คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ประเสริฐ เขียนนิลศิริ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 181 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3649/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยินยอมให้ใช้รถจักรยานยนต์และการรู้เห็นเป็นใจในการกระทำความผิด ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องขอคืนรถ
จำเลยทั้งสองนำรถจักรยานยนต์ของผู้ร้องไปขับแข่งกับกลุ่มวัยรุ่นในทางสาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาต จึงถูกจับกุมดำเนินคดีตามพระราชบัญญัติจราจรทางบกฯก่อนที่จำเลยทั้งสองจะนำรถจักรยานยนต์ของผู้ร้องไปใช้ในการกระทำความผิด ผู้ร้องและจำเลยทั้งสองได้นั่งดื่มเบียร์ในร้านซึ่งอยู่ใกล้กับที่ทำงานของผู้ร้อง ดังนั้น หากผู้ร้องรู้สึกว่าตนมีอาการเมาไม่สามารถขับรถจักรยานยนต์กลับบ้านได้ ก็น่าจะนำไปเก็บไว้ยังที่ทำงานของตน ไม่จำเป็นต้องฝากให้ผู้อื่นรับภาระดูแลรักษา ทั้งผู้ร้องเคยให้จำเลยที่ 1ใช้รถจักรยานยนต์ของผู้ร้องหลายครั้ง จึงน่าเชื่อว่าในคืนเกิดเหตุผู้ร้องยินยอมให้จำเลยที่ 1ใช้รถจักรยานยนต์ของผู้ร้องได้ตามอำเภอใจ ถือได้ว่าผู้ร้องรู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลยทั้งสอง จึงไม่มีสิทธิร้องขอคืนรถจักรยานยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงโดยไม่ต้องเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการพิจารณาเจตนาในการกระทำผิด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาโดยทั่ว ๆ ไปการพิจารณาคดีของศาลแขวงจึงแตกต่างจากคดีอาญาอื่น โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะสอบถามรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษ โดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษก็ตาม แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องอาญาในศาลแขวงไม่ต้องเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากศาลบันทึกใจความได้ความชัดเจน
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณา เพื่อความสะดวกรวดเร็วไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 คดีนี้โจทก์ยื่นฟ้องเป็นบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้แล้วว่าโจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย บาดเจ็บ และทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษโดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่า จำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษ แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ ซึ่งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้วจึงให้การรับสารภาพต่อศาลชั้นต้น คำฟ้องที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจาตามบันทึกการฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและตามที่ศาลชั้นต้นบันทึกไว้นั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการธนาคารและการสวมสิทธิเรียกร้องหลังการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์
ประกาศกระทรวงการคลังเรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน)และบริษัทบริหารสินทรัพย์ระบุให้ธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับให้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นก็ไม่สามารถรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากโจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับดังกล่าวแล้ว หลังจากนั้นเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์และโจทก์ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดให้แก่ผู้ร้องจึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะพ้นกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็ไม่เป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศดังกล่าวสิ้นผลไป ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์เพื่อบังคับคดีแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการธนาคารและการสวมสิทธิเรียกร้องหลังพ้นกำหนดเวลา โอนลูกหนี้คุณภาพดีถือเป็นการเริ่มดำเนินการตามโครงการ
ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพฯพาณิชย์การ จำกัด (มหาชน)ฯ ได้ระบุชัดแจ้งให้โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคาร ก. กับให้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพให้แก่บริษัทบริหารสินทรัพย์แยกจากกัน เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย บริษัทบริหารสินทรัพย์นั้นก็ไม่สามารถรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพจากโจทก์ได้ แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคาร ก. ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับนี้แล้ว หลังจากนั้นเมื่อผู้ร้องได้จดทะเบียนตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์และโจทก์ได้โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพทั้งหมดให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะพ้นกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็หาเป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศนี้สิ้นผลไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2631/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกิจการและสิทธิหนี้สินหลังประกาศกระทรวงการคลัง การดำเนินการต่อเนื่องภายในกรอบเวลาที่กำหนด
ตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่องให้ความเห็นชอบโครงการโอนกิจการของธนาคารกรุงเทพ ฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทบริหารสินทรัพย์ ข้อ 1 , 2 , 5 ได้ระบุชัดแจ้งให้โจทก์โอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีแก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กับให้โจทก์จัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อรับโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพของโจทก์ หากโจทก์ไม่เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการนี้ภายใน 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้ถือว่าการให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศนี้เป็นอันสิ้นผล เมื่อบริษัทบริหารสินทรัพย์ยังไม่ได้จัดตั้งขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงยังไม่อาจโอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพตามประกาศดังกล่าว แต่การที่โจทก์ได้เริ่มโอนลูกหนี้ที่มีคุณภาพดีให้แก่ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ภายใน 90 วัน นับถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา ย่อมถือว่าโจทก์ได้เริ่มดำเนินการโอนกิจการตามโครงการดังกล่าวตามความมุ่งหมายของประกาศฉบับนี้แล้ว การที่โจทก์โอนลูกหนี้ด้อยคุณภาพซึ่งรวมทั้งสิทธิเรียกร้องในคดีนี้ให้แก่ผู้ร้องที่ได้จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์แล้วจึงเป็นการดำเนินการต่อเนื่องกันซึ่งแม้จะเกินกำหนดเวลา 90 วัน นับแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาก็หาเป็นผลให้การให้ความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังตามประกาศนี้สิ้นผลไปไม่ ผู้ร้องจึงเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1909/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดตาม พ.ร.บ. เช็ค: เช็คเพื่อชำระหนี้จากการซื้อลดเช็ค แม้มีดอกเบี้ยสูงก็ไม่เป็นเหตุ
เช็คตามฟ้องเป็นเช็คที่จำเลยทั้งสองร่วมกันออกให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้อันเกิดแต่การที่จำเลยทั้งสองขายลดเช็คทั้งยี่สิบเจ็ดฉบับให้แก่โจทก์ แล้วเช็คดังกล่าวเรียกเก็บเงินไม่ได้ แม้จะปรากฏว่าเช็คทั้งยี่สิบเจ็ดฉบับนั้นโจทก์ได้คิดส่วนลดหรือดอกเบี้ยล่วงหน้าคิดเป็นอัตราร้อยละ 21.9 ต่อปี ก็ตาม กรณีก็มิได้มีกฎหมายห้ามไว้เหมือนเช่นการให้กู้ยืมเงิน จึงถือไม่ได้ว่าเช็คตามฟ้องมีดอกเบี้ยที่โจทก์คิดเกินอัตราตามกฎหมายรวมอยู่ด้วย การออกเช็คตามฟ้องของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมาย ดังนั้น เมื่อธนาคารปฏิเสธไม่ใช้เงินตามเช็คนั้น โดยในวันที่เช็คถึงกำหนด เงินในบัญชีของจำเลยที่ 1 มีไม่พอจ่าย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1804-1805/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทสัญญานายหน้าซื้อขายที่ดิน: การแบ่งผลประโยชน์ส่วนเกินจากการขาย และความรับผิดในค่าฤชาธรรมเนียม
สัญญาร่วมกิจการนายหน้าระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยเป็นข้อตกลงในการร่วมมือกันทั้งสองฝ่ายเพื่อให้มีการซื้อขายที่ดินและจะได้แบ่งผลประโยชน์ซึ่งกันและกันให้สำเร็จลุล่วงตามความประสงค์เท่านั้น ไม่มีข้อความใดพอประมาณได้ว่าหากจำเลยรู้ว่าโจทก์ทั้งสองไม่ใช่นายหน้าผู้จะซื้อจะไม่ทำสัญญาร่วมกิจการนายหน้าอย่างแน่นอนดังนี้ ถือว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ชี้ช่องให้ บ. กับ ฟ. ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายที่ดินเป็นผลสำเร็จ พฤติกรรมที่แสดงว่าคู่สัญญามิได้ให้ความสำคัญในเรื่องที่โจทก์ทั้งสองจะต้องเป็นนายหน้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สัญญาร่วมกิจการนายหน้าดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดจากการที่โจทก์ทั้งสองแสดงการฉ้อฉลต่อจำเลยอันจะทำให้ตกเป็นโมฆียะ จำเลยจึงต้องรับผิดตามสัญญาร่วมกิจการนายหน้าต่อโจทก์ทั้งสอง
สำหรับพวกจำเลยทั้งสิบสี่คนที่ร่วมลงชื่อในสัญญานายหน้านั้นไม่ได้กระทำการเป็นนายหน้าที่แท้จริง แต่สัญญานายหน้าฉบับดังกล่าวได้ทำขึ้นเนื่องจากเป็นความประสงค์ของ บ. และจำเลยเพื่อกระจายฐานภาษีที่จะต้องชำระให้น้อยลงเท่านั้นจึงต้องถือว่าเงินค่าที่ดินส่วนเกินซึ่งจำเลยเป็นผู้รับมาจาก บ. ต้องนำมาจัดแบ่งผลประโยชน์ให้แก่โจทก์ทั้งสองตามสัญญาร่วมกิจการนายหน้า เมื่อจำเลยไม่นำมาแบ่งให้โจทก์ทั้งสอง ถือว่าจำเลยผิดสัญญาร่วมกิจการนายหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1719/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีบังคับคดี: ศาลอุทธรณ์ต้องรับวินิจฉัยเมื่อผู้พิพากษาศาลชั้นต้นรับรองเหตุสมควร
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึดซึ่งตีราคาทรัพย์ 20,155 บาท อันถือเป็นทุนทรัพย์คดีนี้ ศาลชั้นต้นพิพากษายกคำร้องขอ ผู้ร้องอุทธรณ์ แม้คดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาท แต่ผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่ามีเหตุสมควรอุทธรณ์ข้อเท็จจริงได้ คดีของผู้ร้องจึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยว่าคดีของผู้ร้องต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ไม่รับวินิจฉัยและพิพากษายกอุทธรณ์ผู้ร้องนั้นเป็นการไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ว่าด้วยคำพิพากษาและคำสั่ง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตามมาตรา 142(5),243(1) ประกอบด้วยมาตรา 246และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1705/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลอมเอกสารสิทธิเพื่อขอถอนเงินจากธนาคาร เป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
จำเลยนำแบบพิมพ์ใบคำขอถอนเงินของธนาคารมากรอกข้อความพร้อมกับลงลายมือชื่อปลอมของ ก. ในช่องผู้ขอถอนเงินและช่องผู้รับเงิน แล้วนำไปยื่นต่อพนักงานของธนาคาร ซึ่งหลงเชื่อว่าเป็นใบคำขอถอนเงินที่แท้จริงจึงจ่ายเงินให้จำเลยไปใบคำขอถอนเงินจึงเป็นหลักฐานแสดงว่า ก. ได้ขอถอนบัญชีของตน ย่อมเป็นเอกสารอันก่อให้เกิดสิทธิในการรับเงินจากธนาคาร จึงเป็นเอกสารสิทธิตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1(9) การกระทำของจำเลยเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิตามมาตรา 265 และฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตามมาตรา 268 วรรคแรกประกอบมาตรา 265
of 19