คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วรนาถ ภูมิถาวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิ่งราวทรัพย์ การสืบพยานก่อนฟ้อง และการรับฟังพยานหลักฐานผ่านล่ามที่ไม่ได้รับการรับรอง
การสืบพยานผู้เสียหายไว้ก่อนเพราะจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรอันยากแก่การนำมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง ส่วนการสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีแม้จะมีการพิมพ์ข้อความแทรกระหว่างบรรทัดในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ก่อนสืบพยานได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ต้องการทนายความ"แต่จำเลยก็มิได้ยืนยันว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แต่กลับบอกว่าจำไม่ได้ว่าศาลถามหรือไม่ จึงต้องฟังว่าศาลชั้นต้นได้ถามจำเลยในเรื่องทนายความแล้ว การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบ
การที่โจทก์จัดให้ อ. เพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่าม ให้เป็นล่ามการสืบพยานผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้นไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองในคดีอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง
แม้ ส. จะเป็นเพียงเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่ามก็ตาม เมื่อไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยโดยมี ส. เป็นล่ามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 วรรคสี่ และ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองโดยราชการชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่ได้รับคำร้องจากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนให้สืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพยานบุคคลซึ่งจะต้องนำมาสืบในภายหน้าจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ยากแก่การนำมาสืบ ดังนี้การสืบพยานผู้เสียหายดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง และก่อนสืบพยานศาลก็ได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ได้ต้องการทนายความ การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสืบพยานผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ โจทก์ได้จัด อ. เป็นล่าม ซึ่งก่อนจะแปลคำเบิกความ อ. ได้สาบานตนแล้ว แม้ อ. จะเป็นเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองเป็นล่ามก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ อีกทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพรากเด็กและพาหญิงเพื่อการอนาจาร โดยพระภิกษุใช้อำนาจครอบงำผู้เสียหาย
ขณะเกิดเหตุผู้เสียหายอายุ 13 ปีเศษ ผู้เสียหายพักอาศัยและอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของบิดามารดา ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าความผิดฐานพรากเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าปีไปเพื่อการอนาจารตาม ป.อ. มาตรา 317 วรรคสาม เป็นกรรมเดียวกับความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารตามมาตรา 284 วรรคแรก ให้ลงโทษฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร จำคุก
10 ปี ส่วนความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 1 ปี และความผิดฐานกระทำชำเรา เด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ให้ลงโทษจำคุก 4 ปี รวมจำคุกจำเลยมีกำหนด 15 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า เฉพาะความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันต้องลงโทษจำเลยทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไปตาม มาตรา 91 เมื่อรวมโทษจำคุกทั้งหมดที่ศาลชั้นต้นวางโทษแล้ว ลดโทษให้จำเลยหนึ่งในสามคงจำคุกจำเลยมีกำหนด 10 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น โทษจำคุกในความผิดฐานกระทำอนาจารตามมาตรา 279 วรรคแรก จึงถูกลดโทษลงเหลือ 8 เดือน และโทษจำคุกในความผิดฐานกระทำชำเราเด็กหญิงอายุยังไม่เกินสิบห้าปีตามมาตรา 277 วรรคแรก ถูกลดโทษลงเหลือ 2 ปี 8 เดือน อันเป็นการพิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ความผิดทั้งสองฐานนี้จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าเป็นความผิดกรรมเดียวผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจาร อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ กำหนดโทษจึงคงเดิมตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อลดโทษให้หนึ่งในสามตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 78 แล้ว โทษจำคุกคงเหลือ 6 ปี 8 เดือน ความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวจึงไม่ต้องห้ามจำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
