คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุภิญโญ ชยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใช้บริการ แม้มีเงื่อนไขชำระในใบแจ้งหนี้
สัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตาม ป.พ.พ. มาตรา 203 แม้ตามเงื่อนไขของสัญญาที่ระบุให้ผู้ใช้บริการ (จำเลย) นำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่ผู้ให้บริการ (โจทก์) ภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อปรากฏตามใบแจ้งหนี้ว่าช่วงเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า 2 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3602/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระ อายุความ 2 ปี: สิทธิเรียกร้องค่าบริการโทรศัพท์ขาดอายุความเมื่อเกิน 2 ปีนับจากใช้บริการ
สิทธิเรียกร้องของโจทก์ในหนี้อันเกิดจากการใช้สินค้าและบริการของผู้ประกอบการค้าหรือผู้ให้บริการ มิได้กำหนดเวลาการชำระหนี้ไว้ชัดเจน ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ไม่มีกำหนดระยะเวลาชำระหนี้เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้ชำระหนี้ได้โดยพลันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 203
สัญญาเช่าใช้บริการโทรศัพท์ระหว่างโจทก์จำเลย ไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ที่เกิดจากการใช้บริการโทรศัพท์ แม้ตามเงื่อนไขของสัญญาดังกล่าวระบุให้ผู้ใช้บริการนำเงินค่าใช้บริการไปชำระให้แก่ผู้ให้บริการภายในระยะเวลาที่ระบุไว้ในใบแจ้งหนี้ ก็เป็นเพียงเงื่อนไขของการบอกกล่าวเพื่อให้ชำระหนี้ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 387 เท่านั้น ฉะนั้น สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าใช้บริการจึงเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยได้ใช้บริการโทรศัพท์ของโจทก์ในแต่ละครั้ง เมื่อช่วงระยะเวลาที่จำเลยใช้บริการโทรศัพท์จนถึงวันฟ้องเกินกว่า2 ปี คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยผิดนัด: การแก้ไขต้นเงินคำนวณดอกเบี้ยให้ตรงกับเหตุผลในคำวินิจฉัยศาล ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาตามคำร้องของจำเลยจากการให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เป็นให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 4,627,729.55บาท นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นการแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดของต้นเงินค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับ เมื่อคิดถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 5,267,594.91 บาท จำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นยอดรวมของค่าสินค้ากับดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถึงวันฟ้อง ทั้งเมื่อรวมค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับเข้าด้วยกันแล้วจะได้เท่ากับ 4,627,729.55 บาท ตรงกับต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำพิพากษาเพื่อความถูกต้องของต้นเงินคำนวณดอกเบี้ย เป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อยที่ศาลทำได้
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาในส่วนของจำนวนเงินที่เป็นฐานในการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จตามคำร้องของจำเลย เป็นการแก้ไขให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อย มิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1835/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อุทธรณ์ในฐานะคนอนาถาถึงที่สุด ทำให้ไม่มีสิทธิฎีกาต่อเรื่องขยายเวลาวางค่าธรรมเนียมศาล
จำเลยอุทธรณ์และยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งไม่อนุญาต จำเลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งไม่อนุญาต คำสั่งศาลอุทธรณ์ถึงที่สุดแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย การที่จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลในเวลาต่อมา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืน คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกเป็นเรื่องที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งไม่อนุญาตให้อุทธรณ์อย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดแล้ว จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ต่อไปอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1794/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งสำนวนอุทธรณ์โดยตรงถึงศาลฎีกาโดยไม่ผ่านศาลอุทธรณ์: ศาลฎีกาไม่รับพิจารณาจนกว่าศาลชั้นต้นจะพิจารณาคำร้องขออนุญาตให้ยื่นอุทธรณ์โดยตรง
โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต่อมาเจ้าหน้าที่รายงานต่อศาลชั้นต้นว่าจำเลยได้รับสำเนาอุทธรณ์และสำเนาคำร้องดังกล่าวแล้วมิได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์และคำคัดค้านภายในกำหนดเวลาตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลอุทธรณ์แต่ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลชั้นต้นได้ส่งสำนวนไปศาลฎีกา โดยไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาว่าเป็นอุทธรณ์เฉพาะข้อกฎหมายและมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาได้หรือไม่ กรณียังถือไม่ได้ว่าศาลชั้นต้นได้ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 233 ทวิ วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ได้ ศาลฎีกาให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นเพื่อพิจารณาคำร้องที่โจทก์ขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธหนี้สัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินต้องระบุรายละเอียดการปฏิเสธลายมือชื่อ หากไม่ทำตามจะสิทธิในการนำสืบพยาน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงิน โดยจำเลยนำเช็คมาขายลดให้แก่โจทก์ เมื่อเช็คถึงกำหนดโจทก์ได้นำเช็คฉบับดังกล่าวไปขึ้นเงิน ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยทำสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินกับโจทก์ ทั้งไม่เคยนำเช็คมาขายลดให้แก่โจทก์ และไม่เคยได้รับเงินจากโจทก์ คำให้การดังกล่าวเป็นเพียงปฏิเสธลอย ๆ จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าสืบว่า ไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยหากจำเลยสืบพยานก็ต้องห้ามมิให้รับฟังเพราะคำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดแห่งการปฏิเสธ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1024/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธลอยๆ ในคดีซื้อขายลดตั๋วเงิน จำเลยต้องปฏิเสธรายละเอียดลายมือชื่อเพื่อสืบพยานได้
จำเลยให้การว่าไม่เคยทำสัญญาซื้อขายลดตั๋วเงินกับโจทก์ ทั้งไม่เคยนำเช็คตามฟ้องมาขายลดให้แก่โจทก์ และไม่เคยรับเงินจากโจทก์คำให้การดังกล่าวเป็นเพียงปฏิเสธลอยไม่ได้ให้รายละเอียดว่าลายมือชื่อจำเลยในสัญญาขายลดตั๋วเงินและลายมือชื่อในเช็คตามเอกสารท้ายฟ้องไม่ใช่ลายมือชื่อของจำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธินำพยานเข้าชื่อว่า ไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยหากจำเลยสืบพยานก็ต้องห้ามมิให้รับฟัง เพราะคำให้การของจำเลยไม่มีรายละเอียดแข่งการปฏิเสธตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 386/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฆ่าโดยบันดาลโทสะ: การพิจารณาเจตนาและความต่อเนื่องของเหตุการณ์
ก่อนเกิดเหตุ ผู้ตายได้พูดจาดูถูกจำเลยก่อนในลักษณะที่จำเลยเหมือนของเล่นได้แล้วจะเลิกเมื่อไรก็ได้ และเป็นหญิงใจง่ายหลอกกินเงินได้ เมื่อจำเลยโกรธและใช้รองเท้าตบหน้าผู้ตาย ผู้ตายกลับตามไปทำร้ายจำเลยอีก จนจำเลยทนไม่ได้เดินไปที่ห้องพักนำมีดปอกผลไม้ยาวประมาณ 1 ฟุตครึ่ง กลับมาใช้ปาดคอผู้ตาย ซึ่งเหตุการณ์ตั้งแต่ผู้ตายพูดจาดูถูกจำเลยแล้วจำเลยกลับไปบ้านพักนำมีดมาปาดคอจนผู้ตายถึงแก่ความตายนั้น เป็นระยะเวลาที่สืบเนื่องเชื่อมโยงติดต่อกันมาโดยตลอดในขณะนั้นเองและเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นยังไม่ขาดตอน เนื่องจากห้องพักของจำเลยกับที่เกิดเหตุห่างกันไม่มากนัก เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีพฤติการณ์ตระเตรียมการหรือวางแผนฆ่าผู้ตายมาก่อนการกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน คงเป็นความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยบันดาลโทสะเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 352/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่โจทก์พิสูจน์ความผิดจำเลย, พยานหลักฐานสนับสนุนฟ้อง, การใช้กฎหมายอาญาที่เปลี่ยนแปลง
ในคดีอาญาเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธ เป็นหน้าที่ของโจทก์โดยตรงที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบเพื่อสนับสนุนฟ้องและพิสูจน์ให้ได้ความชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิดตามข้อกล่าวหา แม้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 134 จะบัญญัติให้ถ้อยคำของจำเลยหรือผู้ต้องหาในชั้นสอบสวนอาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงพยานหลักฐานของโจทก์อย่างหนึ่งที่จะนำสืบสนับสนุนฟ้องเท่านั้น ทั้งเป็นเพียงพยานบอกเล่าจึงมีน้ำหนักน้อยเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา โจทก์มีหน้าที่จะต้องนำพยานเข้าสืบให้เห็นโดยปราศจากสงสัยว่าจำเลยมีพฤติการณ์ในการจำหน่ายเมทแอมเฟตามีนจริงตามฟ้องลำพังแต่เพียงเจ้าพนักงานตำรวจตรวจพบเมทแอมเฟตามีนที่ตัวจำเลย แม้จะมีจำนวนค่อนข้างมากก็ยังไม่มีน้ำหนักพอที่จะรับฟังว่าจำเลยมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย
of 30