พบผลลัพธ์ทั้งหมด 163 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2749/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในที่ดินกรรมสิทธิ์รวม: การครอบครองส่วนแบ่งที่ตกลงกัน ถือเป็นการครอบครองของผู้อื่น
โจทก์กับพวกร่วมกันซื้อที่ดินมาทั้งโฉนดเป็นกรรมสิทธิ์รวมเมื่อโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทซึ่งอยู่ทางตอนเหนือตามที่แบ่งแยกกันครอบครองเป็นสัดส่วน ย่อมถือได้ว่าเป็นการครอบครองที่ดินส่วนของบุคคลอื่นโดยปรปักษ์แล้ว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวม - ครอบครองแทน - อายุความ - สิทธิความเป็นเจ้าของ - ที่ดิน
โจทก์ซื้อที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้มีชื่อซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลยโดยยังมิได้มีการแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด โจทก์ย่อมเข้าเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวร่วมกับจำเลย การที่จำเลยครอบครองที่ดินทั้งแปลงจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นเกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็ไม่ขาดสิทธิความเป็นเจ้าของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 595/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวม - การครอบครองแทน - สิทธิความเป็นเจ้าของ - อายุความ
โจทก์ซื้อที่ดินมีหนังสือรับรองการทำประโยชน์จากผู้มีชื่อซึ่งเป็นเจ้าของร่วมกันกับจำเลยโดยยังมิได้มีการแบ่งแยกกันเป็นส่วนสัด โจทก์ย่อมเข้าเป็นเจ้าของรวมในที่ดินดังกล่าวร่วมกับจำเลย การที่จำเลยครอบครองที่ดินทั้งแปลงจึงเป็นการครอบครองแทนโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นเกินกว่า 1 ปีก็ตาม ก็ไม่ขาดสิทธิความเป็นเจ้าของ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก: ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อข้อเท็จจริงไม่สนับสนุนการเป็นส่วนหนึ่งของมรดก
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อศาลฎีกาฟังว่าที่พิพาทมิได้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจะมีเพียงโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นฎีกา โดยจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยแต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก: การพิสูจน์ความเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดก และผลกระทบต่อจำเลยที่ไม่ฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดก เมื่อศาลฎีกาฟังว่าที่พิพาทมิได้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแล้ว แม้ในชั้นฎีกาจะมีเพียงโจทก์และจำเลยที่ 2 เป็นฎีกา โดยจำเลยที่ 1 มิได้ฎีกาด้วยแต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2787/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินมรดก: ศาลฎีกายกฟ้องกรณีพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์และสิ่งปลูกสร้าง
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมในที่ดินรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายที่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อศาลฎีกาฟังว่าที่พิพาทมิได้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินมรดกแล้วแม้ในชั้นฎีกาจะมีเพียงโจทก์และจำเลยที่2เป็นฎีกาโดยจำเลยที่1มิได้ฎีกาด้วยแต่กรณีดังกล่าวเป็นเรื่องการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ศาลฎีกาย่อมพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยให้มีผลถึงจำเลยที่1ซึ่งมิได้ฎีกาด้วยได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเกี่ยวกับทรัพย์มรดก: ผู้จัดการมรดกมีอำนาจดำเนินการได้แต่เพียงผู้เดียว เจ้าของรวมไม่มีอำนาจฟ้อง
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1359 ที่บัญญัติว่า "เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก ฯลฯ" หมายความว่าเมื่อมีบุคคลภายนอกมายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งอาจฟ้องร้องว่ากล่าวหรือต่อสู้คดีโดยลำพังผู้เดียวได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาล จึงย่อมมีอำนาจจัดการมรดกของ จ.ตามกฎหมาย การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของ จ. อันเป็นทรัพย์มรดกของ จ. มาเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมกระทำได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นทายาทโดยธรรมของ จ.หรือไม่ ทั้งกรณีไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนที่เป็นมรดกของ จ. ทำให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ทายาทโดยธรรมจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันเอง โจทก์จะอาศัยสิทธิในฐานะเจ้าของรวมในที่พิพาทมาฟ้องร้องมิได้