จำเลยเรียกเด็กหญิง พ. ไปพบเพื่อบอกให้ผู้เสียหายไปหาจำเลยที่กุฏิ เมื่อผู้เสียหายไปหาจำเลยแล้ว จำเลยได้ว่าจ้างรถยนต์กระบะพาผู้เสียหายไปวัดอื่นโดยให้ผู้เสียหายพักหลับนอนกับจำเลยที่กุฏิวัด 2 คืน ระหว่างนั้นจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายจนสำเร็จความใคร่ ผู้เสียหายเป็นเด็กหญิงอายุ 13 ปีเศษ ย่อมเกรงใจจำเลยซึ่งเป็นพระภิกษุผู้อุปการะ ครอบครัวของผู้เสียหายเป็นธรรมดาจึงจำต้องยอมติดตามจำเลยไปด้วย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้อำนาจครอบงำผิดครองธรรม ทั้งย่อมเป็นพฤิตการณ์บังคับให้ผู้เสียหายจำยอมให้จำเลยกระทำทำอนาจารและกระทำชำเราในเวลากลางคืนอันเป็นการกระทำที่ล่วงอำนาจปกครองของบิดามารดาผู้เสียหาย และเป็นการพาหญิงไปเพื่อการอนาจารโดยใช้อำนาจครอบงำผิดคลองธรรมจำเลยจึงมีความผิดฐานพรากเด็กไปเพื่อการอนาจารและมีความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจาร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งปิดคดีล้มละลายไม่ได้ทำให้คดีสิ้นสุด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ตามกฎหมายเดิม
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 134 วรรคหนึ่ง บัญญัติถึงผลของคำสั่งปิดคดีว่าเป็นเพียงให้ระงับการจัดการต่าง ๆ ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ไว้เป็นการชั่วคราว แต่ไม่ทำให้คดีล้มละลายสิ้นสุด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังคงมีหน้าที่ตามมาตรา 160 อนุมัติการใด ๆ ที่กฎหมายบัญญัติไว้และตรวจบัญชีรับจ่ายของบุคคลล้มละลายตามมาตรา 134 วรรคหนึ่ง(1)ถึง (3) รวมทั้งยังอาจขอให้ศาลเปิดคดีต่อไปเมื่อเห็นว่าบุคคลล้มละลายมีทรัพย์สินขึ้นใหม่ตามมาตรา 134 วรรคท้ายอีกด้วยจึงต้องถือว่าคดียังคงค้างพิจารณาอยู่ในระหว่างปฏิบัติการของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เมื่อคดีนี้ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 ใช้บังคับกรณีจึงต้องบังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าวใช้บังคับตามที่พระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34บัญญัติไว้ จำเลยจะร้องขอให้พ้นจากการเป็นบุคคลล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542มาตรา 35 ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมถือเป็นการมีค่าตอบแทน
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่ก็เป็นการชำระหนี้ที่สืบเนื่องจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้จากผู้คัดค้านไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ๆ ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้ของจำเลยเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมไม่ใช่การให้โดยเสน่หา
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่เป็นการชำระหนี้ที่สืบเนื่องมาจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้ไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ย่อมถือได้ว่าการชำระหนี้ของจำเลยเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทน
การที่ผู้คัดค้านฎีกาว่า ผู้คัดค้านได้รับชำระหนี้จากจำเลยโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน และการชำระหนี้ดังกล่าวหาได้เป็นการเลือกปฏิบัติโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นแต่อย่างใดนั้น เป็นข้อที่ผู้คัดค้านเพิ่งยกขึ้นในชั้นฎีกาโดยมิได้อุทธรณ์โต้แย้งไว้จึงยุติไปตามคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกปัญหานี้ขึ้นวินิจฉัย ก็ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 201/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมก่อนล้มละลาย ถือเป็นการชำระหนี้ที่มีค่าตอบแทน ไม่เป็นการให้โดยเสน่หา
