คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วรนาถ ภูมิถาวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6255/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ตัวตนจำเลยเพื่อการนับโทษต่อ จำเลยให้การรับสารภาพความผิดตามฟ้อง ไม่ถือเป็นการรับสารภาพว่าเป็นบุคคลเดียวกันกับจำเลยในคดีอื่น
ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อหรือไม่ เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดและเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่นำสืบให้ปรากฏ คดีนี้จำเลยที่ 1 ให้การรับสารภาพเพียงว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องเท่านั้น มิได้ให้การรับด้วยว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในที่คดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ เมื่อโจทก์ไม่ได้นำสืบให้ปรากฏเช่นนั้น ข้อเท็จจริงจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อ จะนับโทษจำเลยที่ 1 ต่อจากโทษจำเลยในคดีดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ: การจำกัดอำนาจและการรักษาสถานะหลังคำสั่งศาล
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้ว อำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง การเปลี่ยนแปลงผู้มีอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้เป็นไปตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง
ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนให้แก่ผู้บริหารของลูกหนี้ ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หรือมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น ตาม พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 มาตรา 90 เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผน การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้ เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงเป็นการกระทำที่อยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ตามมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง มาตรา 90/25 ประกอบกับมาตรา 90/74 และมาตรา 90/75 คำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการมิได้ทำให้สถานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น
การที่ผู้ร้องมีฐานะเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจ จัดการกิจการของลูกหนี้และเมื่อผู้ร้องดำเนินกิจการของลูกหนี้ในฐานะดังกล่าวแล้ว จะต้องรายงานผลการดำเนินงานให้แก่คณะกรรมการของลูกหนี้ทราบ การที่ผู้ร้องดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ จึงถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5414-5415/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจของผู้บริหารแผนและการจำกัดอำนาจผู้บริหารลูกหนี้หลังฟื้นฟูกิจการ
ผู้ร้องเป็นกรรมการผู้มีอำนาจดำเนินกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ ผู้ร้องจึงอยู่ในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทนิยามใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/1 เมื่อศาลมีคำสั่งฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้แล้วอำนาจหน้าที่ในการจัดการกิจการและทรัพย์สินของผู้บริหารลูกหนี้ย่อมสิ้นสุดลง ครั้นเมื่อศาลตั้งผู้ทำแผนแล้วอำนาจดังกล่าวและบรรดาสิทธิตามกฎหมายของผู้ถือหุ้นของลูกหนี้ ยกเว้นสิทธิที่จะได้รับเงินปันผลตกแก่ผู้ทำแผน และเมื่อศาลเห็นชอบด้วยแผนแล้ว สิทธิและอำนาจของผู้ทำแผนตกเป็นของผู้บริหารแผนนับแต่ผู้บริหารแผนได้รับทราบคำสั่ง ทั้งนี้ ตามบทบัญญัติในมาตรา 90/20 วรรคหนึ่ง, มาตรา 90/25 และมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง ดังนี้ การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งห้ามมิให้ผู้ร้องออกคำสั่งใด ๆ แก่พนักงานของลูกหนี้หรือติดต่อภายในพื้นที่ของลูกหนี้และห้ามผู้ร้องเข้าไปในสถานที่ทำงานหรือโรงงานของลูกหนี้เนื่องจากจะทำให้การบริหารงานมีเหตุขัดข้อง และก่อให้เกิดอุปสรรคในการทำงาน ผู้บริหารแผนย่อมมีอำนาจทำได้เช่นเดียวกับที่ผู้บริหารแผนไม่ให้ผู้ร้องใช้ทรัพย์สินต่าง ๆ ของลูกหนี้ก็เป็นอำนาจในการรวบรวมทรัพย์สินของผู้ทำแผนเพื่อนำทรัพย์สินของลูกหนี้มาไว้ในความอารักขาแห่งตนรวมทั้งเป็นการให้ผู้บริหารของลูกหนี้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 90/21 วรรคสาม, มาตรา 90/24 วรรคสอง และ 90/59 วรรคสอง ส่วนที่ยังค้างอยู่
