พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2565
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำเข้าวัตถุอันตรายหลีกเลี่ยงกฎหมาย ศาลยืนโทษจำคุกและไม่อนุมัติรอการลงโทษ
การสั่งนำเข้าวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 จากสาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากจะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 แล้ว ยังเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 อีกด้วย ซึ่งในส่วนของความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ฐานนำเข้าสินค้าโดยหลีกเลี่ยงข้อจำกัดและฐานยื่นใบขนสินค้าโดยสำแดงเท็จตามมาตรา 27 และมาตรา 99 นั้น เมื่อผู้กระทำความผิดยินยอมมอบของกลางทั้งหมดให้กรมศุลกากรเพื่อระงับคดีและผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังพิจารณาอนุมัติให้ระงับคดีแล้วจึงทำให้ความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ระงับไป ของกลางจึงอยู่ในอำนาจของอธิบดีกรมศุลกากรที่จะจำหน่ายต่อไปได้ เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าสถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพมหานคร ขอรับการสนับสนุนของกลางเพื่อใช้เป็นวัสดุสำหรับทำปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังได้ทำบันทึกส่งมอบของกลางให้แก่สถานีพัฒนาที่ดินกรุงเทพมหานครไปแล้ว แม้ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมจะกำหนดให้กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบในการควบคุมของกลางซึ่งเป็นวัตถุอันตรายตามบัญชี 1 แต่เมื่อของกลางคดีนี้เป็นของกลางในคดีที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2469 ซึ่งอยู่ในอำนาจของกรมศุลกากรด้วย เมื่อได้มีการจำหน่ายของกลางไปโดยชอบตามอำนาจหน้าที่ของกรมศุลกากรแล้ว ผู้กระทำความผิดหรือจำเลยทั้งสองย่อมไม่จำต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการขนส่งและทำลายของกลางอีกต่อไป เนื่องจากไม่มีของกลางให้ขนส่งและทำลายอยู่ในความครอบครองของกรมวิชาการเกษตรซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบอีกต่อไปแล้ว หากกรมวิชาการเกษตรเห็นว่ากรมศุลกากรไม่มีอำนาจดำเนินการเกี่ยวกับของกลางก็เป็นเรื่องที่หน่วยงานทั้งสองซึ่งเป็นส่วนราชการด้วยกันต้องดำเนินการต่อกันเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9181/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่-ช่วยซ่อนเร้นของผิดกฎหมาย-การลงโทษและบังคับคดีค่าปรับ
ความผิดฐานช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของอันตนรู้ว่าเป็นของที่ยังมิได้เสียค่าภาษี และยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้อง หรือเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ และความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบและโดยทุจริต ตาม ป.อ. มาตรา 157 มีองค์ประกอบของความผิดและการกระทำที่มีเจตนาประสงค์ต่อผลแยกต่างหากจากกันได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรม ตาม ป.อ. มาตรา 91 แม้ อ. ได้ทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร และยินยอมมอบรถยนต์ของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดิน ซึ่งทางด่านศุลกากรแม่สอดได้อนุมัติให้ทำความตกลงระงับคดีแล้ว ก็เป็นการระงับเฉพาะในส่วนของ อ. ไม่ทำให้การกระทำความผิดของจำเลยระงับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12789/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดต่างกรรม: ครอบครองวิทยุเถื่อน vs. หลีกเลี่ยงข้อห้ามนำเข้า การระงับคดีหนึ่งไม่กระทบอีกคดี
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานรับไว้ด้วยประการใด ๆ อันของซึ่งตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัดนั้นแยกออกจากกันได้ชัดเจน ทั้งเจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำ ตลอดจนกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ก็เป็นคนละฉบับกัน จึงเป็นการกระทำความผิดต่างกรรม แม้อธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้ระงับการดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานรับไว้ด้วยประการใด ๆ อันของซึ่งตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด ก็ไม่ทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตระงับไปด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10911/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานนำเข้าของต้องห้ามโดยไม่เสียภาษี: การฟ้องซ้ำซ้อนและการคุ้มกันตามกฎหมายศุลกากร
การกระทำความผิดของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์บรรยายฟ้องมาเป็นการกระทำในวันเวลาเดียวกันโดยเป็นการร่วมกันนำหรือพาเอาของต้องห้ามต้องจำกัดเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากรและค่าภาษีศุลกากร และร่วมกันช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซื้อ รับจำนำหรือรับไว้ด้วยประการใดๆ ซึ่งของต้องห้ามต้องจำกัดดังกล่าวอันเป็นของจำนวนเดียวกัน โดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงค่าอากร ซึ่งโจทก์มีคำขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองหลายกรรมต่างกันในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 และมาตรา 27 ทวิ นั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองตามที่โจทก์ฟ้องและจำเลยทั้งสองรับสารภาพนั้นมีลักษณะเป็นการกระทำผิดต่อเนื่องกันในคราวเดียวกัน การกระทำของจำเลยทั้งสองกรณีนี้เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 หรือ มาตรา 27 ทวิ เพียงฐานใดฐานหนึ่งเท่านั้น โดยสภาพของการกระทำความผิดในคราวเดียวกัน กรณีไม่อาจเป็นความผิดทั้งสองฐานซึ่งเป็นความผิดสองกระทง เมื่อปรากฏว่าคำสั่งงดการฟ้องร้องของอธิบดีกรมศุลกากรมีผลเป็นการคุ้มกันจำเลยทั้งสองที่จะถูกฟ้องร้องในกรณีความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ ดังที่ได้วินิจฉัยมาแล้ว และกรณีเป็นเรื่องจำเลยทั้งสองกระทำความผิดในคราวเดียวกัน โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองในความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15180/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจงดฟ้องของอธิบดีกรมศุลกากรต้องใช้ก่อนการฟ้องคดี หากฟ้องแล้ว อธิบดีไม่มีอำนาจงดฟ้องได้อีก
จำเลยทั้งสองร่วมกันรับไว้ซึ่งรถยนต์ของกลางโดยรู้อยู่ว่าเป็นของที่มีผู้ลักลอบนำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร วันรุ่งขึ้นหลังจากจำเลยทั้งสองถูกเจ้าพนักงานจับกุม จำเลยทั้งสองทำหนังสือขอทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร โดยยินยอมยกของกลางให้ตกเป็นของแผ่นดินตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 102 ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้น หลังจากนั้นอธิบดีกรมศุลกากรมีคำสั่งอนุมัติให้ระงับคดี ดังนี้การใช้อำนาจของอธิบดีตามบทมาตราดังกล่าวจะต้องกระทำก่อนที่ผู้กระทำความผิดจะถูกฟ้องร้องต่อศาล เมื่อปรากฏว่าโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองต่อศาลชั้นต้นก่อนที่อธิบดีจะมีคำสั่งอนุมัติให้ระงับคดี คำสั่งดังกล่าวจึงล่วงเลยระยะเวลาที่อธิบดีกรมศุลกากรจะมีอำนาจสั่งให้งดการฟ้องร้องได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบงดฟ้องร้องทางศุลกากร: อำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการและขอบเขตความรับผิดของเจ้าหน้าที่
จำเลยที่ 10 ซึ่งเป็นรองอธิบดีกรมศุลกากรได้มีความเห็นตามที่เจ้าหน้าที่เสนอมาว่า ม. ซึ่งเป็นผู้นำเข้ารถยนต์ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นได้นำเข้ารถยนต์โดยสำแดงรุ่นผิดไปจากรถยนต์โตโยต้า ซอเรอร์ เป็นรถยนต์โตโยต้า มาร์คทู ต่อมา ม. ขอยกรถยนต์คันดังกล่าวให้ตกเป็นของแผ่นดินเพื่อตกลงระงับคดีตามมาตรา 27 หรือ 27 ทวิ ของ พ.ร.บ. ศุลกากร จึงให้นำเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง แม้จำเลยที่ 10 จะมีความเห็นให้นำเรื่องเข้าที่ประชุมโดยมิได้มีความเห็นชี้ขาดก่อนว่าการกระทำของ ม. จะเป็นความตามมาตรา 27 หรือว่าจะเป็นความผิดตามมาตรา 27 ทวิ ฐานใดฐานหนึ่ง เพื่อพิจารณาก่อนว่าความผิดที่ ม. กระทำจะตรงหรือไม่ตรงด้วยข้อหาความผิดที่จะเปรียบเทียบได้ก็ตาม ก็หาเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่ เพราะอำนาจการวินิจฉัยชี้ขาดว่า ม. ผู้นำเข้ารถยนต์จะมีความผิดฐานใด เป็นอำนาจของศาล
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้
การเปรียบเทียบปรับโดยอธิบดีกรมศุลกากร ตามมาตรา 102 ก็ดี หรือโดยคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องตามมาตรา 102 ทวิ ก็ดี จะต้องปรากฏว่าผู้จะถูกฟ้องร้องได้ยินยอมและใช้ค่าปรับตามที่มีผู้มีอำนาจได้เปรียบเทียบด้วยจึงจะชอบ ดังนั้น การที่คณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องได้มีมติให้รับทำความตกลงระงับคดีโดยรับรถยนต์ของกลางไว้เป็นของแผ่นดินตามข้อเสนอของผู้ต้องหา จึงย่อมเป็นการเปรียบเทียบที่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ในการประชุมของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะมีแต่เลขานุการคณะกรรมการเป็นผู้รายงาน โดยจำเลยที่ 10 และที่ 11 จะทราบข้อเท็จจริงและมิได้ทักท้วงหรือชี้แจงแสดงเหตุผลในที่ประชุมเป็นเรื่องการบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่การประชุม ซึ่งไม่ถึงขนาดที่จะถือได้ว่าเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออันเป็นการละเมิด เพราะที่ประชุมจะมีมติอย่างไรย่อมต้องเป็นไปตามความเห็นของผู้เข้าร่วมประชุม ซึ่งมิได้มีเพียงจำเลยที่ 10 และที่ 11 เท่านั้น การมีมติจึงเป็นมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้อง