คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1359

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าทดแทนเวนคืน-เจ้าของรวม-การโอนสิทธิ-ดอกเบี้ย-หลักเกณฑ์การประเมินราคา
แม้โจทก์ที่ 1 เจ้าของรวมในที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนจะไม่ได้ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 1 สิ้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนของโจทก์ที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาฯจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1มีผลให้โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับโจทก์ที่ 1 ต้องเสียสิทธิในการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ไปด้วย
ป.พ.พ.มาตรา 1359 เป็นบทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆอาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ไม่ใช่บทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ เสียสิทธิไปเพราะเหตุที่เจ้าของรวมคนหนึ่งไม่ใช้สิทธินั้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่1 ได้ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 ย่อมเป็นผลถึงโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย และเมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 60 วันนับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ที่ 1 ที่ 2ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีถูกต้องตามขั้นตอนและภายในกำหนดเวลาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 และมาตรา 26 วรรคหนึ่งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องขอเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 16วรรคสุดท้าย บัญญัติให้นับแต่วันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15ใช้บังคับ ถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้น แม้การเวนคืนจะดำเนินการไปถึงขั้นตอนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งในกรณีนี้คือที่ดินตามฟ้องแล้ว ก็ยังสามารถโอนสิทธิกันได้ โดยกฎหมายมิได้บัญญัติห้าม เพียงแต่ผู้รับโอนไปมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะแต่เงินค่าทดแทนเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับโอนรู้มาก่อนว่าที่ดินดังกล่าวจะต้องถูกเวนคืนหรืออยู่ในบริเวณที่จะต้องเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.แล้วจะเรียกเงินค่าทดแทนไม่ได้ ทั้งการกำหนดเงินค่าทดแทน กฎหมายก็บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นตามมาตรา 9 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530เป็นผู้พิจารณากำหนดตามหลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ฉบับเดียวกัน หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้อีก ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนจึงเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายให้สิทธิไว้ แม้โจทก์ทั้งแปดจะเรียกเงินค่าทดแทนสูงกว่าราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ก็เป็นเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งศาลจะต้องพิจารณากำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 กำหนดไว้ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทั้งแปดใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนให้โจทก์ทั้งแปดเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินมาเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงสภาพและทำเลที่ตั้งของที่ดินประกอบด้วย จะไม่ครบถ้วนหลักเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนดก็ตามแต่โจทก์ทั้งแปดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าโจทก์ทั้งแปดควรจะได้รับเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ทั้งแปดฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งแปดจะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ แต่โจทก์ทั้งแปดก็ไม่ได้นำสืบว่า ในวันที่พ.ร.ฎ.ฯ มีผลใช้บังคับที่ดินของโจทก์ทั้งแปดตามฟ้องมีราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตารางวาละเท่าใด และเมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ทั้งแปดรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งแปดมีราคาสูงดังที่โจทก์ทั้งแปดฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์ถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้วกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดผู้ถูกเวนคืนและสังคม
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26วรรคท้าย บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ได้รับดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน เมื่อการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยแก่โจทก์อัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีคงที่ตลอดไป เป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีได้แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6985/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยตามอัตราเงินฝาก
