คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1359

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2059/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินที่มีเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วม การครอบครองแทนกัน และผลของการโอนสิทธิ
ที่ดินเดิมมีชื่อผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดรวมกัน15 คน เมื่อผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานใดแสดงให้เห็นว่าเจ้าของกรรมสิทธิ์คนใดครอบครองอย่างเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียว กรณีจึงถือว่าทุกคนได้ครอบครองร่วมกัน แม้ผู้ใดจะไม่ได้เข้าอยู่อาศัยหรือทำกินในที่ดิน ก็ถือว่าคนที่อยู่อาศัยหรือทำกินครอบครองแทนผู้อื่นด้วย การที่ผู้ร้องทั้งสิบเอ็ดได้รับโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในอันดับ 1-8 ถือว่าผู้ร้องทั้งสิบเอ็ดได้ครอบครองสืบสิทธิจากผู้โอนในอันดับ 1-8 อันเป็นการครอบครองแทนผู้มีชื่อในโฉนดอันดับ 9-15 ด้วย ประกอบกับการครอบครองของผู้ร้องทั้งสิบเอ็ด ต่อมาก็มิได้มีพฤติการณ์ใดที่จะถือได้ว่าเป็นการเปลี่ยนลักษณะการครอบครองที่ดินมาเป็นของผู้ร้องแต่ละคนการครอบครองร่วมกันเช่นนี้จึงมิใช่เป็นการครอบครองปรปักษ์อันจะได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลพิจารณาพยานโจทก์และวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องรับฟังพยานจำเลย
จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ จึงเท่ากับมิได้กล่าวแก้เป็นข้อพิพาทด้วยกรรมสิทธิ์หรือโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาที่ก่อให้เกิดสิทธิอยู่บนที่ดินนั้นได้ ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในกรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ คู่ความฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะร้องต่อศาลให้วินิจฉัยชี้ขาดคดีให้ตนเป็นฝ่ายชนะโดยอาศัยเหตุแต่เพียงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งขาดนัดไม่มาศาลนั้นไม่ได้ แต่ให้ศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความที่มาศาลเป็นฝ่ายชนะคดีต่อเมื่อเห็นว่าข้ออ้างของคู่ความเช่นว่านั้นมีมูลและไม่ขัดต่อกฎหมาย เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยชี้ขาดโดยพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์ว่ามีน้ำหนักให้รับฟังแล้วเช่นนี้ ย่อมไม่ขัดต่อกฎหมาย
เมื่อศาลเห็นว่าการขาดนัดยื่นคำให้การของจำเลยเป็นการจงใจและไม่มีเหตุสมควรจึงไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การ จำเลยอาจสาบานตนให้การเป็นพยานและถามค้านพยานโจทก์ได้เท่านั้น ไม่มีสิทธิอ้างทั้งพยานบุคคลและพยานเอกสารมาสืบ การที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นคำให้การและบัญชีระบุพยานนั้นชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 199 วรรคสองแล้ว
โจทก์เป็นเจ้าของรวมในที่ดินมี ส.ค.1 คนหนึ่งย่อมมีอำนาจฟ้องผู้ที่มารบกวนหรือแย่งที่ดินนั้นได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1359 แม้มาตรา 1359 จะอยู่ในหมวดกรรมสิทธิ์รวมก็ตาม ย่อมนำมาใช้บังคับในหมวดว่าด้วยการครอบครองได้ เพราะมีลักษณะเป็นเจ้าของรวมเหมือนกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1721-1722/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของรวมมีสิทธิฟ้องขับไล่ผู้เช่าเมื่อสัญญาหมดอายุ แม้ไม่ได้มอบอำนาจเป็นหนังสือ
สัญญาเช่าที่มีกำหนดเวลาระงับไปเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงไว้การที่โจทก์ให้ พ. มีหนังสือไปยังจำเลย แจ้งว่าเมื่อสัญญาเช่าครบกำหนดแล้วโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไปจึงขอบอกเลิกสัญญาเช่า มีผลเป็นเพียงการแจ้งให้จำเลยทราบว่า เมื่อครบกำหนดสัญญาเช่า โจทก์ไม่ประสงค์ให้จำเลยเช่าต่อไปเท่านั้น เจ้าของรวมคนหนึ่งมีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากผู้เช่าที่ผิดสัญญาได้เพราะเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอกตาม ป.พ.พ.มาตรา 1359.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนจำนองทรัพย์มรดก - ความสุจริตของผู้รับจำนอง - สิทธิของทายาท - การแบ่งสิทธิเรียกร้อง
