฐานะลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบและการชำระหนี้ส่วนที่เป็นวิสัยที่จะทำได้ซึ่งหมายถึงการโอนที่ดินแปลงอื่น ๆตามสัญญาให้แก่โจทก์ยังเป็นประโยชน์แก่โจทก์ โจทก์จะไม่ยอมรับโอนที่ดินแปลงที่อยู่ในวิสัยจะโอนได้ แล้วเรียกค่าเสียหายหรือค่าสินไหมทดแทนเพื่อการไม่ชำระหนี้เสียทั้งหมดหาได้ไม่ โจทก์จำเลยยังมีหนี้ที่จะต้องชำระให้แก่กันและกันอยู่กล่าวคือฝ่ายจำเลยจะต้องโอนที่ดินที่เหลืออีก 5 แปลงให้แก่โจทก์ และฝ่ายโจทก์ก็ต้องชำระราคาตามที่ตกลงกันไว้นอกจากนั้นปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ได้จัดการโอนที่ดินให้แก่โจทก์แล้ว 1 แปลง กับได้จัดการออกโฉนดที่ดินแปลงที่เหลืออีก 5 แปลง พร้อมที่จะโอนให้แก่โจทก์ตามสัญญาทั้งการที่จำเลยทั้งสี่ไม่สามารถโอนที่ดินอีกแปลงหนึ่งนั้นหาได้เกิดจากพฤติการณ์ซึ่งจำเลยทั้งสี่ต้องรับผิดชอบไม่ จะถือว่าจำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นฝ่ายรับเงินมัดจำละเลยไม่ชำระหนี้ไม่ได้กรณีจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ที่จะคืนเงินมัดจำให้แก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 378(1)(3)