แม้โจทก์ที่ 1 เจ้าของรวมในที่ดินแปลงที่ถูกเวนคืนจะไม่ได้ ยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทน ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง จากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทน ซึ่งทำให้โจทก์ที่ 1 สิ้นสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาอุทธรณ์เงินค่าทดแทนของโจทก์ที่ 1 จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้รักษาการตาม พระราชกฤษฎีกาฯจำเลยที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 มีผลให้โจทก์ที่ 3 ก็ตาม แต่ก็ไม่มีบทกฎหมายใดที่บัญญัติให้การเสียสิทธิดังกล่าวของโจทก์ที่ 1 มีผลให้โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8ซึ่งเป็นเจ้ากรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกับโจทก์ที่ 1 ต้องเสียสิทธิในการอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ไปด้วย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เป็นบทบัญญัติให้เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์ทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกได้ ไม่ใช่บทบัญญัติ ให้เจ้าของรวมคนอื่น ๆ เสียสิทธิไปเพราะเหตุที่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ไม่ใช้สิทธินั้น ดังนั้นการที่โจทก์ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมกับโจทก์ที่ 1 ได้ยื่นอุทธรณ์เงิน ค่าทดแทนต่อจำเลยที่ 3 ถือว่าเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ย่อมเป็นผล ถึงโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมด้วย และเมื่อจำเลยที่ 3 มิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวให้เสร็จสิ้นภายในกำหนด 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอุทธรณ์ ทั้งโจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 ได้ฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนดเวลา ดังกล่าวแล้ว จึงเป็นการฟ้องคดีถูกต้องตามขั้นตอนและภายในกำหนด เวลาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 และ มาตรา 26 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ที่ 7 และที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องขอเงิน ค่าทดแทนที่ดินเพิ่ม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 16 วรรคสุดท้าย บัญญัติให้นับแต่วันที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 ใช้บังคับ ถ้าผู้มีสิทธิในทรัพย์สินนั้นโอนสิทธิให้แก่บุคคลภายนอก ผู้รับโอนนั้นมีสิทธิที่จะเรียกร้องได้ก็แต่เฉพาะเงินค่าทดแทนเท่านั้น ดังนั้นแม้การเวนคืนจะดำเนินการไปถึงขั้นตอนตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ ซึ่งในกรณีนี้คือที่ดินตามฟ้องแล้วก็ยังสามารถโอนสิทธิกันได้ โดยกฎหมายมิได้บัญญัติห้ามเพียงแต่ผู้รับโอนไปมีสิทธิเรียกร้องได้เฉพาะแต่เงินค่าทดแทนเท่านั้นและไม่มีกฎหมายบัญญัติว่าหากผู้รับโอนรู้มาก่อนว่าที่ดิน ดังกล่าวจะต้องถูกเวนคืนหรืออยู่ในบริเวณที่จะต้องเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกาแล้วจะเรียกเงินค่าทดแทนไม่ได้ ทั้งการกำหนด เงินค่าทดแทน กฎหมายก็บัญญัติให้มีคณะกรรมการกำหนดราคา เบื้องต้นตามมาตรา 9 แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืน อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นผู้พิจารณากำหนดตาม หลักเกณฑ์ในมาตรา 21 แห่งพระราชบัญญัติฉบับเดียวกัน หากผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนไม่ พอใจก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และหากยังไม่พอใจในคำวินิจฉัย ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้อีก ดังนั้น การที่โจทก์ทั้งแปดฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนที่ดินที่ จะต้องเวนคืนจึงเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมาย ให้สิทธิไว้ แม้โจทก์ทั้งแปดจะเรียกเงินค่าทดแทนสูงกว่า ราคาที่ดินที่โจทก์ซื้อมา ก็เป็นเรื่องการใช้สิทธิทางศาล ซึ่งศาลจะต้องพิจารณากำหนดให้ตามหลักเกณฑ์ที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21กำหนดไว้ กรณีไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ทั้งแปดใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทน ให้โจทก์ทั้งแปดเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืนโดยใช้ราคาประเมิน ทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมของกรมที่ดินมาเป็นเกณฑ์ โดยคำนึงถึงสภาพและทำเล ที่ตั้งของที่ดินประกอบด้วย จะไม่ครบถ้วนหลักเกณฑ์ตามที่ กฎหมายกำหนดก็ตามแต่โจทก์ทั้งแปดเป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า โจทก์ทั้งแปดควรจะได้รับเงินค่าทดแทนตามจำนวนที่โจทก์ ทั้งแปดฟ้อง จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ทั้งแปดจะต้องหาพยานมาสนับสนุน ข้ออ้างของโจทก์ทั้งแปดดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้แต่โจทก์ทั้งแปดก็ไม่ได้นำสืบว่า ในวันที่พระราชกฤษฎีกาฯมีผลใช้บังคับที่ดินของโจทก์ทั้งแปดตามฟ้องมีราคาซื้อขายกัน ตามปกติในท้องตลาดตารางวาละเท่าใดและเมื่อพยานหลักฐาน ของโจทก์ทั้งแปดรับฟังไม่ได้ว่าที่ดินตามฟ้องของโจทก์ทั้งแปด มีราคาสูงดังที่โจทก์ทั้งแปดฎีกา ศาลฎีกาย่อมพิเคราะห์ถึง หลักเกณฑ์ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วกำหนดเงิน ค่าทดแทนที่ดินที่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งแปดผู้ถูกเวนคืนและสังคม พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 66 วรรคท้าย บัญญัติในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนที่เพิ่มขึ้น ทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เห็นได้ว่ากฎหมายกำหนดให้ได้รับดอกเบี้ยปรับขึ้นลงตามสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินเมื่อการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้คู่ความไม่ได้อุทธรณ์ในปัญหานี้ ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขเป็นดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสิน แต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 10.5 ต่อปีได้แม้โจทก์จำเลยไม่ได้อุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคา, การกระทำที่ไม่สุจริต, และสิทธิเจ้าของร่วม
แม้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง... และเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ.2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาเมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับ พ.ร.ฎ.ฉบับก่อน ซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง... พ.ศ.2530 เพื่อประโยชน์ในการสร้างทางพิเศษสายพระโขนง - หัวลำโพง - บางซื่อ และสายสาธร - ลาดพร้าวยังไม่แล้วเสร็จ การออก พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 เป็นการออกเพื่อดำเนินการในกิจการเดียวกันกับพ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง...พ.ศ.2530และต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสาธร -ลาดพร้าว (บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จำเลยที่ 2กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 10แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกินกว่าระยะวลาที่กฎหมายกำหนด ดังนี้ เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนในตอนท้ายของข้อความในบรรทัดที่ 17 ของสำเนาเอกสารดังกล่าวที่จำเลยทั้งสองอ้างส่งศาลมีข้อความประทับไว้ว่า รับเรื่องแล้ว โดยมีลายมือชื่อผู้รับและผู้ส่งกับวันที่รับหนังสือคือวันที่ 8 เมษายน 2536 นอกจากนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8 เมษายน 2536ที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน2536 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ กันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 ตามเอกสารหมายจ.7 อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ทั้งสองได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 เมื่อการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ถูกเวนคืน จำเลยที่ 1 กระทำโดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับดังกล่าว จึงชอบด้วย พร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 10 การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน... พ.ศ.2535 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษใน พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึง มาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
เจ้าของที่ดินได้ทำการพัฒนาที่ดินภายหลังที่ทราบว่ามีพ.ร.ฎ.เวนคืนเพื่อให้ที่ดินมีความเจริญขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนที่พัฒนาให้เจริญขึ้น นั้น
โจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งมีที่ดินอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงพ.ศ.2530 และตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร... ได้ร่วมกันทำการแบ่งแยกที่ดินและทำทางเข้าออกที่ดินในบริเวณดังกล่าวในขณะที่รู้อยู่แล้วว่าที่ดินเหล่านั้นจะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และโดยมีเจตนาในการแบ่งแยกที่ดินและใช้ส่วนหนึ่งของที่ดินที่แบ่งแยกนั้นสร้างทางลูกรังขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าที่ดินส่วนมากในบริเวณนั้นอยู่ติดทางเพื่อให้ได้เงินค่าทดแทนที่ดินมากขึ้นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากกำหนดเงินค่าทดแทนของโจทก์โดยถือว่า ที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์มีสภาพและที่ตั้งในขณะที่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร... พ.ศ.2535 มีผลใช้บังคับอยู่ติดกับทางลูกรังที่ฝ่ายโจทก์กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนในคดีนี้มีด้านหนึ่งอยู่ติดทางหรืออยู่ติดถนนสาธารณะ
