คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1359

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1993/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของรวมในเงินกองทุนหมู่บ้านที่ถูกจำเลยยักยอก และการใช้สิทธิเรียกร้องทรัพย์สิน
การที่องค์การนานาชาติแพนเพื่อร่วมกันพัฒนาประเทศไทยได้มอบเงินให้เปล่าแก่ชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่ผ่านกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ โดยให้คณะกรรมการหมู่บ้านบริหาร โจทก์ที่ 8 เป็นชาวบ้านหมู่บ้านป่าดู่จึงมีส่วนเป็นเจ้าของเงินด้วย เมื่อจำเลยทั้งสี่ได้รับมอบหมายให้เป็นผู้จัดสรรเงินกู้ยืมและติดตามเงินกู้ยืมคืนจากชาวบ้าน แต่จำเลยทั้งสี่ไม่นำเงินที่ชาวบ้านชำระหนี้เงินกู้ยืมเข้าบัญชี โดยนำไปใช้จ่ายส่วนตัว โจทก์ที่ 8 ย่อมได้รับความเสียหายและถือว่าถูกโต้แย้งสิทธิตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้อง
กองทุนหมู่บ้านป่าดู่มิได้เป็นนิติบุคคลจึงไม่จำต้องมีผู้กระทำการแทนนิติบุคคลตามบทบัญญัติของกฎหมาย และไม่ปรากฏว่ามีข้อบังคับใด ๆ ของกองทุนหมู่บ้านป่าดู่ที่กำหนดให้คณะกรรมการกองทุนทั้ง 11 คน ต้องกระทำการร่วมกันในการใช้สิทธิฟ้องร้องเรียกเงินกองทุนคืนจากจำเลยทั้งสี่แต่อย่างใด เมื่อโจทก์ที่ 8 มีส่วนเป็นเจ้าของเงินกองทุนอยู่ด้วย โจทก์ที่ 8 ย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 รวมทั้งการใช้สิทธิทางศาลด้วย โจทก์ที่ 8 แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องเรียกเงินกองทุนที่จำเลยทั้งสี่นำไปใช้จ่ายส่วนตัวและยังไม่ชำระคืนโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3632/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการฟ้องขับไล่ของเจ้าของกรรมสิทธิ์เมื่อผู้เช่าอ้างสิทธิจากผู้ครอบครองเดิมที่ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์
พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ฯ มาตรา 5 ข้อ 14 บัญญัติให้ผู้จัดการปกครองศาลเจ้ามีอำนาจและหน้าที่จัดการทั่วไปในกิจการเพื่อประโยชน์แก่ศาลเจ้าโดยฐานะและกาลอันสมควร และมีอำนาจหน้าที่เข้าเป็นโจทก์หรือจำเลยในอรรถคดีทั้งแพ่งและอาญาอันเกี่ยวด้วยเรื่องศาลเจ้าทุกประการ ผู้ร้องสอดจึงมีอำนาจดำเนินคดีในฐานะเป็นคู่ความตามกฎหมายได้ตามบทบังคับแห่งกฎเสนาบดีดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องสอดว่า โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมยกที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องสอดแล้ว ผู้ร้องสอดเข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทโดยสงบ เปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องสอดเป็นการกล่าวอ้างข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์ คำฟ้องของโจทก์ทั้งสองที่ขอให้บังคับจำเลยและบริวารรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและขนย้ายทรัพย์สินออกไปจากที่ดินพิพาท ย่อมมีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ร้องสอด คำร้องสอดของผู้ร้องสอดดังกล่าวจึงเป็นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองสิทธิหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) แม้คำร้องสอดจะกล่าวว่าขอเข้าเป็นคู่ความร่วมก็ตาม และผู้ร้องสอดมีสิทธิเสมือนหนึ่งว่าตนถูกฟ้องเป็นคดีเรื่องใหม่ดังบัญญัติไว้ในมาตรา 58 วรรคหนึ่ง คำร้องสอดของผู้ร้องถือเป็นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง ซึ่งได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าผู้ร้องสอดปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้น รวมทั้งเหตุแห่งการนั้นแล้ว คำร้องสอดจึงชอบด้วยกฎหมาย
อนึ่ง การที่โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมแสดงเจตนายกที่ดินพิพาทอันเป็นที่ดินเอกชนเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องสอดแล้ว แต่ยังไม่ได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่กัน การอุทิศที่ดินของโจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมจึงยังไม่มีผลให้ที่ดินพิพาทตกเป็นสมบัติสำหรับผู้ร้องสอดโดยสิทธิ์ขาด โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมยังคงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท การที่โจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวมยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องสอดเพื่อใช้เป็นที่ตั้งแห่งใหม่เพื่อเป็นสาธารณประโยชน์ของผู้ร้องสอด แต่ผู้ร้องสอดกลับนำที่ดินพิพาทออกให้บุคคลภายนอกและจำเลยเช่าโดยให้จำเลยปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินพิพาท