พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อขอถอนเงินธนาคาร ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
การที่จำเลยนำแบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคารมากรอกข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อปลอมของ ก. ในช่องผู้ขอถอนเงินและช่องผู้รับเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคารดังกล่าว ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบคำขอถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปนั้น ใบคำขอถอนเงินจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้ขอถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ของตน ย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร เอกสารดังกล่าวจึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 265และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1638/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดเงินฝากเพื่อบังคับคดีจากสัญญาทำไม้และกองทุนดูแลป่า: ศาลต้องไต่สวนก่อน
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ให้สัมปทานทำไม้แก่จำเลยโดยมีเงื่อนไขว่า จำเลยต้องนำเงินเข้าฝากและถอนเป็นกองทุนเพื่อดูแลและป้องกันไฟป่า ซึ่งจำเลยก็ได้ปฏิบัติตามโดยนำเงินเข้าฝากเป็นกองทุนที่ธนาคาร ท. แม้ต่อมาสัมปทานดังกล่าวจะสิ้นสุดลง โจทก์อ้างว่าจำเลยยังมีความผูกพันที่จะต้องส่งมอบเงินกองทุนดังกล่าวแก่โจทก์ และที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ก็เพื่อบังคับให้จำเลยส่งมอบเงินกองทุนนั้นให้แก่โจทก์ทั้งตามคำขอให้กำหนดวิธีการคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของโจทก์ก็กล่าวอ้างว่าจำเลยอาจถอนเงินจากบัญชีเงินฝากไปจำหน่ายจ่ายโอนได้ ซึ่งเมื่อโจทก์ชนะคดีจะไม่สามารถบังคับคดีเอาจากเงินฝากและทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้ หากเป็นดังที่โจทก์กล่าวอ้าง คำร้องของโจทก์ที่ขอให้ศาลมีคำสั่งอายัดเงินฝากในธนาคาร ท. ย่อมมีมูลที่จะนำวิธีคุ้มครองตามที่โจทก์ขอมาใช้ได้ จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะไต่สวนคำร้องของโจทก์เสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีครอบครองที่ดิน: ศาลต้องวินิจฉัยสิทธิครอบครองก่อนตัดสินความเป็นเจ้าของ
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือของจำเลย โดยที่ดินพิพาทเป็นเพียงที่ดินที่มีสิทธิครอบครองตามหนังสือรับรองทำประโยชน์ซึ่งทั้งโจทก์และจำเลยได้นำชี้ทับกันอยู่จึงยังไม่แน่ชัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของฝ่ายใด ดังนั้น การวินิจฉัยว่า ผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงจำต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทการที่ศาลล่างทั้งสองฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลย แล้วพิพากษาคดีไปตามที่พิจารณาได้ความ จึงไม่ใช่เป็นการพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1397/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาทเป็นหลักฐานแสดงความเป็นเจ้าของ เมื่อเขตที่ดินตาม น.ส.3ก.ทับซ้อนกัน
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่มีสิทธิครอบครอง โจทก์และจำเลยต่างนำชี้ทับกันยังไม่แน่ชัดว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ของโจทก์หรือจำเลยดังนั้น การวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทจึงจำต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อเป็นเครื่องแสดงหรือบ่งชี้ว่าผู้นั้นเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทเพราะผู้ที่เป็นเจ้าของที่ดินแปลงใดนั้นก็ย่อมมีสิทธิเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินแปลงนั้นได้ การที่ศาลฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ที่ดินพิพาทจึงเป็นของจำเลยแล้ว พิพากษาคดีไปตามที่พิจารณาได้ความ จึงมิใช่เป็นการพิพากษานอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 827/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ปลอมและใช้เช็คปลอมฉ้อโกงธนาคาร – พิจารณารอการลงโทษ – การริบของกลาง (บัตร ATM)
