คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วรนาถ ภูมิถาวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10294/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การวิวาทสมัครใจ ทำให้ไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
คดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 เมื่อศาลฎีกาพิพากษาคดีส่วนอาญาว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ก่อนเกิดเหตุโจทก์คดีนี้กับจำเลยที่ 1 และพวกต่างมีสาเหตุโกรธเคืองกันมาก่อน และได้มีการด่าว่าโต้เถียงกัน จนในที่สุดได้มีการทำร้ายร่างกายกันจึงเป็นเรื่องสมัครใจวิวาทกัน ศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาดังกล่าว เมื่อฟังว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 สมัครใจทะเลาะวิวาทและทำร้ายร่างกายกัน เป็นกรณีที่ต่างฝ่ายต่างสมัครใจเข้าเสี่ยงภัยยอมรับอันตรายหรือความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ตนจากการทะเลาะวิวาทนั้น แม้โจทก์ได้รับบาดเจ็บก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1กระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7877/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีไม่มีข้อยุ่งยาก: การขาดนัดพิจารณาและการดำเนินกระบวนการตามกฎหมาย
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 193 การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ศาลต้องออกหมายเรียกให้จำเลยมาศาลเพื่อการไกล่เกลี่ย ให้การ และสืบพยานในวันเดียวกัน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 ประกอบมาตรา 193 และถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกแล้วไม่มาศาลตามกำหนดนัด ศาลต้องมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วจึงพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว และพิพากษาโดยเร็วเท่าที่พึงกระทำได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) โดยศาลอาจพิพากษาในวันนัดพิจารณานั่นเอง หรืออาจเลื่อนคดีไปพิพากษาในวันอื่นก็ได้ ดังนั้น การพิจารณาคดีไม่มีข้อยุ่งยาก โจทก์จึงไม่ต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง จึงไม่ชอบ
การดำเนินคดีอย่างคดีไม่มีข้อยุ่งยาก ป.วิ.พ. มาตรา 196 วรรคสอง (3) บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งว่า ถ้าจำเลยได้รับหมายเรียกของศาลแล้วไม่มาตามกำหนดนัด ให้ศาลมีคำสั่งโดยไม่ชักช้าว่า จำเลยขาดนัดพิจารณาแล้วให้ศาลพิจารณาคดีไปฝ่ายเดียว การที่จำเลยไม่มาศาล และศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าจำเลยทราบนัดโดยชอบแล้วไม่มาศาลและไม่แจ้งเหตุขัดข้อง แล้วให้โจทก์ส่งเอกสารแทนการสืบพยาน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 ทวิ วรรคสาม (1) ไปเลย โดยไม่ได้มีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดพิจารณา จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเสียใหม่ให้ถูกต้อง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 243 (2) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7788/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: มูลคดีเกิดที่ไหนเมื่อบัตรเครดิตถูกใช้จริงที่สาขา
มูลคดี หมายถึงต้นเหตุอันเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิอันจะทำให้โจทก์เกิดอำนาจฟ้อง แต่ตามคำฟ้องของธนาคารโจทก์ที่ว่า ในทางบัญชีหลังจากจำเลยได้ทำสัญญาและรับบัตรเครดิตไปจากโจทก์จำเลยใช้บัตรเครดิตชำระค่าสินค้าและบริการหลายครั้งหลายหนประกอบกับสถานที่รับบัตรเครดิตคือธนาคารโจทก์สาขาหนองคาย ดังนั้น การอนุมัติและการออกบัตรเครดิตจึงเป็นเพียงขั้นตอนปฏิบัติระหว่างสำนักงานใหญ่กับสาขาหนองคาย เมื่อจำเลยทำสัญญาและรับบัตรเครดิตจากโจทก์สาขาหนองคายอันเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่จำเลยจะสามารถนำบัตรเครดิตไปชำระหนี้ค่าสินค้าและบริการจนเป็นเหตุพิพาทซึ่งเป็นที่มาแห่งการโต้แย้งสิทธิและมูลหนี้ตามฟ้องมูลคดีจึงมิได้เกิดในเขตศาลชั้นต้นที่สำนักงานใหญ่ของโจทก์ตั้งอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7031/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่เกิดขึ้นหลังแผนฟื้นฟูกิจการได้รับการเห็นชอบ เจ้าหนี้ต้องฟ้องคดีแพ่ง ไม่สามารถขอรับชำระหนี้ในคดีฟื้นฟูกิจการได้
การที่เจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้จากลูกหนี้ที่อยู่ในกระบวนพิจารณาคดีฟื้นฟูกิจการอาจแบ่งตามมูลหนี้ที่เกิดขึ้นได้เป็น 3 ช่วง ช่วงแรก มูลหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการและหนี้ที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งให้ฟื้นฟูกิจการจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนอันเจ้าหนี้จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/26 และมาตรา 90/27 ช่วงที่สอง หนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้ทำแผนจนถึงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน หากว่าหนี้ส่วนนี้มิได้กำหนดไว้ในแผนเป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ก็สามารถฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งได้โดยอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 90/12(4)(5) และมาตรา 90/13 ช่วงที่สาม หนี้เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่น เจ้าหนี้ย่อมมีสิทธิฟ้องร้องลูกหนี้เป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้โดยไม่ต้องขอรับชำระหนี้ในการฟื้นฟูกิจการตามมาตรา 90/62
เจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางอ้างว่าลูกหนี้ทำสัญญายืมใบหุ้นสามัญของเจ้าหนี้เพื่อนำไปเป็นหลักประกันหนี้ที่ลูกหนี้มีต่อธนาคาร โดยลูกหนี้สัญญาว่าจะจ่ายค่าธรรมเนียมรวมทั้งภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่เจ้าหนี้ในอัตราร้อยละ 3 ของราคาตลาดหุ้นสามัญโดยคิดคำนวณจากราคาปิดเฉลี่ยของแต่ละเดือน หนี้ดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาต่างตอบแทนโดยคิดค่าตอบแทนเป็นรายเดือน ซึ่งเกิดขึ้นตามกำหนดเป็นระยะตลอดเวลาที่มีการผูกพันตามสัญญา เมื่อหนี้ค่าธรรมเนียมนับแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2544 จำนวน 5,314,827.72 บาท และนับจากวันที่ 1 ธันวาคม2544 จนกว่าสัญญาการยืมใบหุ้นสามัญสิ้นสุดลงเป็นหนี้ที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนแล้ว และแผนฟื้นฟูกิจการมิได้กำหนดเรื่องดังกล่าวไว้ เจ้าหนี้จึงหาอาจมีคำขอในคดีฟื้นฟูกิจการต่อศาลล้มละลายกลางให้สั่งให้ลูกหนี้ชำระหนี้ดังกล่าวได้ไม่ เจ้าหนี้ต้องไปดำเนินการฟ้องร้องเป็นคดีแพ่งต่อศาลที่มีเขตอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5644/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันจำเลย แม้ไม่มีหลักฐานกู้ยืมเป็นหนังสือ ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 15
โจทก์ฟ้องขอบังคับตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้หนี้เดิมจะมาจากมูลหนี้การกู้ยืมเงิน แต่โจทก์มิได้ฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืม โจทก์จึงไม่จำต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้กู้มาแสดงต่อศาล
หนี้ตามต้นเงินที่โจทก์ขอคิดดอกเบี้ยและเบี้ยปรับ เป็นหนี้จากมูลสัญญาประนีประนอมยอมความ มิใช่หนี้กู้ยืมจึงไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้โจทก์เรียกหรือคิดดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัยหรือเหตุพิเศษ และต้องยื่นคำร้องก่อนสิ้นระยะเวลา หากไม่เป็นไปตามนั้น ฎีกาไม่ชอบ
การขอขยายระยะเวลาฎีกาเป็นการขอขยายระยะเวลาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 จะกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและศาลมีคำสั่งหรือคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น เว้นแต่กรณีที่มีเหตุสุดวิสัย ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 และวันที่ 5 มิถุนายน 2545 คำร้องทั้งสองฉบับยื่นต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย คำร้องฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 โจทก์อ้างเหตุว่า โจทก์มอบให้นิติกรเป็นผู้ยื่นคำร้องในวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 แต่นิติกรป่วยจึงไม่สามารถยื่นคำร้องได้ อีกทั้งคดีมีข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับ ซึ่งคดีมีข้อเท็จจริงยุ่งยากหรือไม่ และโจทก์ต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นหรือไม่ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกาได้ ส่วนการที่นิติกรป่วยนั้น หากจะเป็นจริงโจทก์ก็เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลและสามารถกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน คำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาของโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกาถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 จึงไม่ชอบ และมีผลให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกานับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2545 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ไม่ชอบไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ปัญหานี้แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง , 225 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ซึ่งล่วงเลยกำหนดยื่นฎีกาดังกล่าวแล้ว จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 216 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้น ไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5259/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายเวลาฎีกาต้องมีเหตุสุดวิสัย ศาลไม่อาจอนุญาตขยายเวลาหากเหตุผลไม่สมควร
