พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่ศุลกากรเมื่อสินค้าสูญหายหลังยึดและอนุญาตให้ส่งออก
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 กับพวกตรวจสินค้าของโจทก์แล้วพบว่าโจทก์กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ จึงยึดสินค้าดังกล่าวแล้วนำไปฝากไว้ในตู้เก็บสินค้า โดยผนึกตะกั่วประทับตราของจำเลยที่ 1 ไว้ การเปิดตู้เก็บสินค้าจะกระทำมิได้เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากจำเลยที่ 1 ก่อน จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าดังกล่าวไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ แต่สินค้าสูญหายไปก่อน จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ก็ต้องใช้ราคาแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าพนักงานศุลกากรต่อการสูญหายของสินค้าที่ยึดไว้เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าของโจทก์ไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงเท็จยี่ห้อสินค้าและผลกระทบต่อสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้า
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดงอันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จมีความผิดตามมาตรา 60,99 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากรโจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่าการกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อ ระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้าดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้นจึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9)พ.ศ. 2482 มาตรา 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสำแดงเท็จทางศุลกากร ทำให้ไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากร เมื่อส่งออกเกินกำหนด
โจทก์นำสินค้าเข้าโดยเสียภาษีอากรครบถ้วนแล้ว แม้ว่าต่อมาโจทก์จะยื่นคำร้องขอส่งสินค้ากลับออกไปภายในหนึ่งปี นับแต่วันนำเข้า แต่เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้เปิดตรวจสินค้าเพื่อหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการสำแดงชื่อยี่ห้อสินค้า ปรากฏว่าสินค้าบางส่วนไม่ตรงตามสำแดง อันเป็นความผิดฐานยื่นคำร้องขออันเกี่ยวกับของอันเป็นเท็จ มีความผิดตามมาตรา 60, 99 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จะได้รับคืนเงินอากร โจทก์อุทธรณ์เจ้าพนักงานของจำเลยพิจารณาอุทธรณ์แล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จตามมาตรา 99 ให้เปรียบเทียบปรับ 50,000 บาท เพื่อระงับคดี และให้แก้ใบขนสินค้าให้ถูกต้องเพื่อผ่านพิธีการศุลกากรไปได้ โจทก์ส่งสินค้ากลับออกไปนอกราชอาณาจักรเมื่อเกินหนึ่งปีนับแต่วันนำเข้า แสดงว่า โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้าออกไปได้เนื่องจากเจ้าพนักงานของจำเลยได้กักสินค้าไว้เพื่อดำเนินการตามกฎหมาย แต่เมื่อการกระทำของโจทก์เป็นการสำแดงเท็จเจ้าพนักงานของจำเลยจึงกักสินค้าไว้โดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ต่อมาเจ้าพนักงานของจำเลยจะอนุญาตให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปยังเมืองต่างประเทศก็ตามแต่ก็ด้วยเหตุผลที่ไม่ปรากฏว่า โจทก์มีเจตนาทุจริตในการขอคืนเงินอากรและเชื่อว่าของที่จะส่งออกทั้งหมดเป็นของรายเดียวกันกับที่นำเข้า ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายในหนึ่งปี ได้นั้น จึงเป็นความผิดของโจทก์ที่สำแดงใบขนสินค้าอันเป็นเท็จ เป็นเหตุให้เจ้าพนักงานของจำเลยกักยึดสินค้าของโจทก์ไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าตาม พ.ร.บ.ศุลกากร(ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มาตรา 19
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6837/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คืนเงินอากรขาเข้า-ค่าเสียหาย: การกักยึดสินค้า-การปฏิบัติหน้าที่โดยชอบ-สิทธิเรียกร้อง
