พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7903/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแต่งตั้งทนายความไม่ถูกต้องตามกระบวนการ แต่ศาลไม่จำเป็นต้องแก้ไขเมื่อมีการแต่งตั้งทนายภายหลัง
การที่ ธ.ลงลายมือชื่อในช่องผู้อุทธรณ์ในฐานะทนายจำเลยโดยไม่ปรากฏว่ามีใบแต่งทนายความในสำนวน คำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 4 ต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้แก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้แต่งตั้ง ธ. เป็นทนายจำเลยให้มีอำนาจอุทธรณ์และฎีกาแทนจำเลยก่อนยื่นฎีกาฉบับนี้ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องสั่งแก้ไขและถือว่าจำเลยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชอบแล้ว และเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทรธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่เพื่อให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุข้อเท็จจริงใหม่ในชั้นฎีกา ไม่ใช่การคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นเพียงผู้เดินโพยสลากกินรวบส่งให้แก่เจ้ามือ มิได้เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างไร การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและไม่ได้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7894/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่รับวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ที่ไม่ได้อุทธรณ์ในชั้นศาลอุทธรณ์ และยืนตามศาลล่างที่ไม่รอการลงโทษจำเลย
จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า จำเลยเป็นเพียงผู้เดินโพยสลากกินรวบส่งให้แก่เจ้ามือ มิได้เป็นเจ้ามือรับกินรับใช้ ซึ่งในชั้นอุทธรณ์จำเลยได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นอุทธรณ์ แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 มิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉับ จำเลยก็ไม่ได้ฎีกาโต้แย้งว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ไม่ได้วินิจฉัยนั้นไม่ชอบแต่อย่างไร การที่จำเลยยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นฎีกาซ้ำอีก ถือได้ว่าเป็นข้อเท็จจริงที่เพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาและไม่ได้เป็นการคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 8 ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ทั้งมิได้เป็นข้อความที่ศาลอุทธรณ์ภาค 8 ได้ตัดสินไว้ จึงไม่อาจใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 ได้ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัยฎีกาของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7681/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายยาเสพติดสำเร็จ แม้ยังไม่ชำระเงิน การกระทำตาม พ.ร.บ.ยาเสพติด
พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 4 บัญญัตินิยามคำว่า "จำหน่าย" หมายความว่า ขาย จ่าย แจก แลกเปลี่ยน ให้ จำเลยที่ 1 ตกลงจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนแก่ ส. โดยระบุจำนวน ราคาแน่นอน กับกำหนดเวลาและสถานที่ส่งมอบกันแล้ว และจำเลยที่ 1 ได้ส่งถุงบรรจุเมทแอมเฟตามีนดังกล่าวแก่ ส. ถือว่าความผิดข้อหาจำหน่ายสำเร็จแล้ว แม้จะยังมิได้ชำระราคาก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7483/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์กรณีมีการร้องสอด และการพิจารณาคำร้องของผู้เยาว์
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านผู้คัดค้านที่ 1 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ แม้ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จะใช้ข้อความว่า ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยได้รับความยินยอมของโจทก์ (ผู้ร้อง) นั้น ก็เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านที่ 2 ร้องสอดใช้สิทธิของตนเองเพื่อโต้แย้งกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มิใช่มาตรา 57 (2) จึงสามารถใช้สิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 แม้ต่อมาผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องและคำคัดค้านและศาลจะได้สั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จากสารบบความก็คงมีผลเฉพาะคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีคำร้องและคำคัดค้านเดิมตามลำดับที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้คำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7483/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้ปกครองของผู้เยาว์ กรณีร้องสอดเพื่อคุ้มครองสิทธิของตนเอง แม้มีการถอนคำร้องของผู้อื่น