จึงเป็นการขัดต่อเจตนาของโจทก์ทั้งสองและผู้ถือกรรมสิทธิ์รวม ทั้งจำเลยให้การกล่าวแก้ข้อพิพาทโดยอ้างสิทธิการเช่าจากผู้ร้องสอดซึ่งไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์ จำเลยจึงไม่อาจยกสิทธิที่เกี่ยวกับสัญญาเช่าขึ้นต่อสู้โจทก์ทั้งสองผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์อย่างแท้จริงได้ เมื่อจำเลยเข้าไปปลูกสร้างโรงเรือนในที่ดินของโจทก์ทั้งสอง จึงเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ทั้งสองในฐานะเจ้าของรวมย่อมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก หรือเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 การที่โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิสุจริตแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 484/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำและฟ้องซ้อนในคดีครอบครองปรปักษ์และกรรมสิทธิ์ในที่ดิน
เมื่อ ด. ซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งในฐานะเจ้าของรวมยื่นคำคัคค้านเข้าไปในคดีแพ่งที่จำเลยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ โดยอ้างว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดกนั้นเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาททุกคนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ประกอบมาตรา 1745 ผลแห่งคดีตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวซึ่งศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยย่อมต้องผูกพันถึงโจทก์ทั้งห้าซึ่งเป็นเจ้าของรวม การที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นเจ้าของโจทก์ทั้งห้ากับพวก เท่ากับขอให้ศาลมีคำวินิจฉัยว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ทั้งห้ากับพวกหรือของจำเลย ย่อมเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 และการที่ ด. ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากที่ดินพิพาทโดยอ้างว่าที่ดินเป็นของกองมรดกและศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำหน่ายคดีชั่วคราวเพื่อรอฟังผลคดีอื่นนั้น เป็นการที่ ด. ในฐานะเจ้าของรวมใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ย่อมมีอำนาจทำได้โดยลำพัง โจทก์ทั้งห้าฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งดังกล่าวยังอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้นมูลฟ้องของโจทก์ทั้งห้าคดีนี้อาศัยข้ออ้างที่ว่าที่ดินพิพาทเป็นของกองมรดก คำฟ้องที่โจทก์ทั้งห้ายื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้ จึงเป็นเรื่องเดียวกันกับคดีแพ่งที่ ด. ฟ้องจำเลยเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์จากการแบ่งทรัพย์สินหลังหย่า แม้ไม่จดทะเบียนก็มีสิทธิได้ใช้กรรมสิทธิ์
ข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างจำเลยกับ ว. ที่ยกบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องและบุตรของจำเลยและ ว. อีก 3 คน เป็นผู้รับประโยชน์ จึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1532 และสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภารยนอกตามาตรา 374 การที่ผู้ร้องเข้าถือเอาประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาไม่บริบูรณ์ตามมาตรา 1299 วรรคหนึ่ง แต่บ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์และผู้ร้องได้เข้าครอบครองบ้านพิพาทแล้วถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตามมาตรา 1300 แม้จำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทแต่จำเลยเป็นมารดาของผู้ร้องจึงอยู่อาศัยกับบุตรของตนได้ มิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องสิ้นไป การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดตามมาตรา 1359 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 287ร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 116/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดทรัพย์จากสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างหย่า: สิทธิเจ้าของรวมและการคุ้มครองสิทธิ
