คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุภิญโญ ชยารักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9836/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีขนส่งสินค้า: กรณีทุจริตของผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันประกอบกิจการขนส่งและรับส่งสินค้าเม็ดกาแฟดิบของโจทก์ เมื่อสินค้าที่รับขนส่งถูกลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมการขนส่งลักไปในระหว่างการขนส่ง ถือได้ว่าการขนส่งดังกล่าวมีการทุจริตของ ผู้ขนส่งแม้โจทก์จะฟ้องคดีเกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ควรจะส่งมอบ คดีของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 624

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9836/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีขนส่งสินค้าสูญหาย: กรณีทุจริตของผู้ขนส่ง
จำเลยที่ 1 และที่ 3 ร่วมกันประกอบกิจการขนส่งรับส่งสินค้าเม็ดกาแฟดิบของโจทก์ โดยมีจำเลยที่ 5 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 เป็นผู้ควบคุมรถบรรทุกที่ใช้ในการขนส่ง เมื่อจำเลยที่ 5 ได้ร่วมกับพวกลักเอาเมล็ดกาแฟดิบของโจทก์ไปในระหว่างการขนส่ง ถือได้ว่าการขนส่งดังกล่าวมีการทุจริตของผู้ขนส่ง จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ร่วมขนส่งจึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินค้าที่สูญหายแก่โจทก์ด้วย ดังนั้นแม้โจทก์จะฟ้องคดีเกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2537 ซึ่งเป็นวันที่ควรจะส่งมอบก็ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 624

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การยกเว้นความรับผิดจากผู้ขับขี่ไม่มีใบอนุญาต และสิทธิของผู้รับประกันภัยในการเรียกคืนค่าเสียหาย
ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มีเพียงมาตรา 15 ที่บัญญัติห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติ ดังกล่าวที่ว่า "กรมธรรม์ประกันภัย? ซึ่งมีข้อความระบุถึงความรับผิดของบริษัทแตกต่างไปจากที่กำหนดไว้ใน บทแห่งพระราชบัญญัตินี้ บริษัทจะยกเป็นข้อต่อสู้เพื่อปฏิเสธความรับผิดต่อผู้ประสบภัยในการชดใช้ค่าเสียหาย เบื้องต้นมิได้" เท่านั้น มิได้มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างผู้รับประกันภัยและ ผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้แต่ประการใด และตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16 ข้อสัญญาพิเศษที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิด ตามกรมธรรม์อันไม่เป็นการแตกต่างขัดกันกับบทบัญญัติมาตรา 15 ดังกล่าว ดังนั้น เงื่อนไขข้อยกเว้นความรับผิด ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 ที่ว่า การประกันภัยนี้ไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการขับขี่โดยบุคคลที่ไม่เคยได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์ใด ๆ หรือเคยได้รับแต่ขาดต่ออายุเกินกว่า 180 วัน หรือเคยได้รับแต่ถูกตัดสิทธิ ตามกฎหมายในการขับรถในเวลาเกิดอุบัติเหตุ จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของ พ.ร.บ.คุ้มครอง ผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ ส. ซึ่ง ไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และโจทก์ได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ บ. ผู้ประสบภัยไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัยจึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ตามเงื่อนไข ที่กำหนดไว้ในกรมธรรม์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9747/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประกันภัย: การชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นและการบังคับชำระหนี้ตามสัญญาประกันภัย
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535คงมีเพียงมาตรา 15 ห้ามมิให้ผู้รับประกันภัยกำหนดเงื่อนไขความรับผิดในส่วนที่เกี่ยวกับการชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นแตกต่างไปจากบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเท่านั้น ไม่มีบทบัญญัติอื่นใดห้ามการตกลงกำหนดเงื่อนไขความรับผิดระหว่างโจทก์ผู้รับประกันภัยและจำเลยผู้เอาประกันภัยในกรณีอื่น ๆ ไว้อีก
ตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย ข้อ 16 ที่ระบุว่า โจทก์จะไม่ยกเอาข้อยกเว้นความรับผิดตามเงื่อนไขแห่งกรมธรรม์เป็นข้อต่อสู้ผู้ประสบภัยเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามกรมธรรม์นั้น ไม่เป็นการแตกต่างขัดกับพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 15 จึงไม่ขัดต่อเจตนารมณ์หรือความมุ่งหมายของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อจำเลยเป็นฝ่ายผิดเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 15.10 โดยยินยอมให้ส. ซึ่งไม่ได้รับใบอนุญาตขับรถยนต์เป็นผู้ขับรถในขณะเกิดเหตุ และตามคำฟ้องของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยรับผิดในฐานผิดสัญญาประกันภัยมิใช่เป็นการใช้สิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มาตรา 31จึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงตามมาตรา 31 อีก โจทก์ซึ่งได้ชดใช้ค่าเสียหายเบื้องต้นจำนวน 40,000 บาทให้แก่ บ. ไปตามเงื่อนไขในกรมธรรม์ประกันภัย จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ใช้เงินจำนวนดังกล่าวคืนแก่โจทก์ได้ตามกรมธรรม์ประกันภัยข้อ 16

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9716/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำให้การหลังสืบพยานต้องมีเหตุสมควร การไม่ได้รับเงินหรือการขาดความยินยอมไม่ทำให้สัญญานั้นเป็นโมฆะ
ข้อเท็จจริงที่จำเลยขอแก้ไขคำให้การว่าจำเลยยังไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้เงินและสัญญากู้ดังกล่าวกับสัญญาจำนอง ทำขึ้นโดยปราศจากความยินยอมของภริยาจำเลยมิใช่ข้อเท็จจริงที่นำไปสู่ข้อกฎหมายเรื่องอำนาจฟ้อง
การไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้คงมีผลตามบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 650 ว่าสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ และการทำสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง คงมีผลตามมาตรา 1480 ว่า นิติกรรมสัญญาดังกล่าวไม่สมบูรณ์ อันอาจฟ้องให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้เท่านั้น แต่หาได้ตกเป็นโมฆะจนถึงกับโจทก์ผู้ให้กู้ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ ส่วนเรื่องการบอกเลิกสัญญาก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหากที่คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งจะไปดำเนินการตามกฎหมาย ไม่เกี่ยวกับจำเลย การขอแก้ไขคำให้การในเรื่องดังกล่าวไม่ใช่เรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน อันจำเลยจะมีสิทธิขอแก้ไขคำให้การหลังจากสืบพยานโจทก์ไปบ้างแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9465/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิบังคับจำนำและการใช้สิทธิโดยสุจริต กรณีจำนำหุ้นเป็นประกันหนี้
การจำนำมิได้ผูกพันผู้รับจำนำให้ต้องบังคับจำนำเฉพาะแต่ทางเดียว ผู้รับจำนำอาจใช้สิทธิบังคับผู้จำนำอย่างหนี้สามัญโดยสละบุริมสิทธิที่ผู้รับจำนำมีเหนือทรัพย์สินที่จำนำก็ย่อมทำได้ ไม่เป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
ในสัญญากู้เงินกำหนดว่า หากจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระดอกเบี้ยหรือเงินต้นไม่ว่างวดใดงวดหนึ่ง จำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์คิดดอกเบี้ยจากยอดเงินต้นที่ค้างชำระอยู่ทั้งหมดในอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับการกู้ยืมเงินที่โจทก์ได้มีประกาศตามนัยแห่งประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นได้ ข้อสัญญาดังกล่าวถือได้ว่าเป็น การกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้าในลักษณะเบี้ยปรับ ซึ่งหากสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามที่เห็นสมควรตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9251/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความบัตรเครดิต: การชำระหนี้บางส่วนหลังอายุความขาดแล้วถือเป็นการละเสียซึ่งสิทธิในการอ้างอายุความ
จำเลยนำบัตรเครดิตไปใช้ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2538และโจทก์ได้กำหนดเวลาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ภายในวันที่ 5เมษายน 2538 ครบกำหนดชำระแล้วจำเลยไม่ชำระ โจทก์จึงอาจบังคับสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวภายในอายุความ 2 ปี นับแต่วันที่ 6 เมษายน2538 ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 6 เมษายน 2540 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/34 มิใช่ว่าโจทก์อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้นับแต่วันที่โจทก์ยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตของจำเลย
