พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขกฎหมายระหว่างพิจารณาคดี และอำนาจศาลในการพิพากษาเมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ
แม้ขณะเกิดเหตุข้อหาตามกฎหมายที่โจทก์ฟ้องจำเลยจะมีกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวโดยกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำเป็นตั้งแต่ 4 ปีขึ้นไป เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 จึงต้องถือตามนั้นการที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์ก่อน จึงเป็นการชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6602/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงกฎหมายระหว่างการพิจารณาคดีและการใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่ในการตัดสิน
แม้ขณะเกิดเหตุกฎหมายจะบัญญัติโทษสำหรับความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปี ขึ้นไปก็ตาม แต่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นได้มีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวโดยกำหนดโทษจำคุกขั้นต่ำเป็นตั้งแต่ 4 ปี ขึ้นไป เมื่อกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะศาลทำการพิจารณาเป็นเช่นนี้ ในการวินิจฉัยกรณีตาม ป.วิ.อ. มาตรา 176 จึงต้องถือตามนั้น การที่ศาลจะต้องฟังพยานโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายวิธีพิจารณา ดังนั้น เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาลงโทษจำเลยได้โดยไม่ต้องฟังพยานโจทก์ก่อน. (อ้างฎีกาประชุมใหญ่ที่ 1303/2503)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6423/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การแจ้งข้อมูลเท็จเพื่อออกบัตรประชาชนและทะเบียนบ้าน
การที่จำเลยที่ 1 แจ้งให้เจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารราชการซึ่งมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานเพื่อให้พวกของจำเลยที่ 1 มีชื่อในทะเบียนบ้าน และใช้หรือแสดงเอกสารเท็จดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอมีบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแม้จะได้กระทำคนละวันกันแต่ก็ได้กระทำต่อเนื่องกันโดยล้วนแต่มีความมุ่งหมายเพียงประการเดียวเพื่อให้เจ้าพนักงานออกบัตรประจำตัวประชาชนแก่พวกของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำอันเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6386/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุไม่สมควรที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ การขาดนัดพิจารณาคดี และการประเมินเหตุผลของฝ่ายโจทก์
ศาลชั้นต้น (ศาลจังหวัดลพบุรี) นัดสืบพยานโจทก์ เวลา 10 นาฬิกา โจทก์ไม่มาศาลตามนัด ศาลชั้นต้นรออยู่จนถึงเวลา 10.30 นาฬิกา จึงพิพากษายกฟ้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 181 ผู้รับมอบอำนาจโจทก์ยื่นคำร้องว่ามีเหตุสมควรที่มาศาลตามนัดไม่ได้ ขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้ว ยกคำร้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ปรากฏว่าในวันนัด เมื่อผู้รับมอบอำนาจโจทก์ขับรถยนต์ออกจากบ้านพักที่กรุงเทพมหานคร รถยนต์ก็ปกติดี ถึงที่เกิดเหตุใช้เวลาประมาณ 45 นาที รถยนต์เสียใช้เวลาซ่อม 1 ชั่วโมงก็เสร็จ แสดงว่าสภาพขัดข้องไม่ร้ายแรงนัก เมื่อซ่อมรถยนต์เสร็จผู้รับมอบอำนาจโจทก์ก็ไม่ใช้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งมีอยู่หลายแห่งที่สะดวกติดต่อไปยังศาลจังหวัดลพบุรีเพื่อแจ้งข้อขัดข้องดังกล่าว ผู้รับมอบอำนาจโจทก์เป็นเจ้าของสำนักงานทนายความ และรับจัดหาทนายความแก่โจทก์เดินทางไปเบิกความเป็นพยานโจทก์โดยลำพัง โดยไม่นำโทรศัพท์เคลื่อนที่ติดตัวไปด้วย นับเป็นเหตุบังเอิญที่ไม่น่าเกิดขึ้น เมื่อเดินทางไปถึงศาลจังหวัดลพบุรีเวลา 12.10 นาฬิกา พบเจ้าหน้าที่หน้าบัลลังก์อีกบัลลังก์หนึ่งก็แจ้งแต่เพียงว่า ศาลนัดคดีนี้ช่วงเช้าแต่มาศาลไม่ทัน โดยไม่ได้แจ้งเรื่องรถยนต์ขัดข้อง ข้อที่โจทก์หยิบยกขึ้นมาล้วนไม่สมเหตุผล พฤติการณ์แสดงว่าฝ่ายโจทก์ไม่สนใจเวลานัดของศาล ไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะยกคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 166 วรรคสอง ประกอบมาตรา 181
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6365/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสมรสที่ตกเป็นโมฆะเนื่องจากคู่สมรสมีอยู่แล้ว แม้มีการหย่าภายหลังก็ไม่ทำให้การสมรสสมบูรณ์ได้
ขณะจำเลยจดทะเบียนสมรสกับพันโท ส. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2525 พันโท ส. จดทะเบียนสมรสกับนาง ส. อยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้น การสมรสระหว่างจำเลยกันพันโท ส. จึงฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 1452 ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1496 (เดิม) การตกเป็นโมฆะดังกล่าวมีผลเท่ากับจำเลยและพันโท ส. มิได้ทำการสมรสกัน จึงไม่อาจให้สัตยาบันแก่กันได้ แม้ต่อมาภายหลังพันโท ส. จะได้จดทะเบียนหย่ากับนาง ส. เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2535 ก็หาทำให้การสมรสระหว่างจำเลยและพันโท ส. กลับมีผลเป็นการสมรสที่ชอบขึ้นมาไม่
การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 (เดิม) มิใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำเอาบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 และมาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
