คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุภิญโญ ชยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4072/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความหนี้ร่วมและดอกเบี้ยสถาบันการเงิน: การยกข้อต่อสู้ของจำเลยร่วมมีผลถึงกัน และอัตราดอกเบี้ยตามประกาศ ธปท.
แม้จำเลยที่ 4 ผู้ฎีกาจะไม่ได้ยกอายุความขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การ แต่หนี้ของจำเลยทั้งสี่มูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ การที่จำเลยร่วมคนอื่นยกข้อต่อสู้ไว้ จำเลยที่ 4 จึงได้รับผลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 59(1) ที่ให้ถือว่าเป็นการทำแทนจำเลยที่ 4 ด้วย
จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่า โจทก์เป็นสถาบันการเงิน ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ฯมาตรา 30(2) ไม่ตกอยู่ในบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654ข้อกฎหมายดังกล่าวศาลรู้ได้เองโดยโจทก์ไม่ต้องสืบพยานประกอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 84

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากทรัพย์อันตราย-แท่นไฮดรอลิกชำรุด-ผู้รับประกันภัยต้องร่วมรับผิด
ความเสียหายของรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วง 4 คัน เกิดขึ้นในขณะที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 กำลังยกแท่นไฮดรอลิกเพื่อเทน้ำตาลดิบออกจากรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอลิกนั้นลงฉางเก็บโดยแท่นไฮดรอลิกดังกล่าวเป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบเพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย หรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่า เหตุที่เกิดความเสียหายสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 1
ขณะเกิดเหตุรถยนต์บรรทุกน้ำตาลดิบมาจากจังหวัดอุดรธานี ระหว่างการเดินทางน้ำตาลมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่น ซึ่งก่อนเทมิได้มีการทำให้น้ำตาลแตกตัวทั้งหมดก่อนที่จะยกแท่นไฮดรอลิกขึ้นเทแต่อย่างใด น้ำตาลดิบที่ยังคงมีสภาพเกาะกันแน่นย่อมทำให้น้ำหนักเฉลี่ยไม่สม่ำเสมอ เมื่อถ่ายน้ำหนักออกจากรถพ่วงทันทีทันใดย่อมทำให้แหนบรถเกิดแรงต้านดีดตัวรถให้ลอยขึ้นข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุกล้อ ทำให้รถยนต์บรรทุกและรถพ่วงที่บรรทุกน้ำตาลมาไหลชนรถยนต์บรรทุกและรถพ่วงคันอื่นได้รับความเสียหาย ซึ่งมิใช่ความเสียหายที่เกิดจากเหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยที่ 1 อาจป้องกันได้โดยทำให้น้ำตาลแตกตัวเสียก่อนที่จะนำรถขึ้นแท่นไฮดรอลิก จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดในความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 และจำเลยที่ 2 ผู้รับประกันภัยก็ต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 รับผิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์บรรทุกและรถลากพ่วงคันที่ได้รับความเสียหายและได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าซ่อมแซมรถที่เสียหายนั้นไปแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4037/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดจากแท่นไฮดรอลิกชำรุดและผลกระทบต่อสัญญาประกันภัย
แท่นไฮดรอลิกสำหรับเทน้ำตาลดิบออกจากรถยนต์บรรทุกซึ่งจอดอยู่บนแท่นไฮดรอลิกนั้นลงฉางเก็บ เป็นทรัพย์อันเป็นของเกิดอันตรายได้โดยอาการกลไกของทรัพย์นั้นซึ่งจำเลยที่ 1 ผู้มีไว้ในครอบครองจะต้องรับผิดชอบ เพื่อการเสียหายอันเกิดขึ้นแต่ทรัพย์นั้น เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการเสียหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยหรือเกิดเพราะความผิดของผู้เสียหายนั้นเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437 โจทก์จึงไม่ต้องนำสืบว่าเหตุที่เกิดความเสียหายสืบเนื่องมาจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้างจำเลยที่ 1
น้ำตาลดิบที่บรรทุกมาในรถยนต์บรรทุกมีความชื้นสูงจึงเกาะกันแน่น แต่มิได้มีการทำให้น้ำตาลดิบแตกตัวทั้งหมดก่อนแล้วจึงยกแท่นไฮดรอลิกขึ้นเท การที่น้ำตาลดิบเกาะกันแน่นอยู่นั้นย่อมทำให้น้ำหนักเฉลี่ยไม่สม่ำเสมอ เมื่อถ่ายน้ำหนักออกมาจากรถยนต์บรรทุกในทันทีทันใด จึงทำให้แหนบรถเกิดแรงต้านและดีดตัวรถให้ลอยขึ้นข้ามที่กั้นล้อแล้วดึงโซ่ที่มัดคานหน้าไว้ขาดก่อนที่จะไหลลงมากระโดดข้ามที่กั้นล้อทุกล้อ ถือไม่ได้ว่าเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เพราะจำเลยที่ 1 อาจป้องกันมิให้เกิดเหตุดังกล่าวขึ้นได้โดยการทำให้น้ำตาลดิบที่บรรทุกมาในรถยนต์บรรทุกแตกตัวเสียก่อนที่จะนำรถขึ้นแท่นไฮดรอลิกเพื่อยกเทน้ำตาลดิบลงภาชนะที่รองรับนั้นได้ จำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในความเสียหายนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ต้องวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินตามคำพิพากษาตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 252 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเสียเองจึงเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งต่อมาอันเนื่องมาจากคำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์ยกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงชอบแล้วและเมื่อขึ้นมาสู่ศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาซึ่งเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยจึงต้องวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาได้หรือไม่ แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือคำสั่งให้รับฎีกา
การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ยื่นคำร้องมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ซึ่งนำมาใช้ในการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาด้วยตามมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินตามคำพิพากษาในการอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ทำให้คำร้องอุทธรณ์นั้นไม่ชอบ
