พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4186/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในคดีศุลกากร ถือเป็นการยอมรับความผิด การฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าปรับคืนจึงไม่สำเร็จ
โจทก์นำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยสำแดงว่า เป็นสินค้าอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากร ประเภทที่ 34.02 ข. และได้ชำระอากรขาเข้าตามพิกัดอัตราศุลกากรประเภทดังกล่าว ต่อมากรมศุลกากรจำเลยที่ 1 มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์ว่าโจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรสินค้าที่โจทก์นำเข้าไม่ถูกต้องเป็นเหตุให้โจทก์เสียค่าอากรขาดไปและแจ้งด้วยว่าการกระทำของโจทก์ดังกล่าวเป็นความผิดอาญาฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 99 และมาตรา 27 ซึ่งอธิบดีกรมศุลกากรจำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการมีอำนาจเปรียบเทียบปรับและงดการฟ้องร้องได้แล้วแต่กรณี ตามพระราชบัญญัติศุลกากร มาตรา 102 หรือ 102 ทวิ ดังนี้ ถ้าโจทก์เห็นว่าการที่โจทก์สำแดงพิกัดอัตราศุลกากรไว้ในใบขนสินค้าขาเข้าดังกล่าวยังไม่เป็นความผิดฐานสำแดงเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรตามข้อกล่าวหาของจำเลยที่ 1 โจทก์ก็ต้องไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบและไม่ชำระค่าปรับให้แก่จำเลยที่ 1 โดยให้จำเลยที่ 1 ดำเนินคดีอาญาแก่โจทก์ต่อไป เมื่อโจทก์ได้ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบปรับและได้ชำระค่าปรับตามที่จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการทำการเปรียบเทียบกับชำระค่าอากรขาเข้า ภาษีการค้าที่ขาดเรียบร้อยแล้ว ย่อมเป็นการเปรียบเทียบปรับที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือว่าโจทก์ได้ยอมรับแล้วว่าพิกัดอัตราศุลกากรที่โจทก์สำแดงไว้ในใบขนสินค้าขาเข้านั้นเป็นเท็จเพื่อหลีกเลี่ยงอากรถึงแม้ว่าสินค้าที่โจทก์นำเข้ามาจะจัดอยู่ในพิกัดอัตราศุลกากรประเภทอื่นก็ตาม โจทก์จะนำมาเป็นมูลฟ้องเป็นคดีแพ่งไม่ได้ และการที่โจทก์ขอสงวนสิทธิ์โต้แย้งไว้ก็ไม่เพียงพอให้ถือว่าโจทก์ไม่ยินยอมให้จำเลยที่ 2 หรือคณะกรรมการเปรียบเทียบปรับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้าสำหรับ 'ทีวี แมสค์' และอายุความการฟ้องเรียกภาษีอากรค้างชำระ
ทีวีแมสค์ที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและชำระภาษีอากรไว้แล้วนั้นมีลักษณะเป็นกรอบใช้ปิดช่องโหว่ระหว่างตู้โทรทัศน์ด้านหน้ากับหลอดภาพโทรทัศน์มีน๊อตขันติดกับตู้โทรทัศน์เพื่อกันมิให้หลุดทั้งยังเป็นเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ดูหรือผู้ใช้โทรทัศน์เช่นเดียวกับฝาตู้โทรทัศน์ทุกด้าน จึงเป็นส่วนประกอบของตู้โทรทัศน์อันจะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 85.15ข.(4)(ก)ร้อยละ 50
การฟ้องคดีเรียกเงินภาษีอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิดแห่งของและอัตราอากรขาเข้ามีอายุความ 10 ปี ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องให้อธิบดีกรมศุลกากรบันทึกความเห็นถึงเหตุที่จะฟ้องคดีเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 102 อีก เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จะฟ้องผู้กระทำผิดในทางอาญา
การฟ้องคดีเรียกเงินภาษีอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิดแห่งของและอัตราอากรขาเข้ามีอายุความ 10 ปี ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องให้อธิบดีกรมศุลกากรบันทึกความเห็นถึงเหตุที่จะฟ้องคดีเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช 2469 มาตรา 102 อีก เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จะฟ้องผู้กระทำผิดในทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 638/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราอากรขาเข้า: ทีวีแมสค์เป็นส่วนประกอบของตู้โทรทัศน์ ทำให้ต้องเสียอากรตามอัตราที่สูงกว่า
ทีวีแมสค์ที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและชำระภาษีอากรไว้แล้วนั้นมีลักษณะเป็นกรอบใช้ปิดช่องโหว่ระหว่างตู้โทรทัศน์ด้านหน้ากับหลอดภาพโทรทัศน์มีน๊อตขันติดกับตู้โทรทัศน์เพื่อกันมิให้หลุด ทั้งยังเป็นเครื่องป้องกันไฟฟ้าดูดผู้ดูหรือผู้ใช้โทรทัศน์เช่นเดียวกับฝาตู้โทรทัศน์ทุกด้าน จึงเป็นส่วนประกอบของตู้โทรทัศน์อันจะต้องเสียภาษีตามพิกัดอัตราอากรขาเข้าประเภทที่ 85.15ข.(4)(ก)ร้อยละ 50
การฟ้องคดีเรียกเงินภาษีอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิดแห่งของและอัตราอากรขาเข้ามีอายุความ 10 ปี ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องให้อธิบดีกรมศุลกากรบันทึกความเห็นถึงเหตุที่จะฟ้องคดีเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 102 อีก เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จะฟ้องผู้กระทำผิดในทางอาญา
การฟ้องคดีเรียกเงินภาษีอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิดแห่งของและอัตราอากรขาเข้ามีอายุความ 10 ปี ในกรณีเช่นนี้ไม่ต้องให้อธิบดีกรมศุลกากรบันทึกความเห็นถึงเหตุที่จะฟ้องคดีเสียก่อนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 มาตรา 102 อีก เพราะมิใช่เป็นเรื่องที่จะฟ้องผู้กระทำผิดในทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 709/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบปรับทางศุลกากรต้องมีเจตนาและยินยอมของผู้ถูกเปรียบเทียบ การหักเงินประกันเพื่อชำระค่าปรับโดยไม่ได้รับความยินยอมเป็นโมฆะ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับกรมศุลกากรจำเลยคืนเงินอากรขาเข้าของโจทก์ที่วางเป็นประกันไว้แล้วเหลืออยู่จากจำเลย ไม่ใช่เป็นเรื่องเรียกร้องให้จำเลยใช้ค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิด จึงนำอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 มาใช้บังคับมิได้
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 102ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ
กรมศุลกากรจำเลยเห็นว่าโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จชนิดและราคาสินค้าผ้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากร จึงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาปรับโจทก์สองเท่าของอากรที่ขาด คณะกรรมการเปรียบเทียบมีมติเห็นชอบด้วย แล้วนิติกรของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์มาทำความตกลงตามมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบ แต่โจทก์ไม่มาติดต่อจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีดังนี้ แสดงว่าโจทก์หาได้ยินยอมตามที่เปรียบเทียบและใช้ค่าปรับแต่อย่างใดไม่ส่วนที่โจทก์ทำสัญญาทัณฑ์บนไว้กับกรมศุลกากรจำเลยพร้อมกับนำหลักฐานสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางค้ำประกันไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ขอรับสินค้าที่ถูกกักไว้เพื่อไปจำหน่าย มิใช่เรื่องที่โจทก์ยินยอมให้ปรับ จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งปรับโจทก์ และจะหักเงินประกันค่าอากรขาเข้าซึ่งเหลืออยู่ที่จำเลยชำระค่าปรับไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ไป
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ มาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบตามมาตรา 102ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่ผู้มีอำนาจเปรียบเทียบได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ
กรมศุลกากรจำเลยเห็นว่าโจทก์มีความผิดฐานสำแดงเท็จชนิดและราคาสินค้าผ้าเพื่อหลีกเลี่ยงอากร จึงเสนอคณะกรรมการเปรียบเทียบพิจารณาปรับโจทก์สองเท่าของอากรที่ขาด คณะกรรมการเปรียบเทียบมีมติเห็นชอบด้วย แล้วนิติกรของจำเลยได้มีหนังสือเรียกโจทก์มาทำความตกลงตามมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบ แต่โจทก์ไม่มาติดต่อจำเลยจึงส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีดังนี้ แสดงว่าโจทก์หาได้ยินยอมตามที่เปรียบเทียบและใช้ค่าปรับแต่อย่างใดไม่ส่วนที่โจทก์ทำสัญญาทัณฑ์บนไว้กับกรมศุลกากรจำเลยพร้อมกับนำหลักฐานสัญญาค้ำประกันของธนาคารมาวางค้ำประกันไว้ก็เป็นเรื่องที่โจทก์ประสงค์ขอรับสินค้าที่ถูกกักไว้เพื่อไปจำหน่าย มิใช่เรื่องที่โจทก์ยินยอมให้ปรับ จำเลยจึงไม่มีอำนาจสั่งปรับโจทก์ และจะหักเงินประกันค่าอากรขาเข้าซึ่งเหลืออยู่ที่จำเลยชำระค่าปรับไม่ได้ต้องคืนให้โจทก์ไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 854/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมให้ริบบุหรี่และการถือเป็นเจ้าของตามกฎหมายศุลกากร
ได้ความว่าเมื่อเรือนิวชวางจากฮ่องกงมาถึงกรุงเทพฯมีบุหรี่ซิกาแรตบรรทุกมา 25 หีบ ส่งถึงยี่ห้อย่งเฮงเส็งต่อมานายเปงฮุยยี่ห้อย่งเฮงเส็งได้ทำหนังสือขอเปิดตรวจบุหรี่ยื่นต่อกรมศุลกากรในฐานผู้นำของเข้า ต่อมานายวิเชียรในนามยี่ห้อย่งเฮงเส็งได้ยื่นหนังสือต่อกรมสรรพสามิต ขออนุญาตนำบุหรี่รายนี้เข้า กรมสรรพสามิตไม่อนุญาต และมีหนังสือถึงกรมศุลกากรให้ริบบุหรี่รายนี้โดยนำเข้ามาไม่ได้รับอนุญาต กรมศุลกากรได้สอบสวนนายเปงฮุยผู้แสดงตัวเป็นผู้ขอรับบุหรี่แทนยี่ห้อย่งเฮงเส็ง
นายเปงฮุยได้ทำหนังสือยินยอมให้กรมศุลกากรริบบุหรี่ไว้เป็นของแผ่นดินดังนี้ ตามมาตรา 106 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร 2469 ต้องถือว่านายเปงฮุยเป็นเจ้าของบุหรี่ในกิจการนี้ และความยินยอมของนายเปงฮุยที่ให้ริบบุหรี่จึงมีผลตามกฎหมาย
นายเปงฮุยได้ทำหนังสือยินยอมให้กรมศุลกากรริบบุหรี่ไว้เป็นของแผ่นดินดังนี้ ตามมาตรา 106 แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร 2469 ต้องถือว่านายเปงฮุยเป็นเจ้าของบุหรี่ในกิจการนี้ และความยินยอมของนายเปงฮุยที่ให้ริบบุหรี่จึงมีผลตามกฎหมาย