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้ร้องเป็นผู้ครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 1 ยื่นคำคัดค้านขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ ผู้คัดค้านที่ 2 ยื่นคำร้องคัดค้านผู้คัดค้านที่ 1 และขอให้ตั้งผู้คัดค้านที่ 2 เป็นผู้ปกครองผู้เยาว์ แม้ตามคำร้องของผู้คัดค้านที่ 2 จะใช้ข้อความว่า ขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมโดยรับความยินยอมของโจทก์ (ผู้ร้อง) นั้น ก็เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านที่ 2 ร้องสอดใช้สิทธิของตนเองเพื่อโต้แย้งกับผู้คัดค้านที่ 1 ซึ่งเป็นการร้องขอเพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) มิใช่มาตรา 57 (2) จึงสามารถใช้สิทธิเสมือนว่าตนได้ฟ้องหรือถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ตามมาตรา 58 แม้ต่อมาผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จะได้ยื่นคำร้องขอถอนคำร้องและคำคัดค้านและศาลจะได้สั่งจำหน่ายคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 จากสารบบความก็คงมีผลเฉพาะคดีของผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ไม่มีคำร้องและคำคัดค้านเดิมตามลำดับที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปเท่านั้น หามีผลให้คำร้องขอของผู้คัดค้านที่ 2 ตกไปด้วยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: โจทก์ฎีกาแก้ข้อเท็จจริงในคดีเยาวชน เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง , 66 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 มีกำหนด 1 ปี 6 เดือน แต่ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งจำเลยที่ 2 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จังหวัดระยอง มีกำหนด 1 ปี ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104 (2) ศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับอนุญาตตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคหนึ่ง (เดิม) , 67 (ที่แก้ไขใหม่) และ 102 ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 ลงโทษจำคุก 1 ปี 3 เดือน และปรับ 5,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 2 ปี โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติของจำเลยที่ 2 ไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแก้ทั้งบทลงโทษและกำหนดโทษอันเป็นการแก้มาก แต่เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 40,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 219 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบรับฟังได้ว่า จำเลยมีความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ภาค 2 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าวประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7135/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำร้ายร่างกายจนเป็นอันตรายสาหัส การทะเลาะวิวาท และการใช้ดุลพินิจในการลงโทษ
เหตุคดีนี้เกิดเพราะจำเลยเป็นผู้ก่อเหตุขึ้นก่อน และเป็นการสมัครใจทะเลาะวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน มิใช่เป็นภยันอันตรายซึ่งเกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมาย จำเลยจะอ้างว่าการกระทำเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายไม่ได้
การที่ผู้เสียหายถูกจำเลยรัดคอด้วยมือซ้าย ผู้เสียหายจึงดิ้นต่อสู้กอดปล้ำกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีโอกาสเลือกแทง แต่แทงไปตามโอกาสที่จะอำนวยและไม่ได้ใช้กำลังแทงรุนแรงนัก ทั้งเมื่อจะแทงอีก ผู้เสียหายปัดมือ จำเลยจึงเปลี่ยนเป็นใช้ด้ามมีดกระแทกศีรษะผู้เสียหายแทน แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการแทงซ้ำ บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับมีบาดแผลบวมช้ำฉีกขาดกลางศีรษะและบาดแผลฉีกขาดหลังมือซ้ายตัดเอ็นนิ้วนางและนิ้วก้อยขาด ส่วนบาดแผลที่บริเวณหน้าอกด้านขวาระดับซี่โครงที่ 6 ไม่ปรากฏขนาดของบาดแผล ไม่ทะลุเข้าไปในช่องอก แสดงว่าจำเลยไม่ได้แทงอย่างแรง กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น
แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา จนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็กล่าวว่าผู้เสียหายมีบาดแผลตามสำเนารายงานการชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องได้ระบุความเห็นว่ารักษาประมาณ 45 วันหาย และทางพิจารณาข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ความว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม ทั้งการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น รวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 297 ด้วย และเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
การที่ผู้เสียหายถูกจำเลยรัดคอด้วยมือซ้าย ผู้เสียหายจึงดิ้นต่อสู้กอดปล้ำกับจำเลย จำเลยจึงไม่มีโอกาสเลือกแทง แต่แทงไปตามโอกาสที่จะอำนวยและไม่ได้ใช้กำลังแทงรุนแรงนัก ทั้งเมื่อจะแทงอีก ผู้เสียหายปัดมือ จำเลยจึงเปลี่ยนเป็นใช้ด้ามมีดกระแทกศีรษะผู้เสียหายแทน แสดงให้เห็นว่าไม่ต้องการแทงซ้ำ บาดแผลที่ผู้เสียหายได้รับมีบาดแผลบวมช้ำฉีกขาดกลางศีรษะและบาดแผลฉีกขาดหลังมือซ้ายตัดเอ็นนิ้วนางและนิ้วก้อยขาด ส่วนบาดแผลที่บริเวณหน้าอกด้านขวาระดับซี่โครงที่ 6 ไม่ปรากฏขนาดของบาดแผล ไม่ทะลุเข้าไปในช่องอก แสดงว่าจำเลยไม่ได้แทงอย่างแรง กรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนาฆ่าผู้เสียหาย คงมีเจตนาทำร้ายผู้เสียหายเท่านั้น
