พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2125-2128/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดต่อเนื่อง: การเพิกเฉยไม่ยอมออกจากที่ดินหลังได้รับแจ้ง ทำให้คดีไม่ขาดอายุความ
จำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์โดยเพิกเฉยไม่ยอมออกไปจากตึกแถวและที่ดินพิพาทภายในกำหนดเวลาที่โจทก์บอกกล่าว และยังคงอยู่ในตึกแถวและที่ดินพิพาทนั้นตลอดมา จนกระทั่งโจทก์ฟ้องคดีทั้งสองสำนวนนี้ อันเป็นการละเมิดที่ต่อเนื่อง คดีของโจทก์ทั้งสองสำนวนจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าวิทยุคมนาคม: เบี้ยปรับค่าตอบแทนการใช้ความถี่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดได้
แม้พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 มาตรา 11 ทวิ ให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนใช้ความถี่วิทยุ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุที่ไม่ชำระหรือชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเกินเวลากำหนดต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวันนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระแล้วเสร็จตามประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุก็ตาม แต่คดีนี้จำเลยทำสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมไปจากโจทก์ โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าภายในวันที่ 10 ของทุกเดือน ตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. วิทยุคมนาคม ฯ โดยเคร่งครัดและต้องรับผิดกรณีฝ่าฝืนข้อกำหนดนั้นด้วย ดังนั้น ประกาศกระทรวงคมนาคม ดังกล่าวจึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าตามที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า เมื่อจำเลยไม่ชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุหรือชำระเกินกำหนดจึงต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวันนับถัดจากวันที่ครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระแล้วเสร็จตามที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า ดังนั้น ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยสัญญาว่าจะใช้ให้แก่โจทก์เป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2022/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาเช่าวิทยุ: ศาลฎีกาแก้ไขคำพิพากษาให้คิดเบี้ยปรับตามสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าใช้เครื่องวิทยุคมนาคมและอุปกรณ์วิทยุคมนาคมจากกรมไปรษณีย์โทรเลขโจทก์ โดยจำเลยต้องชำระค่าเช่าเดือนละ 900 บาท และจำเลยจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. 2498 กฎหมาย ระเบียบและเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัดและต้องรับผิดในกรณีที่ฝ่าฝืนข้อกำหนดนั้น ๆ ด้วย ดังนั้น ประกาศกระทรวงคมนาคมเรื่อง กำหนดให้ผู้ใช้ความถี่วิทยุต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุ จึงเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าด้วย เมื่อจำเลยไม่ชำระหรือชำระค่าตอบแทนเกินกำหนด จำเลยต้องเสียค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราร้อยละ 1 ของค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุที่ต้องชำระต่อวัน นับถัดจากวันครบกำหนดจนถึงวันที่ชำระเสร็จ ตามประกาศกระทรวงคมนาคมฉบับดังกล่าว เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่จำเลยสัญญาว่าจะใช้ให้แก่โจทก์เป็นเบี้ยปรับเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 379 เมื่อเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วนศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดให้จำเลยใช้ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม อันเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายศาลฎีกาแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยกำหนดให้จำเลยชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราวันละ 10 บาท นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
การที่ศาลล่างทั้งสองไม่กำหนดให้จำเลยใช้ค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่ม อันเป็นการงดเบี้ยปรับที่จำเลยต้องรับผิดชำระให้โจทก์เสียทั้งสิ้น ไม่ต้องด้วยเจตนารมณ์ของกฎหมายศาลฎีกาแก้ไขเสียใหม่ให้ถูกต้อง โดยกำหนดให้จำเลยชำระค่าตอบแทนในการใช้ความถี่วิทยุเพิ่มในอัตราวันละ 10 บาท นับตั้งแต่วันถึงกำหนดชำระจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1820/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าของที่ดินในการใช้สอยและขัดขวางการใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนโดยมิชอบ แม้จะกระทบสิทธิการค้าขายของผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการใช้ทางร่วม
