พบผลลัพธ์ทั้งหมด 300 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีหลังถอนการยึด-เพิกถอนคำสั่ง และการนับระยะเวลาตามมาตรา 271
โจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาทและขอถอนการบังคับคดีไปแล้ว แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยโดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ไม่ได้รับเงินที่จำเลยนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดียกคำแถลงของโจทก์ แต่โจทก์ได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลชั้นต้น เมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ที่พิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงดำเนินการบังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ได้ยื่นไว้เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยจะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2665/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีของบริษัทบริหารสินทรัพย์ที่รับโอนสิทธิเรียกร้อง และการดำเนินการภายใน 10 ปี
การร้องขอให้บังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนต่าง ๆ ของการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายใน 10 ปี คือเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดีแล้ว จากนั้นต้องแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์ของลูกหนี้ ซึ่งโจทก์ได้ปฏิบัติครบถ้วนตามขั้นตอนในการร้องขอให้บังคับคดีตามบทกฎหมายดังกล่าวแล้ว แม้ในวันที่ 19 ธันวาคม 2536 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงขอถอนการยึดที่ดินพิพาท และขอถอนการบังคับคดีไปแล้วก็ตาม แต่เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 โจทก์ได้ยื่นคำแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้เพิกถอนคำสั่งให้ถอนการบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่โดยให้โจทก์มีอำนาจบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสี่ต่อไปและระงับการแจ้งถอนการยึดที่ดินพิพาทไปยังเจ้าพนักงานที่ดินโดยอ้างว่าโจทก์ยังไม่ได้รับเงินตามแคชเชียร์เช็คที่จำเลยทั้งสี่นำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะยกคำแถลงของโจทก์แต่โจทก์ไม่ยื่นคำร้องคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานบังคับคดีดังกล่าวต่อศาลจนศาลฎีกาพิพากษาถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีหน้าที่ที่จะต้องดำเนินการบังคับคดีไปตามคำพิพากษาอันถึงที่สุดให้โจทก์บังคับคดีต่อไปได้ตามคำแถลงของโจทก์ที่ยื่นไว้ต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีเมื่อวันที่ 4 มกราคม 2537 ซึ่งยังไม่พ้น 10 ปี นับถัดจากวันครบกำหนดที่จำเลยทั้งสี่จะต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาตามยอมคือวันที่ 1 มิถุนายน 2530 โจทก์จึงมีสิทธิที่จะบังคับคดีแก่ที่ดินพิพาทได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นบริษัทจำกัดที่จดทะเบียนเป็นบริษัทบริหารสินทรัพย์ตาม พ.ร.ก. บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ และได้รับโอนสินทรัพย์อันเป็นสิทธิเรียกร้องอันมีต่อจำเลยทั้งสี่มาจากโจทก์ซึ่งเป็นสถาบันการเงินแล้ว ซึ่งการโอนสินทรัพย์ในกรณีที่ศาลได้มีคำพิพากษาแล้วนั้น พ.ร.ก.บริษัทบริหารสินทรัพย์ฯ มาตรา 7 กำหนดให้บริษัทบริหารสินทรัพย์เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา ดังนั้น การเข้าสวมสิทธิในการบังคับคดีตามคำพิพากษาตามสิทธิเรียกร้องแทนโจทก์ที่มีอยู่แก่จำเลยทั้งสี่ของผู้ร้องจึงเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย ทั้งผู้ร้องก็ได้รับอนุญาตจากศาลชั้นต้นตามคำร้องให้เข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาแทนโจทก์การเข้าสวมสิทธิของผู้ร้องจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2636/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความความผิดแจ้งเท็จ และการลงโทษความผิดหลายกระทงตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน
จำเลยกระทำความผิดตาม ป.อ. มาตรา 137 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคือวันที่ 13 พฤษภาคม 2546 เกินกำหนด 5 ปี คดีโจทก์สำหรับความผิดดังกล่าวจึงเป็นอันขาดอายุความ สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ในความผิดดังกล่าวย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39 (6)
