พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5412/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงชำระหนี้ไม่ใช่การยอมความ ไม่กระทบสิทธิฟ้องคดีอาญา
บันทึกเงื่อนไขการชำระหนี้ที่จำเลยตกลงยินยอมผ่อนชำระหนี้ตามเช็คพิพาทกับหนี้ในคดีอื่นอีกพร้อมดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ หากจำเลยปฏิบัติการชำระหนี้ตามบันทึกครบถ้วนโจทก์จะถอนฟ้องคดีนี้และคดีอื่นทั้งหมด หากจำเลยผิดเงื่อนไขยินยอมให้ยกคดีนี้ขึ้นพิจารณาต่อไปตามที่โจทก์และจำเลยทั้งสองตกลงกันนั้น เป็นเพียงข้อตกลงที่จำเลยทั้งสองจะชดใช้เงินของโจทก์ที่ยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน ไม่มีข้อความตอนใดแสดงว่าโจทก์ตกลง เลิกหรือระงับการดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยทั้งสอง ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นเพียงบันทึกที่จะชดใช้ค่าเสียหายกันในทางแพ่ง มิใช่เป็นการยอมความอันมีผลทำให้สิทธิในการดำเนินคดีอาญาของโจทก์ต้องระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (2) คดีจึงยังไม่เลิกกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลคำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความในคดีต่อมา สิทธิการแสดงอำนาจพิเศษไม่ใช่ข้อจำกัดตายตัว
คดีก่อนโจทก์ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินซึ่งเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้ ซึ่งผู้ร้องให้การต่อสู้ในเรื่องกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองเป็นข้อต่อสู้คำฟ้องและคำให้การของผู้ร้อง จึงมีประเด็นข้อพิพาทโดยตรงว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ ตามที่ศาลชั้นต้นได้ชี้สองสถานไว้ และเมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของผู้ร้อง และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้น คำพิพากษาของศาลชั้นต้นดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษานั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์ไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาศาลชั้นต้นดังกล่าวได้ แม้ผู้ร้องให้การต่อสู้ในคดีก่อนโดยมิได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาทตกเป็นของผู้ร้องก็ตาม
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว
ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงบทสันนิษฐานของกฎหมายที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยในกรณีที่ผู้ร้องไม่ได้ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยภายในกำหนดเวลา 8 วัน นับแต่วันที่เจ้าพนักงานบังคับคดีปิดประกาศ บทบัญญัติดังกล่าวมิได้บังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าถ้าผู้ร้องไม่ยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายในกำหนดเวลาเช่นว่านั้นแล้ว ผู้ร้องจะต้องเป็นบริวารของจำเลยสถานเดียว หากผู้ร้องมีหลักฐานแสดงไว้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย ผู้ร้องก็ชอบที่จะยื่นคำร้องนำพยานหลักฐานมาสืบพิสูจน์ถึงสถานภาพของผู้ร้องได้ว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลยแม้ว่าจะล่วงเวลา 8 วัน และกำหนดระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 จัตวา (3) เป็นเพียงระยะเวลาที่กฎหมายบัญญัติเป็นข้อสันนิษฐานถึงสถานภาพของบุคคลว่าใช่หรือไม่ใช่บริวารของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่ระยะเวลาสิ้นสุดเพื่อให้ดำเนินหรือมิให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆ ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 23 ซึ่งจะทำให้ผู้ร้องเสียสิทธิที่จะยื่นคำร้องแสดงอำนาจพิเศษต่อศาลภายหลังเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาเช่นว่านั้นแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5294/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันคำพิพากษาคดีก่อน และการวินิจฉัยประเด็นกรรมสิทธิ์ในคดีขับไล่