ข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าระหว่างจำเลยกับ ว. นอกจากจำเลยกับ ว. จะเป็นคู่สัญญาซึ่งกันและกันแล้วยังมีผู้ร้องและบุตรของจำเลยและ ว. อีก 3 คน เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นผู้รับประโยชน์แห่งสัญญาด้วย ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาตาม ป.พ.พ. มาตรา 1532 และเป็นสัญญาเพื่อประโยชน์แก่บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 การที่ผู้ร้องเข้าถือเอาประโยชน์ตามข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นการได้มาโดยนิติกรรมซึ่งอสังหาริมทรัพย์อย่างหนึ่งแม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทำให้การได้มาดังกล่าวย่อมไม่บริบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคหนึ่ง ก็ตาม แต่บ้านพิพาทตั้งอยู่บนที่สาธารณประโยชน์และผู้ร้องได้เข้าครอบครองบ้านพิพาทแล้วเพียงแต่ผู้ร้องยังมิได้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ถือได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้อยู่ในฐานะอันจะให้จดทะเบียนสิทธิของตนได้อยู่ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1300 แม้จะได้ความว่าจำเลยยังคงอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทขณะที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ก็ตามแต่จำเลยเป็นมารดาของผู้ร้องจึงย่อมอยู่อาศัยกับบุตรของตนได้ ข้อเท็จจริงดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิของผู้ร้องดังกล่าวสิ้นไปแต่อย่างใด เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าบ้านพิพาทตกเป็นสิทธิของผู้ร้องร่วมกับบุตรของจำเลยอีก 3 คน และในคำร้องขัดทรัพย์ผู้ร้องได้ระบุข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ด้วย การยื่นคำร้องขัดทรัพย์ในกรณีนี้จึงถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 ในกรณีเช่นนี้ ผู้ร้องจึงสามารถร้องขอให้เพิกถอนการยึดได้ โจทก์ในฐานะเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดีให้กระทบถึงสิทธิของผู้ร้องดังกล่าวไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 287

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5740/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขอทางจำเป็น: เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่ฟ้องได้ แม้มีทางเข้าออกอื่นแต่ไม่สะดวกใช้รถยนต์ก็ไม่เพียงพอ
ในเรื่องทางจำเป็น กฎหมายบัญญัติไว้เพื่อประโยชน์แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกปิดล้อมโดยเฉพาะ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง ดังนั้น เจ้าของที่ดินเท่านั้นที่จะมีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็นได้ โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นเพียงผู้ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 เท่านั้น แม้จะฟังได้ว่าที่ดินดังกล่าวถูกที่ดินแปลงอื่นปิดล้อม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 3 ก็ไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เปิดทางจำเป็น
โจทก์ที่ 4 ถึงที่ 5 ส.น. และ ม. เป็นเจ้าของรวมในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 โดยมิได้แบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินส่วนใด ความเป็นเจ้าของของแต่ละคนจึงครอบที่ดินทั้งแปลง ดังนั้น เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจึงอาจใช้สิทธิในฐานะเป็นเจ้าของรวมครอบที่ดินทั้งแปลงเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 การที่โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ใช้สิทธิฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางจำเป็นจึงเป็นการใช้สิทธิแทนเจ้าของรวมอื่นซึ่งรวมถึง ส. ด้วย กล่าวคือหากโจทก์ที่ 4 และที่ 5 มีสิทธิฟ้องขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นได้ ทางดังกล่าวย่อมได้ประโยชน์แก่เจ้าของรวมทุกคน แต่ ส. เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดที่ 2528 ซึ่งด้านหนึ่งติดถนนสาธารณะอีกด้านหนึ่งติดกับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ส. จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็นสำหรับที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 เพราะจากที่ดินแปลงดังกล่าวสามารถเข้าออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 ของ ส. เอง การที่ ส. ปลูกสร้างอาคารในที่ดินโฉนดเลขที่ 2528 โดยเว้นทางเข้าออกด้านที่ติดกับที่ดินของจำเลยไว้เพียงประมาณ 1 เมตร เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 4 และที่ 5 ไม่สามารถนำรถยนต์ผ่านเข้าออกได้แต่ยังคงเดินเข้าออกได้นั้นเป็นเพียงทำให้ความสะดวกของโจทก์ที่ 4 และที่ 5 ในการเข้าออกสู่ทางสาธารณะลดลงเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) เลขที่ 439 ไม่มีทางเข้าออกสู่ทางสาธารณะ โจทก์ที่ 4 และที่ 5 จึงไม่มีสิทธิขอให้จำเลยเปิดทางจำเป็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: ทายาทฟ้องจัดการมรดกรายเดียวกัน แม้เปลี่ยนข้ออ้าง ศาลเห็นว่าเป็นการฟ้องแทนทายาทอื่น