คำฟ้องและคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องระบุว่า ท.กับพวกรวม 7 คนโดย จ.ผู้รับมอบอำนาจและข้าพเจ้า ท.กับพวกรวม 7 คน ปรากฏตามรายชื่อและที่อยู่ท้ายคำฟ้องนี้ พร้อมทั้งแนบรายชื่อและที่อยู่ของโจทก์ทั้งเจ็ดมาด้วย ส่วนตามคำฟ้องเดิมโจทก์ได้แนบหนังสือมอบอำนาจมาท้ายคำฟ้องด้วยว่า โจทก์ทั้งหกได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้รับมรดกของ ล.เจ้ามรดกเป็นผู้รับมอบอำนาจมีอำนาจกระทำการดังจะกล่าวต่อไปนี้แทนข้าพเจ้าจนเสร็จการ ย่อมเป็นที่เข้าใจได้ว่า โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 6 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 7 เป็นผู้ฟ้องคดีแทน ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 และจำเลยที่ 1 เป็นทายาทของ ล.เจ้ามรดกโจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกร่วมกัน การที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาล และได้จัดการโอนมรดกมาเป็นของจำเลยที่ 1 ตามลำพังแล้วนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวไว้กับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอมย่อมเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกที่จะต้องดำเนินการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 การจำนองดังกล่าวจึงเป็นกิจการที่ได้นำไปนอกชอบอำนาจในฐานะที่เป็นผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องโจทก์จึงไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จะนำอายุความตามมาตรา 1754มาบังคับมิได้ ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ จำเลยที่ 1 จดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของล.ที่ตกได้แก่จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งเจ็ดไว้กับจำเลยที่ 2 ย่อมเป็นการเสียเปรียบแก่โจทก์ผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อน เมื่อจำเลยที่ 2 รับจำนองไว้โดยไม่สุจริต จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ล.ซึ่งมีทายาทด้วยกัน 11 คนรวมทั้งโจทก์ทั้งเจ็ด การที่โจทก์ทั้งเจ็ดฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองย่อมเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแก่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่พิพาท 1 ใน 11 ส่วน จึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทเฉพาะส่วนของโจทก์ทั้งเจ็ดและทายาทอื่นซึ่งรวมแล้วเพียง10 ใน 11 ส่วนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 394/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินมรดกที่ผู้จัดการมรดกทำโดยมิชอบ โดยทายาทมีสิทธิขัดขวางได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ ล. ซึ่งโจทก์ทั้งเจ็ดเป็นทายาทร่วมด้วย การที่จำเลยที่ 1 โอนที่ดินมรดกมาเป็นของตนตามลำพังแล้วนำไปจำนองหนี้ส่วนตัวกับจำเลยที่ 2 โดยทายาทอื่นมิได้รู้เห็นยินยอม จึงเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1719 การจำนองจึงเป็นกิจการที่จำเลยที่ 1 ทำไปนอกขอบอำนาจในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ทั้งเจ็ดในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทซึ่งได้มาเมื่อ ล.เจ้ามรดกตาย ย่อมมีสิทธิขัดขวางมิให้จำเลยทั้งสองสอดเข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้เสมอ ฟ้องของโจทก์ไม่เกี่ยวกับคดีมรดก จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาบังคับไม่ได้ จำเลยที่ 2 รับจำนองที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 โดยไม่สุจริตทำให้โจทก์ทั้งเจ็ดซึ่งเป็นเจ้าของรวมกับจำเลยที่ 1 ในฐานะทายาทของ ล. และเป็นผู้อยู่ในฐานะจดทะเบียนสิทธิได้ก่อนจำเลยที่ 2ต้องเสียเปรียบ จึงชอบที่จะเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1300 ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ ล. ซึ่งมีทายาทด้วยกัน 11 คนการที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเป็นการใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมด เพื่อประโยชน์แก่ทายาทด้วยกันทั้งหมดทุกคน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1359 เมื่อจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท 1 ใน 11 ส่วนจึงต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาท 10 ใน 11 ส่วน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิสัญญาเช่าที่ดิน: สัญญาเช่า 5 ปีมีผลเหนือข้อตกลงด้วยวาจา 10 ปี แม้มีการลงทุนทำประโยชน์ในที่ดิน