สำหรับเรื่องค่าตอบแทนของผู้ร้องนั้น ก่อนศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ การกำหนดค่าตอบแทนผู้บริหารของลูกหนี้ย่อมเป็นไปตามข้อบังคับของบริษัท หากข้อบังคับมิได้กำหนดไว้ การจ่ายค่าตอบแทนให้เป็นไปตามมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้นตามกฎหมายบริษัทมหาชนจำกัด เมื่อศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนและข้อบังคับของลูกหนี้มิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้บริหารแผนตามมาตรา 90/25 ประกอบมาตรา 90/59 วรรคหนึ่ง การที่ผู้บริหารแผนออกคำสั่งให้งดจ่ายค่าตอบแทนแก่ผู้บริหารของลูกหนี้เนื่องจากหมดอำนาจในการจัดกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างเวลาดังกล่าวจึงอยู่ในกรอบอำนาจของผู้บริหารแผนที่จะกระทำได้
ส่วนสถานะของผู้ร้องที่เป็นผู้บริหารของลูกหนี้นั้น แม้ว่าในระหว่างการฟื้นฟูกิจการอำนาจของผู้บริหารลูกหนี้ในการบริหารจัดการกิจการของลูกหนี้จะสิ้นสุดลงตามบทบัญญัติข้างต้น โดยมีผู้ทำแผนหรือผู้บริหารแผนเป็นผู้ใช้อำนาจดังกล่าวแทน แล้วแต่กรณี แต่เมื่อคดีฟื้นฟูกิจการสิ้นสุดลงโดยการยกเลิกคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการ หรือการยกเลิกการฟื้นฟูกิจการแล้ว อำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้กลับเป็นของผู้บริหารของลูกหนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 90/74 หรือ 90/75 แล้วแต่กรณี และการที่ผู้ร้องเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ ถือว่าผู้ร้องเป็นผู้บริหารสูงสุดในการดำเนินธุรกิจจัดการกิจการของลูกหนี้อยู่ในวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการซึ่งถือเป็นการกระทำในฐานะผู้บริหารของลูกหนี้สิ้นสุดไปแต่อย่างใด เป็นแต่เพียงให้มีการพักการใช้อำนาจในการบริหารจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้ในระหว่างการฟื้นฟูกิจการเป็นการชั่วคราวเท่านั้น เช่นนี้ การที่ผู้บริหารมีหนังสือแจ้งข้อกำหนดต่าง ๆ ให้ผู้ร้องปฏิบัติ จึงมีผลบังคับได้เท่าที่ไม่กระทบถึงสถานะและสิทธิของผู้ร้องซึ่งยังดำรงสถานะเป็นผู้บริหารหรือประธานเจ้าหน้าที่บริหารของลูกหนี้ในการที่จะดำเนินการต่าง ๆ ตามที่กฎหมายล้มละลายได้ให้อำนาจและคุ้มครองไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5387/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีที่ยังไม่ถึงที่สุด ศาลฎีกาวินิจฉัยว่านับโทษได้หากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษแล้ว
การนับโทษต่อจากสำนวนคดีเรื่องใดจะต้องปรากฏว่าคดีเรื่องนั้นศาลได้พิพากษาลงโทษจำเลยไว้ก่อนแล้ว เมื่อศาลพิพากษาคดีเรื่องหลังจึงจะนับโทษต่อจากกำหนดโทษในสำนวนคดีเรื่องก่อนได้ เมื่อปรากฏจากคำฟ้องฎีกาของจำเลยที่ 2 แจ้งชัดแล้วว่าคดีที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อนั้น ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ลงโทษจำเลยแม้ว่าคดีดังกล่าวที่โจทก์ขอให้นับโทษจำเลยต่อจะยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ยังไม่ถึงที่สุดดังที่จำเลยที่ 2 กล่าวอ้างก็ตาม แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิพากษากลับให้ยกฟ้องโจทก์จำเลยจึงยังคงต้องถูกบังคับตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวอยู่ การที่คดียังไม่ถึงที่สุดจึงไม่ใช่เหตุที่จะนำมานับโทษจำเลยต่อไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5013/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้บัญชีเดินสะพัด ดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้จำนวนหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
แม้สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยมีลักษณะเป็นสัญญาบัญชีเดินสะพัด ซึ่งมีการหักทอนบัญชีระหว่างโจทก์และจำเลยกันปีละหนึ่งครั้ง หากจำเลยตกเป็นลูกหนี้โจทก์เท่าใดจำเลยจะต้องชำระหนี้ให้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดเท่าที่ธนาคาร ก. สาขามุกดาหารจะพึงเรียกเก็บจากลูกค้าผู้กู้ยืมเงินจากธนาคารดังกล่าว และหากจำเลยไม่ชำระหนี้ โจทก์จะคิดดอกเบี้ยในยอดหนี้ที่ค้างชำระแล้วทบเป็นยอดหนี้ที่ค้างชำระที่จะต้องนำไปหักทอนบัญชีในฤดูหีบอ้อยในปีต่อไประหว่างการเดินสะพัดทางบัญชี โจทก์มีการคิดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าร้อยละ 15 ต่อปีหลายครั้ง โดยโจทก์มิได้เป็นสถาบันการเงินย่อมไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยได้มากกว่าร้อยละ 15 ต่อปี ดอกเบี้ยทั้งหมดจึงตกเป็นโมฆะ เมื่อการเดินสะพัดทางบัญชีของโจทก์มีการคิดดอกเบี้ยทบต้นได้ในกรณีที่จำเลยค้างชำระหนี้และมีการนำดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะทบเข้ากับเงินต้นที่จะหักทอนบัญชีกันในปีต่อไป มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้จำเลยล้มละลายจึงมีดอกเบี้ยทบต้นที่เป็นโมฆะระคนปนกันอยู่ ซึ่งโจทก์มิได้คำนวณเงินต้นและดอกเบี้ยที่อ้างว่าชอบด้วยกฎหมายมาให้ชัดเจนว่าเป็นจำนวนเท่าใด ทั้งๆ ที่โจทก์สามารถคำนวณได้ เมื่อมูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องมีมูลหนี้ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย กรณีจึงไม่อาจรับฟังได้ว่าหนี้ของโจทก์อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4549/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำสั่งยกเลิกการล้มละลายต่อคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา ศาลต้องแจ้งให้ศาลอุทธรณ์ทราบเพื่อจำหน่ายคดี
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสี่เด็ดขาดแล้ว จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลาย ต่อมาเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานต่อศาลชั้นต้นว่าได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและราชกิจจานุเบกษาแล้ว เมื่อครบกำหนดการยื่นขอรับชำระหนี้ไม่มีเจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยทั้งสี่ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 135 (2) ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอ ดังนั้น ศาลชั้นต้นชอบที่จะแจ้งคำสั่งดังกล่าวให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายทราบ เนื่องจากคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวมีผลทันที จำเลยทั้งสี่ย่อมหลุดพ้นจากการล้มละลายกลับสู่ฐานะเดิม การที่ศาลชั้นต้นมิได้แจ้งคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยทั้งสี่ให้ศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายทราบเพื่อจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ และต่อมาศาลอุทธรณ์แผนกคดีล้มละลายมีคำพิพากษายืนตามคำสั่งของศาลชั้นต้นให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยทั้งสี่เด็ดขาดจึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4543/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องหนี้ภาษีอากรหลังการชำระบัญชี: ผลของการแจ้งการประเมินภาษีและการสั่งบังคับ
แม้มูลหนี้ตามฟ้องจะเป็นหนี้ค่าภาษีอากร แต่เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องเรียกหนี้สินจากจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในฐานะเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างุ้นส่วนจำกัด น. ซึ่งจดทะเบียนเสร็จสิ้นการชำระบัญชีเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2530 จึงมีอายุความห้ามมิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนด 2 ปี นับแต่วันถึงที่สุดแห่งการชำระบัญชีตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272 แต่เมื่อโจทก์มีหนังสือเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2532 แจ้งให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคล เบี้ยปรับ และเงินเพิ่มภายใน 30 วัน นับแต่วันรับหนังสือ การที่พนักงานมีหนังสือถึงจำเลยให้ชำระภาษีอากรดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลให้จำเลยอาจถูกยึดทรัพย์สินขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องร้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้กระทำการอื่นใดอันมีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 (5) จำเลยรับหนังสือเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2532 อายุความจึงสะดุดหยุดลงและเริ่มนับอายุความใหม่ตั้งแต่พ้นกำหนด 30 วันที่กำหนดให้จำเลยนำเงินภาษีอากรไปชำระ ดังนั้น อายุความเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าภาษีอากรดังกล่าวจึงเริ่มนับใหม่นับแต่วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2532 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/15 โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและผู้ชำระบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด น. เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2542 จึงพ้น 2 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1272

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามข่มขืนกระทำชำเรา แม้ไม่สำเร็จเนื่องจากขนาดร่างกายของผู้เสียหาย