การร้องขอให้ศาลพิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 1497 (เดิม) มิใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง จึงไม่อาจนำเอาบทบัญญัติเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/9 และมาตรา 193/30 มาใช้บังคับแก่กรณีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6302/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตจากความผิดของผู้ฟ้อง ทำให้ไม่มีอำนาจฟ้อง และการฟ้องแย้งชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์แต่งตั้งจำเลยเป็นตัวแทนในการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ต่อมาพนักงานของจำเลยได้โอนหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 24,000 หุ้นของบริษัท ซ. ที่ผู้อื่นจองซื้อเข้าบัญชีของโจทก์โดยสำคัญผิด จำเลยได้แจ้งยอดทรัพย์คงเหลือให้โจทก์ทราบทุกเดือน ซึ่งโจทก์ย่อมทราบและสามารถตรวจสอบได้ว่ามีหลักทรัพย์ของโจทก์ขาดหายไปหรือไม่ หรือมีหลักทรัพย์ที่โจทก์ไม่ได้สั่งซื้อหรือจองซื้อไว้เพิ่มเข้ามาในบัญชีของโจทก์หรือไม่ เมื่อโจทก์เห็นว่ามีหลักทรัพย์ที่โจทก์ไม่ได้ซื้อหรือสั่งจองซื้อไว้ โจทก์ชอบที่จะแจ้งให้จำเลยทราบเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด แต่โจทก์กลับขายหลักทรัพย์ดังกล่าวไป เป็นการส่อให้เห็นว่าโจทก์มิได้กระทำการโดยสุจริต การที่จำเลยขอให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์คืนแก่จำเลย และโจทก์ต้องซื้อมาในราคาที่สูงกว่าราคาที่ขายไป จึงเป็นผลจากความผิดของโจทก์เอง ที่โจทก์เรียกเอาค่าเสียหายจากจำเลยจึงถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตตาม ป.พ.พ. มาตรา 5 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง และปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเกี่ยวกับการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6276/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารและการกระทำชำเราผู้เยาว์ ศาลแก้เป็นความผิดตามมาตรา 283 ทวิ
พฤติการณ์ของผู้เสียหายและจำเลยส่อแสดงว่าผู้เสียหายยินยอมไปกับจำเลยและร่วมประเวณีกันยังฟังไม่ได้ว่าเป็นการพาผู้อื่นไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง แต่ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายมีอายุ 15 ปีเศษ เมื่อจำเลยพาผู้เสียหายไปและร่วมประเวณีกับผู้เสียหายเช่นนี้ จึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษหนักกว่า แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยพาบุคคลอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาความผิดพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษหนักกว่า แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่า จำเลยพาบุคคลอายุเกิน 15 ปี แต่ไม่เกิน 18 ปี ไปเพื่อการอนาจารอันเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ซึ่งมีโทษเบากว่า ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 283 ทวิ วรรคหนึ่ง ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6250/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบสวนผู้ต้องหาเยาวชน: ผลของกฎหมายใหม่ที่มีผลบังคับใช้ภายหลังการสอบสวน
ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า ในคดีที่ผู้ต้องหามีอายุไม่เกินสิบแปดปีในวันที่พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหา ก่อนเริ่มถามคำให้การให้พนักงานสอบสวนถามผู้ต้องหาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีให้รัฐจัดหาทนายความให้ แต่ปรากฏว่าในคดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและสอบสวนจำเลยก่อนที่ ป.วิ.อ. มาตรา 134 ทวิ วรรคหนึ่ง มีผลใช้บังคับ พนักงานสอบสวนจึงไม่จำต้องถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6169/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงดอกเบี้ยในสัญญาจำนอง: ห้ามเปลี่ยนแปลงแก้ไขด้วยพยานบุคคล
สัญญาจำนองระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งระบุให้เป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน รวมทั้งบันทึกข้อตกลงขึ้นเงินจำนอง มีข้อความว่า จำเลยตกลงให้โจทก์คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ไว้ชัดเจนแล้ว การที่จำเลยนำพยานบุคคลมาสืบว่า ตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 2.5 ต่อเดือน จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5364/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องหย่าซ้ำ ประเด็นแยกกันอยู่ไม่เด็ดขาด ศาลฎีกาพิพากษากลับ
คดีก่อนศาลฎีกาวินิจฉัยว่า สำหรับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีนั้น แม้โจทก์จะกล่าวมาในฟ้องและจำเลยให้การปฏิเสธ อันเป็นประเด็นแห่งคดีแต่ในวันชี้สองสถานศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นเกี่ยวกับการหย่าไว้เพียงว่า จำเลยกระทำการเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง อันเป็นเหตุให้โจทก์ฟ้องหย่าหรือไม่แต่เพียงประการเดียวเท่านั้นโดยโจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านไว้ถือได้ว่าโจทก์จำเลยต่างสละสิทธิไม่ติดใจในประเด็นเกี่ยวกับเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยแยกกันอยู่อีกต่อไป ฉะนั้น ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นดังกล่าว ย่อมเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ ดังนี้จึงถือไม่ได้ว่าในคดีดังกล่าวได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดในประเด็นของเหตุหย่าที่ว่าโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่เกินกว่า 3 ปีหรือไม่ โจทก์จึงนำเอาเหตุเพราะสมัครใจแยกกันอยู่เกิน 3 ปี มาฟ้องหย่าจำเลยเป็นคดีนี้ได้อีก ฟ้องคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 วรรคหนึ่ง