การที่ลูกหนี้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมให้แก่ธนาคารผู้คัดค้าน แม้จะเป็นการชำระหนี้เพื่อให้หนี้ระงับก็ตาม แต่ก็สืบเนื่องจากการที่ผู้คัดค้านให้จำเลยกู้เงินและกู้เบิกเงินเกินบัญชี จึงเป็นการที่จำเลยได้รับประโยชน์จากการนำเงินที่รับอนุมัติให้กู้จากผู้คัดค้านไปใช้ในธุรกิจของจำเลย การชำระหนี้ของจำเลยไม่ใช่เป็นการทำให้โดยเสน่หาหรือให้เปล่า ๆ ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้โดยมีค่าตอบแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 114(เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9710/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและขอบเขตคำพิพากษาถึงที่สุด ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย
ระหว่างพิจารณาคดีนี้ โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีนี้เป็นจำเลยที่ 1 ป. เป็นจำเลยที่ 2 ตามคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น ต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ซึ่งคดีที่เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 ต้องเป็นกรณีที่มีคู่ความเดียวกันหรือเป็นผู้สืบสิทธิจากคู่ความคนก่อนรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ศาลได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นถึงที่สุดแล้ว ฉะนั้นคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
ผลของคำพิพากษาฎีกาที่ 401/2540 ผูกพันโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง ดังนั้น ประเด็นพิพาทในคดีนี้ที่เป็นประเด็นเดียวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ย่อมเป็นที่สุด คงเหลือประเด็นพิพาทข้ออื่น ๆ ซึ่ง คู่ความจะต้องนำสืบพยานหลักฐานให้จบสิ้นกระแสความเสียก่อน เมื่อศาลชั้นต้นมิได้พิจารณาสืบพยานหลักฐานของทั้งสองฝ่ายในประเด็นดังกล่าวด้วยการสั่งงดสืบพยานโจทก์และจำเลย แล้ววินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยเป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 904/2537 ของศาลชั้นต้น โดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จึงไม่ถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง สมควรให้ย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9131/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งหมายเรียกและคำบังคับที่ภูมิลำเนาบริษัท และการยื่นคำร้องขอพิจารณาใหม่เกินกำหนด
จำเลยเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด ซึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 68 บัญญัติให้ถิ่นอันเป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่เป็นภูมิลำเนาของบริษัท จำเลยมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เลขที่ 385/1 ถนนสีลม แขวงสีลม บางรัก กรุงเทพฯ ศาลชั้นต้นสั่งให้ปิดหมายเรียก สำเนาคำฟ้องและคำบังคับที่บ้านเลขที่ดังกล่าว แม้พนักงานเดินหมายจะรายงานว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดใส่กุญแจ และเมื่อสอบถามบุคคลที่อยู่บ้านข้างเคียงก็ได้ความว่าบ้านเลขที่ดังกล่าวปิดอยู่นานแล้วและไม่มีผู้ใดรู้จักบริษัทจำเลยก็ตาม ก็ยังไม่ได้ความแน่ชัดว่าเป็นจริงตามนั้น ดังนั้นในเบื้องต้นต้องถือว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้อง รวมทั้งการส่งคำบังคับให้แก่จำเลยดังกล่าวเป็นการส่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ถ้าจำเลยประสงค์จะขอให้พิจารณาคดีใหม่ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 จำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ต่อศาลชั้นต้นภายใน 15 วันนับแต่วันที่ส่งคำบังคับหรือวันที่การส่งคำบังคับมีผล ถ้าไม่สามารถยื่นคำขอภายในกำหนดดังกล่าวโดยพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ จำเลยจะต้องยื่นคำขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วันนับแต่วันที่พฤติการณ์นั้นได้สิ้นสุดลง จำเลยอ้างว่าได้ย้ายจากภูมิลำเนาตามฟ้องไปอยู่ที่อื่นตั้งแต่ก่อนฟ้อง จำเลยจึงไม่ทราบว่าถูกฟ้อง อันเป็นการอ้างว่าไม่อาจยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่การส่งคำบังคับให้จำเลยมีผลเพราะพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ ดังนั้นจำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่พฤติการณ์ดังกล่าวสิ้นสุดลง คือวันที่ 25 มีนาคม 2542 อันเป็นวันที่จำเลยทราบว่าถูกโจทก์ฟ้องคดีนี้โดยยื่นคำแถลงขอถ่ายเอกสารต่าง ๆ ในสำนวน การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2542 จึงเป็นการยื่นคำร้องเมื่อพ้นระยะเวลาที่ ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคหนึ่งกำหนด คำร้องขอพิจารณาคดีใหม่ของจำเลยจึงไม่ชอบ
of 13