พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้บรรทุกไม้ผิดกฎหมาย: ศาลฎีกาชี้ขาดชอบธรรมตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ
จำเลยรับไว้ซึ่งไม้ไผ่จากผู้ลักลอบทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 14 ประกอบมาตรา 34 เมื่อจำเลยฝ่าฝืนนอกจากจะมีบทกำหนดโทษตามมาตรา 31 แล้ว มาตรา 35 บัญญัติว่า "บรรดาไม้ ของป่า เครื่องมือ เครื่องใช้... ยานพาหนะหรือเครื่องจักรกลใด ๆ ซึ่งบุคคลใช้หรือได้มาโดยการกระทำผิดตามพระราชบัญญัตินี้ ให้ริบเสียทั้งสิ้น..." รถยนต์กระบะของกลางเป็นยานพาหนะที่จำเลยใช้บรรทุกไม้ไผ่ บทบัญญัติมาตรา 35 จึงเป็นโทษสำหรับลงแก่ผู้กระทำความผิดโดยให้รถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์ที่จะต้องริบเสียตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติฯ อีกบทหนึ่ง การริบรถยนต์ของกลางจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5562/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขฐานความผิดและลดโทษคดีพนันออนไลน์: ศาลฎีกายกข้อผิดพลาดเรื่องบทมาตราและให้รอการลงโทษ
จำเลยให้การรับสารภาพว่า จำเลยเล่นการพนันทายผลฟุตบอลพนันเอาทรัพย์สินกันโดยไม่ได้รับอนุญาต อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมาย แม้โจทก์มิได้บรรยายว่าการเล่นพนันทายผลฟุตบอลเป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 ซึ่งมิได้ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง และอ้างบทมาตรา 4 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติการพนันฯ มาในคำขอท้ายฟ้อง แต่มาตรา 4 ทวิไม่ใช่บทมาตราที่บัญญัติองค์ประกอบความผิด และความผิดมาตรา 4 ทวิ ก็มีบทลงโทษรวมอยู่ในมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งโจทก์อ้างมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคห้า ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5548/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางอาญาของผู้ประเมินราคา: จำเลยไม่ได้ลงชื่อรับรองเอกสาร จึงไม่มีความผิดฐานแจ้งเอกสารเท็จ
ธนาคารอาคารสงเคราะห์จ้างโจทก์สำรวจและประเมินราคาทรัพย์สินของผู้กู้ยืมเงิน ซึ่งกำหนดให้โจทก์ต้องควบคุมดูแลลูกจ้างหรือพนักงานหรือตัวแทนของโจทก์ให้ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และต้องส่งผลการสำรวจและประเมินราคาแก่ธนาคารภายในระยะเวลาที่กำหนด การที่จำเลยที่ 3 กรอกข้อความในแบบสรุปผลการประเมินราคา และการที่จำเลยที่ 2 ลงชื่อในฐานะผู้ประเมินราคาและฐานะผู้จัดการสาขาเพื่อจัดส่งให้แก่ธนาคารอาคารสงเคราะห์ในนามของโจทก์ล้วนแต่เป็นขั้นตอนในการปฏิบัติงานของพนักงานโจทก์ ผู้ที่ประเมินราคาหรือทำคำรับรองเอกสารตามสัญญาจ้างก็คือโจทก์ จำเลยที่ 3 มิได้ลงชื่อเป็นผู้ประเมินราคาในเอกสารดังกล่าว จำเลยที่ 3 จึงมิใช่ผู้ทำคำรับรองเอกสารอันเป็นเท็จแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษและระยะเวลาฝึกอบรมในคดีเยาวชน ศาลอุทธรณ์แก้โทษเบาลง โจทก์ฎีกาแต่ถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคหนึ่ง, 83 ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมแทนมีกำหนดคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก และมาตรา 391 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดต่อ ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดคนละ 1 เดือน กรณีเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เนื่องจากการที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมคนละ 1 ปี และศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดคนละ 1 เดือน มิใช่การลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นฝึกอบรมในคดีเยาวชน และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,340 วรรคหนึ่ง จำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจฯ คนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรกและมาตรา 391 โดยเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 309วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจฯ คนละ 1 เดือน กรณีจึงเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 124
