พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 711/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการมรดกเป็นของผู้จัดการมรดก หากมีข้อขัดแย้งต้องฟ้องร้องบังคับสิทธิ ไม่ใช่ยื่นคำร้องต่อศาล
ผู้ร้องในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลกับทายาทบางคนมีความเห็นแตกต่างกันไม่สามารถตกลงแบ่งที่ดินมรดกได้ เป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของผู้จัดการมรดกที่สามารถกระทำได้เอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1719 หากผู้ร้องไม่อาจจัดการมรดกได้เพราะเหตุทายาทบางคนขัดขวาง ก็เป็นเรื่องมีข้อโต้แย้งสิทธิในการจัดการแบ่งทรัพย์มรดกของผู้จัดการมรดกซึ่งผู้ร้องชอบที่จะไปดำเนินการฟ้องร้องต่อศาลที่มีเขตอำนาจเป็นอีกคดีหนึ่งบังคับให้ผู้ที่ขัดขวางกระทำหรืองดเว้นการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้การจัดการมรดกดำเนินไปได้ตามสิทธิและหน้าที่ หาใช่มายื่นคำร้องในคดีขอตั้งผู้จัดการมรดกไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา กับ การทุเลาการบังคับ: ศาลชี้ว่าแยกกันชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ส่วนการทุเลาการบังคับจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว คู่ความได้ขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ยังไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นไว้ก่อน คำว่า "คำสั่งของศาลชั้นต้น" ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 231 แห่ง ป.วิ.พ. ย่อมหมายถึง คำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดี หาได้หมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่ ดังนี้ จำเลยจะยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้มีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยถือว่าเป็นการขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตามมาตรา 231 ว.แพ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอต่อศาลชั้นต้น เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ส่วนการทุเลาการบังคับจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว คู่ความได้ขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ยังไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นไว้ก่อน คำว่า "คำสั่งของศาลชั้นต้น"ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 231 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ย่อมหมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีมิได้หมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 257/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าต้องพิจารณาเหตุแห่งการแยกกันอยู่ หากเป็นการแยกกันอยู่โดยสมัครใจเพื่อทำมาหากิน ไม่ถือเป็นการละทิ้งร้าง
เหตุที่โจทก์จำเลยทะเลาะกันและอยู่ด้วยกันในบ้านหลังเดียวกันโดยไม่ยุ่งเกี่ยวกันนั้น มิได้มีสาเหตุมาจากว่าโจทก์และจำเลยไม่สามารถใช้ชีวิตร่วมกันฉันสามีภริยาโดยปกติทั่วไปได้แต่เป็นเพราะโจทก์โกรธจำเลยเพราะเข้าใจว่าจำเลยร่วมมือกับมารดาโจทก์ฉ้อโกงเอาบ้านและที่นาของโจทก์ไป เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าก่อนหน้าเกิดเหตุโจทก์และจำเลยแม้จะอยู่บ้านเดียวกันแต่ก็มีลักษณะแบบต่างคนต่างอยู่ ต่างทำมาหากิน จึงเป็นกรณีที่โจทก์จำเลยสมัครใจอยู่กินในลักษณะดังกล่าว ฉะนั้น การที่จำเลยพาบุตรคนโตไปกรุงเทพมหานครเพื่อค้าขายเสื้อผ้าจึงเป็นเพียงการแยกตัวไปทำมาหากินเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์หรือกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากัน อันจะเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1516(4)(6)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 98/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพนันทายผลฟุตบอล: ความผิดตามมาตรา 4 ทวิ พ.ร.บ.การพนัน แม้ไม่เข้าข่ายมาตรา 4
การเล่นที่เสี่ยงโชคให้เงินแก่ผู้เล่นคนใดคนหนึ่งตามบัญชี ข. หมายเลข 16 แห่งพระราชบัญญัติการพนันฯ ต้องมีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันสลากกินแบ่งหรือสลากกินรวบด้วยแต่การพนันทายผลฟุตบอลไม่มีลักษณะคล้ายกับการเล่นการพนันดังกล่าว จึงไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติการพนันฯ มาตรา 4 แต่เป็นการเล่นอื่นใดนอกจากที่กล่าวในมาตรา 4 จะพนันกันหรือจะจัดให้มีเพื่อให้พนันกันได้เฉพาะการเล่นที่ระบุชื่อและเงื่อนไขไว้ในกฎกระทรวง ซึ่งมาตรา 4 ทวิ วรรคสองกำหนดให้ "การเล่น" หมายความรวมตลอดถึงการทายและการทำนายด้วยการเล่นการพนันดังกล่าวต้องขออนุญาตจากเจ้าพนักงาน เมื่อจำเลยทั้งสองเล่นการพนันทายผลฟุตบอลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าพนักงาน จึงมีความผิดตามมาตรา 4 ทวิ การที่โจทก์อ้างมาตรา 4 จึงเป็นเรื่องที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามความผิดที่ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคห้า ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้เองแม้ไม่มีคู่ความยกขึ้นในชั้นฎีกา และย่อมมีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ผู้มิได้ฎีกาด้วย เพราะเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบความผิดตามกฎหมายบัตรประจำตัวประชาชน และผลต่อการฟ้องคดีอาญา
ขณะที่จำเลยกระทำความผิดยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่ ซึ่งกฎหมายที่ใช้ภายหลังการกระทำความผิดในคดีนี้ได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น"ผู้มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด" ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้นในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่าจำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของ น. นั้น ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดมาตราดังกล่าว ถือเป็นฟ้องที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพก็ลงโทษจำเลยในข้อหาตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายองค์ประกอบความผิด พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน และการฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ที่ใช้ในภายหลังให้ยกเลิกความในมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 โดยขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดจาก "ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด" (ยื่นคำขอมีบัตร?) ให้เป็น "ผู้ใด" ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยผู้มีสัญชาติไทยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 2
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตร ประจำตัวประชาชนใหม่ ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
ตามคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทย ส่วนพวกจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตร ประจำตัวประชาชนใหม่ ฟ้องโจทก์ก็มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย ฟ้องโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับ พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิม จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิด ไม่ชอบด้วย
ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) แม้จำเลยให้การรับสารภาพ ก็ลงโทษจำเลยไม่ได้ ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9173/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายหลังกระทำผิดมีผลต่อองค์ประกอบความผิด จำเลยมีสัญชาติไทย ฟ้องไม่ชอบ
ขณะที่จำเลยที่ 2 กระทำความผิด ยังไม่มีการแก้ไขพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14แต่ต่อมาก่อนโจทก์ฟ้องคดีนี้ มีพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน(ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และมาตรา 8 ให้ยกเลิกความในมาตรา 14แห่งพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 และให้ใช้ความใหม่แทน เมื่อปรากฏว่ากฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดได้ขยายองค์ประกอบความผิดจากเดิมที่กำหนดให้ผู้กระทำความผิดต้องเป็น "ผู้ไม่มีสัญชาติไทยผู้ใด" ให้เป็น "ผู้ใด"ซึ่งจะเป็นผู้ที่มีสัญชาติไทยหรือไม่ก็ได้ ดังนั้น ในการพิจารณาว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดหรือไม่จึงต้องพิจารณาตามพระราชบัญญัติบัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 เดิมซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 2 เมื่อคำฟ้องของโจทก์ปรากฏว่า จำเลยเป็นผู้มีสัญชาติไทยส่วนพวกของจำเลยที่มาแอบอ้างและขอทำบัตรประจำตัวประชาชนใหม่ในนามของผู้อื่นนั้นฟ้องโจทก์มิได้ระบุว่าเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงเป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9037/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินราคาทรัพย์สินบังคับคดี: ราคาประเมินเป็นเพียงเบื้องต้น ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิคัดค้านหรือสู้ราคาได้
การประเมินราคาทรัพย์สินของเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นเพียงการประมาณราคาในเบื้องแรกเท่านั้น ซึ่งเป็นไปได้ว่าอาจไม่ตรงกับราคาที่แท้จริง แต่ก็หาใช่หลักเกณฑ์ตายตัวที่ผูกมัดผู้ที่มีส่วนได้เสียในการบังคับคดีหรือศาลว่าเมื่อขายทอดตลาดแล้วจะต้องให้เป็นไปตามราคาที่ประเมินไว้นี้ หากจำเลยเห็นว่าราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ต่ำไป ก็ชอบที่จะหาผู้เข้าสู้ราคาหรือคัดค้านการขายทอดตลาดได้กรณียังถือไม่ได้ว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิของจำเลยที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาทรัพย์ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8471/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการตรวจพิสูจน์ทางแพทย์ในคำท้า – ศาลยึดหลักความสมเหตุสมผลในการพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด
คู่ความตกลงท้ากันว่า หากเสียงข้างมากจากผลการตรวจตามหลักทางการแพทย์ของโรงพยาบาล 3 แห่งระบุว่าโจทก์ที่ 2เป็นบุตรผู้ตาย จำเลยทั้ง 5 ยอมให้โจทก์ที่ 2 รับมรดกของผู้ตายตามสิทธิ เมื่อคำท้าระบุให้โรงพยาบาล 3 แห่งใช้วิธีตรวจตามหลักการแพทย์ โดยมุ่งเน้นที่จะให้พิสูจน์ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นบุตรของผู้ตายหรือไม่ เป็นประเด็นสำคัญ วิธีการตรวจจึงเป็นเรื่องที่โรงพยาบาลแต่ละแห่งจะต้องไปดำเนินการตามที่เห็นสมควรโดยใช้หลักทางการแพทย์เพื่อให้ได้ผลออกมาแน่นอน และตรงกับความเป็นจริงมากที่สุด หาได้มีข้อจำกัดว่าจะต้องเป็นการตรวจพิสูจน์เพียงครั้งเดียวหรือการตรวจพิสูจน์จะต้องกระทำเฉพาะระหว่างโจทก์ที่ 2 กับจำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นบุตรผู้ตายเท่านั้นไม่หากโรงพยาบาลหนึ่งโรงพยาบาลใดเห็นว่ามีความจำเป็นที่จะต้องตรวจพิสูจน์เพิ่มเติมโดยได้ทำการตรวจ 2 ครั้ง หรือจะต้องนำบุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าเป็นบิดาที่แท้จริงของโจทก์ที่ 2 มาตรวจพิสูจน์เพื่อให้ได้ผลแน่นอนขึ้น ก็ย่อมกระทำได้ ไม่เป็นการปฏิบัตินอกเหนือคำท้า