คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุภิญโญ ชยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6021/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฎีกาและการยกข้ออ้างใหม่ในคำแก้ฎีกา: การพิจารณาความผิดฐานมียาเสพติด
ที่จำเลยแก้ฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนของกลางไว้ในครอบครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัย ขอให้ศาลฎีกายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการขอให้ศาลฎีกาพิพากษานอกเหนือคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ จำเลยต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5961/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: สถานที่อนุมัติสินเชื่อบัตรเครดิตเป็นสถานที่เกิดเหตุ แม้จำเลยมีภูมิลำเนาต่างจังหวัด
แม้จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครศรีธรรมราชจะยื่นใบสมัครสมาชิกบัตรเครดิตต่อโจทก์ที่สาขาในจังหวัดปทุมธานีก็ตาม แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่ามูลคดีเกิดขึ้นที่สำนักงานใหญ่ เพราะโจทก์ที่สำนักงานใหญ่เป็นผู้อนุมัติสินเชื่อบัตรเครดิต ย่อมถือได้ว่าสำนักงานใหญ่ของโจทก์เป็นสถานที่ที่มูลคดีเกิดขึ้น เมื่อสำนักงานใหญ่ของโจทก์อยู่ในเขตศาลแขวงพระโขนง โจทก์จึงชอบที่จะเสนอคำฟ้องของโจทก์ต่อศาลแขวงพระโขนงได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อ, ประกันภัย, ล้มละลาย: สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายยังคงอยู่แม้มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย
จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อรถไปจากโจทก์ โดยโจทก์ให้จำเลยที่ 1 เอาประกันภัยระบุให้โจทก์เป็น ผู้รับผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยนั้น สัญญาประกันภัยดังกล่าวจึงเป็นสัญญาที่แยกต่างหากจากสัญญาเช่าซื้อตามข้อตกลงในสัญญาเช่าซื้ออันมีลักษณะเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 เพื่อทดแทนความเสียหายให้แก่โจทก์อีกทางหนึ่ง ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องเพื่อให้ได้รับชดใช้ค่าเสียหายเต็มจำนวนจากข้อผูกพันตามสัญญาฉบับใดฉบับหนึ่งหรือทั้งสองฉบับจนกว่าจะได้รับครบถ้วน การที่รถที่เช่าซื้อประสบอุบัติเหตุเสียหายจนซ่อมแซมไม่ได้ และโจทก์ได้เข้าถือเอาผลประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้รับประกันภัย แต่ผู้รับประกันภัยถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลาย โจทก์จึงยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ดังกล่าว ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าการเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์ตามสัญญาประกันภัยได้รับชดใช้ค่าเสียหายแล้ว เพราะการยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นเพียงการปฎิบัติตามขั้นตอนที่บังคับไว้ ตามพระราชบัญญัติล้มละลายเพื่อรักษา สิทธิเรียกร้องเอาไว้และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือ แต่บางส่วนก็ได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5737/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องชดใช้ค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันยังคงอยู่ แม้จะมีการเรียกร้องค่าสินไหมจากประกันภัย
แม้โจทก์ผู้ให้เช่าซื้อและเป็นผู้รับประโยชน์ตามสัญญาประกันภัยรถยนต์ที่เช่าซื้อจะเข้าถือเอาประโยชน์ตามสัญญาประกันภัย ด้วยการยื่นคำขอรับชำระหนี้ของบริษัทผู้รับประกันภัยในคดีล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 27,91 ก็เพื่อเป็นการรักษาสิทธิเรียกร้องตามสัญญาประกันภัยไว้เท่านั้น และเป็นการไม่แน่นอนว่าจะได้รับชำระหนี้ เพราะคำขออาจถูกยกหรืออนุญาตทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้ตามมาตรา 107 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การเข้าถือเอาประโยชน์ของโจทก์จึงมิใช่เป็นกรณีที่โจทก์ได้รับชดใช้ค่าเสียหายตามสิทธิเรียกร้องนั้นแล้ว เมื่อโจทก์ยังไม่ได้รับชดใช้ค่าเสียหายแต่อย่างใด โจทก์จึงชอบที่จะใช้สิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายตามสัญญาเช่าซื้อและสัญญาค้ำประกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5688/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ยังไม่ได้กรรมสิทธิ์ และการรับฟังพยานหลักฐานสัญญาเช่าซื้อที่มีการปิดอากรแสตมป์