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงโทษจากจำคุกเป็นฝึกอบรมในสถานพินิจฯ และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,340 วรรคหนึ่ง จำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรก และมาตรา 391 การกระทำเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดคนละ 1 เดือน กรณีเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมาย จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองถือได้แล้วว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักทรัพย์ผู้เสียหายทั้งสอง โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์และยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ อันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ และเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาทุจริต เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวที่ฟังว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาทุจริตไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
ฎีกาของโจทก์ที่ว่า พฤติการณ์ของจำเลยทั้งสองถือได้แล้วว่าจำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันลักทรัพย์ผู้เสียหายทั้งสอง โดยใช้กำลังประทุษร้ายเพื่อให้ยื่นให้ซึ่งทรัพย์และยึดถือเอาทรัพย์นั้นไว้ อันเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ และเป็นการกระทำเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการเอาทรัพย์ของผู้อื่นไปโดยเจตนาทุจริต เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวที่ฟังว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาทุจริตไม่เป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีลักทรัพย์: การใช้ยานพาหนะเป็นเครื่องมือความผิด
จำเลย ผู้ร้อง และ ว.ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคดีเดียวกัน โจทก์คดีนี้ได้แยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวโดยขอให้ริบรถยนต์ของกลางด้วย ศาลพิพากษาให้ริบของกลาง คดีถึงที่สุด ส่วนผู้ร้องและ ว. ถูกฟ้องที่ศาลอาญาโดยโจทก์ในคดีที่ผู้ร้องและ ว.ถูกฟ้องนั้นขอริบรถยนต์ของกลางเช่นกัน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอให้ริบรถยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่า รถยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์เป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิด ต้องพิเคราะห์ว่ามีการใช้เป็นเครื่องมือโดยตรงหรือไม่
ขณะเกิดเหตุรถยนต์ของกลางจอดอยู่นอกรั้วบ้านที่จำเลยกับพวกเข้าไปลักทรัพย์โดยจำเลยกับพวกถูกจับขณะที่ยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์สินที่ลักมาขึ้นรถยนต์แต่อย่างใดจำเลยกับพวกเพียงนำรถยนต์มาจอดใกล้บริเวณเกิดเหตุเท่านั้น และจะใช้รถยนต์คันดังกล่าวในการขนย้ายทรัพย์ออกไปหลังจากที่ลักทรัพย์สำเร็จ เมื่อยังไม่มีการขนย้ายทรัพย์ที่ลักมาขึ้นรถยนต์ จึงรับฟังไม่ได้ว่ามีการใช้รถยนต์เป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรง รถยนต์ของกลางจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดอันจะพึงริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 ต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ของกลางในคดีลักทรัพย์: รถยนต์ต้องใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง จึงจะริบได้
จำเลย ผู้ร้อง และว. ถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมในคดีเดียวกัน โจทก์คดีนี้ได้แยกฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้เยาว์ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวโดยขอให้ริบรถยนต์ของกลางด้วย ศาลพิพากษาให้ริบของกลาง คดีถึงที่สุด ส่วนผู้ร้องและ ว. ถูกฟ้องที่ศาลอาญาโดยโจทก์ในคดีที่ผู้ร้องและ ว. ถูกฟ้องนั้นขอริบรถยนต์ของกลางเช่นกัน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำขอให้ริบรถยนต์ของกลาง ผู้ร้องจึงมายื่นคำร้องขอคืนของกลางในคดีนี้ เมื่อปรากฏว่า รถยนต์ของกลางมิใช่ทรัพย์ที่ใช้ในการกระทำผิด จึงต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4576/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบรถยนต์ที่ใช้ในการลักทรัพย์: ต้องมีการใช้รถยนต์โดยตรงในการขนย้ายทรัพย์สินที่ลักมาแล้วเท่านั้น
ขณะเกิดเหตุรถยนต์จอดอยู่นอกรั้วที่จำเลยกับพวกเข้าไปลักทรัพย์ โดยจำเลยกับพวกถูกจับขณะที่ยังไม่ได้ขนย้ายทรัพย์ที่ลักมาขึ้นรถยนต์ จำเลยกับพวกเพียงนำรถยนต์มาจอดใกล้บริเวณเกิดเหตุ เท่านั้น และจะใช้รถยนต์ในการขนย้ายทรัพย์ออกไปหลังจากที่ลักทรัพย์สำเร็จแล้ว เมื่อยังไม่มีการขนย้ายทรัพย์ที่ลักมาขึ้นรถยนต์ จึงไม่มีการใช้รถยนต์เป็นเครื่องมือหรือส่วนหนึ่งในการลักทรัพย์โดยตรงรถยนต์จึงมิใช่ทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดอันพึงจะริบได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 จึงต้องคืนให้แก่ผู้ร้อง
ปัญหาที่ว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างสู่ศาลฎีกาโดยตรงก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
ปัญหาที่ว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นอ้างสู่ศาลฎีกาโดยตรงก็ตาม แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225