พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4861/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องแย้งเรื่องการครอบครองปรปักษ์ ศาลต้องรับพิจารณาหากเกี่ยวข้องกับคำฟ้องเดิม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งสองบุกรุกเข้าไปในที่ดินมีโฉนดของโจทก์โดยมีเจตนาแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์โดยไม่มีสิทธิ และจำเลยที่ 1 ได้คัดค้านการรังวัดที่ดินเพื่อสอบเขตที่ดินของโจทก์ในส่วนที่ดินพิพาทที่จำเลยทั้งสองบุกรุกดังกล่าวอ้างว่าเป็นของจำเลยที่ 1 ขอให้ขับไล่ จำเลยทั้งสองกับบริวารและรื้อสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายของทั้งหมดออกไป จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธและฟ้องแย้งว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุก จำเลยที่ 1 กับสามีได้ซื้อที่ดินมีโฉนด แล้วได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ที่ดินที่ซื้อมานั้นรวมทั้งที่ดินพิพาท โดยเข้าใจว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยที่ 1 ซื้อมา จำเลยที่ 1 กับสามีได้ร่วมกันครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าว โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้ใดโต้แย้งตลอดมาเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี แล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แม้คำให้การของจำเลยทั้งสองในตอนแรกจะปฏิเสธว่าจำเลยทั้งสองไม่เคยบุกรุกเข้าไปในที่ดินของโจทก์ แต่จำเลยทั้งสองให้การในตอนต่อมาว่าจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองที่ดินพิพาทมากับที่ดินที่ซื้อมา เข้าใจว่าเป็นที่ดินที่ซื้อมาจากบุคคลอื่น ซึ่งเป็นคำให้การที่จำเลยที่ 1 ยกข้อต่อสู้โดยชัดแจ้งว่า จำเลยที่ 1 ได้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นของบุคคลอื่น เมื่อคำให้การของจำเลยที่ 1 มิได้กล่าวอ้างว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 มาตั้งแต่ต้น จึงมิใช่เรื่องที่จำเลยที่ 1 อ้างการครอบครองปรปักษ์ในที่ดินของตนเอง ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 ที่ยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยที่ 1 ได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทในการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ อันเป็นข้อโต้แย้งเกี่ยวด้วยกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทของโจทก์ตามคำฟ้องและมีคำขอบังคับให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 โดยการครอบครองปรปักษ์ ถือได้ว่าคำฟ้องเดิมและฟ้องแย้งนี้เกี่ยวข้องกันพอที่จะรวมการพิจารณาและชี้ขาดตัดสินเข้าด้วยกันได้ จึงเป็นฟ้องแย้งที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม และมาตรา 179 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4821/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตขยายเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลและการพิจารณาคำร้องคนอนาถา ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาของจำเลยที่โต้แย้งดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลออกไปอีกเป็นเรื่องที่อยู่ในกระบวนพิจารณาชั้นอุทธรณ์โดยเฉพาะต่อเนื่องกับคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ที่ยกอุทธรณ์ของจำเลยที่ขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาซึ่งถึงที่สุดไปแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 ศาลฎีกาจึงไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4820/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับพิจารณาคดีใหม่ จำเลยต้องวางค่าธรรมเนียมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 หากไม่ปฏิบัติตาม อุทธรณ์ไม่ชอบ
อุทธรณ์ของจำเลยที่คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ถือว่าเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เมื่อจำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ 200 บาทแล้ว จึงไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะสั่งให้จำเลยเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์ในคดีเดิมอีก ส่วนเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น เป็นคนละส่วนกับเงินค่าขึ้นศาล เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยขอให้ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 โดยศาลไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อนเพราะมิใช่เรื่องที่จำเลยมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 18 เมื่อจำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นโดยไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่อนุญาตให้แสดงหลักฐานเพิ่มเติมเรื่องฐานะยากจน หลังศาลตัดสินแล้วว่าไม่มีเหตุผลอันสมควรในการอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองเคยยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาครั้งหนึ่งแล้ว ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้อง เพราะเห็นว่าคดีของจำเลยทั้งสองไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย และปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยทั้งสองมีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมยุติตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าจำเลยทั้งสองเป็นคนยากจนก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดี จึงไม่มีเหตุที่จำเลยทั้งสองจะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่ เพื่ออนุญาตให้จำเลยทั้งสองนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4818/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องดำเนินคดีอนาถาเป็นที่สุดเมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งแล้ว การนำพยานหลักฐานเพิ่มเติมจึงไม่อาจทำได้
จำเลยเคยได้ยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์มาแล้วครั้งหนึ่ง ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องเพราะเห็นว่าคดีของจำเลยไม่มีเหตุผลอันสมควรที่จะอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้น คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย และปัญหาที่ว่าคดีของจำเลยมีเหตุอันสมควรที่จะอุทธรณ์หรือไม่ ย่อมยุติแล้วตามคำสั่งของศาลอุทธรณ์ ดังนั้นถึงหากจะฟังว่าจำเลยเป็นคนยากจนก็ไม่เป็นประโยชน์แก่รูปคดีของจำเลย จึงไม่มีเหตุที่จะยื่นคำร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าตนเป็นคนยากจนได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4817/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไข ป.วิ.พ. มาตรา 234 ครบถ้วน มิเช่นนั้นอุทธรณ์ไม่ชอบ