โจทก์ได้ยื่นใบขนสินค้าขาออกแบบรีเอ๊กซ์ปอร์ตต่อกรมศุลกากร จำเลยที่ 1 ภายใน 1 ปี นับแต่วันนำเข้าแต่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้เปิดตรวจสินค้าแล้วมีความเห็นว่าของที่โจทก์นำเข้าและขอส่งออกไม่ใช่ของรายเดียวกันจึงแจ้งข้อหาโจทก์ว่าสำแดงเท็จเพื่อขอคืนอากรและยึดผ้าไว้ โจทก์ได้ยื่นอุทธรณ์ในชั้นศุลกากร ได้มีการตรวจวิเคราะห์สินค้า ปรากฏว่าเป็นของรายเดียวกันจึงระงับคดีอาญาแก่โจทก์ ดังนั้น การที่โจทก์ไม่สามารถส่งสินค้ากลับออกไปยังเมืองต่างประเทศภายใน 1 ปี จึงมิใช่ความผิดของโจทก์ แต่เป็นเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1กักยึดผ้าไว้เท่ากับเป็นการไม่อนุญาตให้โจทก์ส่งออกโจทก์จึงมีสิทธิขอคืนเงินอากรขาเข้าจากจำเลยที่ 1 ตามพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2482 มาตรา 19 ได้ การฟ้องเรียกค่าเสียหายในมูลละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ซึ่งมีหน้าที่จะต้องปฏิบัติให้ผู้ขอคืนเงินภาษีอากรได้รับการคืนเงินภาษีโดยชอบ เป็นคดีเกี่ยวกับการขอคืนค่าภาษีอากร โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลภาษีอากร จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 ได้ปฏิบัติงานไปตามขั้นตอนมิได้จงใจหรือประมาทเลินเล่อ แต่เนื่องจากพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีความเห็นในตอนแรกว่า ผ้าที่โจทก์ขอส่งออกมิใช่ของรายเดียวกับที่นำเข้า เพราะตรวจพบว่ามีตราติดอยู่ที่เนื้อผ้า แต่ใบขนสินค้าขาเข้าระบุว่าไม่มีตราจึงมีเหตุอันควรสงสัยดังกล่าว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1มีอำนาจกักยึดผ้าของโจทก์ไว้และสั่งดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ได้ตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 99 และ 60การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายตัวผ้าซึ่งอ้างว่าเสื่อมคุณภาพไม่สามารถนำมาใช้ได้และไม่เป็นที่ต้องการของตลาดซึ่งถือว่าไร้ประโยชน์ทั้งหมดค่าเสียหายเนื่องจากไม่สามารถส่งผ้ากลับออกไปตัดเย็บได้ทันกำหนด ค่าเสียหายที่โจทก์ต้องเสื่อมเสียชื่อเสียงขาดประโยชน์ทางการค้าของโจทก์สืบเนื่องมาจากการที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของกรมศุลกากรจำเลยที่ 1 กักยึดผ้าของโจทก์ไว้ ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างว่าผ้าของโจทก์เสียหายเพราะจำเลยทั้งสี่จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาไว้ไม่ดี เมื่อการกระทำของจำเลยทั้งสี่ที่กักยึดผ้าไว้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยทั้งสี่จึงไม่ต้องรับผิดในค่าเสียหายตามฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4625/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอคืนอากรกรณีสินค้าส่งออกต้องเป็นไปตามหลักฐานเดิมที่นำเข้า การสุ่มตรวจวัดน้ำหนัก/ความยาวต้องสมเหตุสมผล
พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 แก้ไขเพิ่มเติมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 มาตรา 19 (ง) กำหนดเวลาเฉพาะการขอคืนเงินอากรว่าจะต้องขอภายในหกเดือนนับแต่วันที่ส่งของนั้นกลับออกไป มิได้มีบทบัญญัติว่าจะต้องคืนเมื่อใดหรือในกรณีที่จะไม่คืน จะต้องแจ้งให้ผู้ขอคืนทราบเมื่อใด จึงต้องพิจารณาตามการที่จะพึงปฏิบัติโดยปกติธรรมดาคือจะต้องคืนหรือแจ้งให้ผู้ขอทราบว่าคืนให้ไม่ได้ภายในเวลาอันสมควรเมื่อนับระยะเวลาตั้งแต่โจทก์ยื่นคำร้องขอคืนจนถึงวันฟ้องเป็นเวลาเนิ่นนานถึง 6 ปีเศษ และเมื่อโจทก์ยื่นฟ้องแล้ว จำเลยยังอ้างว่าอยู่ในระหว่างการพิจารณาว่าจะคืนให้หรือไม่อีก โดยไม่มีกำหนดเวลาว่าการพิจารณานั้นจะสิ้นสุดเมื่อใด เป็นการบ่ายเบี่ยงเสมือนไม่รับรู้สิทธิของโจทก์ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ถือได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิแล้ว จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้
ข้อที่จำเลยอ้างเป็นเหตุไม่คืนเงินอากรให้โจทก์ตามที่ขอก็คือน้ำหนักโดยเฉลี่ยต่อหลาของสินค้าผ้าที่โจทก์นำเข้าและส่งออกนั้นต่างกัน แต่การคำนวณหาน้ำหนักและความยาวของผ้าทั้งตอนนำเข้าและส่งออก ได้มาโดยวิธีคำนวณเอาจากข้อมูลที่ได้จากการสุ่มตัวอย่าง สินค้าผ้าดังกล่าวมีความยาวต่อม้วนตั้งแต่ 21 - 188 หลา มีสีต่างกัน 10 - 11 สี เมื่อความยาวของผ้าแต่ละม้วนแตกต่างกันอย่างมากและน้ำหนักของผ้าเป็นกรัมต่อหลาจะแตกต่างกันไปตามสีของผ้า การคำนวณโดยวิธีสุ่มตัวอย่างย่อมมีความคลาดเคลื่อนได้มาก ทั้งน้ำหนักเฉลี่ยต่อหลาที่ว่าต่างกันนั้น ต่างกันไม่ถึง 0.1 กิโลกรัมต่อหนึ่งหลา จะฟังเอาข้อแตกต่างที่ได้มาโดยคลาดเคลื่อนต่อความจริงและแตกต่างเพียงเล็กน้อยมาฟังว่าเป็นสินค้าคนละรายไม่ได้ ในชั้นตรวจปล่อยสินค้าพิพาท หากเป็นสินค้าคนละรายกับที่โจทก์นำเข้า เจ้าพนักงานของจำเลยน่าจะดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับกรณีเช่นนั้น แต่เจ้าพนักงานของจำเลยหาได้ดำเนินการใด ๆ คงตรวจปล่อยสินค้าพิพาทออกไป เพิ่งยกขึ้นอ้างเมื่อโจทก์ขอคืนเงินค่าภาษีอากร ข้ออ้างของจำเลยข้างต้นจึงรับฟังไม่ได้