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
จำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ตามคำสั่งศาล จึงย่อมมีอำนาจจัดการมรดกของ จ.ตามกฎหมาย การจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของ จ. อันเป็นทรัพย์มรดกของ จ. มาเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น จำเลยที่ 1 ย่อมกระทำได้ตามกฎหมาย ไม่ว่าจำเลยที่ 1 จะเป็นทายาทโดยธรรมของ จ.หรือไม่ ทั้งกรณีไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ครอบครองที่พิพาทโดยปรปักษ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนการที่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนที่เป็นมรดกของ จ. ทำให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่ทายาทโดยธรรมจะฟ้องร้องว่ากล่าวกันเอง โจทก์จะอาศัยสิทธิในฐานะเจ้าของรวมในที่พิพาทมาฟ้องร้องมิได้
โจทก์ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ต้องเสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามตาราง ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 963/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีเจ้าของรวมและผู้จัดการมรดก การโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์มรดกต้องอาศัยสิทธิของทายาท
ที่พิพาทเดิมเป็นของ จ. และท.เมื่อท.ถึงแก่กรรมโจทก์จดทะเบียนรับโอนเฉพาะส่วนของ ท. มาเป็นของโจทก์ ต่อมา จ. ถึงแก่กรรม ศาลมีคำสั่งตั้งจำเลยที่ 1 เป็นผู้จัดการมรดก จำเลยที่ 1 จดทะเบียนรับโอนที่พิพาทเฉพาะส่วนของจ.แล้วจดทะเบียนโอนให้จำเลยที่ 2 และ 3 การจดทะเบียนโอน กรรมสิทธิ์ที่พิพาทส่วนของ จ. อันเป็นทรัพย์มรดกของ จ.มาเป็นของจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมกระทำได้ตามกฎหมายไม่ว่า จำเลยที่ 1 จะเป็นทายาทโดยธรรมของ จ.หรือไม่โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ส่วนการจดทะเบียนโอนต่อไปให้จำเลยที่ 2 ที่ 3 จะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่เป็นเรื่องที่ทายาทโดยธรรมของ จ. จะฟ้องร้องกันเองโจทก์มิได้เป็นทายาทโดยธรรมของ จ.จะมาฟ้องโดยอาศัยสิทธิในฐานะที่เป็นเจ้าของรวมในที่พิพาทย่อมไม่ได้ โจทก์ฎีกาขอให้ศาลชั้นต้นสืบพยานหลักฐานแล้วพิพากษาใหม่ ไม่ได้ขอให้พิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ดังนี้ เสียค่าขึ้นศาล 200 บาท ตามตาราง 1 ข้อ 2 ก. ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มิใช่เสียค่า ขึ้นศาลชั้นฎีกาตามทุนทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 699/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการยกให้โดยเสน่หา และสิทธิในทรัพย์สินร่วม
คดีฟ้องหย่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยด่าหมิ่นประมาทโจทก์และบุพการีของโจทก์อย่างร้ายแรงว่า"อีดอกทองมึงก็ดอกทองเหมือนแม่"ถือว่าได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ทรัพย์ที่ได้รับยกให้ระหว่างเป็นสามีภริยาก่อนป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับต้องเป็นไปตามป.พ.พ.บรรพ5เดิมเมื่อหนังสือยกให้มิได้แสดงไว้ว่าให้เป็นสินส่วนตัวแก่ผู้รับยกให้ย่อมตกเป็นสินสมรสตามมาตรา1464,1466บรรพ5เดิม ซึ่งสามีภริยามีสิทธิได้รับส่วนแบ่งคนละกึ่งหนึ่งโดยถือเป็นเจ้าของรวมสามีจึงมีสิทธิอายัดบ้านและที่ดินซึ่งเป็นสินสมรสเพื่อมิให้ภริยาจำหน่ายจ่ายโอนแก่ผู้ใดได้ตามป.พ.พ.มาตรา1359และภริยาไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่สามีออกจากบ้านและที่ดินดังกล่าวได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 236/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแพ่ง: ข้อห้ามฟ้องบุพการีและข้อยกเว้น, เจ้าของรวมมีอำนาจดำเนินคดี
โจทก์ที่2อยู่ในฐานะผู้สืบสันดานคือเป็นหลานจำเลยจำเลยอยู่ในฐานะเป็นยายย่อมเป็นบุพการีของโจทก์ที่2การที่โจทก์ที่2ฟ้องจำเลยจึงเป็นการฟ้องบุพการีต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1562โจทก์ที่2จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยสำหรับโจทก์ที่1เป็นเพียงบุตรเขยไม่ได้เป็นผู้สืบสันดานของจำเลยจำเลยไม่ได้เป็นบุพการีของโจทก์ที่1ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องห้ามทั้งหมดโจทก์ที่1ซึ่งเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยในที่พิพาทย่อมมีอำนาจดำเนินคดีต่อไปได้.