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้พิจารณาคดีใหม่ โดยขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย หากจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นจำเลยก็ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 234 โดยยื่นคำขอเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้น และนำค่าธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาลภายในกำหนดสิบห้าวันนับแต่วันที่ศาลได้มีคำสั่ง แม้อุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการขอให้พิจารณาคดีใหม่มิใช่อุทธรณ์ในเนื้อหาของคำพิพากษาศาลชั้นต้นก็ตาม แต่เป็นการอุทธรณ์คำสั่งให้รับอุทธรณ์ภายหลังที่ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดตัดสินคดีแล้ว เมื่อมีการอุทธรณ์เช่นนี้ ย่อมทำให้การบังคับล่าช้าออกไปและอาจเสียหายแก่โจทก์ผู้ชนะคดีได้ จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขของบทบัญญัติมาตรา 234 ดังกล่าวให้ครบถ้วนด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยเพียงแต่นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาลโดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล คำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 จะปฏิเสธไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วินิจฉัยคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าฎีกาของจำเลยเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4802/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่วางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ทำให้ศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
จำเลยอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษากลับคำสั่งของศาลชั้นต้น และให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การของจำเลยไว้พิจารณาแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี มีผลเท่ากับขอให้ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จึงอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 เมื่อจำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์พร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่า จำเลยมิได้จงใจฝ่าฝืน และมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติให้ถูกต้องเท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลให้ถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ว่าจะให้ส่งหรือปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ อันเป็นกระบวนพิจารณาในชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 ซึ่งเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลชั้นต้นโดยเฉพาะ คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้มิใช่เป็นคำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ซึ่งผู้อุทธรณ์อาจอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ จำเลยจึงยังไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการรับชำระหนี้จำนองของเจ้าหนี้ต่างรายที่มีการจำนองสัญญาเดียวกัน แม้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน
โจทก์และผู้ร้องเป็นนิติบุคคลเดียวกัน ได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดี ผู้ร้องอยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกัน บุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตามความที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคหนึ่งก็ตาม แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินจำนองพิพาทจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตกอยู่ในบังคับข้อต้องห้ามมิให้ยึดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองเข้ามาในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองต่างราย ยื่นคำร้องรับชำระหนี้จากทรัพย์จำนองที่ถูกยึดบังคับคดีแล้ว แม้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน
ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินพิพาทที่เจ้าหนี้บังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง แม้สิทธิของผู้ร้องมิใช่เป็นสิทธิที่จะขอให้เอาเงินที่ได้จากการขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาชำระหนี้ตนก่อนโจทก์ในคดีนี้ตามมาตรา 289 วรรคหนึ่ง แต่ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะที่ดินพิพาทของจำเลยตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตามมาตรา 290 วรรคหนึ่ง การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาของตนในคดีอื่นซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุนให้กระทำได้ดังเช่นการขอเฉลี่ยทรัพย์หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิโดยยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาเข้ามาในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4661/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้บุริมสิทธิจากบังคับคดีจำนอง: แม้เป็นนิติบุคคลเดียวกัน ก็มีสิทธิได้รับชำระหนี้ตามวงเงินจำนอง
การที่โจทก์และผู้ร้องได้ฟ้องบังคับชำระหนี้ต่างรายกันและขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาจำนองฉบับเดียวกันแก่ที่ดินพิพาทเป็นคนละคดีกัน แม้ผู้ร้องกับโจทก์เป็นนิติบุคคลเดียวกัน แต่ผู้ร้องก็อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาในอีกคดีหนึ่งและเป็นเจ้าหนี้ต่างรายกับโจทก์ในคดีนี้ที่มีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้โดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289 วรรคสอง และเมื่อเป็นการจำนองโดยอาศัยหนังสือสัญญาฉบับเดียวกันบุริมสิทธิของผู้ร้องและบุริมสิทธิของโจทก์เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากที่ดินจำนองพิพาทตามคำพิพากษาของตนรวมกันได้ไม่เกินวงเงินจำนอง ผู้ร้องไม่อาจยึดที่ดินจำนองพิพาทได้อีกเพราะตกอยู่ในบังคับข้อห้ามมิให้ยึดซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคหนึ่ง และเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะมีสิทธิได้รับชำระหนี้ของตนในคดีอื่นได้จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายสนับสนุน เช่น การขอเฉลี่ยทรัพย์ หรือการขอรับชำระหนี้จำนองหรือบุริมสิทธิ โดยการยื่นคำร้องขอต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี ผู้ร้องจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้จำนองตามคำพิพากษาจากเงินที่ขายหรือจำหน่ายที่ดินจำนองพิพาทร่วมกับโจทก์ในคดีนี้