จำเลยยื่นฎีกา ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ศาลชั้นต้นยกคำร้องเพราะจำเลยวางเงินไม่ครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวและมีคำสั่งใหม่ให้ส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งว่าไม่มีเหตุเปลี่ยนแปลงคำสั่งเดิม จำเลยจึงอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับฎีกาและไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคำสั่งดังกล่าวว่าเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาสั่ง ซึ่งศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่รับวินิจฉัยให้เพราะเห็นว่าไม่อยู่ในอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะเห็นได้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 247 ประกอบมาตรา 232 ให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและสั่งรับหรือไม่รับฎีกา แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา และจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเสียเองจึงเป็นการไม่ชอบแต่เมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งต่อมาอันเนื่องจากคำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น ศาลฎีกาจึงเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่าคดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาได้หรือไม่แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งให้รับฎีกา ดังนั้น ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งให้ยกอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงชอบแล้ว
การยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ผู้ยื่นคำร้องมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาล และนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ประกอบมาตรา 247 แต่จำเลยเพียงแต่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลชั้นต้น คำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3810/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการรับฎีกา, การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา, และหน้าที่วางเงินค่าฤชาธรรมเนียม
ในชั้นที่จำเลยยื่นฎีกาคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 3 ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจและมีคำสั่งรับหรือไม่รับฎีกา เพราะ ป.วิ.พ. มาตรา 247 ประกอบมาตรา 232 ให้อำนาจศาลชั้นต้นไว้ แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฎีกา และจำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไปยังศาลฎีกาเพื่อสั่งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 252 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกาเสียเองเป็นการไม่ชอบ และเมื่อมีการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่มีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับฎีกา ต่อมาศาลฎีกาเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยว่า คดีดังกล่าวอาจขึ้นมาสู่การวินิจฉัยของศาลฎีกาหรือไม่ แล้วมีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นหรือมีคำสั่งไม่รับฎีกา การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีคำสั่งยกอุทธรณ์ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและเงินตามคำพิพากษา ส่งผลต่อการรับอุทธรณ์คำสั่ง
กรณีที่คู่ความยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นมีอำนาจตรวจคำฟ้องอุทธรณ์และมีคำสั่งรับหรือไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 232 กรณีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ หากคู่ความประสงค์จะยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น คู่ความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 234 บัญญัติไว้ หากคู่ความไม่นำเงินค่าฤชาธรรมเนียม และเงินที่จะต้องชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันมาวางศาลภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจะต้องส่งสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์พิจารณาสั่งต่อไป ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งอีกไม่ได้ เพราะพ้นอำนาจของศาลชั้นต้นไปแล้ว หากศาลชั้นต้นกลับมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ถ้าไม่มีเหตุต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งใหม่ ศาลฎีกาชอบที่ให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของคู่ความนั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3535/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความเสียหายจากรถยนต์: เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง
ตามสัญญาซื้อขายระบุว่า ป. ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุในฐานะส่วนตัว มิได้ซื้อแทนห้างโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์ ซึ่งย่อมเป็นสิทธิที่ ป. จะจัดการทรัพย์สินของตนเองได้ หาใช่ว่าหาก ป. ลงนามในนิติกรรมหรือสัญญาใด ๆ ทั้งที่มิได้ระบุว่าทำแทนโจทก์หรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการโจทก์แล้วจะต้องถูกผูกพันว่าเป็นการกระทำการแทนโจทก์แต่อย่างใดไม่ และการที่ ป. นำรถยนต์คันเกิดเหตุไปประกันวินาศภัยไว้กับบริษัท ส. หรือนำรถยนต์คันดังกล่าวเข้าแล่นในเส้นทางสายเชียงใหม่ - ขอนแก่นนั้น อาจเป็นวิธีจัดการทรัพย์สินส่วนตัวของ ป. ก็เป็นได้ ประกอบกับคำบรรยายฟ้องโจทก์ยืนยันว่าโจทก์เป็นผู้ซื้อรถยนต์คันเกิดเหตุมาโดยตรง โดยมิได้บรรยายว่าโจทก์ซื้อรถดังกล่าวโดยให้ ป. เป็นคู่สัญญาแทนแต่ประการใด โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายที่จะมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดในค่าเสียหายที่เกิดขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้าม การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้น
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(1) คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามฎีกา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3514/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาต้องห้ามตามกฎหมาย การฎีกาคำสั่งศาลอุทธรณ์ที่ยืนตามคำสั่งเดิมจึงไม่รับ
เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำปฏิเสธของศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 และที่3 โดยเห็นว่าเป็นอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226(1) คำสั่งของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 วรรคหนึ่ง ต้องห้ามฎีกา
of 30