แม้จำเลยจะมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในที่ดินที่เข่าและส่วนของจำเลยกับส่วนของโจทก์ยังไม่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องจริงแต่มิได้ผิดสัญญาจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญา สัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจต่างหากนอกจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยมิให้เข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ได้ จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตามแต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเองสัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปีสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5144/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน: สิทธิของเจ้าของกรรมสิทธิ์รวม & หลักฐานสัญญาที่ชัดเจน
แม้จำเลยจะมีกรรมสิทธิ์รวมอยู่ในที่ดินที่เช่าและส่วนของจำเลยกับส่วนของโจทก์ยังไม่ได้แบ่งการครอบครองเป็นส่วนสัดก็ตาม แต่ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ฟ้องจำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ ซึ่งจำเลยรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตามที่โจทก์ฟ้องจริงแต่มิได้ผิดสัญญาจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิตามสัญญา สัญญาที่โจทก์ฟ้องเป็นเรื่องที่จำเลยตกลงทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทเป็นส่วนตัวแต่ผู้เดียวโดยลำพัง ซึ่งเป็นการประกอบธุรกิจต่างหากนอกจากเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและโจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดสัญญา จึงฟังได้ว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องห้ามจำเลยมิให้เข้าเกี่ยวข้องในที่ดินพิพาทส่วนที่เป็นของโจทก์ได้
จำเลยได้ทำวังกุ้งอยู่ก่อนแล้ว ได้จ้างผู้อื่นขุดดินทำคันกั้นน้ำ แต่ที่ดินแปลงที่จำเลยทำไม่พอทำวังกุ้งจึงได้มาตกลงเช่าที่ดินในส่วนของโจทก์เพิ่มขึ้น เห็นได้ว่าแม้จำเลยได้ลงทุนในการทำวังกุ้งมากก็ตาม แต่จำเลยได้ทำไปเพื่อประโยชน์ของตนนั่นเอง สัญญาเช่ามีกำหนด 5 ปี ไม่มีข้อตกลงใด ๆ บันทึกไว้เป็นหลักฐานว่าจำเลยตกลงเช่าที่ดินโจทก์โดยมีเงื่อนไขและเงื่อนเวลา 10 ปี สัญญาเช่าที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ไม่ใช่สัญญาเช่าที่เป็นสัญญาต่างตอบแทนยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดามีกำหนด 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของร่วมที่ดิน แม้ไม่ได้ฎีกาเอง ก็ได้รับผลจากคำพิพากษา หากเป็นเรื่องชำระหนี้ที่ไม่อาจแบ่งแยกได้
ในคดีพิพาทกันเรื่องที่ดิน เมื่อศาลฎีกาฟังว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน แม้ในชั้นฎีกาจะมีเพียงโจทก์ร่วมผู้เดียวฎีกาโดยโจทก์มิได้ฎีกา แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา245(1)247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1145/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าของที่ดินร่วมกัน แม้ฎีกาโดยโจทก์ร่วมคนเดียว ศาลยังพิพากษาถึงลูกหนี้ร่วมด้วย
ในคดีพิพาทกันเรื่องที่ดิน เมื่อศาลฎีกาฟังว่าโจทก์และโจทก์ร่วมเป็นเจ้าของที่พิพาทร่วมกัน แม้ในชั้นฎีกาจะมีเพียงโจทก์ร่วมผู้เดียวฎีกาโดยโจทก์มิได้ฎีกา แต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมพิพากษาให้มีผลถึงโจทก์ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245 (1), 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4824/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ทายาทมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายได้โดยไม่จำเป็นต้องเป็นผู้จัดการมรดก
โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของตาย มีฐานะทายาทตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายซึ่งเป็นมรดกของผู้ตายได้โดยไม่จำต้องให้ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเสียก่อน ค่าจ้างค้างจ่ายของผู้ตายเป็นมรดกตกทอดแก่ทายาท และทายาททุกคนเป็นเจ้าของรวมในกองมรดกที่ยังมิได้แบ่ง ทายาทแต่ละคนจึงอาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์รวมครอบไปถึงกองมรดกทั้งหมดได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 298 โจทก์แต่ผู้เดียวมีอำนาจฟ้องเรียกค่าจ้างค้างจ่ายของเจ้ามรดก
of 17