สภาพที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลงของโจทก์ในขณะที่ถูกเวนคืนยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีถนนหรือทางสาธารณะเข้าถึงที่ดินทั้งสองแปลงการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนโดยถือตามราคาบัญชีประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งได้ประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง โดยทางราชการได้สำรวจถึงสภาพทำเลและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ ตลอดจนนำราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินและข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ประกอบในการพิจารณาประเมินราคาที่ดิน โดยคำนึงถึงราคาในขณะประกาศใช้และราคาในอนาคตตามสภาพความเจริญของที่ดินเป็นเกณฑ์ ตามบัญชีประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าว กรมที่ดินได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2538 กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ใช้ราคาประเมินของที่ดินที่อยู่ติดซอยตารางวาละ 30,000 บาทและที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ซึ่งเป็นที่ดินทางภาระจำยอมตารางวาละ 15,000 บาทซึ่งเชื่อได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่ พ.ร.ฎ.มีผลบังคับใช้ ตารางวาละไม่เกิน 30,000 บาท ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ตารางวาละ30,000 บาท จึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) อันเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
ส่วนการที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 เป็นที่ดินที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่น 13 แปลง โดยการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องรับผลเสียอันเกิดจากการจดทะเบียนภาระจำยอมของที่ดินแปลงนี้เอง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ตารางวาละ 15,000 บาท เพราะสภาพที่ดินตกอยู่ในภาระจำยอมของที่ดินแปลงอื่นนั้น เป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งสองแปลงที่ถูกเวนคืน และโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นโดยบรรยายฟ้องถึงสิทธิในที่ดินและความเสียหายของโจทก์ทั้งสองรวมกันมา มิได้ระบุแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน และเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินที่จะต้องเวนคืนในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวม การคิดค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคำนวณรวมกันจากจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โจทก์ทั้งสองจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลรวมกันไม่เกิน 200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. ข้อ (1)(ก) การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นคนละ200,000 บาท จึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย ศาลให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์ทั้งสอง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4714/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การประเมินราคาที่ดินตามสภาพจริง, การกระทำโดยไม่สุจริตเพื่อหวังผลประโยชน์ และค่าขึ้นศาล
แม้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงและเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2530 ได้สิ้นอายุการใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2535 แต่ต่อมาเมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ประกาศใช้ อันมีผลบังคับใช้ในวันที่ 29 สิงหาคม 2535 โดยกำหนดให้ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนเช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกาฉบับก่อนซึ่งเหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ เนื่องจากการทางพิเศษแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 1 ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตพระโขนง พ.ศ. 2530 เพื่อประโยชน์ในการสร้างทางพิเศษสายพระโขนง-หัวลำโพง-บางซื่อและสาธร-ลาดพร้าว ยังไม่แล้วเสร็จ การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 เป็นการออกเพื่อดำเนินการในกิจการเดียวกันกับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนง พ.