พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6988/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาไม่เป็นเอกฉันท์ในการพิพากษาคดีอาญา ต้องปฏิบัติตามหลักเสียงข้างน้อยคุ้มครองจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นมีองค์คณะ 2 คน พิพากษาคดีโดยถือเอาความเห็นของผู้พิพากษาคนหนึ่งว่า จำเลยมีความผิดและลงโทษจำเลย ซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยมากเป็นคำพิพากษา และถือเอาความเห็นของผู้พิพากษาอีกคนว่าจำเลยไม่มีความผิดและควรยกฟ้องซึ่งเป็นผลร้ายแก่จำเลยน้อยกว่าเป็นความเห็นแย้ง เป็นการขัดต่อบทบัญญัติ แห่ง ป.วิ.อ. มาตรา 184 กรณีจึงต้องพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นพิพากษายกฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2622/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอดำเนินคดีอนาถา: ลำดับการพิจารณาคำร้อง และผลของคำสั่งศาลอุทธรณ์
การขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมให้เฉพาะบางส่วน หรือมีคำสั่งให้ยกคำขอ ผู้ขอมีสิทธิขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้ตนนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีกตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ หรืออาจอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา แล้วแต่กรณี คำสั่งของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกาเช่นว่านี้เป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า ซึ่งเป็นวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาที่บัญญัติเป็นลำดับไว้แล้ว คดีนี้ปรากฏว่าเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลยทั้งห้าแล้ว ภายในกำหนดระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นให้จำเลยทั้งห้านำค่าธรรมเนียมศาลมาวาง จำเลยทั้งห้าไม่ได้ขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอนั้นใหม่ แต่ได้ใช้สิทธิทำคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นต่อศาลอุทธรณ์ เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งห้าไปแล้ว เช่นนี้จำเลยทั้งห้าจะย้อนไปร้องขอให้ศาลชั้นต้นพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของตนนั้นใหม่อีกหาได้ไม่ เพราะคำสั่งของศาลอุทธรณ์เป็นที่สุดแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2542/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกเงินคืนจากสัญญาฝากทรัพย์: สัญญาฝากมีอายุความ 10 ปี ไม่ใช่ 1 ปีตามละเมิด
โจทก์ฟ้องโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า โจทก์ฝากเงินไว้แก่จำเลย ต่อมามีบุคคลอื่นปลอมลายมือชื่อของโจทก์ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ จำเลยกระทำโดยประมาทเลินเล่อยอมให้ถอนเงินไป ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ขอให้จำเลยรับผิดชำระเงินจำนวนที่ถูกถอนไปแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นการเรียกเงินที่ฝากไว้แก่จำเลยคืนตามสัญญาฝากทรัพย์ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องถึงความประมาทเลินเล่อของจำเลยก็เพื่อแสดงว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์เพราะไม่กระทำตามหน้าที่ที่ ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม บัญญัติไว้เท่านั้น หาใช่เป็นการฟ้องในมูลละเมิดซึ่งมีอายุความ 1 ปี ดังที่จำเลยฎีกาไม่ สิทธิเรียกร้องให้คืนเงินตามสัญญาฝากทรัพย์ดังกล่าวมิได้มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1572/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสำเนาบัตรประชาชนแล้วนำไปใช้แทนบัตรจริงเข้าข่ายความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารราชการ
จำเลยถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนจากฉบับที่แท้จริงซึ่งเป็นเอกสารราชการแล้วแก้ไขในช่องชื่อ ชื่อสกุล วันออกบัตร วันหมดอายุ และนำสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนดังกล่าวไปถ่ายสำเนาเอกสารอีก เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าสำเนาเอกสารดังกล่าวมีข้อความตรงกับต้นฉบับและน่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน เป็นการทำปลอมเอกสารขึ้นทั้งฉบับ แม้จำเลยจะมิได้แก้ไขในเอกสารที่แท้จริง การกระทำของจำเลยก็เป็นความผิดฐานปลอมบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการและฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอมตาม ป.อ. มาตรา 265, 268 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 265 พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) (3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1541/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาอุทธรณ์คำสั่งไม่อนุญาตดำเนินคดีอนาถา: ต้องยื่นภายใน 7 วันนับจากคำสั่งศาลชั้นต้น ไม่ใช่นับจากกำหนดวางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งยกคกร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นศาลอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยอาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นต่อศาลอุทธรณ์ได้ภายในกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง มิใช่ภายในกำหนดเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์มาวางศาล ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2547 จำเลยจึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นได้ภายในวันที่ 19กรกฎาคม 2547 แต่จำเลยกลับยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 เกินกำหนดเวลา7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7008/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานตำรวจ 191: อำนาจสืบสวนคดีอาญา แม้เป็นผู้รับแจ้งเหตุ
