คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุภิญโญ ชยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9266/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลขยายเวลาอุทธรณ์: ศาลมีอำนาจทั่วไปในการขยายเวลาได้ตามสมควร แม้ไม่ระบุเหตุผลชัดเจน
โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ออกไปอีก 15 วัน หากศาลชั้นต้นขยายระยะเวลาตามคำร้องขอ ก็จะต้องยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 7 มิถุนายน 2542 การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 18 มิถุนายน 2542 มากกว่าที่โจทก์ร้องขอ เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่ และจะอนุญาตขยายระยะเวลาให้เท่าใดก็ได้ ตามเหตุผลที่เห็นสมควร โดยไม่จำเป็นที่ศาลจะต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งอนุญาตนั้นว่าเพราะเหตุใด กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งดังกล่าว จะถือว่าศาลชั้นต้นสั่งโดยผิดหลง โดยมิได้ระบุเหตุผลที่ให้เวลาแก่โจทก์เกินกว่าที่โจทก์ร้องขอให้ชัดเจน ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6861/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยฎีกาแต่ไม่ชำระค่าขึ้นศาลตามที่ศาลชั้นต้นกำหนด ถือเป็นการทิ้งฎีกา คดีจึงถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยและเรียกให้จำเลยชำระค่าเสียหาย อ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ได้มาจากจำเลยโดยจำเลยขายฝาก จำเลยให้การว่าการขายฝากเป็นนิติกรรมอำพรางการกู้ยืมเงิน ขอให้ยกฟ้อง เท่ากับจำเลยต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยไม่เคยขายฝากให้โจทก์ โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท อันเป็นการต่อสู้เรื่องกรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
จำเลยไม่นำเงินค่าขึ้นศาลชั้นฎีกามาชำระเพิ่มเติมให้ครบถ้วนภายในเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด เป็นกรณีที่จำเลยผู้ฎีกาเพิกเฉยไม่ดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลชั้นต้นเห็นสมควรกำหนด ถือได้ว่าจำเลยทิ้งฎีกา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 174 (2) ประกอบมาตรา 246,247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินโดยเจตนาซ่อนเร้น ไม่อาจได้สิทธิภาระจำยอม แม้ครอบครองนาน
การที่จำเลยสร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ โดยมีเจตนาซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทั้งสองครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้ำของโจทก์โดยเปิดเผยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382 ประกอบมาตรา 1401 แม้จะมีการครอบครองมานานเท่าใด จำเลยทั้งสองก็ไม่ได้สิทธิภาระจำยอมในที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5238/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดินด้วยฐานรากอาคารซ่อนเร้น และสิทธิภารจำยอมโดยอายุความ
จำเลยสร้างฐานรากของโรงเรือนซึ่งเป็นส่วนที่ฝังอยู่ใต้ดินรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์โดยมีเจตนาเพื่อซ่อนเร้นปกปิดการกระทำที่ไม่ชอบของตน จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินส่วนที่รุกล้ำของโจทก์โดยเปิดเผยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ประกอบมาตรา 1401 แม้จะมีการครอบครองมานานเท่าใด จำเลยก็ไม่ได้สิทธิภารจำยอมในที่ดินดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4961/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีที่ฟ้องบังคับสิทธิแล้ว ชอบด้วยกฎหมายตาม พ.ร.ก.บริหารสินทรัพย์
พระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 ที่ตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 218 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 เป็นบทยกเว้นหลักการและเจตนารมณ์ของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ใช้บังคับในกรณีปกติธรรมดาทั่วไป การโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพในรายของจำเลยที่ถูกโจทก์ฟ้องบังคับสิทธิเรียกร้องเป็นคดีอยู่ในศาลอันเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชกำหนดดังกล่าว จึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 และการโอนสิทธิเรียกร้องในรายของจำเลย ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับโอนก็ได้มอบอำนาจให้โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับชำระหนี้เดิมเป็นผู้รับมอบอำนาจดำเนินคดีแทน ซึ่งถือได้ว่าเป็นการมอบหมายให้โจทก์เป็นตัวแทนเรียกเก็บและรับชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดนั้น การโอนสิทธิเรียกร้องระหว่างโจทก์กับผู้ร้องจึงเป็นอันชอบด้วยกฎหมายโดยไม่ต้องบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามมาตรา 306 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อีกเช่นกันผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าสวมสิทธิเป็นคู่ความแทนโจทก์ได้ตามพระราชกำหนดบริษัทบริหารสินทรัพย์ พ.ศ. 2541 มาตรา 7

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: การพิจารณาประเภทคำร้องระหว่างทุเลาการบังคับกับคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ.