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กปิดกั้นประตูด้านข้างตึกแถวของโจทก์ หรือทำประตูเหล็กปิดกั้นปากทางเข้าออกหอพัก ล้วนได้กระทำภายในเขตโฉนดที่ดินของตนที่ซื้อมาจากจำเลยที่ 1 และปากทางเข้าออกหอพักนั้นก็ไม่ได้ตกอยู่ในภารจำยอมอันจะทำให้โจทก์มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินดังกล่าว โดยเฉพาะการที่บุคคลใดจะใช้ประโยชน์จากที่ดินของบุคคลอื่นได้นั้นต้องมีสิทธิอันมีกฎหมายรองรับ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิเช่นว่านี้จำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินย่อมมีสิทธิที่จะใช้สอย รวมทั้งมีสิทธิขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กและทำประตูเหล็กปิดกั้นก็เพราะมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้ทางเข้าออกหอพัก และเพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยอยู่ในหอพักเป็นการใช้สิทธิตามปกติวิสัยของผู้เป็นเจ้าของที่ดินในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นและโจทก์เองก็สามารถประกอบกิจการค้าขายด้านหน้าร้านได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะลดความสะดวกลงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
ขณะทำสัญญาซื้อขายตึกแถว จำเลยที่ 1 ได้ตกลงให้โจทก์ทำประตูเหล็กปิดเปิดที่ผนังด้านข้างของตึกได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้มีการทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานและเป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่ดินต่อจากจำเลยที่ 1 และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 นำแผ่นเหล็กและทำประตูเหล็กปิดกั้นก็เพราะมีบุคคลภายนอกเข้ามาใช้ทางเข้าออกหอพัก และเพื่อเป็นการป้องกันทรัพย์สินของผู้ที่อาศัยอยู่ในหอพักเป็นการใช้สิทธิตามปกติวิสัยของผู้เป็นเจ้าของที่ดินในการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ผู้ที่อาศัยอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 2 ถือไม่ได้ว่าเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดความเสียหายแก่บุคคลอื่นและโจทก์เองก็สามารถประกอบกิจการค้าขายด้านหน้าร้านได้ตามปกติ ซึ่งอาจจะลดความสะดวกลงไปบ้าง แต่ก็ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ใช้สิทธิของตนเป็นเหตุให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ได้รับความเสียหาย หรือเดือดร้อนเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควรในเมื่อเอาสภาพและตำแหน่งที่อยู่แห่งทรัพย์สินนั้นมาคำนึงประกอบตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1337
ขณะทำสัญญาซื้อขายตึกแถว จำเลยที่ 1 ได้ตกลงให้โจทก์ทำประตูเหล็กปิดเปิดที่ผนังด้านข้างของตึกได้ แต่ข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้มีการทำบันทึกไว้เป็นหลักฐานและเป็นเพียงบุคคลสิทธิไม่มีผลผูกพันจำเลยที่ 2 ผู้ซื้อที่ดินต่อจากจำเลยที่ 1 และไม่ใช่กรณีผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน การกระทำของจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำโดยชอบด้วยกฎหมายไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1639/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขบทลงโทษในชั้นอุทธรณ์และการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับความผิดฐานมียาเสพติดไว้ในครอบครอง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 66 วรรคหนึ่ง ลงโทษจำคุก 5 ปี จำเลยที่ 2 รับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง ตาม ป.อ. มาตรา 78 แล้วคงจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 2 ปี 6 เดือน ศาลอุทธรณ์ภาค 7 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยที่ 2 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาต ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 67 สำหรับโทษให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น กรณีถือเป็นการแก้ไขเฉพาะบทลงโทษแต่มิได้แก้ไขโทษ จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้เป็นที่พอใจว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่ยุติ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ในปัญหาทำนองว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ซึ่งมีระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปี ถึงจำคุกตลอดชีวิต และปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงห้าแสนบาท แม้จำเลยที่ 2 จะให้การรับสารภาพ ศาลก็ต้องฟังพยานโจทก์จนกว่าจะพอใจว่าจำเลยที่ 2 ได้กระทำความผิดจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 วรรคหนึ่ง ข้อเท็จจริงว่า พยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้เป็นที่พอใจว่า จำเลยที่ 2 กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงไม่ยุติ จำเลยที่ 2 อุทธรณ์ในปัญหาทำนองว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1455/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่พนักงานอัยการควบคุมตัวเยาวชนมาศาลเมื่อฟ้องคดีอาญา แม้สถานพินิจปล่อยตัวชั่วคราว
