คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วรนาถ ภูมิถาวร

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 123 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนกระทำชำเราและการพรากผู้เยาว์: ศาลฎีกาวินิจฉัยความสัมพันธ์ในฐานะครู-ศิษย์ และการถอนฟ้อง
คำว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 ต้องตีความโดยเคร่งครัด ซึ่งความหมายของข้อความที่ว่าศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลนั้นมิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย
จำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์สอนกวดวิชาตามที่มีผู้ไปสมัครเรียนตามความสมัครใจ และเมื่อโจทก์ร่วมที่ 2 สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ แสดงว่า จำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาโจทก์ร่วมที่ 2 ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่กระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะเป็นผลให้จำเลยต้องรับโทษหนักขึ้นเมื่อการกระทำของจำเลยไม่ต้องด้วยกรณีที่ต้องรับโทษหนักขึ้นตามมาตรา 285 หากเป็นเพียงความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2 รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281
โจทก์ร่วมทั้งสองยื่นคำร้องขอถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้นแม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นพออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลทำให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)
จำเลยมีความมุ่งหมายที่จะกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 จึงหลอกโจทก์ร่วมที่ 2 ว่าจะพาไปสมัครแข่งขันวาดภาพโดยให้โจทก์ร่วมที่ 2 ซ้อนท้ายรถจักรยานยนต์ที่จำเลยขับไป แต่จำเลยกลับขับรถจักรยานยนต์พาโจทก์ร่วมที่ 2 เข้าโรงแรมม่านรูดแล้วข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 การกระทำของจำเลยเป็นการพรากโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เยาว์อายุกว่าสิบห้าปีแต่ไม่เกินสิบแปดปีไปเสียจากโจทก์ร่วมที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาเพื่อการอนาจาร โดยโจทก์ร่วมที่ 2 ไม่เต็มใจไปด้วย จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 318 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข่มขืนกระทำชำเราศิษย์: การพิสูจน์ความสัมพันธ์ 'ศิษย์' และผลกระทบต่อการลงโทษ
ความหมายของคำว่า "ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล" ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 285 มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้นแต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์ในการสอนกวดวิชา ซึ่งผู้สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ อีกทั้งไม่ได้ความว่าสถาบันกวดวิชาของจำเลยมีระเบียบหรือข้อเคร่งครัดอย่างใด แสดงว่าจำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ก็มิใช่การกระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลยอันจะทำให้ต้องรับโทษหนักขึ้นตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 285 หากแต่เป็นความผิดตามมาตรา 276 วรรคแรก และมิได้เกิดต่อหน้าธารกำนัล ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ร่วมที่ 2รับอันตรายสาหัสหรือถึงแก่ความตาย จึงเป็นความผิดอันยอมความได้ตามมาตรา 281เมื่อโจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์ต่อศาลชั้นต้น แม้ศาลชั้นต้นจะมิได้สั่งคำร้องดังกล่าวแต่เมื่อพิจารณารายงานกระบวนพิจารณาแล้ว พออนุมานได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสองถอนคำร้องทุกข์แล้ว จึงมีผลให้สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในข้อหาข่มขืนกระทำชำเราระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 421/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดข่มขืนกระทำชำเราต่อศิษย์ในความดูแล: การตีความความสัมพันธ์และความรับผิดชอบของครู