แม้โจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าขอทุเลาการบังคับมาในคำร้องที่โจทก์ยื่นพร้อมกับอุทธรณ์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง แต่ก็มีใจความว่าหากศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตามเอาทรัพย์พิพาทของโจทก์คืนมาจากจำเลย จึงพอแปลได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4085/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอคุ้มครองประโยชน์ระหว่างอุทธรณ์: การพิจารณาความหมายของคำร้องและเหตุผลในการมีคำสั่งห้ามทำนิติกรรม
โจทก์ใช้ถ้อยคำว่าขอทุเลาการบังคับมาในคำร้องที่โจทก์ยื่นพร้อมกับอุทธรณ์ที่คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ยกฟ้อง แต่ก็มีใจความว่าหากศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี จะทำให้เกิดความยุ่งยากในการติดตามเอาทรัพย์พิพาทของโจทก์คืนมาจากจำเลยจึงพอแปลได้ว่าคำร้องของโจทก์เป็นเรื่องโจทก์ขอคุ้มครองประโยชน์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264 ไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ป้องกันตัวโดยสำคัญผิด: การกระทำพอสมควรแก่เหตุเมื่อสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายในสถานการณ์ที่มีโจรผู้ร้ายชุกชุม
ช่วงเวลาเกิดเหตุในละแวกบ้านจำเลยมีโจรผู้ร้ายชุกชุมและก่อนเกิดเหตุจำเลยถูกคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ การที่ผู้ตายเข้าไปในบ้านจำเลยในยามวิกาลโดยปราศจากเหตุสมควร ย่อมทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายและจำเลยไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ตายจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะในห้องที่เกิดเหตุมืดและเป็นเวลากะทันหัน ถ้าเป็นคนร้ายซึ่งจะมาทำร้ายจำเลยจริงแล้ว การที่จะให้จำเลยรออยู่จนกว่าคนร้ายจะแสดงกิริยาทำร้ายแล้ว จำเลยอาจได้รับอันตรายก่อนที่จะทำการป้องกันได้ทันที และจำเลยยิงผู้ตายไปเพียง 1 นัด เมื่อผู้ตายล้มลงจำเลยก็มิได้ยิงซ้ำ การกระทำของจำเลยจึงพอสมควรแก่เหตุเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3869/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวโดยสำคัญผิดในสถานการณ์ฉุกเฉิน: การกระทำที่สมควรแก่เหตุ
ในช่วงเวลาเกิดเหตุในละแวกบ้านจำเลยมีโจรผู้ร้ายชุกชุม และก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยถูกคนร้ายเข้ามาลักทรัพย์ในบ้าน คืนเกิดเหตุผู้ตายได้ปีนเข้าบ้านจำเลยทางช่องลมโดยปราศจากเหตุสมควร ย่อมทำให้จำเลยสำคัญผิดว่าผู้ตายเป็นคนร้ายและในขณะนั้นจำเลยย่อมไม่อาจรู้ได้ว่าผู้ตายจะมีอาวุธหรือไม่ เพราะในห้องที่เกิดเหตุมืดและเป็นเวลากะทันหัน ถ้าเป็นคนร้ายซึ่งจะมาทำร้ายจำเลยจริงแล้ว การที่จะให้จำเลยรออยู่จนกว่าคนร้ายจะแสดงกิริยาทำร้ายแล้ว จำเลยก็อาจได้รับอันตรายก่อนที่จะทำการป้องกันได้ทันท่วงที และจำเลยก็ยิงผู้ตายไปเพียง 1 นัด เมื่อผู้ตายล้มลงจำเลยก็มิได้ซ้ำแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยจึงพอสมควรแก่เหตุเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมายโดยสำคัญผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 68 ประกอบด้วยมาตรา 62 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ, หากเกิน 2 ปี คดีขาดอายุความ
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในการให้จำเลยชำระค่าเช่าให้บริการวิทยุคมนาคมระบบเซลลูล่าเป็นหนี้อันเกิดจากการใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการหรือผู้ให้บริการซึ่งหากมิได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้ชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้ ซึ่งเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203 เมื่อปรากฏว่าสัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์กับจำเลยไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ในเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวจะระบุให้จำเลยผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่โจทก์ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ข้อความดังกล่าวก็เป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อปรากฏตามใบแจ้งหนี้ว่าช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34(7)
of 30