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2545 โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 และวันที่ 5 มิถุนายน 2545 คำร้องทั้งสองฉบับยื่นต่อศาลเมื่อสิ้นระยะเวลาฎีกาแล้ว ศาลจะมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาได้เฉพาะเมื่อมีเหตุสุดวิสัย คำร้องฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 โจทก์อ้างว่า โจทก์มอบให้นิติกรเป็นผู้ยื่นคำร้องในวันที่ 22 พฤษภาคม 2545 แต่นิติกรป่วยจึงไม่สามารถยื่นคำร้องได้ อีกทั้งคดีมีข้อเท็จจริงที่ยุ่งยากซับซ้อนและต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับ แต่คดีมีข้อเท็จจริงยุ่งยากหรือไม่ และโจทก์ต้องเสนอให้ผู้บังคับบัญชาพิจารณาตามลำดับชั้นหรือไม่ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่ทำให้โจทก์ไม่อาจยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาฎีกาภายในกำหนดระยะเวลาฎีกาได้ ส่วนการที่นิติกรป่วยนั้น หากจะเป็นจริง โจทก์ก็เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นคำร้องต่อศาลและสามารถกระทำได้ภายในกำหนดระยะเวลาฎีกา จึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเช่นกัน การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกาถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 28 พฤษภาคม 2545 จึงไม่ชอบ และมีผลให้การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์ขยายเวลาฎีกานับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2545 ถึงวันที่ 17 มิถุนายน 2545 ตามคำร้องของโจทก์ฉบับวันที่ 5 มิถุนายน 2545 ไม่ชอบไปด้วย โจทก์ไม่มีสิทธิยื่นฎีกาเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการพิจารณาคดีล้มละลาย: ศาลมีอำนาจสั่งพิทักษ์ทรัพย์หรือยกฟ้องเท่านั้น การฟ้องแย้งจึงไม่ชอบ
การพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการเท่านั้น ประการที่หนึ่ง มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด ประการที่สอง พิพากษายกฟ้อง บทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้เพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม
ตามคำให้การของจำเลยที่ 3 และที่ 4 กล่าวว่าขอปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์ทั้งสามอ้างตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะเป็นสัญญาปลอม ซึ่งมีประเด็นที่โจทก์ทั้งสามจะต้องนำสืบถึงหนี้สินตามที่อ้างในคำฟ้อง และหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การต่อสู้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้องสถานเดียว จำเลยที่ 3 และที่ 4 จึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีล้มละลาย: สิทธิฟ้องแย้งจำกัดเฉพาะประเด็นการมีหนี้สินล้นพ้นตัว ห้ามฟ้องแย้งประเด็นอื่น
คดีล้มละลายเป็นคดีที่ฟ้องให้จัดการทรัพย์สินของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวเพื่อประโยชน์แก่เจ้าหนี้ทั้งหลายของบุคคลผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวนั้น การพิจารณาคดีล้มละลายไม่มีวัตถุประสงค์เพื่อจะชี้ขาดหรือพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์โดยเฉพาะจึงย่อมผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะประเด็นสำคัญในคดี
ล้มละลายมีอยู่ว่าจำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์จำนวนแน่นอนไม่น้อยกว่า 1,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลธรรมดา หรือไม่น้อยกว่า 2,000,000 บาท สำหรับจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคล หรือไม่ หากศาลพิจารณาได้ความจริงเช่นนั้นก็ต้องมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด หากพิจารณาไม่ได้ความจริงหรือแม้ได้ความจริงแต่จำเลยนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้อง ดังนั้นการพิจารณาคดีล้มละลายศาลจะมีคำสั่งหรือคำพิพากษาได้เพียง 2 ประการ คือ มีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือพิพากษายกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 เท่านั้น โดยไม่เปิดช่องให้ศาลมีคำวินิจฉัยในประเด็นอื่นใดนอกเหนือไปจากที่กล่าวได้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะฟ้องแย้งให้ศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์กระทำหรือไม่กระทำการใดได้อีกเพราะเป็นเรื่องอื่นที่ไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม เมื่อจำเลยให้การปฏิเสธหนี้สินที่โจทก์อ้างให้รับผิดตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้เพราะสัญญาดังกล่าวปลอม จึงมีประเด็นที่โจทก์ต้องนำสืบถึงหนี้สินตามสัญญารับผิดชดใช้หนี้ ซึ่งหากศาลพิจารณาแล้วเชื่อว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอมดังที่จำเลยให้การต่อสู้ ศาลก็ชอบที่จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ เมื่อเป็นเช่นนี้จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องแย้งขอให้ศาลพิพากษาว่าสัญญารับผิดชดใช้หนี้เป็นสัญญาปลอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4046/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความในชั้นอุทธรณ์ แม้ยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลยังคงมีอำนาจกำหนดค่าทนายความได้ หากทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดี
ทนายโจทก์เรียงพิมพ์คำแก้อุทธรณ์และยื่นคำแก้อุทธรณ์เกินกำหนด ศาลสั่งไม่รับเป็นคำแก้อุทธรณ์ แต่ทนายโจทก์ได้ปฏิบัติในการว่าคดีเรื่องนี้ในชั้นอุทธรณ์แล้ว ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ได้
of 13