การที่ทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดกถือเป็นการฟ้องแทนทายาทคนอื่นๆ ด้วย
โจทก์ที่ 1 เคยฟ้องผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนทรัพย์มรดก ขอให้เพิกถอนการเป็นผู้จัดการมรดกและเพิกถอนการโอนทรัพย์มรดก โดยผู้จัดการมรดกและผู้รับโอนทรัพย์มรดกให้การต่อสู้ว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของผู้รับโอนมิใช่ทรัพย์มรดกและคดีขาดอายุความมรดก ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทรัพย์พิพาทเป็นทรัพย์มรดก และโจทก์ที่ 1 นำคดีมาฟ้องเกิน 1 ปี นับแต่รู้ถึงการตายของเจ้ามรดก คดีจึงขาดอายุความมรดก พิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุดแล้ว การที่โจทก์ทั้งสามนำคดีมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้รับโอนทรัพย์มรดกเป็นคดีนี้ ขอให้จดทะเบียนใส่ชื่อโจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์มรดกดังกล่าว แม้จะเปลี่ยนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาก็เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกรายเดียวกันกับคดีก่อนนั่นเอง เมื่อจำเลยให้การต่อสู้ว่า ทรัพย์พิพาทเป็นของจำเลยและคดีขาดอายุความมรดก ประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนจึงอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน แม้โจทก์ที่ 2 และที่ 3 จะมิได้เป็นคู่ความในคดีก่อน แต่การที่โจทก์ที่ 1 เป็นทายาทคนหนึ่งฟ้องผู้จัดการมรดกและทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกเกี่ยวกับการจัดการมรดกว่าไม่ถูกต้องนั้น ถือว่าเป็นการฟ้องแทนโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทคนอื่นๆ ด้วย ดังนี้ คู่ความในคดีนี้กับคู่ความในคดีก่อน จึงเป็นคู่ความรายเดียวกัน รื้อร้องฟ้องกันอีกโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1197/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองที่ดินโดยใช้ลายมือชื่อปลอม ผู้จำนองมีสิทธิเพิกถอนการจดทะเบียน
โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. มีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ร่วมกันในโฉนดที่ดินพิพาท โจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ฟ้องอ้างว่า จำเลยที่ 1 ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจนำที่ดินไปจดทะเบียนจำนองไว้แก่จำเลยที่ 3 ต่อมาจำเลยที่ 2 ปลอมลายมือชื่อโจทก์ทั้งสองและ ว. ในหนังสือมอบอำนาจไปจดทะเบียนจำนองขึ้นเงินกับจำเลยที่ 3 อีก แม้คดีนี้ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งไม่รับฟ้องเฉพาะโจทก์ที่ 2 เนื่องจากโจทก์ที่ 2 ถึงแก่ความตายก่อนยื่นฟ้อง และในชั้นอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 5 มิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ไว้ก็ตาม แต่เมื่อมีการบรรยายข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้ในคำฟ้อง และโจทก์ที่ 1 นำสืบว่า โจทก์ที่ 2 ไม่เคยมอบอำนาจให้ผู้ใดไปจดทะเบียนจำนอง และไม่เคยรับเงินจากการจำนองที่ดินพิพาท ทั้งศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยเกี่ยวกับลายมือชื่อของโจทก์ที่ 2 ไว้แล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกปัญหาว่าลายมือชื่อโจทก์ที่ 2 ปลอมหรือไม่ มาวินิจฉัยให้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 2 และ ว. ปลอม จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และจดทะเบียนจำนองโดยสุจริต โจทก์ที่ 1 ในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งย่อมใช้สิทธิแทนโจทก์ที่ 2 และ ว. ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 และมีอำนาจขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาททั้งแปลง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2550 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่ที่ดินร่วม การท้ากัน และการเข้าเป็นโจทก์ร่วม การพิพากษาคดีที่ดิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินที่โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกับโจทก์ร่วมทั้งสี่ การดำเนินการของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการกระทำในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกคือจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 และการที่ในวันชี้สองสถานคู่ความตกลงท้ากันว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทจากแนวทิศเหนือเข้ามาทางแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 