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทยยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชน โดยแจ้งข้อความหรือแสดงหลักฐานอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2539 จนเจ้าพนักงานหลงเชื่อออกบัตรประจำตัวประชาชนให้แก่จำเลย เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2526 มาตรา 14 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้ขณะกระทำความผิดและเป็นคุณกว่า พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 มาตรา 8 ซึ่งยกเลิกความในมาตรา 14 และให้ใช้ความใหม่แทน เป็นความผิดกระทงหนึ่ง ส่วนความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในการขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชนเพราะบัตรประจำตัวประชาชนเดิมหมดอายุ ซึ่งจำเลยกระทำเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2546 และความผิดฐานใช้หรือแสดงใบรับคำขอเปลี่ยนบัตรประจำตัวประชาชน เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2546 เป็นความผิดตาม มาตรา 14 (1) (ที่แก้ไขใหม่) และมาตรา 14 (3) (ที่แก้ไขใหม่) ตามลำดับ จำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดตาม (3) เป็นผู้กระทำความผิดตาม (1) ด้วย จึงให้ลงโทษตาม (3) แต่กระทงเดียว ตามมาตรา 14 วรรคสอง และ เนื่องจากจำเลยเป็นผู้ไม่มีสัญชาติไทย จึงต้องระวางโทษตามมาตรา 14 วรรคสี่ อีกกระทงหนึ่ง ศาลล่างทั้งสองพิพากษาจำคุกจำเลยกระทงนี้เพียง 1 ปี เป็นการลงโทษจำคุกต่ำกว่าอัตราโทษขั้นต่ำของกฎหมาย คือจำคุก 2 ปี นั้น ไม่ถูกต้อง แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์และฎีกาขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลย ศาลฎีกาจึงมิอาจเพิ่มเติมโทษจำเลยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบมาตรา 225 แต่ให้ปรับบทลงโทษจำเลยตามบทกฎหมายที่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบ มาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรประชาชนปลอมและเอกสารสิทธิปลอม ความผิดตาม พ.ร.บ.บัตรประชาชน และประมวลกฎหมายอาญา
จำเลยฎีกาว่า จำเลยเป็นเพียงผู้ใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอม จำเลยไม่ได้เป็นผู้ทำบัตรประจำตัวประชาชนปลอม ข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยเพิ่งยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกา ทั้งยังขัดกับคำให้การรับสารภาพของจำเลยจึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเอกสารสิทธิ และจำเลยใช้และอ้างบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอม และสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชีเงินฝากอันเป็นเอกสารปลอม โดยนำสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชีเงินฝากไปทำสำเนาภาพถ่ายเฉพาะหน้าที่จำเลยปลอมแล้วนำสำเนาภาพถ่ายอันเป็นเอกสารปลอมที่จำเลยรับรองถูกต้องพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนไปยื่นแสดงต่อพนักงานของบริษัท ก. การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิกับใช้เอกสารสิทธิปลอม เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แต่กระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่จำเลยได้ใช้เอกสารราชการปลอมและใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมในคราวเดียวกันด้วย ดังนั้น ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ใช้เอกสารราชการปลอม และใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (3) ประกอบมาตรา 14 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยปลอมเอกสารสิทธิ และจำเลยใช้และอ้างบัตรประจำตัวประชาชนอันเป็นเอกสารราชการปลอม และสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชีเงินฝากอันเป็นเอกสารปลอม โดยนำสมุดคู่ฝากสำหรับบัญชีเงินฝากไปทำสำเนาภาพถ่ายเฉพาะหน้าที่จำเลยปลอมแล้วนำสำเนาภาพถ่ายอันเป็นเอกสารปลอมที่จำเลยรับรองถูกต้องพร้อมบัตรประจำตัวประชาชนไปยื่นแสดงต่อพนักงานของบริษัท ก. การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิกับใช้เอกสารสิทธิปลอม เมื่อจำเลยเป็นผู้ปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม จึงต้องลงโทษฐานใช้เอกสารสิทธิปลอมตาม ป.อ. มาตรา 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 265 แต่กระทงเดียวตามมาตรา 268 วรรคสอง แต่จำเลยได้ใช้เอกสารราชการปลอมและใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมในคราวเดียวกันด้วย ดังนั้น ความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม ใช้เอกสารราชการปลอม และใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ต้องลงโทษฐานใช้บัตรประจำตัวประชาชนปลอมตาม พ.ร.บ. บัตรประจำตัวประชาชนฯ มาตรา 14 (3) ประกอบมาตรา 14 (2) ซึ่งเป็นกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2594/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กระบวนการพิจารณาคดีอุทธรณ์: การส่งสำเนาคำอุทธรณ์และผลของการไม่ดำเนินการตามคำสั่งศาล
เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์และให้โจทก์นำส่งสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยภายใน 7 วัน หากไม่ได้ให้โจทก์แถลงเพื่อดำเนินการต่อไปภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งไม่ได้ ถ้าไม่แถลงให้ถือว่าโจทก์ทิ้งฟ้องอุทธรณ์ ต่อมาเจ้าพนักงานศาลรายงานต่อศาลว่าส่งหมายนัดและสำเนาอุทธรณ์แก่จำเลยตามภูมิลำเนาจำเลยไม่ได้ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าให้รอโจทก์แถลง แต่โจทก์ก็ไม่ได้แถลงว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ส่งถ้อยคำสำนวนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 7 เพื่อพิจารณาสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 7 มิได้มีคำสั่งเกี่ยวกับกระบวนพิจารณาในเรื่องดังกล่าว แต่กลับพิจารณาพิพากษาคดีไป จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณาพิพากษาคดี และกรณีดังกล่าวถือไม่ได้ว่าเป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ใช้ดุลพินิจไม่จำหน่ายคดีฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2503/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท ยักยอกเงินและใช้เอกสารปลอมเพื่อหลอกลวง
จำเลยเป็นลูกจ้างของผู้เสียหายได้ยักยอกเงินที่ลูกค้านำมาชำระให้ผู้เสียหายแล้วจำเลยใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินที่จำเลยปลอมขึ้นไปอ้างแสดงต่อผู้เสียหาย ก็เพื่อให้ผู้เสียหายเข้าใจว่าจำเลยนำเงินที่ลูกค้าชำระให้ผู้เสียหายส่งมอบให้แผนกการเงินของผู้เสียหายแล้ว แม้การใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมจะต่างวาระกับความผิดฐานยักยอก แต่ก็เป็นเจตนาของจำเลยที่จะใช้เอกสารสำเนาใบกำกับภาษี/ใบเสร็จรับเงินปลอมเป็นหลักฐานเพื่อยักยอกเงินของผู้เสียหายนั่นเอง ความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและความผิดฐานยักยอกจึงเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงเป็นกรรมเดียว การกระทำของจำเลยในความผิดฐานใช้เอกสารปลอมและฐานยักยอก จึงเป็นกรรมเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2463/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมแปลงเอกสารทางการ (แผ่นป้ายภาษี/ประกันภัย) แม้ไม่แก้ไขข้อความ ถือเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 264
จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถเป็นภาพสีให้ปรากฏข้อความที่มีสี ตัวอักษรและขนาดเหมือนฉบับที่แท้จริงแล้วนำไปติดที่รถยนต์บรรทุกและรถพ่วง มีลักษณะที่ทำให้หลงเชื่อว่าเป็นเอกสารที่แท้จริง โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่นายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดนนทบุรี นายทะเบียนยานพาหนะจังหวัดพะเยา นายทะเบียนยานพาหนะกรุงเทพมหานคร นายทะเบียนกรมการประกันภัย หรือผู้อื่นได้ จึงเป็นการปลอมแปลงเอกสารขึ้นทั้งฉบับ หาใช่ว่าจำเลยจะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความให้ผิดแผกแตกต่างไปจากต้นฉบับเอกสารที่แท้จริงไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานปลอมเอกสารตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคหนึ่ง
รถพ่วงของรถอยู่ในความหมายของคำว่า รถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (9) และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 ซึ่งเจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 85 วรรคหนึ่ง, 90 กับต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยและติดเครื่องหมายไว้ที่รถ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 12 วรรคสอง รถพ่วงของรถจึงเป็นรถที่ต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยแยกต่างหากจากรถลากจูงการที่จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปติดที่รถยนต์บรรทุก 2 คัน และรถพ่วง 2 คัน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า ได้เสียภาษีรถยนต์และทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 4 กระทง ตาม ป.อ. มาตรา 91