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยและบริวารออกจากที่ดินพิพาท ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลย ปรากฏว่าคดีก่อนโจทก์ได้ฟ้องผู้ร้องเป็นจำเลยขอให้ขับไล่ผู้ร้องออกจากที่ดินซึ่งเป็นแปลงเดียวกับที่ดินพิพาทในคดีนี้โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ผู้ร้องและบิดาผู้ร้องเช่าจากผู้แทนโจทก์ ผู้ร้องให้การต่อสู้ว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยการครอบครองทำประโยชน์ด้วยความสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของตั้งแต่ปี 2517 จนถึงปัจจุบัน ผู้ร้องและบิดาผู้ร้องไม่เคยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือไม่ตามที่ศาลชั้นต้นชี้สองสถานไว้ ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นของผู้ร้องและพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด คำพิพากษาดังกล่าวจึงมีผลผูกพันโจทก์และผู้ร้องซึ่งเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิกล่าวอ้างข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นให้แตกต่างไปจากผลแห่งคำวินิจฉัยของคำพิพากษาดังกล่าวได้ ที่ผู้ร้องมิได้ฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาให้ที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้องในคดีก่อนด้วยก็มีผลเพียงว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของผู้ร้อง ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์เท่านั้น แต่หากผู้ร้องซึ่งเป็นจำเลยฟ้องแย้งเข้ามาในคดี นอกจากศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์แล้วก็ยังจะต้องมีคำพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามฟ้องแย้งด้วย เมื่อข้อเท็จจริงตามคำร้องของผู้ร้องและตามคำคัดค้านของโจทก์คดีนี้เพียงพอแก่การวินิจฉัยคำร้องของผู้ร้องได้เช่นนี้ ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะนำข้อเท็จจริงดังกล่าวในคดีก่อนซึ่งผูกพันโจทก์และผู้ร้องมาฟังในคดีนี้เพื่อวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเดียวกันได้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่งดไต่สวนพยานแล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องมิใช่บริวารของจำเลย โดยหยิบยกคำพิพากษาในคดีดังกล่าวมาเป็นข้อวินิจฉัยในคดีนี้โดยมิได้มีการไต่สวน จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5247/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สิทธิขอรับรองเป็นคนยากจน (อนาถา) ในชั้นอุทธรณ์ ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด แม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดไว้
คดีนี้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว เห็นว่า จำเลยมิใช่คนยากจนถึงขนาดไม่สามารถชำระค่าธรรมเนียมในชั้นอุทธรณ์ได้ จึงมีคำสั่งยกคำร้องพร้อมกับมีคำสั่งว่าหากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์ต่อไปให้วางเงินค่าฤชาธรรมเนียมภายใน 7 วัน ซึ่งก็หมายถึงว่านับแต่วันที่มีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมมีสิทธิดำเนินการเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยได้ คือนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมมาชำระภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดกรณีหนึ่ง หรือยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่ อีกกรณีหนึ่ง เมื่อจำเลยใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลัง แม้บทบัญญัติดังกล่าวจะมิได้กำหนดระยะเวลาให้ยื่นคำร้องไว้ แต่เมื่อการใช้สิทธิดำเนินการในกรณีแรก คือการนำเงินค่าธรรมเนียมมาชำระ จะต้องนำมาชำระภายใน 7 วัน ตามคำสั่งของศาลชั้นต้น การใช้สิทธิดำเนินการในกรณีหลังตามบทบัญญัติดังกล่าวก็จะต้องดำเนินการคือยื่นคำร้องภายใน 7 วัน ด้วยเช่นกัน เพราะเป็นการใช้สิทธิเพื่อให้ศาลรับอุทธรณ์ของจำเลยเหมือนกัน เมื่อจำเลยใช้สิทธิยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาของจำเลยใหม่เมื่อพ้น 7 วัน นับแต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแล้ว ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งยกคำร้อง กรณีเช่นนี้มิใช่เรื่องที่ศาลล่างทั้งสองศาลนำกำหนดระยะเวลาการใช้สิทธิการยื่นอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคห้า มาปรับแก่คดีของจำเลยซึ่งเป็นการใช้สิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5050/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้จากการรับรองตั๋วเงิน: สัญญาแยกต่างหากจากอาวัล, อายุความ 10 ปี