คำว่า ศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแล ตาม ป.อ. มาตรา 285 มิได้หมายถึงเฉพาะผู้ที่มีความสัมพันธ์ในฐานะครูหรืออาจารย์ซึ่งมีหน้าที่สอนศิษย์เท่านั้น แต่ครูหรืออาจารย์นั้นต้องมีหน้าที่ควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์และกระทำความผิดตามที่กฎหมายบัญญัติต่อศิษย์ในระหว่างมีหน้าที่ดังกล่าวด้วย เมื่อจำเลยเป็นเพียงครูหรืออาจารย์ในการสอนกวดวิชาตามที่มีผู้ไปสมัครเรียนตามความสมัครใจ และเมื่อผู้สมัครเรียนชำระค่าสมัครแล้วจะไปเรียนหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับความสนใจที่จะใฝ่หาความรู้ อีกทั้งไม่ได้ความว่าสถาบันกวดวิชาของจำเลยมีระเบียบหรือข้อบังคับเคร่งครัดอย่างใด ย่อมแสดงว่าจำเลยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบควบคุมดูแลปกป้องรักษาตัวศิษย์ตลอดระยะเวลาที่ทำการสอน ดังนั้น แม้จำเลยจะข่มขืนกระทำชำเราโจทก์ร่วมที่ 2 ซึ่งเป็นผู้เรียนกวดวิชากับจำเลย ก็มิใช่เป็นการกระทำต่อศิษย์ซึ่งอยู่ในความดูแลของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาให้ใช้ใบอนุญาตการพนันที่เป็นโมฆะ ศาลยกฟ้อง
จำเลยได้รับอนุญาตให้ตั้งบ่อนและจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาโจทก์จำเลยทำสัญญาให้ใช้ใบอนุญาตดังกล่าวโดยโจทก์จะให้ค่าตอบแทนแก่จำเลยปีละ 100,000 บาท ในวันทำสัญญาจำเลยได้รับเงินมัดจำ 100,000 บาท จากโจทก์ ต่อมาโจทก์ฟ้องกล่าวหาจำเลยว่า จำเลยผิดสัญญาโดยไม่ดำเนินการขอย้ายสถานที่ตั้งบ่อนและจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาในที่ดินของโจทก์ โจทก์เสียหาย ขอให้บังคับจำเลยชำระเงิน 1,300,000 บาท จำเลยให้การว่าสัญญาที่โจทก์นำมาฟ้องมีวัตถุประสงค์ขัดต่อกฎหมายตกเป็นโมฆะ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า สัญญาให้ใช้ใบอนุญาตให้ตั้งบ่อนและจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาที่โจทก์นำมาฟ้องตกเป็นโมฆะคดีถึงที่สุด ดังนั้นที่โจทก์นำสัญญาให้ใช้ใบอนุญาตดังกล่าวมาฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปจากโจทก์เพื่อให้ศาลวินิจฉัยคดีในประเด็นเดียวกันนั้นซ้ำอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบเพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใด ก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 235/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: สัญญาที่ศาลวินิจฉัยโมฆะแล้วนำมาฟ้องอีก ย่อมเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
โจทก์เคยนำสัญญาที่จำเลยยอมให้โจทก์ใช้ใบอนุญาตให้ตั้งบ่อนการพนันและจัดให้มีการเล่นการพนันประเภทชนไก่และกัดปลาที่จำเลยได้รับใบอนุญาตมาฟ้องต่อศาลในคดีก่อน คดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าสัญญาดังกล่าวตกเป็นโมฆะ การที่โจทก์นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องกล่าวหาจำเลยว่าผิดสัญญาดังกล่าวและบังคับให้จำเลยคืนเงินมัดจำที่รับไปจากโจทก์เพื่อให้ศาลวินิจฉัยคดีในประเด็นเดียวกันนั้นซ้ำอีก ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อนต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้องโจทก์โดยไม่ได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมไม่ชอบ เพราะคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมแม้จะไม่มีคำขอของคู่ความฝ่ายใดก็เป็นหน้าที่ของศาลจะต้องสั่งลงไว้ในคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 167 วรรคหนึ่ง แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกามีอำนาจแก้ไขให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: ศาลฎีกาตัดสินจำเลยมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตาย ไม่ใช่ฆ่าโดยเจตนา