พฤติการณ์ของจำเลยนับแต่จูงผู้เสียหายไปที่ที่นอน ถอดกางเกงผู้เสียหายออกและใช้อวัยวะเพศของจำเลยยัดใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเจ็บแต่ร้องไม่ออกเพราะจำเลยใช้มือบีบคอไว้ ซึ่งจำเลยทำอยู่นาน ผู้เสียหายเจ็บจนกระทั่งมีน้ำสีขาวออกมาจากอวัยวะเพศของจำเลย อากัปกิริยาเช่นนี้ของจำเลยเห็นได้ชัดเจนว่าจำเลยเจตนาชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่ที่การกระทำไม่บรรลุผลเป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กเนื่องจากเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 8 ปี เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย หาใช่เจตนาเพียงกระทำอนาจารไม่
การพยายามกระทำชำเราที่ไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 ต้องเป็นกรณีที่เกี่ยวกับปัจจัยหรือวัตถุซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่น หญิงไม่มีช่องคลอด ผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งอย่างไร ๆ อวัยวะเพศชายก็ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของหญิงดังกล่าวได้ แต่สำหรับในกรณีของจำเลยที่ไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหาย มิได้เกิดจากความผิดปกติที่ช่องคลอดของผู้เสียหาย แต่เป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กตามธรรมชาติในวัยเด็กเล็กที่มีอายุเพียง 8 ปี การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4166/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพยายามข่มขืนกระทำชำเราเด็กหญิง แม้ไม่สำเร็จเนื่องจากขนาดทางกายภาพของเด็ก
ตามพฤติการณ์จำเลยนับแต่จูงผู้เสียหายไปที่ที่นอน ถอดกางเกงผู้เสียหายออกและใช้อวัยวะเพศของจำเลยยัดใส่อวัยวะเพศของผู้เสียหาย ผู้เสียหายเจ็บแต่ร้องไม่ออกเพราะจำเลยใช้มือบีบคอไว้ ซึ่งจำเลยทำอยู่นาน ผู้เสียหายเจ็บจนกระทั่งมีน้ำสีขาวออกมาจากอวัยวะเพศของจำเลย อากัปกิริยาเช่นนี้ของจำเลยเห็นได้ชัดเจนว่า จำเลยเจตนาชำเราผู้เสียหาย และได้ลงมือกระทำชำเราแล้ว แต่ที่การกระทำไม่บรรลุผลเป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กเนื่องจากเป็นเด็กหญิงอายุเพียง 8 ปี เป็นเหตุให้จำเลยไม่สามารถสอดใส่อวัยวะเพศของตนล่วงล้ำเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายได้ จำเลยจึงมีความผิดฐานพยายามข่มขืนกระทำชำเราผู้เสียหาย
การกระทำที่ไม่สามารถบรรลุได้อย่างแน่แท้ตาม ป.อ. มาตรา 81 ต้องเป็นกรณีเกี่ยวกับปัจจัยหรือวัตถุซึ่งซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถจะกระทำให้บรรลุผลได้อย่างแน่แท้ เช่นหญิงไม่มีช่องคลอดผิดปกติมาแต่กำเนิด ซึ่งอย่างไรๆ อวัยวะเพศชายก็ไม่สามารถจะสอดใส่เข้าไปในอวัยวะเพศของหญิงดังกล่าวได้ แต่สำหรับในกรณีของจำเลยที่ไม่สามารถจะสอดใส่อวัยวะเพศของตนเข้าไปในอวัยวะเพศของผู้เสียหายมิได้เกิดจากความผิดปกติที่ช่องคลอดของผู้เสียหาย แต่เป็นเพราะอวัยวะเพศของผู้เสียหายมีขนาดเล็กตามธรรมชาติในวัยเด็กเล็กที่มีอายุเพียง 8 ปี การกระทำของจำเลยจึงไม่ใช่กรณีที่ปัจจัยซึ่งใช้ในการกระทำผิดไม่สามารถบรรลุผลได้อย่างแน่แท้ตามความหมายในมาตรา 81

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4004/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีล้มละลาย: การรับฟังพยานหลักฐานเพื่อหักล้างหนี้สินและทรัพย์สิน
วิธีการนำสืบพยานหลักฐานในคดีล้มละลายนั้น พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มิได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม) ซึ่ง จาก ป.วิ.พ. มาตรา 87 (2) และ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 14 แสดงว่า เพื่อให้ศาลพิจารณาให้ได้ความจริง และจำเป็นจะต้องสืบพยานหลักฐานอันสำคัญ ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดีโดยฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 88 กฎหมายให้ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานเช่นว่านั้นได้ และการที่จำเลยนำสืบพยานเอกสารซึ่งเป็นสำเนาสมุดเงินฝากออมทรัพย์ของจำเลยโดยมิได้ยื่นบัญชีระบุพยาน และมิได้ส่งสำเนาบัญชีระบุพยานให้แก่โจทก์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 88 ก็เพื่อหักล้างคำพยานโจทก์ที่นำสืบถึงพฤติการณ์ของจำเลยที่กฎหมายสันนิษฐานว่า มีหนี้สินล้นพ้นตัว และให้เห็นว่าตนมีเงินซึ่งพอชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือไม่ควรตกเป็นบุคคลล้มละลายอันถือได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี ศาลล่างทั้งสองจึงมีอำนาจที่จะรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวได้
of 13