คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 151 วรรคแรก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องแย้งคดีภาษีอากรและการสะดุดหยุดอายุความจากการสั่งบังคับภาษี
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาภาษีอากรที่ถูกประเมิน และผลกระทบของการแจ้งการประเมินต่ออายุความ
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา-อุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ทายาท/ผู้มีส่วนได้เสียเท่านั้น
บุคคลผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 คงมีเพียงทายาทผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการเท่านั้น ตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของผู้ตายมีใจความว่า ให้พ.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยให้ขายบ้านและที่ดินแล้วรวมกับเงินสดซึ่งฝากไว้กับธนาคารใช้ฌาปนกิจศพของผู้ตาย ส่วนที่เหลือให้นำถวายวัดทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย หาได้มีข้อความตอนใดระบุชื่อวัดผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมของผู้ตายไม่การที่ พ. ผู้จัดการมรดกคนเดิมของผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายถวายวัดผู้ร้องยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ร้องที่จะเรียกเอาทรัพย์มรดกรายนี้ได้ตามกฎหมายผู้ร้องจึงไม่ใช้ผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว การวินิจฉัยถึงสิทธิของผู้ร้องว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้วว่าผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งยกคำร้อง ไม่คืนค่าขึ้นศาลให้แก่ผู้ร้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5172/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องขอตั้งผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียต้องเป็นทายาทหรือผู้รับพินัยกรรมเท่านั้น
บุคคลผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 คงมีเพียงทายาทผู้มีส่วนได้เสีย หรือพนักงานอัยการเท่านั้น ตามสำเนาพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองของผู้ตายมีใจความว่า ให้พ.เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายโดยให้ขายบ้านและที่ดินแล้วรวมกับเงินสดซึ่งฝากไว้กับธนาคารใช้ฌาปนกิจศพของผู้ตาย ส่วนที่เหลือให้นำถวายวัดทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ตาย หาได้มีข้อความตอนใดระบุชื่อวัดผู้ร้องเป็นผู้รับพินัยกรรมของผู้ตายไม่การที่ พ. ผู้จัดการมรดกคนเดิมของผู้ตายได้แสดงเจตนาไว้ว่าจะรวบรวมทรัพย์มรดกของผู้ตายถวายวัดผู้ร้องยังไม่ก่อให้เกิดสิทธิใด ๆ แก่ผู้ร้องที่จะเรียกเอาทรัพย์มรดกรายนี้ได้ตามกฎหมายผู้ร้องจึงไม่ใช้ผู้มีสิทธิที่จะร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ตามบทบัญญัติดังกล่าว
การวินิจฉัยถึงสิทธิของผู้ร้องว่า ผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายย่อมเป็นการวินิจฉัยถึงเนื้อหาแห่งคดีแล้วว่าผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ไม่ใช่กรณีที่จะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ศาลชั้นต้นจะต้องมีคำสั่งยกคำร้อง ไม่คืนค่าขึ้นศาลให้แก่ผู้ร้อง.