โจทก์รับรองการจ่ายเงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินซึ่งจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋วในฐานะผู้รับอาวัลเนื่องมาจากจำเลยที่ 1 ได้ทำคำขอให้รับรองตั๋วเงินไว้ต่อโจทก์ แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนซึ่งเจตนาของโจทก์และจำเลยที่ 1 ที่ประสงค์มุ่งโดยตรงต่อการผูกนิติสัมพันธ์ระหว่างกันตามคำขอให้รับรองตั๋วเงินด้วย และถือได้ว่าเป็นสัญญาประเภทหนึ่งซึ่งมีผลผูกพันสามารถบังคับกันได้ตามกฎหมายแยกต่างหากจากความผูกพันที่โจทก์ยอมตกเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกตั๋ว ดังนั้น เมื่อตั๋วถึงกำหนดใช้เงินโจทก์ได้ใช้เงินไปตามตั๋วสัญญาใช้เงินนั้นให้แก่ห้างหุ้นส่วนจำกัด ก. แล้วมาใช้สิทธิไล่เบี้ยแก่จำเลยที่ 1 ให้รับผิดตามคำขอให้รับรองตั๋วเงินดังกล่าว แม้โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินเมื่อพ้นกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทถึงกำหนดอันเป็นเหตุให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ตามตั๋วสัญญาใช้เงินขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1001 แล้ว แต่สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะฟ้องบังคับให้จำเลยที่ 1 รับผิดในหนี้อันเกิดจากคำขอให้รับรองตั๋วเงินที่จำเลยที่ 1 ทำกันไว้แก่โจทก์ก็ยังคงมีอยู่ และสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในกรณีเช่นว่านี้ ไม่มีบทกฎหมายบัญญัติอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องให้จำเลยที่ 1 รับผิดตามสิทธิเรียกร้องดังกล่าว ซึ่งยังไม่พ้นกำหนดเวลาสิบปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5049/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ระหว่างพิจารณาคดี และการปฏิบัติตามคำสั่งเพื่อใช้สิทธิโต้แย้งภายหลัง
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำเลยวางเงินค่าธรรมเนียมภายในวันที่ 23 มิถุนายน 2546 เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ที่ให้ศาลชั้นต้นดำเนินการเรียกจำเลยให้นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แทนคู่ความตามคำพิพากษามาวางศาลให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรก่อนที่ศาลชั้นต้นจะได้อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟัง อันเป็นคำสั่งของศาลอุทธรณ์ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้คู่ความฟังตามกฎหมาย ซึ่งถือว่าเป็นคำสั่งในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ หากจำเลยเห็นว่าคำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไร จำเลยชอบที่จะต้องปฏิบัติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์โดยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนดก่อน แล้วใช้สิทธิโต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้เพื่อการใช้สิทธิฎีกาภายหลังเมื่อได้อ่านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์แล้ว การที่จำเลยฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ทันทีในขณะที่ยังถือว่าคดีนั้นอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์เช่นนี้ จึงเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5047/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบเนื่องจากการส่งหมายเรียกที่ไม่ถูกต้อง และประเด็นเรื่องการยื่นคำร้องขัดเกินกำหนดเวลา
จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ โดยอ้างว่าพนักงานเดินหมายไม่ได้นำหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องไปส่งให้แก่จำเลยที่ 2 ณ ภูมิลำเนาที่ถูกต้องของจำเลยที่ 2 ตามที่โจทก์ระบุมาในคำฟ้อง อันเป็นการไม่ปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคหนึ่ง ประกอบมาตรา 74 (2) ซึ่งถือได้ว่าเป็นกรณีที่มิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในเรื่องการส่งคำคู่ความหรือเอกสารอื่น ๆ และมาตรา 27 นั้นให้ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียทั้งหมดหรือบางส่วน หรือสั่งแก้ไขหรือมีคำสั่งในเรื่องนั้นอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ศาลเห็นสมควรได้ คำร้องของจำเลยที่ 2 จึงไม่อยู่ในบังคับของ ป.วิ.