แม้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำความผิดฐานพยายามฆ่า โดยมิได้บรรยายฟ้องว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัสหรือป่วยเจ็บด้วยอาการทุกขเวทนา จนประกอบกรณียกิจตามปกติไม่ได้เกินกว่ายี่สิบวันก็ตาม แต่ตามคำฟ้องก็กล่าวว่าผู้เสียหายมีบาดแผลตามสำเนารายงานการชันสูตรบาดแผลท้ายฟ้อง ซึ่งถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของฟ้องได้ระบุความเห็นว่ารักษาประมาณ 45 วันหาย และทางพิจารณาข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบได้ความว่าผู้เสียหายได้รับอันตรายสาหัส เมื่อข้อเท็จจริงตามฟ้องนั้นโจทก์สืบสม ทั้งการกระทำความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่น รวมการกระทำความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นตาม ป.อ. มาตรา 297 ด้วย และเป็นความผิดได้ในตัวเอง ศาลย่อมมีอำนาจลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัสได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจปกครองบุตร: สัญญาประนีประนอมต้องดำเนินการตามกฎหมายให้ถูกต้องก่อนจึงมีผล
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่าย มีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู? และข้อ 3 ระบุว่า? จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจ ปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และ ข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กชาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6981/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความเรื่องอำนาจปกครองบุตรต้องดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน จึงมีผลบังคับได้
ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ที่ระบุว่า จำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบิดาของเด็กชาย ม. โดยที่โจทก์และจำเลยตกลงว่าจะไปดำเนินการให้ถูกต้องตามกฎหมายภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญญา และโจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร หากพ้นกำหนดนี้แล้วถือว่าเป็นการแสดงเจตนาของทั้งสองฝ่ายมีผลบังคับได้ทันที ข้อ 2 โจทก์ตกลงเป็นผู้ชำระค่าอุปการะเลี้ยงดู... และข้อ 3 ระบุว่า... จำเลยตกลงให้โจทก์นำบุตรไปอยู่กับโจทก์ในวันเสาร์ตั้งแต่ 9 นาฬิกา ถึงวันอาทิตย์เวลา 17 นาฬิกา ของทุกสัปดาห์และในช่วงปิดเทอม หากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์และบังคับได้ทันทีนั้น ย่อมหมายความว่า โจทก์และจำเลยจะต้องไปดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1547 ภายใน 15 วัน นับแต่วันทำสัญาประนีประนอมยอมความก่อน และเมื่อได้ดำเนินการดังกล่าวแล้ว โจทก์ยินยอมให้จำเลยเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตร ส่วนข้อ 3 ก็เป็นข้อตกลงที่สืบเนื่องมาจากข้อ 1 ว่าเมื่อโจทก์ได้ดำเนินการตามกฎหมายให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้ว หากภายหลังต่อมาจำเลยผิดสัญญา โจทก์ย่อมเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันที มิใช่ว่าให้โจทก์เป็นผู้ใช้อำนาจปกครองได้ทันทีเมื่อจำเลยผิดสัญญาโดยที่โจทก์ยังมิได้ดำเนินการตามข้อ 1 อันจะเป็นการขัดกับ ป.พ.พ. มาตรา 1547 ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงมิได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของกฎหมาย ไม่ตกเป็นโมฆะ
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กขาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้
สัญญาประนีประนอมยอมความเป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษาและการบังคับคดีตามคำพิพากษาต้องเป็นไปตามระยะเวลาและขั้นตอนตามคำพิพากษา ดังนั้น การจะบังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 และข้อ 3 ได้ จะต้องมีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 ก่อน ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 1547 บัญญัติว่า เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกันจะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายเมื่อบิดามารดาได้สมรสกัน หรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร ปรากฏว่าหลังจากทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันแล้ว โจทก์มิได้ดำเนินการตามกฎหมายเพื่อให้เด็กชาย ม. เป็นบุตรของโจทก์ตามบทกฎหมายดังกล่าว ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์มีฐานะเป็นบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายของเด็กขาย ม. จึงไม่ถือเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองเด็กชาย ม. ตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 1 โจทก์จึงไม่มีอำนาจร้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 3 ได้