คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1359

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7102/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การประเมินค่าทดแทนที่ถูกต้องตาม พ.ร.บ.เวนคืน และการกำหนดราคาตามปีที่ใช้บังคับ พ.ร.ฎ.แนวทางหลวง
ตาม พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก ฯ พ.ศ.2532 ที่กำหนดให้อธิบดีกรมทางหลวงเท่านั้นที่เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนก็เพื่อให้อธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการเพื่อให้ได้มาซึ่งที่ดินตามกฎหมายดังกล่าวเพื่อใช้ในการสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 295 ข้อ 6 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนี้ประกาศใช้เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีของจำเลยที่ 1 เป็นผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติราชการของจำเลยที่ 1 ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 เรื่อง ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ข้อ 32 ดังนั้นจึงแสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวงเป็นผู้แทนกรมทางหลวงจำเลยที่ 1 ในการดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง โจทก์ทั้งสิบสองจึงมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง แม้ในช่องคู่ความตามคำฟ้องของโจทก์มิได้ระบุโดยชัดแจ้งว่าฟ้องจำเลยที่ 2 ในฐานะอธิบดีกรมทางหลวง แต่โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 เป็นอธิบดีกรมทางหลวงซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์และขอให้รับผิดชอบชำระเงินค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ส่วนการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยที่ 2 ที่กรมการขนส่งทางบกก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ย้ายไปรับราชการที่กรมการขนส่งทางบกแล้ว จึงหาใช่ฟ้องจำเลยที่ 2ให้รับผิดเป็นส่วนตัวไม่
สำหรับโจทก์ที่ 8 ที่ไม่ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวง-คมนาคมนั้น ปรากฏว่าโจทก์ที่ 7 และที่ 8 เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกันในที่ดินที่ถูกเวนคืน โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ยื่นอุทธรณ์ ย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก อันเป็นผลถึงโจทก์ที่ 8 ซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 โจทก์ที่ 8 จึงมีอำนาจฟ้องเช่นเดียวกัน
คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองได้บรรยายความเป็นมาแห่งคดีเกี่ยวกับการที่จำเลยทั้งสองเวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองว่า จำเลยทั้งสองได้นำเงินค่าทดแทนที่ดินไปวางที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี เมื่อวันที่ 13มีนาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และนำไปวางที่สำนักงานบังคับคดีและวางทรัพย์ภูมิภาคที่ 5 เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2535 เพื่อชำระหนี้ให้แก่โจทก์ที่ 12 โจทก์ทั้งสิบสองไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนที่ดินจึงอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มให้โจทก์ทั้งสิบสองเป็นตารางวาละ 12,000 บาท แต่โจทก์ทั้งสิบสองเห็นว่ายังไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงขอบังคับให้จำเลยทั้งสองชำระเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มแก่โจทก์ทั้งสิบสอง คำฟ้องของโจทก์ทั้งสิบสองจึงแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามป.พ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว ซึ่งจำเลยทั้งสองก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องแสดงว่าจำเลยทั้งสองเข้าใจข้อกล่าวหาตามคำฟ้องเป็นอย่างดี ส่วนข้อที่ว่าโจทก์ทั้งสิบสองได้รับแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนเมื่อใดและยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการ-กระทรวงคมนาคมเมื่อใดก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ทั้งสิบสองจึงไม่เคลือบคลุม
ที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 ซึ่งขณะนั้นพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ใช้บังคับอยู่ แต่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองที่ถูกเวนคืนและมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535 อันเป็นเวลาภายหลังที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2534มีผลใช้บังคับแล้ว การที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งแจ้งราคาค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองให้โจทก์ทั้งสิบสองทราบภายหลังประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับและโจทก์ทั้งสิบสองฟ้องคดีนี้ต่อมาการกำหนดราคาค่าทดแทนจึงยังไม่เสร็จเด็ดขาดในวันที่ประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติดังกล่าวมีผลใช้บังคับ การกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองจึงต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530และที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44ดังนั้น การกำหนดราคาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองของคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นจึงต้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 (1) ถึง (5) มิใช่กำหนดค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมแต่เพียงอย่างเดียวดังที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นปฏิบัติ แต่เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองถูกเวนคืนโดย พ.ร.บ.เวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพมหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบัง พ.ศ.2532 โดยมีการออก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2524 กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างไว้ก่อน และเมื่อพ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในท้องที่แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ...กรุงเทพ-มหานคร เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 343 สายคลองตัน - ลาดกระบังพ.ศ.2532 ไม่มีบทบัญญัติเป็นพิเศษในเรื่องเงินค่าทดแทนไว้ จึงต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยใช้ราคาในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน - หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 คือวันที่ 20 มีนาคม 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทน แต่ข้อเท็จจริงได้ความว่า คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นเพิ่งจะตกลงกำหนดเงินค่าทดแทนและแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ทราบเมื่อวันที่ 23ธันวาคม 2534 และแจ้งให้โจทก์ที่ 12 ทราบเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2535หลังจาก พ.ร.ฎ.กำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดิน สายคลองตัน -หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2524 ใช้บังคับนานถึง 10 ปีเศษ การที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยใช้ราคาที่ดินในปี 2524 เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนจึงย่อมไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง เพราะไม่ถูกต้องตามหลักการแห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 21 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายที่ว่า "ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนและสังคม" และขัดต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม ที่ใช้บังคับในขณะที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง ซึ่งมีหลักการสำคัญว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันสมควร ดังนั้นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 วรรคหนึ่ง (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 จึงต้องพิจารณาจากราคาที่ดินที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนประกอบราคาของอสังหาริมทรัพย์ที่มีการตีราคาไว้เพื่อประโยชน์แก่การเสียภาษีบำรุงท้องที่กับราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ตลอดจนสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์นั้นในปี 2532 ซึ่งเป็นปีที่ พ.ร.บ.ที่เวนคืนที่ดินของโจทก์ทั้งสิบสองใช้บังคับ จึงจะเป็นธรรมแก่โจทก์ทั้งสิบสอง ที่ศาลอุทธรณ์ให้นำราคาที่ดินในปี 2532 มาพิจารณากำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสิบสอง จึงถูกต้องเหมาะสมและเป็นธรรมแล้ว
ในวันที่ 13 มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 และวันที่ 6 กรกฎาคม 2535จำเลยที่ 1 นำเงินค่าทดแทนไปวางเพื่อชำระเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ที่ 12 จำเลยทั้งสองจึงต้องชำระดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ทั้งสิบสองนับแต่วันวางเงินค่าทดแทนดังกล่าว ส่วนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็เป็นไปตามประกาศของธนาคารออมสินที่ประกาศอัตราดอกเบี้ยขึ้นลง ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม
เอกสารหมาย ล.59 และ ล.60 มิใช่หนังสืออุทธรณ์ของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ที่ยื่นต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่เป็นหนังสือขอความเป็นธรรม และในขณะยื่นเอกสารดังกล่าว สิทธิในการยื่นอุทธรณ์เงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ยังไม่เกิดขึ้น แต่ได้เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยทั้งสองแจ้งให้โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองนำไปวางไว้ ณ สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดีเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2535 ตามหนังสือแจ้งการวางทรัพย์ลงวันที่ 17 มีนาคม 2535การที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และที่ 9 ถึงที่ 11 ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2535 วันที่ 7 และ 12 พฤษภาคม 2535 โดยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ 7 ถือว่ายื่นในนามของโจทก์ที่ 8 ที่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วย จึงไม่ได้เป็นการยื่นอุทธรณ์ซ้ำซ้อน และเป็นการยื่นอุทธรณ์โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งได้ยื่นภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือจากจำเลยทั้งสองแจ้งให้ไปรับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยทั้งสองได้นำไปวางไว้ที่สำนักงานวางทรัพย์กลาง กรมบังคับคดี และโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 ได้ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2536 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่วันที่พ้นกำหนด60 วัน ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้น คดีโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 11 จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1224/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทางจำเป็น, อากรแสตมป์มอบอำนาจ, และสิทธิใช้ทางโดยไม่ต้องจดทะเบียน