มิใช่ความเห็นส่วนตัวของจำเลยที่ 10 และที่ 11 ดังนี้ แม้การมีมติของคณะกรรมการเปรียบเทียบงดการฟ้องร้องจะทำให้โจทก์ไม่สามารถเรียกค่าอากรที่ขาดจากข้าราชการที่กระทำผิดวินัยได้ก็ตาม ก็ไม่อาจเรียกให้จำเลยที่ 10 และที่ 11 รับผิดฐานละเมิดต่อโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1342/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าพนักงานศุลกากรต่อการสูญหายของสินค้าที่ยึดไว้เพื่อดำเนินการทางกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ยึดสินค้าของโจทก์ไว้เป็นของกลางเพื่อดำเนินการริบตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 60 สินค้าดังกล่าวจึงอยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 1 กรณีหาใช่เพียงแต่อยู่ในความรักษาหรือตรวจตราดูแลของจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 117 ไม่ เมื่อจำเลยที่ 1 เห็นว่าโจทก์กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร ฯ มาตรา 99 เท่านั้น และยอมให้โจทก์ส่งสินค้าดังกล่าวกลับออกไปนอกราชอาณาจักรได้ จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนสินค้าดังกล่าวแก่โจทก์ เมื่อสินค้าสูญหาย จำเลยที่ 1 จึงต้องรับผิดชำระราคา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีอากรและการประเมินอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย
กรมศุลกากรจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร เพื่องดการนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาลแต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำการประเมินอากรที่โจทก์ต้องเสียและออกแบบแจ้งการประเมินอากรไปยังโจทก์เพื่อให้โจทก์นำเงินค่าอากรมาชำระตามพระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ.2496 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ในส่วนของค่าปรับที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์นำเงินไปชำระนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่ามีการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับพระราชบัญญัติศุลกากรฯ ถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับไปได้ตามมาตรา 102 และมาตรา 102 ทวิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้วหากโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับได้ เพียงแต่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีศุลกากร: การประเมินอากรและการเปรียบเทียบปรับ
กรมศุลกากรจำเลยมีหนังสือแจ้งให้โจทก์ไปทำความตกลงระงับคดีในชั้นศุลกากร เพื่องดการนำคดีมาฟ้องร้องต่อศาล แต่ไม่ปรากฏว่าพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้ทำการประเมินอากรที่โจทก์ต้องเสียและออกแบบแจ้งการประเมินอากรไปยังโจทก์เพื่อให้โจทก์นำเงินค่าอากรมาชำระตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2496 มาตรา 112 ทวิ วรรคหนึ่ง กรณียังไม่อาจถือได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์แล้ว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
ในส่วนของค่าปรับที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์นำเงินไปชำระนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่ามีการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามมาตรา 102 และมาตรา 102 ทวิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว หากโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับได้ เพียงแต่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยแต่อย่างใด
ในส่วนของค่าปรับที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยแจ้งให้โจทก์นำเงินไปชำระนั้น เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยตรวจพบว่ามีการกระทำผิดทางอาญาเกี่ยวกับ พ.ร.บ.ศุลกากรฯ ถ้าโจทก์ยอมเสียค่าปรับตามคำเปรียบเทียบก็ย่อมทำให้คดีอาญาระงับไปได้ ตามมาตรา 102 และมาตรา 102 ทวิ ซึ่งเป็นการปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายและระเบียบได้ให้อำนาจไว้โดยชอบแล้ว หากโจทก์ไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ จำเลยก็ไม่มีอำนาจบังคับได้ เพียงแต่ส่งเรื่องให้พนักงานสอบสวนดำเนินการต่อไป จึงไม่มีเหตุจะเพิกถอนคำสั่งของจำเลยแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4082/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดศุลกากรฐานหลีกเลี่ยงอากรและสำแดงเท็จเป็นความผิดต่างกรรมกัน การเปรียบเทียบปรับต้องทำก่อนฟ้องจึงมีผลระงับคดี
ความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ฐานหลีกเลี่ยงอากร กับมาตรา 99 ฐานสำแดงเท็จ เป็นความผิดต่างกรรมกัน คดีอาญาจะเลิกกันตาม ป.วิ.อ. มาตรา 37(4) โดยการเปรียบเทียบคดี ตาม พ.ร.บ. ศุลกากร มาตรา 102,102 ทวิ ก็ต่อเมื่อบุคคล ผู้กระทำความผิดตกลงยินยอมและใช้ค่าปรับก่อนถูกฟ้องเท่านั้น.