คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประเสริฐ เขียนนิลศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การระงับคดีอาญาเนื่องจากมีการยอมความกันในความผิดฐานฉ้อโกง และการพิจารณาโทษฐานปลอมแปลงเอกสาร
หลังจากที่ศาลอุทธรณ์ภาค 9 มีคำพิพากษา ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไป ถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินแก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1061/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานฉ้อโกงและปลอมแปลงเอกสารสิทธิ ยอมความได้เฉพาะความผิดฐานฉ้อโกง แต่ความผิดฐานปลอมแปลงเอกสารสิทธิไม่ระงับ
ผู้เสียหายยื่นคำร้องว่า ผู้เสียหายได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งจำนวน103,478 บาท จากฝ่ายจำเลยแล้วจึงไม่ติดใจดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยที่ 1 อีกต่อไปถือได้ว่าผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุด สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวจึงระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) และย่อมทำให้คำขอในส่วนแพ่งของโจทก์ที่ให้จำเลยที่ 1 คืนเงินจำนวน 100,000 บาท แก่ผู้เสียหายตกไปด้วย ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามมาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ผู้เสียหายและจำเลยที่ 1 ยอมความกันในความผิดฐานร่วมกันฉ้อโกงซึ่งเป็นความผิดต่อส่วนตัวแล้ว มีผลเพียงแต่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานดังกล่าวระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2) แต่ความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการปลอมซึ่งมิใช่ความผิดต่อส่วนตัวหาได้ระงับไปด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1001/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความเท็จและใช้เอกสารราชการปลอมเพื่อขอมีบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ ก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรงต่อทางราชการ
บัตรประจำตัวประชาชนเป็นเอกสารสำคัญของทางราชการที่ออกให้โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานในการแสดงตนของบุคคล การที่จำเลยที่ 1 แจ้งความเท็จว่าตนชื่อ ป. และบัตรประจำตัวประชาชนของตนสูญหายไป เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานหลงเชื่อจดข้อความอันเป็นเท็จดังกล่าวลงในเอกสารราชการและจำเลยที่ 2 รับรองต่อเจ้าพนักงานว่าจำเลยที่ 1 คือ ป. และบัตรประจำตัวประชาชนของจำเลยที่ 1 สูญหายจริงพร้อมทั้งลงลายมือชื่อในช่องผู้รับรอง และจำเลยทั้งสองยังร่วมกันใช้เอกสารราชการปลอมที่จำเลยทั้งสองร่วมกันทำปลอมขึ้นแสดงต่อเจ้าพนักงานเพื่อขอมีบัตรใหม่ อันเป็นเหตุให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ให้แก่จำเลยที่ 1 นั้น นับว่าก่อให้เกิดความเสียหายอย่างร้ายแรงแก่ทางราชการ และอาจสร้างความเสียหายให้แก่ประชาชนผู้สุจริตทั่วไปที่จำเลยที่ 1 อาจนำบัตรประจำตัวประชาชนฉบับใหม่ไปใช้แอบอ้างอีกด้วย พฤติการณ์แห่งคดีจึงเป็นเรื่องร้ายแรงไม่สมควรรอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 815/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าพื้นที่ติดตั้งอู่เรือล่าช้าถือผิดสัญญา ผู้เช่าต้องชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาค้ำประกัน
เมื่อครบกำหนด 2 ปี นับแต่วันลงนามในสัญญาเช่าพื้นที่ในที่ดินของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ยังมิได้ติดตั้งอู่ลอยในพื้นที่ที่กำหนดไว้ตามสัญญา จำเลยที่ 1 จึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิริบเงินจากหลักประกันตามสัญญาได้ จำเลยที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกันต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ด้วย แต่หลักประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันของจำเลยที่ 2 ที่นำมามอบแก่โจทก์เป็นการวางไว้ล่วงหน้าเพื่อความเสียหายในกรณีที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เข้าลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ถ้าสูงเกินส่วน ศาลลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีครอบครัวที่เกินทุนทรัพย์และขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 5,300 บาทจำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวคดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่า เงินจำนวน 35,000 บาท และสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท เป็นเพียงเงินค่าตอบแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ที่ 3 มิใช่เป็นค่าสินสอด โจทก์ทั้งสามไม่อาจเรียกคืนได้นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาให้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีสินสอดที่ทุนทรัพย์ไม่เกิน 50,000 บาท และมิใช่คดีสิทธิในครอบครัว เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยไม่มีการหมั้น แต่มีสินสอด คือ เงินและ สร้อยคอทองคำ เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติกรรมที่ฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอดแล้วพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดเป็นเงินคืนแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทน