คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงสาย รัชดาภิเษก ในท้องที่แขวงวัดท่าพระ เขตบางกอกใหญ่ แขวงตลาดพลู แขวงบุคคโล เขตธนบุรี แขวงคลองเตย เขตพระโขนง แขวงสามเสนใน เขตพญาไท แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง แขวงลาดบาว เขตบางเขน แขวงบางซื่อ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2526

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืน และประกาศคณะปฏิวัติ โดยอ้างอิงราคาตลาด ณ วันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา2บัญญัติว่าพระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไปและราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในวันที่19สิงหาคม2530โจทก์จึงไม่สามารถอ้างเอาหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทได้ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกฯพ.ศ.2526ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่295เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงนี้ได้บัญญัติในข้อ76(2)ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นใช้บังคับเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ใช้บังคับวันที่29พฤษภาคม2517ดังนั้นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจึงต้องถือราคาในวันที่29พฤษภาคม2517 โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงฯพ.ศ.2517ประกาศใช้แล้วไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามกฎหมายและประกาศคณะปฏิวัติ โดยพิจารณาจากวันที่พระราชกฤษฎีกาใช้บังคับ
ตามพระราชบัญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 2 บัญญัติว่า พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และราชกิจจานุเบกษาได้ประกาศในวันที่ 19สิงหาคม 2530 โจทก์จึงไม่สามารถอ้างเอาหลักเกณฑ์การกำหนดเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาเป็นประโยชน์ในการคำนวณเงินค่าทดแทนที่ดินพิพาทได้ ที่ดินพิพาทของโจทก์ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ฯพ.ศ.2526 ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องนำประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 เกี่ยวกับเงินค่าทดแทนในการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างหรือขยายทางหลวงมาใช้บังคับ ซึ่งตามประกาศของคณะปฏิวัติดังกล่าวกรณีที่ได้ตราพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงนี้ ได้บัญญัติในข้อ 76 (2) ให้กำหนดเท่าราคาของทรัพย์สินที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่พระราชกฤษฎีกาเช่นว่านั้นใช้บังคับ เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯพ.ศ.2517 ใช้บังคับ วันที่ 29 พฤษภาคม 2517 ดังนั้นราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดจึงต้องถือราคาในวันที่ 29 พฤษภาคม 2517
โจทก์เข้าปรับปรุงที่ดินภายหลังพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวง ฯ พ.ศ.2517 ประกาศใช้แล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดสนับสนุนให้โจทก์จะเรียกร้องค่าปรับปรุงได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1057/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเวนคืน: การกระทำครบถ้วนตามประกาศคปช. และการกำหนดเจ้าหน้าที่เวนคืนตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องจำเลยโดยอ้างเหตุสิทธิในการฟ้องว่าเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2524 ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ใช้บังคับโดยบัญญัติให้จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ว่าราชการของกรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และวันที่ 30 มีนาคม 2525 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้ประกาศกำหนดให้ทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกเป็นทางหลวงที่มีความจำเป็นต้องสร้างโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีอำนาจเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ ที่ดินของโจทก์ทุกแปลงตั้งอยู่ที่แขวงช่องนนทรี เขตยานนาวา (พระโขนง) กรุงเทพมหานครซึ่งอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ตามพระราชกฤษฎีกานี้ตามมาตรา 3 ซึ่งมีพื้นที่เขตยานนาวาตรงตามโฉนดที่ดินของโจทก์ดังกล่าวในฟ้องและเจ้าหน้าที่ของจำเลยทั้งสอง ได้มีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปร่วมประชุมกับคณะกรรมการปรองดองฯเพื่อพิจารณาไกล่เกลี่ยค่าทดแทน แต่ตกลงกันไม่ได้พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ได้ทำการสำรวจที่ดินซึ่งถูกเวนคืน มีที่ดินของโจทก์ถูกเวนคืนด้วย แต่ตกลงค่าทดแทนกันไม่ได้ จำเลยที่ 1 ได้นำเงินค่าทดแทนไปวางณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เพื่อชดใช้ให้แก่โจทก์ และจำเลยที่ 2 ได้เข้าครอบครองที่ดินของโจทก์แล้วจึงเห็นได้ชัดว่าจำเลยทั้งสองได้ทำการหรือได้ปฏิบัติครบถ้วน แห่งเงื่อนไขตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 67แล้วที่ดินของโจทก์ถูกสร้างเป็นทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยาแล้วมิใช่ถูกสร้างเป็นทางด่วนพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือที่ดินของโจทก์จึงมิได้ถูกเวนคืนโดยพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายดาวคะนอง-ท่าเรือแม้จำเลยที่ 1 มิได้เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ก็ตาม แต่คณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกให้แก่จำเลยที่ 1 