รถพ่วงของรถอยู่ในความหมายของคำว่า รถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 4 (9) และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 4 ซึ่งเจ้าของรถต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและติดเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีที่นายทะเบียนออกให้ไว้กับตัวรถ ตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 85 วรรคหนึ่ง, 90 กับต้องจัดให้มีการประกันความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยและติดเครื่องหมายไว้ที่รถ ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ.2535 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง, 12 วรรคสอง รถพ่วงของรถจึงเป็นรถที่ต้องเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและจัดให้มีการประกันภัยความเสียหายสำหรับผู้ประสบภัยแยกต่างหากจากรถลากจูงการที่จำเลยถ่ายสำเนาเอกสารแผ่นป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีและแผ่นป้ายประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถไปติดที่รถยนต์บรรทุก 2 คัน และรถพ่วง 2 คัน โดยมีเจตนาก่อให้เกิดผลต่างกันเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อว่า ได้เสียภาษีรถยนต์และทำประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถแล้ว จึงเป็นการกระทำต่างกรรมต่างวาระแยกกันต่างหากจำนวน 4 กระทง ตาม ป.อ. มาตรา 91
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2419/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดตามสัญญาอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: การระบุจำนวนเงินและขอบเขตความรับผิด
ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าให้จำเลยที่ 4 ถึงที่ 6 รับผิดชำระหนี้ตามสัญญาขอให้โจทก์อาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน (ที่ถูก คือ สัญญาข้อตกลงขอให้ธนาคารเป็นผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน) โดยระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและมิได้กล่าวถึง
จำนวนเงินไว้ เป็นการระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและกำหนดความรับผิดไว้ไม่ชัดแจ้ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้แล้วก็ตาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
จำนวนเงินไว้ เป็นการระบุชื่อสัญญาไม่ถูกต้องและกำหนดความรับผิดไว้ไม่ชัดแจ้ง แม้ศาลชั้นต้นจะได้ระบุจำนวนเงินความรับผิดของจำเลยที่ 1 ไว้แล้วก็ตาม ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2197/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลที่ไม่รับอุทธรณ์ เกินกำหนด 7 วัน คำสั่งศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด ห้ามฎีกา
จำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์พร้อมทั้งยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วมีคำสั่งอนุญาตให้ยกเว้นค่าธรรมเนียมศาลแต่เฉพาะบางส่วน จำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่ง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยเพราะยื่นเกินกำหนด 7 วัน เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งยืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่รับอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยทั้งสองที่ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งเกิน 7 วัน นับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่ง โดยอ้าง ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคท้าย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 236 คู่ความจะฎีกาต่อไปอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2027/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การริบทรัพย์สินของกลางในคดีเหมืองแร่: ผู้คัดค้านต้องยกประเด็นการใช้เครื่องมือในการกระทำผิดตั้งแต่ศาลชั้นต้น
ผู้คัดค้านยื่นคำร้องคัดค้านแต่เพียงว่า ผู้คัดค้านเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์ของกลาง และไม่มีโอกาสทราบหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่า จำเลยทั้งสี่จะนำทรัพย์สินดังกล่าวไปใช้กระทำความผิด ทั้งผู้คัดค้านได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วที่จะป้องกันไม่ให้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้นเท่านั้น ไม่มีประเด็นว่ารถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ของกลาง เป็นเครื่องมือที่จำเลยทั้งสี่ใช้ในการกระทำความผิดหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านเพิ่งกล่าวในชั้นอุทธรณ์ว่าพยานที่เห็นรถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ดังกล่าวในที่เกิดเหตุมีเหตุโกรธเคืองกับผู้คัดค้านมาก่อน จึงรับฟังไม่ได้ว่ารถแทรกเตอร์ (แบ็กโฮ) ดังกล่าวเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการกระทำความผิด ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ภาค 6 ไม่รับวินิจฉัยในปัญหานี้ชอบแล้ว