เป็นเงิน 5,300 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าเงินและสร้อยคอทองคำไม่ใช่สินสอดขอให้ยกฟ้อง เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์มีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว คดีจึงต้องห้ามมิให้ คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามเป็นการไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ โจทก์ทั้งสามจึงไม่มีสิทธิฎีกา เพราะเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีสินสอดที่เกินทุนทรัพย์ และขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดเป็นเงินคืนแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำ 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้เป็นราคาแทน 5,300 บาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องโจทก์ทั้งสามดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาททั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัว จึงต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าฝ่ายโจทก์และฝ่ายจำเลยตกลงสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยมีการหมั้น เมื่อไม่มีการสมรสโดยมีพฤติการณ์ซึ่งฝ่ายจำเลยต้องรับผิดชอบ จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงต้องคืนสินสอด ที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่าทั้งสองฝ่ายมิได้ประสงค์จะทำการสมรสโดยจดทะเบียนสมรสตามกฎหมาย โจทก์ทั้งสามจึงไม่อาจเรียกสินสอดคืนได้ เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้เป็นการไม่ชอบตามมาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริง ศาลฎีกาก็ไม่อาจพิจารณาฎีกาโจทก์ทั้งสามได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 741/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตัวจากเงินสงเคราะห์สมาชิก ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม
วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ตามพระราชบัญญัติการฌาปนกิจสงเคราะห์ฯ นั้น เป็นไปเพื่อประโยชน์แก่สมาชิกให้ช่วยเหลือสงเคราะห์ซึ่งกันและกันเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตาย หาได้เป็นไปเพื่อแสวงหาประโยชน์ในทางการค้าหรือแสวงหากำไรแต่อย่างใดไม่ ทั้งพระราชบัญญัตินี้ยังมีลักษณะในการควบคุมการดำเนินกิจการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว และมีบทกำหนดโทษแก่ผู้ที่ฝ่าฝืนเพื่อป้องกันมิให้มีการแสวงหาประโยชน์โดยมิชอบด้วย การที่จำเลยที่ 1ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นกรรมการของสมาคมฌาปนกิจสงเคราะห์ฯร่วมกันหักเงินร้อยละ 4 จากเงินสงเคราะห์ที่สมาคมเรียกเก็บจากสมาชิกเมื่อสมาชิกคนใดคนหนึ่งตาย ในแต่ละครั้งแล้วนำมาจัดสรรแบ่งกันเป็นประโยชน์ส่วนตัว ทั้ง ๆ ที่เงินส่วนนั้นควรเป็นประโยชน์แก่ญาติของสมาชิกที่ถึงแก่ความตาย เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 5 และจำเลยที่ 7 หาได้รู้สำนึกถึงความผิดของตนไม่โดยให้ถ้อยคำแก่พนักงานคุมประพฤติว่าไม่ประสงค์จะชดใช้เงินคืนแก่สมาคม พฤติการณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องร้ายแรง ไม่สมควรรอการลงโทษให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลจำกัดเฉพาะการตั้ง/ถอดผู้จัดการมรดก การจัดการทรัพย์มรดกเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกเอง
คดีขอตั้งผู้จัดการมรดกศาลมีอำนาจพิจารณาเกี่ยวกับการตั้งและถอนผู้จัดการมรดกเท่านั้น แต่ตามคำร้องของผู้ร้องได้ความว่าผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกกับทายาทบางคนไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินมรดกได้ ผู้ร้องขอนำที่ดินมรดกออกขายโดยประมูลราคากันเองหรือนำออกขายทอดตลาดนั้น ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกทั้งสิ้นซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 อยู่แล้ว กรณีไม่ใช่อำนาจของศาลที่จะสั่งให้ผู้จัดการมรดกดำเนินการตามขอหากผู้ร้องไม่อาจจัดการเช่นนั้นได้เพราะเหตุทายาทบางคนขัดขวางก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นอีกคดีหนึ่งหาใช่มายื่นคำร้องในคดีที่ตั้งผู้จัดการมรดกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการมรดกเป็นของผู้จัดการมรดก ไม่ใช่อำนาจศาล ทายาทขัดขวางต้องฟ้องร้องต่างหาก
การนำที่ดินมรดกออกขายโดยประมูลราคากันเองหรือการนำออกขายทอดตลาดให้บุคคลภายนอกนั้น ล้วนเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1719 ไม่ใช่อำนาจของศาลที่จะสั่งได้ หากผู้จัดการมรดกไม่สามารถจัดการเช่นนั้นได้เพราะเหตุทายาทขัดขวาง ก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการแบ่งทรัพย์มรดก ซึ่งผู้จัดการมรดกชอบที่จะฟ้องร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเป็นอีกคดีหนึ่งเพื่อบังคับให้ผู้ขัดขวางกระทำการหรืองดเว้นกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้การจัดการมรดกดำเนินไปตามสิทธิและหน้าที่ มิใช่มายื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งตามที่เห็นสมควรเป็นคดีนี้
of 19