เมื่อโจทก์แจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรเครดิตและบอกกล่าวให้จำเลยชำระหนี้ที่ค้างแล้ว จำเลยได้ยินยอมชำระหนี้บางส่วนแก่โจทก์2 ครั้ง ครั้งแรกวันที่ 30 มิถุนายน 2540 ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 12 กันยายน2540 ซึ่งถือมิได้ว่าเป็นการรับสภาพหนี้ แต่แสดงว่าจำเลยมิได้ยกอายุความขึ้นมาปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ตามที่เรียกร้อง ดังนั้นแม้สิทธิเรียกร้องของโจทก์จะขาดอายุความแล้วก็ตาม แต่พฤติการณ์ของจำเลยที่ยินยอมชำระหนี้ให้แก่โจทก์ถึง 2 ครั้งดังกล่าว ย่อมถือเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความนั้นแล้วจำเลยจึงไม่อาจอ้างอายุความมาเป็นข้อตัดฟ้องเพื่อปฏิเสธความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/24 และการนับอายุความจึงเริ่มนับต่อไปใหม่เสมือนไม่เคยนับอายุความมาก่อนโดยถืออายุความแห่งมูลหนี้เดิม กล่าวคือ นับอายุความเริ่มต่อไปใหม่ตั้งแต่วันที่ 12 กันยายน 2540 โจทก์ยื่นคำฟ้องเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม2541 ยังไม่ล่วงพ้นกำหนดเวลา 2 ปี คดีโจทก์จึงยังไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8875/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องไม่เคลือบคลุม แม้มีการระบุชื่อโจทก์ผิดในคำขอท้ายฟ้อง หากจำเลยยังเข้าใจข้อหาและต่อสู้คดีได้
คำฟ้องของโจทก์ได้ระบุถึงตัวบุคคลซึ่งเป็นโจทก์ผู้ยื่นคำฟ้องไว้โดยแจ้งชัดว่า คือ ธ. มิใช่ธนาคารและบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาว่า เป็นเรื่องกู้ยืมเงินโดยโจทก์เป็นผู้ให้จำเลยกู้เงินไปและกล่าวถึงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นว่า จำเลยไม่ชำระต้นเงินและดอกเบี้ยคืนโจทก์จึงมีคำขอบังคับให้จำเลยชำระต้นเงินและดอกเบี้ยแก่โจทก์ จำเลยก็สามารถให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้อง และจำเลยทราบดีอยู่ว่าโจทก์มีสภาพเป็นบุคคลธรรมดามิใช่เป็นนิติบุคคลมาแต่ต้น การที่คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีคำว่าธนาคารโจทก์อยู่ด้วยเป็นเพียงการพิมพ์ผิดพลาดไป ไม่ทำให้จำเลยถึงกับไม่เข้าใจคำฟ้องและคำขอท้ายฟ้องของโจทก์แต่อย่างใด คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การดำเนินคดีซ้ำ และองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร: การพิจารณาพยานหลักฐานใหม่ และความรู้เกี่ยวกับที่มาของทรัพย์สิน
แม้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจะเคยมีความเห็นว่าไม่ควรดำเนินคดีแก่จำเลย แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าวยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีดังที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. มาตรา 145 , 146 ดังนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 147 ที่ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีกเว้นแต่จะได้พยานหลักฐานใหม่อันสำคัญแก่คดีซึ่งน่าจะทำให้ศาลลงโทษผู้ต้องหานั้นได้ การดำเนินคดีแก่จำเลยจึงไม่เป็นการไม่ชอบ
ทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่มีลักษณะพิเศษ เช่น นาฬิกามีรูปเป็นหัวงู บางชิ้นมีรูปชาวอิสลามอยู่ที่หน้าปัดเป็นของที่มีราคาแพง และไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด จำเลยมีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเครื่องประดับประเภทเพชร พลอย เงิน ทอง นาก และนาฬิกา ได้รับใบอนุญาตให้ค้าของเก่า จำเลยซื้อทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท แสดงว่าจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ เป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและหาซื้อไม่ได้ในท้องตลาด ทั่วไป และในฐานะดังกล่าวจำเลยย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยทราบว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการ ที่จำเลยรับซื้อไว้เป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8481/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การพิสูจน์เจตนาผู้รับซื้อว่ารู้หรือน่ารู้ว่าเป็นของผิดกฎหมาย
แม้พนักงานสอบสวนกองปราบปรามจะเคยมีความเห็นว่าไม่ควรดำเนินคดีแก่จำเลยทั้งสี่ แต่ความเห็นของพนักงานสอบสวนกองปราบปรามดังกล่าวยังไม่มีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 145 และมาตรา 146 ดังนั้น จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 147 ที่ห้ามมิให้มีการสอบสวนเกี่ยวกับบุคคลนั้นในเรื่องเดียวกันนั้นอีก
จำเลยที่ 4 มีอาชีพเป็นพ่อค้าขายเครื่องประดับประเภทเพชร พลอย เงิน ทอง นาก และนาฬิกา ได้รับใบอนุญาตให้ค้าของเก่าจำเลยที่ 4 ซื้อทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการมาจากจำเลยที่ 3เป็นมูลค่านับสิบล้านบาท แสดงว่าจำเลยที่ 4 ย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางทั้ง 16 รายการเป็นทรัพย์สินที่มีราคาสูงและหาซื้อไม่ได้ในท้องตลาดทั่วไป และย่อมทราบดีว่าทรัพย์สินของกลางได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย พฤติการณ์น่าเชื่อว่าจำเลยที่ 4 ทราบว่าทรัพย์สินของกลางเป็นทรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 357 วรรคแรก
of 30