ศ. 2530และต่อมาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530เพื่อสร้างทางพิเศษ โครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน สายสาธร-ลาดพร้าว(บริเวณโรงซ่อมบำรุง) กรณีที่ไม่อาจตกลงกันได้ในเรื่องจำนวนเงินค่าทดแทน อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ซึ่งขณะนั้นจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ดังนั้น การทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จำเลยที่ 2 กระทำโดยมีฐานะเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ จึงเป็นเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจตกลงซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนกับโจทก์ทั้งสองได้ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ จึงไม่ฝ่าฝืนต่อกฎหมาย ย่อมไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยทั้งสองไม่ได้ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเกินกว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดดังนี้เมื่อปรากฏตามสำเนาหนังสือแจ้งให้มารับเงินค่าทดแทนทรัพย์สินที่ถูกเวนคืนที่จำเลยทั้งสองอ้างส่งศาลมีข้อความประทับไว้ว่า รับเรื่องแล้ว โดยมีลายมือชื่อผู้รับและผู้ส่งกับวันที่รับหนังสือ คือวันที่ 8 เมษายน 2536 นอกจากนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้รับอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งสองไว้พิจารณา ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า โจทก์ทั้งสองได้รับหนังสือแจ้งจากเจ้าหน้าที่ให้มารับเงินค่าทดแทนเมื่อวันที่ 8เมษายน 2536 ที่โจทก์ทั้งสองยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2536 จึงอยู่ภายในกำหนดเวลา 60 วัน ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง และโจทก์ทั้งสองได้ยื่นฟ้องคดีนี้ภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ แล้วโจทก์ทั้งสองจึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯกันเมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2536 ตามเอกสารหมาย จ.7 อันอยู่ในระหว่างเวลาบังคับใช้พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ซึ่งจำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ทำให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจตกลงซื้อขายและกำหนดจำนวนเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืนจากโจทก์ทั้งสองได้ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 10 เมื่อการทำสัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ฯ ที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1 กระทำโดยอาศัยอำนาจของจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับดังกล่าว จึงชอบด้วยพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 10 การดำเนินการของฝ่ายจำเลยในการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสอง จึงต้องอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2535 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนดเงินค่าทดแทนอสังหาริมทรัพย์ของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนไว้เป็นพิเศษในพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ ดังนั้น การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสองที่จะต้องเวนคืนจึงต้องคำนึงถึง มาตรา 21(1) ถึง (5) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ
เจ้าของที่ดินได้ทำการพัฒนาที่ดินภายหลังที่ทราบว่ามีพระราชกฤษฎีกาเวนคืนเพื่อให้ที่ดินมีความเจริญขึ้น โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่เวนคืนย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทดแทนในส่วนที่พัฒนาให้เจริญขึ้นนั้น
โจทก์กับเจ้าของที่ดินข้างเคียงซึ่งมีที่ดินอยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตพระโขนงพ.ศ. 2530 และตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 ได้ร่วมกันทำการแบ่งแยกที่ดินและทำทางเข้าออกที่ดินในบริเวณดังกล่าวในขณะที่รู้อยู่แล้วว่าที่ดินเหล่านั้นจะต้องถูกเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษโครงการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน และโดยมีเจตนาในการแบ่งแยกที่ดินและใช้ส่วนหนึ่งของที่ดินที่แบ่งแยกนั้นสร้างทางลูกรังขึ้น เพื่อใช้เป็นข้ออ้างว่าที่ดินส่วนมากในบริเวณนั้นอยู่ติดทางเพื่อให้ได้เงินค่าทดแทนที่ดินมากขึ้นอันเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต หากกำหนดเงินค่าทดแทนของโจทก์โดยถือว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์มีสภาพและที่ตั้งในขณะที่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตจตุจักร พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับอยู่ติดกับทางลูกรังที่ฝ่ายโจทก์กระทำขึ้นโดยไม่สุจริตดังกล่าวเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ ย่อมก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่สังคม กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าที่ดินทั้งสองแปลงของโจทก์ที่จะต้องเวนคืนในคดีนี้มีด้านหนึ่งอยู่ติดทางหรืออยู่ติดถนนสาธารณะ