โจทก์ที่4ถึงที่8มอบอำนาจให้โจทก์ที่9ฟ้องคดีโดยหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์เพียง30บาทแม้ผู้มอบอำนาจหลายคนแต่โจทก์ที่4ถึงที่8เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินจึงเป็นผู้มีอำนาจร่วมกันและ มอบอำนาจให้โจทก์ที่9ซึ่งเป็นบุคคลคนเดียวกระทำการมากกว่าครั้งเดียวต้องเสียอากรแสตมป์ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ7(ข)แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งกำหนดไว้30บาทดังนั้นหนังสือมอบอำนาจที่ติดอากรแสตมป์30บาทจึงชอบด้วยกฎหมาย เมื่อทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้วโจทก์มีสิทธิใช้ทางดังกล่าวได้โดยอำนาจแห่งกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1349จึงไม่จำต้องจดทะเบียนสิทธิอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีขับไล่ผู้เช่า: ค่าเช่าไม่เกิน 2,000 บาท ห้ามอุทธรณ์ข้อเท็จจริง และเจ้าของรวมมีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาว่าคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องถือตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสอง กล่าวคือหากมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โดยถือเอาค่าเช่าจริง ๆ ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ส่วนที่จะฟังว่าอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทนั้น เป็นเรื่องการฟ้องผู้อาศัยหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้กำหนดค่าเช่ากันไว้ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าให้ออกจากตึกแถวพิพาท และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าไว้ในอัตราเดือนละ 100 บาท ซึ่งไม่เกินเดือนละสองพันบาท จึงต้องห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าหากนำตึกแถวและที่ดินไปปรับปรุงแล้วนำออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจะได้ค่าเช่าประมาณอัตราเดือนละ 4,000 บาท นั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทเท่านั้น จะนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคสองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังได้ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทที่ให้จำเลยเช่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้ แม้จำเลยจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมคือโจทก์ที่ 1 โดยตรง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 545 ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสองการที่จำเลยยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทต่อไปอีกย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทไม่อาจใช้ประโยชน์จากตึกแถวพิพาทได้และโจทก์ที่ 2ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่สามารถส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสองแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6452/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีขับไล่, สิทธิเจ้าของร่วม, ความรับผิดของผู้เช่าช่วง
การพิจารณาว่าคดีฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์จะอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้หรือไม่ ต้องถือตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสองกล่าวคือ หากมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องไม่เกินเดือนละสองพันบาท ก็ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง โดยถือเอาค่าเช่าจริง ๆ ที่ตกลงกันไว้ในสัญญา ส่วนที่จะฟังว่าอาจให้เช่าได้ไม่เกินเดือนละสองพันบาทนั้น เป็นเรื่องการฟ้องผู้อาศัยหรือบุคคลอื่นซึ่งมิได้กำหนดค่าเช่ากันไว้ คดีนี้โจทก์ทั้งสองฟ้องขับไล่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าให้ออกจากตึกแถวพิพาท และตามสัญญาเช่ากำหนดค่าเช่าไว้ในอัตราเดือนละ 100 บาทซึ่งไม่เกินเดือนละสองพันบาท จึงต้องห้ามคู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามบทบัญญัติดังกล่าว ส่วนที่โจทก์ฟ้องว่าหากนำตึกแถวและที่ดินไปปรับปรุงแล้วนำออกให้เช่าจะได้ค่าเช่าไม่ต่ำกว่าวันละ 1,000 บาท และศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจะได้ค่าเช่าประมาณอัตราเดือนละ 4,000 บาท นั้น เป็นการกำหนดค่าเสียหายในอนาคตอันเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทเท่านั้น จะนำมาเป็นเกณฑ์พิจารณาคดีต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 224 วรรคสอง ไม่ได้
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359 เมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังได้ ดังนั้น เมื่อโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในตึกแถวพิพาทที่ให้จำเลยเช่าไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป โจทก์ที่ 1 ก็มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยได้
แม้จำเลยจะไม่ได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 1ก็ตาม แต่จำเลยซึ่งเป็นผู้เช่าช่วงตึกแถวพิพาทจากโจทก์ที่ 2 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้ให้เช่าเดิมคือโจทก์ที่ 1 โดยตรง ตาม ป.พ.พ.มาตรา 545 ดังนั้น เมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดและโจทก์ทั้งสองบอกกล่าวให้จำเลยออกไปจากตึกแถวพิพาทแล้วจำเลยก็มีหน้าที่ต้องส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งสอง การที่จำเลยยังคงครอบครองตึกแถวพิพาทต่อไปอีกย่อมเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทั้งสอง ทำให้โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าของตึกแถวพิพาทไม่อาจใช้ประโยชน์จากตึกแถวพิพาทได้และโจทก์ที่ 2 ซึ่งเป็นคู่สัญญากับจำเลยไม่สามารถส่งคืนตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ที่ 1 ได้ ฟ้องโจทก์ได้แสดงให้เห็นอยู่ในตัวแล้วว่าโจทก์ทั้งสองได้รับความเสียหายอย่างไร เป็นฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้วฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5867/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเจ้าของรวมและการต่อสู้กับการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์โดยอ้างการครอบครองปรปักษ์