การที่จำเลยกับพวกร่วมกันปลอมเช็คของกระทรวงการคลังสหรัฐอเมริกาแล้วนำเช็คปลอมดังกล่าวไปฉ้อโกงธนาคารผู้เสียหายจนเป็นเหตุให้จำเลยได้รับเงินไปถึง1,485,628.18 บาท นั้น ลักษณะความผิดเป็นเรื่องร้ายแรงและกระทบต่อความเชื่อถือระหว่างธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินและของประชาชนผู้สุจริตทั่วไปในการใช้เช็คนับเป็นการกระทำที่มุ่งแสวงหาประโยชน์ส่วนตนโดยไม่คำนึงถึงความเดือดร้อนเสียหายของผู้อื่นและสังคมส่วนรวม กรณีไม่มีเหตุสมควรรอการลงโทษให้
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 แต่อย่างใด จึงไม่อาจริบบัตรดังกล่าวได้ ต้องคืนแก่เจ้าของ
ตามคำฟ้องของโจทก์ไม่ปรากฏว่าบัตร เอ.ที.เอ็ม. เป็นทรัพย์สินที่กฎหมายบัญญัติไว้ว่าผู้ใดทำหรือมีไว้เป็นความผิด หรือเป็นทรัพย์สินซึ่งบุคคลได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการกระทำความผิด หรือได้มาโดยได้กระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 32,33 แต่อย่างใด จึงไม่อาจริบบัตรดังกล่าวได้ ต้องคืนแก่เจ้าของ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 636/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: ใช้เอกสารปลอมแจ้งเท็จต่อเจ้าพนักงาน ต้องลงโทษฐานหนักสุด
จำเลยปลอมเอกสารราชการ และใช้เอกสารนั้นต่อพนักงานสอบสวน เพื่อขอให้ปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหา ความผิดฐานใช้เอกสารราชการปลอมและแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานของจำเลยเป็นการกระทำต่อเนื่องโดยเจตนาเดียวกันเพื่อให้เจ้าพนักงานปล่อยชั่วคราวผู้ต้องหาในคดีอาญา จึงเป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้เอกสารราชการปลอมซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหลังหย่าเมื่อพฤติการณ์เปลี่ยนแปลง โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของบุตร
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนอำนาจปกครองบุตรซึ่งตกอยู่แก่จำเลยฝ่ายเดียวตามข้อตกลงจดทะเบียนหย่า แต่ตามคำบรรยายฟ้องและพฤติการณ์แห่งคดีเป็นกรณีโจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามที่ได้ตกลงไว้กับจำเลย ถือได้ว่า โจทก์ประสงค์ที่จะเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521
แม้จำเลยไม่มีพฤติการณ์ประพฤติตนไม่สมควรในการใช้อำนาจปกครองตามข้อตกลงที่จดทะเบียนแต่ปรากฎภายหลังว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร ศาลเห็นสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจจากจำเลยมาเป็นโจทก์ได้ตาม มาตรา 1520 และ 1521
แม้จำเลยไม่มีพฤติการณ์ประพฤติตนไม่สมควรในการใช้อำนาจปกครองตามข้อตกลงที่จดทะเบียนแต่ปรากฎภายหลังว่ามีพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตร ศาลเห็นสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจจากจำเลยมาเป็นโจทก์ได้ตาม มาตรา 1520 และ 1521
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรหลังหย่า โดยคำนึงถึงความผาสุกและพฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนหย่าไม่มีข้อความใดระบุให้จำเลยต้องนำบุตรทั้งสองมาอยู่บ้านของจำเลยที่จังหวัดสมุทรปราการคงระบุเพียงว่าให้บุตรทั้งสองอยู่ในอำนาจปกครองของจำเลยซึ่งเป็นบิดาเท่านั้น จำเลยซึ่งเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองย่อมมีสิทธิกำหนดที่อยู่ของบุตรทั้งสองได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(1) การที่จำเลยยังคงให้มารดาของตนเลี้ยงดูบุตรทั้งสองต่อมาภายหลังการหย่าโดยจำเลยไปเยี่ยมเยียนพร้อมทั้งส่งเงินค่าเลี้ยงดูให้ตลอดมาย่อมเป็นการใช้อำนาจปกครองอันเหมาะสมและสอดคล้องกับพฤติการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะที่มีการหย่า