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายเนื่องจากโกรธที่ผู้ตายปัสสาวะรดที่นอนจำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายคงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้นเมื่อการทำร้ายของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 35/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายจนถึงแก่ความตาย: ความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตาย มาตรา 290
จำเลยทำร้ายร่างกายผู้ตายเนื่องจากโกรธที่ผู้ตายปัสสาวะรดที่นอน จำเลยไม่มีเจตนาฆ่าผู้ตายคงมีเจตนาทำร้ายเท่านั้น เมื่อการทำร้ายของจำเลยเป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยจึงมีความผิดฐานทำร้ายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7316/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีแพ่ง การประมาทเลินเล่อของผู้อำนวยการ และความรับผิดร่วมของเจ้าหน้าที่
การสอบสวนทางวินัยเป็นคนละกรณีกับการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่ง เพราะการสอบสวนทางวินัยและการรายงานผลการสอบสวนมุ่งเน้นเฉพาะเรื่องทางวินัย มิได้รายงานว่าผู้ใดจะต้อง รับผิดในทางแพ่งบ้าง นอกจากนี้บุคคลที่จะต้องรับโทษทางวินัยอาจจะไม่ใช่บุคคลที่จะต้องรับผิดในทางแพ่งเสมอไป กรณีนี้ต้องถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ เลขาธิการสำนักงานโจทก์ ลงชื่อรับทราบผลการสอบสวนเพื่อพิจารณาหาตัวผู้รับผิดในทางแพ่งไม่ใช่วันที่รับทราบผลการสอบสวนทางวินัย เมื่อโจทก์ทราบตัวผู้รับผิดในทางแพ่งนับถึงวันฟ้องยังไม่เกินหนึ่งปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 1 เป็นผู้อำนวยการการประถมศึกษาจังหวัดมีหน้าที่บังคับบัญชา ควบคุมดูแลและรับผิดชอบใน การปฏิบัติราชการของสำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดนั้น ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการการประถมศึกษา พ.ศ. 2523 มาตรา 21 ไม่ควบคุมดูแลให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบของทางราชการ เป็นเหตุหนึ่งที่ทำให้จำเลยที่ 3 ซึ่งมีหน้าที่จ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิรับเงินนำเงินฝากเข้าบัญชีของตนเอง ไม่นำเงินฝากเข้าบัญชีของสำนักงานประถมศึกษาจังหวัดตามระเบียบ แล้วได้ถอนเงินนั้นไปเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยจำเลยที่ 2 และที่ 4 ร่วมรู้เห็นกับจำเลยที่ 3 ด้วย การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อ เป็นเหตุให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 1 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ด้วย
จำเลยที่ 5 เป็นเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี มีหน้าที่ทำบัญชีเงินสดและบัญชีแยกประเภท โดยมีจำเลยที่ 3 เป็น ผู้บังคับบัญชา จำเลยที่ 5 ลงบัญชีว่ามีการจ่ายเงินที่เบิกมาจากคลังจังหวัดให้ผู้มีสิทธิแล้วโดยมิได้ตรวจดูหลักฐานการจ่ายเงินให้ถูกต้อง โดยลงบัญชีไปตามที่จำเลยที่ 3 บอกทั้งที่รู้ว่าเป็นการผิดระเบียบ และมิได้รายงานให้ผู้บังคับบัญชาเหนือขึ้นไปทราบเป็นเหตุให้จำเลยที่ 3 กับพวก เบิกเงินจากคลังจังหวัดแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 5 จึงต้องร่วมรับผิดกับจำเลยอื่นด้วย แต่เมื่อจำเลยที่ 5 มิได้ร่วมกระทำละเมิดกับจำเลยที่ 3 และมิได้รับประโยชน์จากการกระทำของจำเลยที่ 3 จึงเห็นสมควรให้จำเลยที่ 5 ร่วมรับผิดใช้ค่าเสียหายเพียง 1 ใน 10 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7160/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะ 'บริวาร' ในการบังคับคดี: ผู้จะซื้อที่ดินก่อนโอนกรรมสิทธิ์ยังไม่มีสิทธิพิเศษขัดขวาง
