คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุภิญโญ ชยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ vs ยักยอก: การครอบครองทรัพย์สินของผู้เสียหายยังไม่สละ และการยินยอมให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์
การที่พนักงานของผู้เสียหายผู้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ที่ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่ให้จำเลยนำไปใช้ในการทำงานนอกสถานที่โดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนผู้เสียหายมิได้สละการครอบครอง เครื่องคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหายและจำเลยควรรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องติดตามเอาคืน การที่จำเลยยอมให้ ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการที่จำเลยเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น จึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์
โจทก์ฟ้องว่า เมื่อระหว่างวันที่ 3 สิงหาคม 2538 ถึงวันที่ 15 สิงหาคม 2538จำเลยลักเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปแต่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณากลับปรากฏว่าจำเลยลักเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปหลังจากวันที่ 19 สิงหาคม2538 การที่ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด มิใช่ข้อแตกต่างในสาระสำคัญทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ศาลจึงลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ vs. ยักยอก: การครอบครองทรัพย์สินของผู้เสียหายยังไม่สละ
การที่มีผู้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ที่ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่ให้จำเลยนำไปใช้ในการทำงาน โดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนดังที่จำเลยเบิกความกล่าวอ้างนั้น ยังถือมิได้ว่าผู้เสียหายได้สละการครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เครื่องคอมพิวเตอร์จึงยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย และจำเลยควรจะรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องติดตามเอาเครื่องคอมพิวเตอร์คืน การที่จำเลยยอมให้นาย ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการที่จำเลยเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์ หาใช่ความผิดฐานยักยอกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักทรัพย์ vs. ยักยอก: การครอบครองทรัพย์และเจตนาของผู้กระทำผิดมีผลต่อความผิดฐานอาญา
การที่มีผู้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ที่ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่ให้จำเลยซึ่งเป็นพนักงานฝ่ายขายของผู้เสียหายนำไปใช้ในการทำงานโดยจำเลยไม่ทราบมาก่อน ผู้เสียหายไม่ได้สละการครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใดเครื่องคอมพิวเตอร์ยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหายและจำเลยควรรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องติดตามเอาเครื่องคอมพิวเตอร์คืน การที่จำเลยยอมให้ ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการที่จำเลยเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่นการกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หาใช่เป็นความผิดฐานยักยอกไม่
ความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(11) ซึ่งไม่ใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ในการดำเนินคดีอาญาแก่ผู้กระทำความผิดก็ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ระงับไป
โจทก์ฟ้องว่า เกิดเหตุระหว่างวันที่ 3 ถึง 15 สิงหาคม 2538 แต่ทางพิจารณาได้ความว่าเหตุเกิดหลังวันที่ 19 สิงหาคม 2538 แต่จำเลยนำสืบข้อเท็จจริงตรงตามที่โจทก์นำสืบ แสดงว่าจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ กรณีจึงไม่ใช่เรื่องที่ฟ้องผิดไปเป็นเหตุให้จำเลยหลงต่อสู้ เมื่อข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในทางพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงที่กล่าวในฟ้องเกี่ยวกับเวลากระทำความผิด ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสาม มิให้ถือว่าต่างกันในสาระสำคัญ อีกทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยตามข้อเท็จจริงที่ได้ความนั้นได้ตามข้อยกเว้นที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3333/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ vs. ยักยอก: การครอบครองทรัพย์สินของผู้เสียหายยังไม่สละ แม้เก็บไว้ในรถ
การที่มีผู้นำเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้เสียหายไปเก็บไว้ที่ท้ายกระโปรงรถยนต์ของผู้เสียหายคันที่ให้จำเลยนำไปใช้ในการทำงาน โดยจำเลยไม่ทราบมาก่อนดังที่จำเลยเบิกความกล่าวอ้างนั้น ยังถือมิได้ว่าผู้เสียหายได้สละการครอบครองเครื่องคอมพิวเตอร์แต่อย่างใด เครื่องคอมพิวเตอร์จึงยังอยู่ในความยึดถือของผู้เสียหาย และจำเลยควรจะรู้ว่าผู้เสียหายจะต้องติดตามเอาเครื่องคอมพิวเตอร์คืน การที่จำเลยยอมให้นาย ณ. นำเครื่องคอมพิวเตอร์ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว จึงเป็นการที่จำเลยเอาเครื่องคอมพิวเตอร์ไปจากการครอบครองของผู้เสียหายเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานลักทรัพย์หาใช่ความผิดฐานยักยอกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ศาลฎีกาชี้ว่าเมื่อศาลอุทธรณ์ตัดสินว่าทรัพย์สินไม่เกี่ยวข้องกับการกระทำผิด ต้องคืนให้เจ้าของ
ตามพระราชบัญญัติมาตราการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้นเว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ..."
