คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 296 วรรค2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลล้มละลายเจ้าหนี้ หรือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เกี่ยวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมายมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องในคดีล้มละลายนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีจึงอยู่ภายในกำหนดเวลา14 วัน ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ไม่มีอำนาจคัดค้านการขายทอดตลาด อำนาจเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ย่อมหมดอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เนื่องจากกฎหมายบัญญัติให้อำนาจดังกล่าวตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว การที่จำเลยซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินของตนในคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22(3) จำเลยหามีอำนาจที่จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเข้ามาด้วยตนเองไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5614/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจในการคัดค้านการขายทอดตลาดหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว
ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์แล้ว ลูกหนี้ย่อมหมดอำนาจที่จะดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตนทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นในชั้นพิจารณาหรือชั้นบังคับคดี เนื่องจากกฎหมายบัญญัติให้อำนาจดังกล่าวตกเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว การที่จำเลยซึ่งถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้วร้องคัดค้านการขายทอดตลาดทรัพย์สินของตนในคดีนี้ ถือได้ว่าเป็นการต่อสู้คดีเกี่ยวกับทรัพย์สินอย่างหนึ่งตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 22(3) จำเลยหามีอำนาจที่จะร้องคัดค้านการขายทอดตลาดเข้ามาด้วยตนเองไม่.