ผู้ร้องเป็นผู้จะซื้อที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างในที่ดินและกิจการสถานีบริการน้ำมันจากจำเลย ได้ชำระราคาบางส่วนและได้เข้าครอบครองทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายแล้ว ผู้ร้องจึงเป็นผู้จะซื้อมีสิทธิเพียงเรียกให้จำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินตามสัญญาจะซื้อขายให้แก่ผู้ร้องโดยผู้ร้องต้องชำระราคาที่เหลือ การเข้าครอบครองก่อนการโอนกรรมสิทธิ์เป็นการเข้าครอบครองโดยอาศัยสิทธิของจำเลย ถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีอำนาจพิเศษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 จัตวา (3) ผู้ร้องจึงเป็นบริวารของจำเลยซึ่งถูกศาลพิพากษาให้ขับไล่เจ้าพนักงานบังคับคดีย่อมมีอำนาจดำเนินการเพื่อให้ปฏิบัติตามคำบังคับซึ่งออกตามคำพิพากษาได้ หาใช่เป็นการบังคับคดีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7122/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย-เช่าซื้อ: การรับซื้อคืนและการคำนวณหนี้คงค้างตามสัญญา
จำเลยยื่นคำให้การและนำสืบเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ชัดเจนว่าโจทก์ปล่อยปละละเลยไม่ดำเนินการบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อจนเวลาล่วงเลยไปปีเศษนับแต่วันที่ถึงกำหนดชำระค่าเช่าซื้องวดสุดท้ายเป็นผลให้เครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อเสื่อมสภาพ เสื่อมราคาและตกรุ่น จำเลยนำออกจำหน่ายไม่ได้จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีส่วนผิดสัญญาเช่าซื้อที่ผ่อนเวลาการบอกเลิกสัญญาออกไปปีเศษทำให้ทรัพย์สินที่เช่าซื้อเสียหายบางส่วนและทำให้จำเลยเสียโอกาสที่จะจำหน่ายทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวให้แก่บุคคลอื่น ถือได้ว่าโจทก์มีส่วนผิดนั้น จึงเป็นการหยิบยกเรื่องที่เป็นประเด็นข้อพิพาทขึ้นวินิจฉัย และแม้คู่ความจะแถลงรับข้อเท็จจริงกันว่าผู้เช่าซื้อชำระค่าเช่าซื้อแก่โจทก์รวม 32 งวด ก็ไม่ทำให้ประเด็นที่จำเลยให้การต่อสู้ยุติตามข้อเท็จจริงที่แถลงรับกัน ข้อต่อสู้ของจำเลยดังกล่าวจึงเป็นข้อเท็จจริงที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยขายเครื่องเรียงพิมพ์กราฟิคแก่โจทก์เพื่อนำไปให้บริษัท ว. เช่าซื้ออีกทอดหนึ่งโดยจำเลยทำหนังสือสัญญารับซื้อคืนกับโจทก์ว่า ในกรณีที่ผู้เช่าซื้อผิดสัญญาเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้ผู้ให้เช่าซื้อบอกเลิกสัญญาเช่าซื้อ ถ้าผู้ให้เช่าซื้อต้องการและแจ้งให้ผู้รับซื้อคืนทราบเป็นหนังสือ ผู้รับซื้อคืนจะรับซื้อทรัพย์สินที่เช่าซื้อดังกล่าวซึ่งยึดกลับคืนมาในสภาพที่เป็นอยู่ในขณะนั้นในราคาเท่ากับจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่ผู้เช่าซื้อยังต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าซื้อ ดังนั้น เมื่อบริษัท ว. ผิดนัดชำระค่าเช่าซื้อจนเป็นเหตุให้โจทก์บอกเลิกสัญญาและยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืนพร้อมกับส่งมอบให้แก่จำเลย จำนวนเงินที่จำเลยต้องชำระตามหนังสือสัญญารับซื้อคืนก็คือเงินคงค้างทุกจำนวนที่บริษัท ว. ต้องชำระแก่โจทก์ ณ วันที่โจทก์ยึดเครื่องเรียงพิมพ์ที่เช่าซื้อกลับคืน แต่โจทก์บรรยายฟ้องและนำสืบเพียงว่าจำนวนเงินคงค้างทุกจำนวนตามบัญชีที่บริษัท ว. ค้างชำระอยู่เป็นเงิน 145,418.45 บาท โดยมิได้แสดงรายละเอียดแห่งหนี้ว่าเป็นการค้างชำระหนี้รายการใดบ้าง จำนวนเท่าใด จึงต้องถือจำนวนเงินค่าเช่าซื้อที่โจทก์ควรได้รับตามหนังสือสัญญาเช่าซื้อที่โจทก์กล่าวยืนยันในคำฟ้องคือ 882,605.52 บาท เป็นยอดสุทธิหักด้วยเงินค่าเช่าซื้อ 32 งวด จำนวน 839,456 บาท ที่โจทก์ได้รับแล้ว จึงคงเหลือหนี้ที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์เพียง 43,149.52 บาท
of 13