หากรังวัดได้เป็นจำนวน 5 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา จำเลยทั้งสองยอมแพ้และค่าฤชาธรรมเนียมและค่าทนายความให้เป็นพับ หากรังวัดได้เกินเนื้อที่ดังกล่าว ส่วนที่เกินหรือล้ำจำนวนให้ตกเป็นของจำเลยทั้งสอง หากการรังวัดไม่อาจทำได้เพราะมีการคัดค้านของเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้พิจารณาคดีต่อไปโดยให้ถือว่าคำท้าไม่เป็นผล การท้ากันดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ ใช้สิทธิขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1360 เพราะไม่ว่าผลการรังวัดที่ดินพิพาทจะเป็นเช่นใด ที่ดินแปลงที่โจทก์ทั้งสองครอบครองร่วมกับโจทก์ร่วมทั้งสี่ก็ยังคงมีเนื้อที่ตามเดิม
โจทก์ร่วมทั้งสี่ยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) โดยอ้างว่าเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทร่วมกับโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยพลการ กรณีตามคำร้องไม่ใช่การร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความร่วมเพื่อให้ได้รับความรับรอง คุ้มครองหรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ เพราะสิทธิในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทของโจทก์ร่วมทั้งสี่มีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้น แต่ตามคำร้องตอนหนึ่งระบุว่า โจทก์ร่วมทั้งสี่อาจได้รับความเสียหายจากกระทำของโจทก์ทั้งสอง โจทก์ร่วมทั้งสี่มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับโจทก์ทั้งสองจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมทั้งสี่ร้องสอดเข้ามาด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีนั้นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (2) โจทก์ร่วมทั้งสี่จึงต้องผูกพันตนโดยคำพิพากษาของศาลทุกประการเสมือนหนึ่งว่ามิได้มีการเข้าแทนที่กันเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2662/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมฟ้องขับไล่ การท้ากันรังวัด และสิทธิการเข้าเป็นโจทก์ร่วมของเจ้าของร่วม
โจทก์ทั้งสองกล่าวอ้างในคำฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นผู้มีสิทธิครอบครองร่วมกันกับผู้มีชื่อรวม 6 คน ในที่ดินตามหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยทั้งสองบุกรุกที่ดินแปลงดังกล่าว โจทก์ทั้งสองจึงฟ้องขับไล่จำเลยทั้งสองออกจากที่ดินดังกล่าว การดำเนินการของโจทก์ทั้งสองจึงเป็นการกระทำในฐานะเจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359
ในวันชี้สองสถานคู่ความตกลงท้ากันว่า ให้เจ้าพนักงานที่ดินรังวัดที่ดินพิพาทจากแนวทิศเหนือเข้ามาทางแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 หากรังวัดได้เป็นจำนวน 5 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา จำเลยทั้งสองยอมแพ้ หากรังวัดได้เกิน 5 ไร่ 3 งาน 86 ตารางวา ส่วนที่เกินหรือล้ำจำนวนให้ตกเป็นของจำเลยทั้งสอง หากการรังวัดไม่อาจทำได้เพราะมีการคัดค้านของเจ้าของที่ดินข้างเคียงให้พิจารณาคดีไปโดยให้ถือว่าคำท้าไม่เป็นผล การท้ากันดังกล่าวไม่ถือว่าเป็นเรื่องที่เจ้าของรวมคนหนึ่งๆ ใช้สิทธิขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่นๆ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1360
โจทก์ร่วมทั้งสี่ยื่นคำร้องสอดเข้าเป็นคู่ความ โดยอ้างว่าโจทก์ร่วมทั้งสี่เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกับโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองฟ้องคดีโดยพลการ โจทก์ร่วมทั้งสี่จึงขอใช้สิทธิเข้าเป็นคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 (1) แต่สิทธิในฐานะเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทโจทก์ร่วมทั้งสี่มีอยู่อย่างไรก็คงมีอยู่อย่างนั้นไม่มีเหตุที่จะต้องได้รับความรับรอง คุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามมาตรา 57 (1) แต่โจทก์ร่วมทั้งสี่ระบุในคำร้องตอนหนึ่งว่าโจทก์ร่วมทั้งสี่อาจได้รับความเสียหายจากการกระทำของโจทก์ทั้งสองโจทก์ร่วมทั้งสี่มีส่วนได้เสียในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับโจทก์ทั้งสอง ตามคำร้องจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ร่วมทั้งสี่ร้องสอดเข้ามาด้วยความสมัครใจเอง เพราะตนมีส่วนได้เสียตามกฎหมายในผลแห่งคดีตามมาตรา 57 (2) ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ร่วมทั้งสี่เข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามมาตรา 57 (1) แต่ให้เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมตามมาตรา 57 (2)
of 17