สภาพที่ดินที่ถูกเวนคืนทั้งสองแปลงของโจทก์ในขณะที่ถูกเวนคืนยังไม่ได้รับการพัฒนา และไม่มีถนนหรือทางสาธารณะเข้าถึงที่ดินทั้งสองแปลง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้พิจารณากำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่จะต้องถูกเวนคืนโดยถือตามราคาบัญชีประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดิน ซึ่งได้ประเมินราคาที่ดินเป็นรายแปลง โดยทางราชการได้สำรวจถึงสภาพทำเลและที่ตั้งของที่ดินของโจทก์ ตลอดจนนำราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินและข้อมูลจากธนาคารพาณิชย์ประกอบในการพิจารณาประเมินราคาที่ดิน โดยคำนึงถึงราคาในขณะประกาศใช้และราคาในอนาคตตามสภาพความเจริญของที่ดินเป็นเกณฑ์ ตามบัญชีประเมินทุนทรัพย์ดังกล่าว กรมที่ดินได้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ถึงวันที่ 30 ธันวาคม 2538 กำหนดราคาประเมินทุนทรัพย์ที่ดินของโจทก์สำหรับที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ใช้ราคาประเมินของที่ดินที่อยู่ติดซอยตารางวาละ 30,000 บาท และที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ซึ่งเป็นที่ดินทางภารจำยอมตารางวาละ 15,000 บาทซึ่งเชื่อได้ว่าที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 มีราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดตามที่เป็นอยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ตารางวาละไม่เกิน 30,000 บาท ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138118 ตารางวาละ 30,000 บาท จึงชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 21(1) ถึง (5) อันเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนแล้ว
ส่วนการที่ที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 เป็นที่ดินที่ได้จดทะเบียนภารจำยอมให้แก่ที่ดินแปลงอื่น 13 แปลง โดยการกระทำที่ไม่สุจริตเพื่อใช้เป็นข้ออ้างให้ได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นกว่าที่ควรจะได้รับอย่างกรณีปกติ โจทก์ผู้ถูกเวนคืนจึงต้องรับผลเสียอันเกิดจากการจดทะเบียนภารจำยอมของที่ดินแปลงนี้เอง การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินโฉนดเลขที่ 138113 ตารางวาละ 15,000 บาท เพราะสภาพที่ดินตกอยู่ในภารจำยอมของที่ดินแปลงอื่นนั้น เป็นธรรมแก่โจทก์แล้ว
โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่จะต้องเวนคืนทั้งสองแปลงที่ถูกเวนคืน และโจทก์ทั้งสองฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นโดยบรรยายฟ้องถึงสิทธิในที่ดินและความเสียหายของโจทก์ทั้งสองรวมกันมา มิได้ระบุแยกเป็นส่วนของโจทก์แต่ละคน และเป็นการฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนในที่ดินที่จะต้องเวนคืนในฐานะที่โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของรวม การคิดค่าขึ้นศาลในแต่ละชั้นศาลจึงต้องคำนวณรวมกันจากจำนวนทุนทรัพย์ที่เรียกร้อง โจทก์ทั้งสองจึงต้องชำระค่าขึ้นศาลรวมกันไม่เกิน200,000 บาท ตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ(1)(ก)การที่ศาลชั้นต้นเรียกให้โจทก์ทั้งสองเสียค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นคนละ 200,000 บาทจึงเป็นการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเกินกว่าที่จะต้องเสีย ศาลฎีกาให้คืนค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นในส่วนที่เรียกเก็บเกินมาให้แก่โจทก์ทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1886/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมในบ้านบนที่ดินผู้อื่น ไม่เป็นส่วนควบ และเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมมีสิทธิขัดขวางการยึด
บ้านพิพาทเป็นบ้านที่ผู้ร้องกับนาง ห. ร่วมกันปลูกเป็นเรือนหอบนที่ดินของจำเลยที่ 1 โดยได้รับอนุญาตจาก จำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นส่วนควบของที่ดิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 146(มาตรา 109 เดิม)จำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธินำบ้านพิพาทไปจดจำนองไว้กับโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธินำยึดเพื่อขายทอดตลาดชำระหนี้โจทก์ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์รวมในบ้านพิพาท จึงสามารถใช้สิทธิอันเกิดจากกรรมสิทธิ์ครอบไปถึงบ้านพิพาททั้งหมดเพื่อต่อสู้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ปล่อยบ้านพิพาทที่โจทก์นำยึดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359แม้เจ้าของรวมคนอื่นจะมิได้ร่วมดำเนินการดังกล่าวก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาชดเชยตามกฎหมายและผลกระทบจากประกาศคสช. รวมถึงการคำนวณค่าขึ้นศาลสำหรับเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ (3) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้ การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2)และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินราคาค่าทดแทนตามกฎหมาย และการคิดค่าขึ้นศาลสำหรับเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ (3) ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 9 วรรคสี่ บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้ การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2)และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้นพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6893/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินตาม พ.ร.บ.เวนคืน และสิทธิร่วมกันของเจ้าของที่ดิน