และต่อมาอนุมัติให้ทางการพิเศษแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างถนนรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยา โดยให้จำเลยที่ 1 เป็นผู้ตั้งงบประมาณ ความรับผิดชอบในการดำเนินการก่อสร้างถนนเทศบาลสายรัชดาภิเษกช่วงถนนนางลิ้นจี่ถึงถนนเลียบแม่น้ำเจ้าพระยายังคงเป็นของจำเลยที่ 1 และตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 64 ได้กำหนดเงื่อนไข ในการออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนต้องระบุ (1) ความประสงค์ของการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์(2) เจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ (3) ท้องที่ที่จะเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 ข้อ 4 ให้จำเลยที่ 2เป็นเจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ก็คือเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295 ข้อ 64(2) นั่นเอง และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทนตามข้อ 67 และข้อ 74 ถึงข้อ 77 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะเกิดข้อพิพาท เมื่อโจทก์เห็นว่าเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองกำหนดยังไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 166/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนตามราคาซื้อขายจริง และดอกเบี้ยนับแต่วันที่ประกาศใช้กฎหมาย
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืน อยู่ในแนวเขตที่พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอกพ.ศ. 2524 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบการดำเนินการก่อสร้างให้แก่กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนด แนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษกตอนแขวงวัดท่าพระ-แขวงสามเสนนอก พ.ศ. 2524 มาตรา 4 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295ข้อ 64(2) และมีหน้าที่จ่ายค่าทดแทน ตามข้อ 67 และข้อ 74ถึง 77 ดังนั้น ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่ 1 และในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ย่อมมีสิทธิมอบอำนาจให้ ก. ดำเนินการสำรวจออกแบบและก่อสร้างทางหลวงเพื่ออนุมัติตามมติคณะรัฐมนตรีได้ เมื่อ โจทก์เห็นว่าที่ 1 กำหนดเงินค่าทดแทนไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรมโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มจากจำเลยที่ 1 ได้ และถือว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ด้วย กรณีฟ้องเรียกเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนไม่มี กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ใช่คดีฟ้อง บังคับตามสัญญาซื้อขาย จึงไม่อยู่ในบังคับที่ไม่ให้สืบพยาน บุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขจำนวนเงินในสัญญาซื้อขาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินเวนคืนในที่ดินจัดสรร: ค่าทดแทนสมเหตุสมผลเมื่อเป็นภาระจำยอม
ที่พิพาทที่ถูกเวนคืนเป็นถนนคอนกรีตในที่ดินจัดสรร ที่โจทก์ ทำขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกันสำหรับบุคคลที่อาศัยในที่ดินจัดสรร ที่ดินพิพาทจึงตกอยู่ในภารจำยอมตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 286 ตราบใดที่โจทก์ยังไม่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการควบคุมการ จัดสรรที่ดินให้เลิกจัดสรรที่พิพาทย่อมตกอยู่ในภารจำยอมตามกฎหมาย โจทก์ไม่ สามารถนำที่พิพาทไปแสวงหาประโยชน์อื่นได้ ที่พิพาทจึงมี ราคาซื้อขายต่ำกว่าราคาตลาดมาก การที่จำเลยกำหนดค่าทดแทนโดย คำนึงถึงตำแหน่งของที่พิพาท จึงเป็นการสมควรและเป็นธรรม แก่โจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3826/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องเวนคืน: กทม.มีอำนาจหน้าที่ดำเนินการเวนคืนตามกฎหมาย และผูกพัน กทม. ในการชดเชยค่าทดแทน
พระราชบัญญัติ ญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก พ.ศ. 2526 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และการดำเนินการเพื่อให้ ได้มาซึ่งการเวนคืนที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวยังเป็นส่วนหนึ่ง ของอำนาจหน้าที่ของกรุงเทพมหานครในการดำเนินกิจการที่เกี่ยวกับการ ทำให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ ตามมาตรา 66(2) แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานครพ.ศ. 2518 จึงเป็นเจตนารมณ์ของกฎหมายที่ให้เป็นอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานคร การกระทำของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในฐานะ เจ้าหน้าที่เวนคืน อสังหาริมทรัพย์ เป็นการปฏิบัติหน้าที่ในกิจการอันอยู่ในอำนาจ หน้าที่ของกรุงเทพมหานครในฐานะผู้แทนและตามอำนาจหน้าที่ของ กรุงเทพมหานครจึงผูกพันกรุงเทพมหานคร โจทก์มีอำนาจฟ้องกรุงเทพมหานคร เป็นจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4809/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ราคาประเมินไม่ใช่ราคาตลาด การกำหนดค่าทดแทนต้องเป็นราคาซื้อขายจริงในท้องตลาด
จำเลยทั้งสองได้กำหนดค่าทดแทนที่ดินของโจทก์โดยใช้ราคาประเมินในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม พ.ศ. 2524 ของกรมที่ดินมาบังคับซึ่งราคาดังกล่าวมิใช่ราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาด ในวันที่พ.ร.ฎ. กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ฯพ.ศ. 2524 ใช้บังคับ เมื่อราคาที่จำเลยทั้งสองกำหนดค่าทดแทนนั้นต่ำกว่าราคาธรรมดาที่ซื้อขายในท้องตลาดในวันที่ พ.ร.ฎ. ดังกล่าวใช้บังคับ จึงไม่ชอบ.