พ. มาตรา 208 (ซึ่งใช้บังคับอยู่ในวันที่ยื่นฟ้องคดีนี้) แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลก็ไม่ทำให้เป็นคำร้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ได้แต่งทนายความเข้ามาในคดีและทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำแถลงขอคัดหรือถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนคดีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบเช่นว่านี้อย่างช้าในวันดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง แล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว จำเลยที่ 2 ได้แต่งทนายความเข้ามาในคดีและทนายจำเลยที่ 2 ยื่นคำแถลงขอคัดหรือถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวนคดีเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2542 แสดงว่าจำเลยที่ 2 ได้ทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างในเรื่องผิดระเบียบเช่นว่านี้อย่างช้าในวันดังกล่าวแล้ว แต่จำเลยที่ 2 เพิ่งยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบในวันที่ 27 พฤษภาคม 2547 จึงล่วงเลยกำหนดเวลาแปดวันนับแต่วันที่คู่ความฝ่ายนั้นทราบข้อความหรือพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง แล้ว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิยื่นคำร้อง ปัญหาข้อนี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้างตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลเกิน การที่โจทก์ไม่ใช้สิทธิอุทธรณ์ ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนได้ภายหลัง
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอค่าขึ้นศาลบางส่วนคืนโดยอ้างว่าได้ชำระเกินไปกว่าที่จะต้องชำระตามกฎหมาย ย่อมเท่ากับเป็นการยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้คำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 168 บัญญัติยกเว้นให้สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแต่อย่างเดียวได้ แต่เมื่อโจทก์มิได้ใช้สิทธิอุทธรณ์และคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิมาขอค่าฤชาธรรมเนียมศาลที่ได้ชำระไปแล้วคืนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4944/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลายื่นฎีกาต้องมีเหตุพิเศษ มิใช่ความบกพร่องของทนายความ
การยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาของจำเลยที่ 1 ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบกับ ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัยซึ่งศาลจะขยายระยะเวลาให้ตามคำร้องหรือไม่เป็นดุลพินิจที่จะพิจารณาเป็นเรื่อง ๆ ไป ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2545 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกาติดต่อกันรวม 3 ครั้ง โดยทุกครั้งจะอ้างเหตุผลทำนองเดียวกันว่า ทนายความจำเลยที่ 1 จำเป็นต้องศึกษารายละเอียดของคำพยานและเอกสารในสำนวน รวมทั้งต้องทำคำฟ้องอุทธรณ์และฎีกาในคดีอื่นอีกหลายสำนวน จึงไม่อาจจัดทำคำฟ้องฎีกาได้ทัน ทั้ง ๆ ที่คดีมีข้อเท็จจริงไม่สลับซับซ้อน กรณีนับได้ว่าเป็นความผิดพลาดบกพร่องของทนายความจำเลยที่ 1 เอง หาใช่พฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลายื่นฎีกาให้แก่จำเลยที่ 1 อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4873/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลดโทษจำเลยในคดีอาญาจากเหตุบรรเทาโทษและแก้ไขคำพิพากษาเกี่ยวกับความผิดฐานมีอาวุธปืน
ความผิดฐานมีอาวุธปืนและกระสุนปืนไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตนั้นโจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยมีอาวุธปืนพกออโตเมติก ขนาด 9 มม. เครื่องหมายทะเบียน นว 7/7717 พร้อมซองกระสุนปืนจำนวน 1 กระบอก และกระสุนปืนขนาด .380 จำนวน 10 นัด ไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาต จำเลยให้การรับสารภาพ คดีจึงต้องฟังข้อเท็จจริงตามฟ้องว่า อาวุธปืนที่จำเลยมีไว้ในครอบครองเป็นอาวุธปืนมีทะเบียนของผู้อื่นจำเลยมีความผิดฐานนี้ตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 7, 72 วรรคสาม
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษตาม พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ มาตรา 72 วรรคสาม แต่ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยในความผิดฐานนี้ตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง อันเป็นการลงโทษสำหรับกรณีที่อาวุธปืนซึ่งมีไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตเป็นอาวุธปืนไม่มีเครื่องหมายทะเบียน จึงเป็นคำพิพากษาเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225 แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เองโดยปรับบทลงโทษให้ถูกต้อง