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับเรื่องที่พนักงานอัยการโจทก์มีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้องหรือไม่ แต่มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาบังคับใช้แก่คดี ซึ่งตามมาตรา 165 ที่กำหนดให้พนักงานอัยการโจทก์คุมตัวจำเลยมาศาลในวันฟ้องนั้นสามารถนำมาใช้บังคับแก่คดีเด็กหรือเยาวชนได้ และไม่เป็นการขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น พนักงานอัยการโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องควบคุมตัวจำเลยซึ่งเป็นเยาวชนมาศาลขณะยื่นฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าจำเลยถูกควบคุมตัวที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนครราชสีมาแล้วมีการประกันตัวไป แต่ภายหลังสถานพินิจดังกล่าวไม่อาจส่งตัวจำเลยต่อศาลในวันฟ้องได้เนื่องจากจำเลยถูกจับกุมในอีกคดีหนึ่งที่จังหวัดลพบุรี กรณีจึงเป็นเรื่องระหว่างการควบคุมตัวจำเลยในชั้นสอบสวนโดยอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาลประกอบกับพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543 ที่แก้ไขใหม่ก็มิได้บัญญัติให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลเยาวชนและครอบครัวกลางเป็นผู้รับผิดชอบงานของสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรดังที่บัญญัติไว้เดิมทั้งในปัจจุบันสถานพินิจทั่วราชอาณาจักรก็เป็นหน่วยงานที่แยกออกไปจากศาลแล้ว ดังนั้น ในชั้นควบคุมตัวจำเลยในสถานพินิจจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาล ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่ประทับฟ้องโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1434/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การมอบอำนาจ, การบอกกล่าวบังคับจำนอง, พยานเอกสาร, การทิ้งฟ้อง: ศาลฎีกายืนตามคำพิพากษาเดิม
บทบัญญัติมาตรา 60 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งไม่ได้บังคับว่าในการมอบอำนาจแก่กันนั้น วันที่ลงในหนังสือมอบอำนาจจะต้องเป็นวันที่เดียวกันกับวันที่มีการมอบอำนาจกันจริง ทั้งผู้มอบอำนาจผู้รับมอบอำนาจ และพยานผู้รู้เห็นการมอบอำนาจก็ย่อมจะลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจในภายหลังที่มีการมอบอำนาจกันแล้วได้ ไม่ถือเป็นการต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่โจทก์ได้ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ช. ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ. 2496 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง โจทก์ไม่ต้องนำสืบศาลก็รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องหมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยโดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันหากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 10 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยและได้ยื่นคำแถลงลงวันที่ 5พฤศจิกายน 2541 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกดังกล่าวแก่จำเลยซึ่งเป็นเวลาเกิน 10 วัน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายรายงานให้ศาลชั้นต้นทราบว่าส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ซึ่งอาจเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งหมายเรียกให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในคำฟ้องแต่แรกได้ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
ช. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยก่อนที่จะได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ แต่โจทก์ได้ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองที่ ช. ได้กระทำไปในนามของโจทก์โดยได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้แล้ว ย่อมถือได้ว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันแก่การนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 823 วรรคหนึ่ง ถือได้ว่าโจทก์ได้บอกกล่าวบังคับจำนองแก่จำเลยแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์เป็นนิติบุคคลตามพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์พ.ศ. 2496 ได้รับยกเว้นไม่ต้องปิดอากรแสตมป์ในเอกสารต่าง ๆ ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ. 