เดิมนาย ว. นาง ม. และนาง ข. มีชื่อถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท นาย ว. นาง อ. และนาง ข. ถึงแก่กรรมไปแล้ว ที่ดินพิพาทส่วนของนาย ว. จึงเป็นมรดกตกได้แก่โจทก์ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของนาย ว.โจทก์จึงเป็นผู้เข้าถือกรรมสิทธิ์รวมส่วนของนาย ว. ร่วมกับทายาทของนาง ม.และนาง ข. การที่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของนาย ว. ร้องต่อศาลชั้นต้นว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยแต่ผู้เดียวโดยการครอบครองปรปักษ์ และได้จดทะเบียนใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินพิพาท จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งจึงขอใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้กับจำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 เป็นการใช้สิทธิที่มีอยู่ตามกฎหมายของโจทก์ ไม่จำเป็นต้องได้รับมอบอำนาจจากนาง ม. และนาง ข.ส่วนการที่โจทก์ขอให้จำเลยโอนที่พิพาทกลับคืนเป็นกรรมสิทธิ์รวมของนาย ว. นาง ม.และนาง ข. มิได้ขอให้โอนกลับคืนแก่โจทก์ก็ตาม แต่เพื่อประโยชน์ที่จะแบ่งปันให้แก่ทายาทบุคคลดังกล่าวรวมทั้งโจทก์ เมื่อจำเลยไม่ยอม จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์โดยตรง โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างผิดแบบและการบังคับรื้อถอนอาคารพาณิชย์ โดยเจ้าของร่วมมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมายควบคุมอาคาร
จำเลยที่1ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่1จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้าส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัยเมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้าถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรมจึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์พ.ศ.2522กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า1.50เมตรฉะนั้นการลดความกว้างของบันไดจึงข้อต่อบัญญัติดังกล่าว จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกันเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาทจำเลยที่1เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาทโดยจำเลยที่2เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้างจำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาทเมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลนและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่1ทราบย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่2ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2 การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่นหรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณีดังนี้การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่1ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลังได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้วแต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่งทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522มาตรา43วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 84/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การก่อสร้างอาคารพาณิชย์ไม่เป็นไปตามข้อบัญญัติ และเจ้าของร่วมต้องรับผิดชอบตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร
จำเลยที่ 1 ขออนุญาตก่อสร้างอาคารเพื่อใช้เป็นอาคารพาณิชย์แม้จำเลยที่ 1 จะใช้อาคารพิพาทชั้นล่างเพื่อประโยชน์แห่งการค้า ส่วนชั้นบนเป็นที่พักอาศัย เมื่ออาคารพิพาทตั้งอยู่ริมถนนซึ่งปกติเป็นอาคารที่ใช้เพื่อประโยชน์แห่งการค้า ถือได้ว่าเป็นอาคารเพื่อพาณิชยกรรม จึงเป็นอาคารพาณิชย์ซึ่งตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2522 กำหนดให้บันไดสำหรับอาคารพาณิชย์ต้องกว้างไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร ฉะนั้น การลดความกว้างของบันไดจึงขัดต่อข้อบัญญัติดังกล่าว
จำเลยทั้งสองเป็นพี่น้องกัน เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินที่ก่อสร้างอาคารพิพาท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขออนุญาตก่อสร้างอาคารพิพาท โดยจำเลยที่ 2 เป็นผู้ยินยอมให้ก่อสร้าง จำเลยทั้งสองจึงเป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารพิพาท เมื่อผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 แก้ไขอาคารให้ถูกต้องตามแบบแปลน และมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างและแจ้งคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ทราบ ย่อมถือได้ว่ามีคำสั่งแจ้งให้จำเลยที่ 2 ผู้เป็นเจ้าของร่วมกันในที่ดินและอาคารทราบแล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2