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลยและทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้นศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบทรัพย์สินจากคดียาเสพติด: ศาลฎีกาตัดสินให้คืนเงินของกลางแก่จำเลยเมื่อพิพากษาว่าไม่เกี่ยวเนื่องกับความผิด
ตาม พ.ร.บ.มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "บรรดาทรัพย์สินซึ่งพนักงานอัยการได้ยื่นคำร้องต่อศาลตามมาตรา 27 วรรคหนึ่งนั้น ให้ศาลไต่สวน หากคดีมีมูลว่าเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ให้ศาลสั่งริบทรัพย์สินนั้น เว้นแต่บุคคลซึ่งอ้างว่าเป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ยื่นคำร้องขอคืนก่อนคดีถึงที่สุดและแสดงให้ศาลเห็นว่า (1) ตนเป็นเจ้าของที่แท้จริงและทรัพย์สินนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือ..."
ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์แล้ว คดีย่อมฟังเป็นยุติว่า เงินสดของกลางจำนวน 220,200 บาท ที่โจทก์ขอให้ริบนั้น มิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด และจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางจำนวนดังกล่าวเป็นของจำเลย และทั้งจำเลยก็ได้ยื่นคำร้องคัดค้านขอคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย จึงทำให้คดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่า จำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริง จึงไม่อาจที่จะสั่งคืนให้แก่จำเลยนั้น ศาลฎีกาไม่เห็นพ้องด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3324/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินสดของกลาง: เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าไม่ใช่ทรัพย์สินเกี่ยวข้องกับยาเสพติด จึงชอบที่จะคืนให้จำเลย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกคำร้องของโจทก์ที่ขอให้ริบเงินสดของกลางแล้วคดีย่อมฟังเป็นยุติว่าเงินสดของกลางที่โจทก์ขอให้ริบนั้นมิใช่ทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดและจะต้องคืนให้แก่บุคคลผู้เป็นเจ้าของที่แท้จริง เมื่อปรากฏตามคำร้องของโจทก์ว่าเงินสดของกลางเป็นของจำเลยทั้งจำเลยได้ยื่นคำร้องคัดค้านของคืนเงินดังกล่าวแก่จำเลยด้วยแล้ว จึงชอบที่จะคืนเงินสดของกลางให้แก่จำเลย เนื่องจากคดีไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของเงินสดของกลางนั้นอีก การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยแล้วฟังว่าจำเลยมิใช่เจ้าของเงินสดของกลางที่แท้จริงจึงไม่อาจส่งคืนให้แก่จำเลย จึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้เป็นฎีกาข้อปลีกย่อยก็ต้องห้ามเพื่อป้องกันการประวิงคดี
การฎีกาคำสั่งขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้จะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือหากฎีกาในเนื้อหาของคดีกลับต้องห้าม แต่ฎีกาข้อปลีกย่อยกลับฎีกาได้ซึ่งเป็นช่องทางก่อให้เกิดการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยขึ้นมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท แม้เป็นฎีกาคัดค้านการใช้ดุลพินิจ
คดีนี้ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง แม้ฎีกาของจำเลยจะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดี เป็นฎีกาคัดค้านเรื่องการใช้ดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาในวางเงินค่าธรรมเนียมตามมาตรา 229 ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่งมาตรา 248 เช่นเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3257/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง แม้ไม่ใช่เนื้อหาคดีก็ต้องห้าม เพื่อป้องกันการประวิงคดี
การฎีกาคำสั่งขอขยายเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์ในคดีที่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงนั้น แม้จะไม่ใช่ฎีกาในเนื้อหาแห่งคดีก็ต้องตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง มิฉะนั้นจะก่อให้เกิดผลที่ไม่ควรจะเป็น กล่าวคือ หากฎีกาในเนื้อหาของคดีกลับต้องห้าม แต่ฎีกาข้อปลีกย่อยกลับฎีกาได้ซึ่งเป็นช่องทางก่อให้เกิดการประวิงคดี การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลยขึ้นมานั้น จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
of 30