การที่เจ้าพนักงานตำรวจ 191 มีหน้าที่รับโทรศัพท์เป็นหน้าที่เฉพาะตามที่ทางราชการแต่งตั้งให้ปฏิบัติ แต่โดยทั่วไปแล้วเจ้าพนักงานตำรวจย่อมมีอำนาจทำการสืบสวนคดีอาญาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 17 การที่จำเลยโทรศัพท์แจ้งเจ้าพนักงานตำรวจ 191 ว่ามีการวางระเบิดที่ห้างสรรพสินค้าบิ๊กซี สาขาสุขสวัสดิ์ และสถานที่อื่นอีกหลายแห่ง โดยรู้อยู่ว่ามิได้มีการกระทำความผิดอาญา จึงเป็นการแจ้งความแก่เจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญามีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6894/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สนับสนุนการจำหน่ายยาเสพติด: ศาลฎีกาแก้โทษจากตัวการเป็นผู้สนับสนุน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายและจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนของกลาง การที่จำเลยที่ 3 ซึ่งรู้ว่าจะมีผู้ซื้อเมทแอมเฟตามีนซึ่งเป็นของผิดกฎหมายมาแต่ต้นแล้ว จำเลยที่ 3 ยังบอกกล่าวแนะนำทำให้จำเลยที่ 2 ตกลงใจโทรศัพท์ติดต่อและร่วมดำเนินการกับผู้จำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจนมีการนำเมทแอมเฟตามีนมาส่งมอบให้แก่ ส. ยังที่เกิดเหตุ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกก่อนหรือขณะที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันกระทำความผิดดังกล่าว อันเป็นการสนับสนุนการกระทำความผิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 3 ในฐานเป็นตัวการ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 3 กระทำความผิดในฐานเป็นผู้สนับสนุน ศาลฎีกาก็ลงโทษจำเลยที่ 3 ในความผิดฐานนี้ได้
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจะได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสาม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสาม
แม้ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาจะได้มี พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 มาตรา 8 และมาตรา 19 ยกเลิกความในมาตรา 15 และมาตรา 66 แห่ง พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 และให้ใช้ข้อความใหม่แทน แต่กฎหมายที่แก้ไขใหม่ไม่เป็นคุณแก่จำเลยทั้งสาม จึงต้องใช้กฎหมายเดิมที่ใช้ในขณะกระทำความผิดบังคับแก่จำเลยทั้งสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเรียกหนี้จากบริษัทที่เลิกบริษัทแล้ว แม้มีการชำระบัญชีแล้ว เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องได้
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดและได้จดทะเบียนเลิกบริษัทเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 แม้ต่อมาได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีภายหลังก็ตาม ก็ไม่ทำให้หนี้สินของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดลง เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ชำระเป็นหนี้ที่ค้างชำระอยู่ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี ตามนัย ป.พ.พ. มาตรา 1272 แม้การชำระบัญชีสิ้นสุดไปแล้ว กฎหมายยังให้เจ้าหนี้ฟ้องเรียกหนี้สินที่บริษัทหรือผู้ถือหุ้นเป็นหนี้ได้ คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องจำเลยที่ 1 ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้วก็ตาม โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6642/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บริษัทเลิกแล้วยังถูกฟ้องได้: เจ้าหนี้มีสิทธิเรียกร้องหนี้สินก่อนการชำระบัญชี แม้บริษัทจดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นบริษัทจำกัดและได้จดทะเบียนเลิกบริษัท แม้จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชีแล้ว แต่ก็หาทำให้หนี้สินต่างๆ ของจำเลยที่ 1 สิ้นสุดไปด้วยไม่ เมื่อหนี้ที่โจทก์ฟ้องเป็นหนี้เงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระอยู่แก่โจทก์ก่อนวันที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเสร็จการชำระบัญชี โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ให้รับผิดชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และไม่มีบทกฎหมายใดที่จะต้องให้มีการดำเนินการจดชื่อจำเลยที่ 1 เข้าสู่ทะเบียนก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6453/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำกัดสิทธิฎีกาในคดีอาญา: โทษจำคุกไม่เกินห้าปี และการโต้เถียงดุลพินิจศาล
ศาลชั้นต้นเรียงกระทงลงโทษจำคุกจำเลยกระทงละ 2 ปี 6 เดือน จำนวน 26 กระทง และกระทงละ 6 เดือน จำนวน 6 กระทง ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืน จึงเป็นกรณีที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น และลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกินห้าปี ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง แม้เมื่อรวมโทษจำคุกจำเลยทุกกระทงแล้วศาลล่างทั้งสองให้จำคุกจำเลย 50 ปี ก็เป็นไปตาม ป.อ. มาตรา 91 (3) ไม่มีผลต่อข้อจำกัดในการฎีกาของจำเลยตามบทบัญญัติดังกล่าว