ทรัพย์สินที่ทำการเช่าซื้อกันนั้นผู้ให้เช่าซื้ออาจนำทรัพย์สินที่จะมีกรรมสิทธิ์ในอนาคตออกให้เช่าซื้อล่วงหน้าได้ ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 ประสงค์จะซื้อเครื่องจักรพิพาทโดยให้โจทก์ออกเงินลงทุนให้เพื่อชำระให้แก่เจ้าของทรัพย์ แล้วจำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อเครื่องจักรดังกล่าวกับโจทก์ในวันเดียวกับที่จำเลยที่ 1 รับเงินลงทุนไปจากโจทก์ หลังจากนั้นจำเลยที่ 1 จึงได้ชำระเงินค่าเครื่องจักรให้แก่ผู้ขายซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์ อันเป็นผลให้โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรที่ให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญาเช่าซื้อไปก่อนหน้านั้นแล้ว สัญญาเช่าซื้อจึงมีผลใช้บังคับได้ หาได้ตกเป็นโมฆะไม่
ตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 118 บัญญัติเพียงว่าตราสารใดที่ไม่ปิดแสตมป์ครบจำนวนและได้ขีดฆ่าแล้ว จะใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้นไม่ได้บังคับถึงเวลาที่ปิดและขีดฆ่า เมื่อต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ปิดอากรแสตมป์ครบจำนวนและขีดฆ่าแล้ว และทั้งเมื่อโจทก์อ้างส่งต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อดังกล่าวต่อศาลก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสองได้โต้แย้งถึงความถูกต้องของต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อนั้น จึงรับฟังต้นฉบับสัญญาเช่าซื้อเป็นพยานหลักฐานได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4976/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อผิดนัด ผู้เช่าซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ ผู้ให้เช่าซื้อต้องรับผิดชอบค่าซ่อมแซม
การที่เจ้าพนักงานตำรวจมีหนังสือแจ้งอายัดการดำเนินการทางทะเบียนต่อผู้อำนวยการสำนักงานทะเบียนรถยนต์ เพราะการนำรถยนต์เข้าประเทศผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นก่อนที่โจทก์จะรับโอนรถยนต์มาและไม่อาจทราบได้ การที่ไม่อาจต่อทะเบียนรถยนต์ประจำปี จึงมิใช่เกิดจากความผิดของโจทก์ หากจำเลยที่ 1 ประสงค์จะเลิกสัญญาเพราะไม่อาจใช้รถยนต์ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็ชอบที่จะกระทำได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 573 โดยส่งมอบรถยนต์คืน แต่จำเลยที่ 1 กลับชำระค่าเช่าซื้อต่อมาจนถึงงวดที่ 17 จากนั้นไม่ยอมชำระค่าเช่าซื้อและไม่ยอมส่งมอบรถยนต์คืนโดยปราศจากเหตุผล โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อเมื่อจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อโจทก์ย่อมมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ในฐานะผู้ค้ำประกันที่ยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมร่วมกันส่งมอบรถยนต์หรือใช้ราคาคืนและเรียกค่าขาดประโยชน์จากจำเลยทั้งสองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันของคำพิพากษาตามยอมและการตีความสัญญาประนีประนอมยอมความ โดยการแก้ไขข้อสัญญาหลังมีคำพิพากษาทำไม่ได้
การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 จำเลยที่ 2 จะมากล่าวอ้างในภายหลังว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยสำคัญผิดหาได้ไม่
กรณีที่จะต้องมีการตีความแห่งข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น สัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีข้อความว่าจำเลยทั้งสองสัญญาว่าจะชำระเงินภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป และสัญญาข้อ 2.1 มีข้อความว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้ว แต่ไม่เกิน 1 ปีดังกล่าวในข้อ 2 เห็นได้ว่า ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความข้อ 2 มีความหมายชัดเจนแปลความได้โดยนัยเดียวว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายใน 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญา ข้อความแห่งสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวมิได้ขัดกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4932/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน หากจำเลยไม่ปฏิบัติตาม โจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ แม้จะอ้างสำคัญผิด
ศาลชั้นต้นพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมถึงที่สุดแล้ว คำพิพากษาตามยอมย่อมมีผลผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 จะมากล่าวอ้างในภายหลังว่า จำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปโดยสำคัญผิดหาได้ไม่
กรณีที่จะต้องมีการตีความข้อความในเอกสารใดก็แต่เฉพาะเมื่อข้อความในเอกสารนั้นมีข้อสงสัยเท่านั้น