2500 เป็นสิ่งที่ศาลรู้เอง โจทก์ไม่ต้องนำสืบศาลก็รับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2541 ศาลชั้นต้นรับคำฟ้องหมายเรียกส่งสำเนาให้จำเลยโดยให้โจทก์นำส่งภายใน 7 วันหากส่งไม่ได้ให้แถลงภายใน 10 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ หากไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้อง ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องลงวันที่ 2 พฤศจิกายน 2541 ต่อศาลชั้นต้นขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับภูมิลำเนาของจำเลยและได้ยื่นคำแถลงลงวันที่ 5พฤศจิกายน 2541 เพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ส่งหมายเรียกดังกล่าวแก่จำเลยซึ่งเป็นเวลาเกิน 10 วัน นับแต่วันที่เจ้าหน้าที่ผู้ส่งหมายรายงานให้ศาลชั้นต้นทราบว่าส่งหมายดังกล่าวให้จำเลยไม่ได้ การที่ศาลชั้นต้นยังมิได้มีคำสั่งให้จำหน่ายคดี ซึ่งอาจเป็นเพราะศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีมีเหตุขัดข้องไม่สามารถส่งหมายเรียกให้จำเลยตามภูมิลำเนาที่ระบุไว้ในคำฟ้องแต่แรกได้ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากไม่ยกข้อเท็จจริง/ข้อกฎหมายโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาโดยคัดถ่ายภาพคำคู่ความและเอกสารต่าง ๆที่มีการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวรวมทำเป็นคำฟ้องฎีกา และกล่าวอ้างในฎีกาแต่เพียงว่าจำเลยเป็นบิดาที่ดีของบุตรได้ชำระค่าอาหารและค่าเล่าเรียนให้บุตร บุตรจึงควรอยู่ในอำนาจปกครองดูแลของจำเลยจำเลยมิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯมาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: พิจารณาฐานะทางเศรษฐกิจและที่มาของทรัพย์สิน
ผู้คัดค้านที่ 1 มีอาชีพค้าขายโคกระบือ แต่ในบัญชีเงินฝากของผู้คัดค้านที่ 1 มีรายการฝากแต่ละครั้งเป็นเงินจำนวนมาก บางครั้งมากถึง 500,000 บาท และแม้ผู้คัดค้านที่ 1 จะอ้างว่าตนเป็นเจ้ามือสลากกินรวบมีรายได้ประมาณเดือนละ 50,000บาท ถึง 70,000 บาท ก็มิใช่อาชีพสุจริตที่จะอ้างถึงมูลเหตุการได้มาซึ่งทรัพย์สินของตนได้ ประกอบกับทรัพย์สินที่ถูกคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินยึดและอายัดไว้นั้น นอกจากเงินสด 343,340 บาทแล้ว ล้วนแต่เป็นทองรูปพรรณและอัญมณีจำนวนมากถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพโดยสุจริต จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 29 วรรคท้าย
ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 แม้ว่าศาลจะพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้ไม่สามารถริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองเป็นสามีภริยากัน และศาลลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ก็รับว่าเป็นเพียงแม่บ้านมีหน้าที่ดูแลบุตรเท่านั้น ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่มีอาชีพใดที่จะสามารถมีเงินได้เพื่อนำไปซื้อทรัพย์สินมีค่าเหล่านั้น แต่กลับมีเงินในบัญชีเงินฝากสูงสุดถึง340,000 บาท ทรัพย์สินอื่นก็ล้วนแต่เป็นทองรูปพรรณและอัญมณีจำนวนมากถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่เกินฐานะหรือความสามารถของผู้คัดค้านที่ 2 จึงเห็นได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ได้มาเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลจึงมีอำนาจริบทรัพย์สินนั้นได้
ส่วนผู้คัดค้านที่ 2 แม้ว่าศาลจะพิพากษายกฟ้องและคดีถึงที่สุดแล้ว ทำให้ไม่สามารถริบทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ 2 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ก็ตาม แต่เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองเป็นสามีภริยากัน และศาลลงโทษผู้คัดค้านที่ 1 ฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายแล้ว ซึ่งผู้คัดค้านที่ 2 ก็รับว่าเป็นเพียงแม่บ้านมีหน้าที่ดูแลบุตรเท่านั้น ผู้คัดค้านที่ 2 จึงไม่มีอาชีพใดที่จะสามารถมีเงินได้เพื่อนำไปซื้อทรัพย์สินมีค่าเหล่านั้น แต่กลับมีเงินในบัญชีเงินฝากสูงสุดถึง340,000 บาท ทรัพย์สินอื่นก็ล้วนแต่เป็นทองรูปพรรณและอัญมณีจำนวนมากถือได้ว่าเป็นทรัพย์สินที่มีอยู่เกินฐานะหรือความสามารถของผู้คัดค้านที่ 2 จึงเห็นได้ว่าทรัพย์สินดังกล่าวเป็นของผู้คัดค้านที่ 1 ที่ได้มาเกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ศาลจึงมีอำนาจริบทรัพย์สินนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระหว่างผู้เสียหายและจำเลยในคดีฉ้อโกง ทำให้สิทธิฟ้องอาญาและคำขอเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งระงับ
ผู้เสียหายและจำเลยยอมความกันโดยถูกต้องตามกฎหมายในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องจึงระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของพนักงานอัยการโจทก์ที่ให้จำเลยคืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225