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าต่อมาโจทก์หายจากโรคเครียดเป็นปกติ และทำงานเป็นเสมียนทนายความมีเงินเดือน ๆ ละ 12,000 บาท โจทก์ได้รับบุตรทั้งสองมาเลี้ยงดูตั้งแต่ปี 2540 จนถึงวันฟ้อง โดยให้บุตรทั้งสองศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการและจำเลยได้เคยไปเยี่ยมบุตรทั้งสองที่โรงเรียนด้วย หากจำเลยนำบุตรทั้งสองกลับไปให้มารดาของจำเลยเลี้ยงดูที่จังหวัดนครสวรรค์อีกครั้ง ก็อาจเป็นการกระทบกระเทือนต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของบุตรทั้งสอง ซึ่งโจทก์เป็นผู้เลี้ยงดูอย่างเป็นปกติสุขตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา เมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรทั้งสองประกอบกับพฤติการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวแล้ว จึงมีเหตุสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองจากจำเลยซึ่งเป็นบิดา มาเป็นโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521 โดยให้จำเลยมีสิทธิติดต่อเยี่ยมเยียนบุตรทั้งสองได้ตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 1584/1
เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่าต่อมาโจทก์หายจากโรคเครียดเป็นปกติ และทำงานเป็นเสมียนทนายความมีเงินเดือน ๆ ละ 12,000 บาท โจทก์ได้รับบุตรทั้งสองมาเลี้ยงดูตั้งแต่ปี 2540 จนถึงวันฟ้อง โดยให้บุตรทั้งสองศึกษาเล่าเรียนที่โรงเรียนในจังหวัดสมุทรปราการและจำเลยได้เคยไปเยี่ยมบุตรทั้งสองที่โรงเรียนด้วย หากจำเลยนำบุตรทั้งสองกลับไปให้มารดาของจำเลยเลี้ยงดูที่จังหวัดนครสวรรค์อีกครั้ง ก็อาจเป็นการกระทบกระเทือนต่อชีวิตและความเป็นอยู่ของบุตรทั้งสอง ซึ่งโจทก์เป็นผู้เลี้ยงดูอย่างเป็นปกติสุขตลอดระยะเวลา 5 ปี ที่ผ่านมา เมื่อคำนึงถึงความผาสุกและประโยชน์ของบุตรทั้งสองประกอบกับพฤติการณ์ที่ได้เปลี่ยนแปลงไปดังกล่าวแล้ว จึงมีเหตุสมควรเปลี่ยนตัวผู้ใช้อำนาจปกครองจากจำเลยซึ่งเป็นบิดา มาเป็นโจทก์ซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1520 และ 1521 โดยให้จำเลยมีสิทธิติดต่อเยี่ยมเยียนบุตรทั้งสองได้ตามควรแก่พฤติการณ์ตามมาตรา 1584/1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนจำนองที่ดิน - อำนาจฟ้อง - บุคคลภายนอก - มาตรา 145 ป.วิ.พ.
โจทก์ฟ้องว่า ส. ไม่ยอมโอนที่ดินตามฟ้องให้โจทก์ตามข้อตกลง โจทก์จึงได้อายัดที่ดินตามฟ้องไว้และฟ้อง ส. ให้ปฏิบัติตามข้อตกลง ระหว่างคดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จำเลยทั้งสองมีคำสั่งให้จดทะเบียนที่ดินดังกล่าวระหว่าง ส. กับธนาคาร ก. จึงขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองนั้น ปรากฏว่าก่อนฟ้องคดีนี้โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า ส. และธนาคาร ก. ได้ทำนิติกรรมจำนองเกี่ยวกับที่ดินตามฟ้องกัน ผู้โต้แย้งสิทธิและผู้ทำนิติกรรมเกี่ยวกับที่ดินตามฟ้องนอกจากจำเลยทั้งสองแล้วยังมี ส. และธนาคาร ก. แต่โจทก์ฟ้องเพียงจำเลยทั้งสองเท่านั้น และมิได้ฟ้องหรือเรียก ส. และธนาคาร ก. ผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินเข้ามาเป็นคู่ความด้วย การขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินตามฟ้องดังกล่าวเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดี ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมจำนองดังกล่าว ปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 444/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ไม่รวมคู่กรณีที่เกี่ยวข้อง ทำให้ขาดอำนาจฟ้อง
ก่อนที่โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 เจ้าพนักงานที่ดิน และจำเลยที่ 2 กรมที่ดินให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท โจทก์ทราบอยู่แล้วว่า ส. และธนาคาร ก. ได้ทำนิติกรรมจดทะเบียนจำนองที่ดินดังกล่าวมาก่อน แต่โจทก์กลับฟ้องเพียงจำเลยทั้งสองเท่านั้น มิได้ฟ้องหรือเรียก ส. และธนาคาร ก. ผู้ทำนิติกรรมจำนองที่ดินเข้ามาเป็นคู่ความด้วย ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทจึงเป็นการขอให้ศาลพิพากษากระทบถึงสิทธิของบุคคลภายนอกซึ่งมิใช่คู่ความในคดีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์มิอาจฟ้องบังคับได้ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)