การดำเนินการเวนคืนในคดีนี้ แม้ขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาโดยอาศัยหลักเกณฑ์โดยถือตามมาตรา 21(2) หรือ(3) ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 9 วรรคสี่บัญญัติไว้ก็ตาม แต่จำเลยทั้งสองยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ ต่อมาความในวรรคสี่ของมาตราดังกล่าวถูกยกเลิกและใช้ความใหม่แทนโดยข้อ 1 แห่งประกาศคณะรักษาความ-สงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลบังคับใช้แก่การเวนคืนซึ่งการกำหนดราคาเบื้องต้น การจัดซื้อการจ่ายหรือการวางเงินค่าทดแทน การอุทธรณ์หรือการฟ้องคดียังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับนี้ใช้บังคับด้วย ดังนี้การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้ถือเอาหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 เฉพาะข้อ (2) และ (3) มากำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้โจทก์จึงไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่บังคับใช้ในภายหลัง
เงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่ต้องเวนคืนนั้น พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 18 บัญญัติให้กำหนดให้แก่เจ้าของหรือผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายซึ่งที่ดินที่ต้องเวนคืน เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของในที่ดินพิพาทที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดโจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน
(วรรคสองวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 8/2540)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2604/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องของเจ้าของรวม: เจ้าของรวมคนหนึ่งมีอำนาจฟ้องขับไล่ได้โดยไม่ต้องได้รับมอบอำนาจจากเจ้าของรวมคนอื่น
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ให้อำนาจเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด การใช้สิทธิดังกล่าวรวมถึงการใช้สิทธิทางศาลด้วย เมื่อโจทก์เป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาท โจทก์แต่ผู้เดียวย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่ดินพิพาทโดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจากเจ้าของรวมคนอื่นแต่อย่างใด ดังนั้น หนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ฟ้องคดีจะปิดอากรแสตมป์หรือไม่ และนาง ล. กับนาง ส. ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนอื่นจะมอบอำนาจให้ฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากสามีหรือไม่ จึงมิใช่ข้อสาระสำคัญจักต้องวินิจฉัย โจทก์มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1494/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าขึ้นศาลและการคำนวณระยะเวลาชำระ: การยกเลิกคำสั่งเดิมและการนับระยะเวลาใหม่
การที่ผู้ร้องร้องขอปล่อยทรัพย์ทั้งหมดที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้เท่ากับประโยชน์ที่ผู้ร้องร้องขอหรือได้รับคือราคาทรัพย์ทั้งหมดที่ยึดไว้ หาใช่เฉพาะส่วนที่ผู้ร้องเป็นเจ้าของรวมไม่ ดังนั้น ผู้ร้องจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์ทั้งหมดตามที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้
เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลให้ครบถ้วนภายใน 15 วัน ต่อมาก่อนถึงกำหนด 15 วัน ตามคำสั่งดังกล่าว คือเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2538 ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว ต่อมาวันที่ 1 มีนาคม 2538 ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ไม่มีเหตุเพิกถอนคำสั่งเดิม ให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลตามทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานบังคับคดีตีราคาไว้ภายใน 15 วันนับแต่วันนี้ โดยไม่มีการแจ้งคำสั่งนี้ให้ผู้ร้องทราบ ซึ่งเป็นการมีคำสั่งก่อนพ้นกำหนดเวลาตามคำสั่งเดิม จึงถือได้ว่าเป็นการยกเลิกเพิกถอนคำสั่งเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2538 แล้ว และให้ปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ซึ่งตามคำสั่งนี้ถือได้ว่ายังไม่มีวันเริ่มต้นชำระค่าขึ้นศาล ดังนั้น ต่อมาวันที่ 3 เมษายน 2538ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ผู้ร้องไม่ชำระค่าขึ้นศาลภายใน 15 วัน ถือว่าทิ้งคำร้องและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และคำสั่งศาลชั้นต้นให้ผู้ร้องชำระค่าขึ้นศาลเพิ่มให้ครบถ้วนภายใน 7 วันนับแต่วันฟังคำพิพากษานี้ แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป
of 17