ข้อความตามตัวอักษรในสัญญาประนีประนอมยอมความ ข้อ 2 แปลความได้ว่าจำเลยทั้งสองตกลงชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน2540 เป็นต้นไป อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด สัญญาดังกล่าวย่อมสิ้นผลเมื่อถึงเวลาที่กำหนดนั้น หากจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ภายในระยะเวลาที่กำหนดย่อมต้องตกเป็นผู้ผิดสัญญาและโจทก์มีสิทธิบังคับคดีได้ทันทีตามข้อความในสัญญา ข้อ 4 ส่วนข้อความในสัญญาข้อ 2.1 ที่ว่า จำเลยทั้งสองจะชำระเงินต่อเมื่อได้ขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้แล้วแต่ไม่เกิน 1 ปี ดังกล่าวในข้อ 2 มีความหมายชัดเจนถึงว่า หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ได้ก่อนครบกำหนด 1 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 เมื่อใดจำเลยทั้งสอง ก็จะชำระเงินให้แก่โจทก์เมื่อนั้น แต่หากจำเลยทั้งสองขายคอนโดมิเนียมของจำเลยที่ 1 ไม่ได้ จำเลยทั้งสองก็ยังจะต้องชำระเงินให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลา 1 ปีนับตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2540 อันเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุดที่กำหนดไว้ตามสัญญาข้อ 2นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการใช้ทางภารจำยอมครอบคลุมทางรถยนต์และสาธารณูปโภค การขัดขวางถือเป็นการละเมิด
ในบันทึกถ้อยคำอันเป็นข้อตกลงภารจำยอมบางส่วนต่อเจ้าพนักงานที่ดิน ซึ่งกำหนดให้ทางเดินในที่ดินของจำเลยทั้งสองและที่ดินที่จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าของรวม กับที่ดินของโจทก์และที่ดินของ อ. ต่างตกเป็นภารจำยอมแก่กันและกันได้มีข้อความระบุว่า "โดยตกเป็นภารจำยอมเรื่องทางเดินบางส่วน" แต่บันทึกทำกันที่สำนักงานที่ดินมีข้อความชัดเจนว่า "ผู้มีกรรมสิทธิ์ที่ดินซึ่งจดทะเบียนภารจำยอมไว้ระบุให้มีและใช้ถนนทางเท้าและทางรถยนต์ต่างฝ่ายต่างยังให้สิทธิซึ่งกันและกัน ในการปักเสาไฟฟ้าวางท่อประปา และเกี่ยวกับกิจการสาธารณูปโภคอื่น" แม้ตามบันทึกถ้อยคำจะระบุว่าเป็นภารจำยอมเรื่องทางเดินบางส่วนก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นภารจำยอมเฉพาะทางเดินเท้าแต่เพียงอย่างเดียว เพราะเจตนารมณ์ของการใช้ทางภารจำยอมที่ปรากฏอยู่ในบันทึกทำกันที่สำนักงานที่ดินว่าเป็นการมีและใช้ถนน ทางเท้า และทางรถยนต์ รวมทั้งการปักเสาไฟฟ้า วางท่อประปา และกิจการสาธารณูปโภคอื่นด้วย แม้จำเลยทั้งสองไม่ได้ลงลายมือชื่อในเอกสารดังกล่าวก็ไม่ทำให้มีน้ำหนักลดลง เพราะเป็นเพียงเอกสารประกอบที่อธิบายขยายคำว่า ภารจำยอมเรื่องทางเดินบางส่วนให้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าไม่ได้หมายความเฉพาะทางเดินเท้าเท่านั้น โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางภารจำยอมเป็นทางรถ ปักเสาไฟฟ้า ฯลฯโดยไม่จำกัดการใช้เฉพาะทางเดินเท้าอย่างเดียวได้
เมื่อโจทก์มีสิทธิใช้ทางภารจำยอม จำเลยทั้งสองนำเสาคอนกรีตไปปักไว้และทำคานบนเสาเพื่อขัดขวางไม่ให้โจทก์ใช้ทางภารจำยอม จึงเป็นการทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความตั๋วสัญญาใช้เงิน การยกอายุความแทนกันของผู้ค้ำประกัน และสิทธิคิดดอกเบี้ยของสถาบันการเงิน
จำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ มีแต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกหนี้และจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันให้การยกอายุความขึ้นต่อสู้แต่เนื่องจากมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การยกอายุความขึ้นต่อสู้ของจำเลยที่ 1 และที่ 3 จึงถือได้ว่าเป็นการทำแทนจำเลยที่ 4 ด้วย
ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทกำหนดวันชำระเงินเมื่อทวงถามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 913(3) ประกอบกับมาตรา 985 ซึ่งอายุความจะเริ่มนับก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ใช้สิทธิทวงถามจำเลยที่ 1 และที่ 2 ผู้ออกตั๋วแล้ว เมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปยังจำเลยที่ 1 ส่วนการทวงถามจำเลยที่ 2 ได้ประกาศทางหนังสือพิมพ์เมื่อ พ.ศ. 2539 และโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ปีเดียวกัน จึงอยู่ภายในกำหนดอายุความ 3 ปี ตามมาตรา 1001
โจทก์เป็นสถาบันการเงินมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ. 2522 มาตรา 30(2) ข้อกฎหมายดังกล่าวศาลรู้ได้เองโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84 โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 16.5 ตามที่ปรากฏในตั๋วสัญญาใช้เงิน
of 30