พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ กรมสรรพากรเจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 25,49 เท่านั้น ไม่ได้ทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5504/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนี้สูญ การเพิกถอนนิติกรรมเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้จากการกระทำที่ทำให้ทรัพย์สินลดลง
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนได้ชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนจะต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่ม และหนี้ภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วนไว้ในปีใดก็เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในปีนั้น ไม่ใช่หนี้จะเกิดมีขึ้นในปีที่มีการแจ้งประเมิน การโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโอนไปโดยรู้อยู่ว่าตนมีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องชำระ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ได้ การทำนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 สมคบกับจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์สามารถที่จะนำเอาทรัพย์ที่รับโอนมานั้นบังคับชำระหนี้ได้ แต่จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทแปลงหนึ่งจากจำเลยที่ 5 ไม่ได้รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้จำเลยที่ 5 เป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงไม่อาจจะเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 6 ได้ โจทก์คงมีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทสามแปลงที่เหลือเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5504/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนทรัพย์สินหนีหนี้ภาษี: เพิกถอนนิติกรรมได้หากโอนโดยรู้หนี้และเจตนาทำให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ
จำเลยที่ 1 รู้อยู่แล้วว่าตนได้ชำระภาษีอากรไว้ไม่ครบถ้วนจะต้องถูกประเมินเรียกเก็บภาษีอากรเพิ่ม และหนี้ภาษีอากรที่ชำระไม่ครบถ้วนไว้ในปีใดก็เป็นหนี้ที่มีอยู่แล้วในปีนั้น ไม่ใช่หนี้จะเกิดมีขึ้นในปีที่มีการแจ้งประเมิน การโอนที่ดินพิพาททั้งสี่แปลงของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการโอนไปโดยรู้อยู่ว่าตนมีหนี้ภาษีอากรที่จะต้องชำระ และจำเลยที่ 1 ไม่มีทรัพย์สินอื่นที่จะนำมาชำระหนี้ภาษีอากรให้แก่โจทก์ได้ การทำนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาททั้งหมดของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการกระทำโดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 สมคบกับจำเลยที่ 1 เพื่อมิให้โจทก์สามารถที่จะนำเอาทรัพย์ที่รับโอนมานั้นบังคับชำระหนี้ได้ แต่จำเลยที่ 6 ผู้รับโอนที่ดินพิพาทแปลงหนึ่งจากจำเลยที่ 5 ไม่ได้รู้ถึงการที่จำเลยที่ 1 ได้โอนที่ดินแปลงนี้ให้จำเลยที่ 5 เป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ จึงไม่อาจจะเพิกถอนการโอนระหว่างจำเลยที่ 5 กับจำเลยที่ 6 ได้ โจทก์คงมีอำนาจที่จะขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทสามแปลงที่เหลือเสียได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 237.