การก่อสร้างหรือต่อเติมอาคารโดยไม่ได้รับอนุญาตซึ่งไม่ขัดต่อกฎกระทรวงหรือข้อบัญญัติท้องถิ่น หรือขัดแต่ยังสามารถแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้เจ้าของอาคารยื่นคำขอรับใบอนุญาตหรือสั่งให้เจ้าของอาคารหรือผู้ดำเนินการ ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องได้แล้วแต่กรณี ดังนั้น การที่ผู้อำนวยการเขตได้มีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องเกี่ยวกับระยะช่วงเสาอาคารด้านหน้าและระยะช่วงเสาอาคารด้านหลัง ได้มีคำสั่งให้ดำเนินการแก้ไขเปลี่ยนแปลงให้ถูกต้องและมีคำสั่งให้ระงับการก่อสร้างแล้ว แต่จำเลยทั้งสองมิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ทั้งมิได้อุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ โจทก์จึงร้องขอต่อศาลให้บังคับให้รื้อถอนได้ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 มาตรา 43 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ เจ้าของรวม: การฟ้องคดีซ้ำในประเด็นเดียวกันเมื่อศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้และคดีก่อนจำเลยเป็นบุคคลเดียวกัน ที่ดินพิพาทแปลงเดียวกัน โจทก์ในคดีทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกัน คือ โจทก์ทั้งสองคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่ โดยฝ่ายโจทก์ต่างอ้างว่าได้รับมรดกที่ดินพิพาทมาจากบิดา เฉพาะโจทก์ทั้งสองในคดีก่อนได้ยืนยันด้วยว่า หลังจากรับที่ดินพิพาทมาแล้ว โจทก์ทั้งสองในคดีดังกล่าวกับโจทก์ในคดีนี้เข้าครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันและแทนกันตลอดมาดังนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีกรณีถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์ทั้งสองในคดีก่อนฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่การเป็นเจ้าของรวมเพื่อต่อสู้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และเป็นการใช้สิทธิฟ้องแทนโจทก์ในคดีนี้ด้วย ตามป.พ.พ.มาตรา 1359 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของรวมเมื่อคดีก่อนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องนั้นมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคดีดังกล่าวศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามป.พ.พ.มาตรา 148 ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6135/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: เจ้าของรวมฟ้องแย่งคืนที่ดินหลังมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้ว
คดีนี้และคดีก่อนจำเลยเป็นบุคคลเดียวกัน ที่ดินพิพาทแปลงเดียวกัน โจทก์ในคดีทั้งสองเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน และประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกัน คือโจทก์ทั้งสองคดีเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่โดยฝ่ายโจทก์ต่างอ้างว่าได้รับมรดกที่ดินมาจากบิดา เฉพาะโจทก์ทั้งสองในคดีก่อนได้ยืนยันด้วยว่า หลังจากรับที่ดินพิพาทมาแล้ว โจทก์ทั้งสองในคดีดังกล่าวกับโจทก์ในคดีนี้เข้าครอบครองทำประโยชน์ร่วมกันและแทนกันตลอดมา ดังนี้ ตามพฤติการณ์แห่งคดีกรณีถือได้ว่าโจทก์ทั้งสองคดีเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาทเมื่อโจทก์ทั้งสองในคดีก่อนฟ้องขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของตนกับโจทก์ในคดีนี้ จึงเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่การเป็นเจ้าของรวมเพื่อต่อสู้จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและเป็นการใช้สิทธิฟ้องแทนโจทก์ในคดีนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นการใช้สิทธิของเจ้าของรวม เมื่อคดีก่อนที่โจทก์ทั้งสองฟ้องนั้นมีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกันกับที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และคดีดังกล่าวศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 ฟ้องของโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5836/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การฟ้องขับไล่เจ้าของกรรมสิทธิ์รวม, อุทธรณ์ไม่ชัดเจน, หนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ไม่ครบ
แม้ศาลชั้นต้นจะชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ซึ่งหมายรวมถึงเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ด้วย แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยมิได้หยิบยกปัญหาเรื่องหนังสือมอบอำนาจปิดอากรแสตมป์ครบถ้วนหรือไม่ขึ้นวินิจฉัย และจำเลยก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งในปัญหาดังกล่าวการที่จำเลยฎีกาปัญหานี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แต่เมื่อศาลฎีกาเห็นไม่สมควรที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ย่อมไม่ยกขึ้นวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ได้ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของรวมคนหนึ่งในที่ดินพิพาทฟ้องขับไล่จำเลยเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์เพื่อต่อสู้กับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359ส่วนกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 302 นั้นหมายความว่าเมื่อโจทก์ได้ทรัพย์สินคืนมาแล้วต้องเป็นของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมร่วมกัน โจทก์จะอ้างเอาเป็นของตนแต่ผู้เดียวไม่ได้เท่านั้นโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย จำเลยอุทธรณ์แต่เพียงว่า โจทก์ไม่เสียหาย อุทธรณ์ของจำเลยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายไม่ชอบอย่างไร และที่ถูกต้องเป็นอย่างไร เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชัดแจ้งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่งจึงชอบที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยว่าไม่เป็นประเด็นที่จะวินิจฉัย
of 17