พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกทรัพย์ แม้มีสัญญารับผิดรับใช้
โจทก์ฟ้องว่า ประมาณเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม 2542 จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเป็นเงิน202,314 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2543จำเลยที่ 2 ได้ขอเข้าทำสัญญารับผิดรับใช้กับโจทก์ ขอบังคับให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ คำฟ้องของโจทก์มีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าเป็นข้อสำคัญ ซึ่งโจทก์จะต้องบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักยอกเงินและสินค้าไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใดจำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด แม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญารับผิดรับใช้ด้วย แต่หนี้ตามสัญญารับผิดรับใช้ก็มีมูลฐานมาจากที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวนและความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวโดยแจ้งชัดถึงเรื่องจำเลยที่ 1ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไป จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องเคลือบคลุม: จำเป็นต้องระบุรายละเอียดการยักยอกในคำฟ้องเพื่อให้จำเลยสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ลูกจ้างโจทก์ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ทำให้โจทก์เสียหาย 202,314 บาท และจำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1ยอมรับผิดทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแทนจำเลยที่ 1 โดยตกลงผ่อนชำระเป็นรายเดือนแต่เมื่อถึงกำหนดชำระเงิน จำเลยทั้งสองเพิกเฉย ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ย จะเห็นได้ว่า คำฟ้องโจทก์มุ่งเน้นเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญซึ่งโจทก์ต้องบรรยายฟ้องให้แจ้งชัดว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใดและราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์จะต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1 ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย และแม้โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาก็ตาม แต่หนี้ตามสัญญาก็มีมูลฐานมาจากการที่โจทก์กล่าวหาจำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ ซึ่งจำเลยที่ 2 ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ถึงการมีอยู่ จำนวน และความสมบูรณ์แห่งหนี้ดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องดังกล่าว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่ชัดเจนเรื่องรายละเอียดการยักยอก ทำให้คำฟ้องเคลือบคลุม แม้ฟ้องตามสัญญา ก็ต้องระบุรายละเอียดการกระทำผิด
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็น ผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ต่อมาจำเลยทั้งสองไม่ชำระหนี้ตามสัญญา การที่โจทก์นำสัญญาดังกล่าวมาฟ้องจำเลยทั้งสองแม้เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสองรับผิดตามสัญญารับผิดรับใช้ซึ่งเป็นหนี้ที่มีกำหนดจำนวนแน่นอน มิได้ฟ้องจะให้รับผิดในมูลหนี้ละเมิด แต่คำฟ้องของโจทก์มุ่งเน้นถึงการเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้อันมีมูลฐานมาจากการที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์เป็นข้อสำคัญ ดังนั้นโจทก์จะต้องบรรยายในคำฟ้องโดยกล่าวแสดงให้แจ้งชัดว่า จำเลยที่ 1 ได้ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไปเมื่อใด เงินที่ยักยอกเป็นจำนวนเท่าใด สินค้าที่ยักยอกเป็นสินค้าประเภทใด จำนวนเท่าใด และราคาเท่าใด หรือมิฉะนั้นโจทก์ก็ต้องมีเอกสารหรือหลักฐานที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนเงินหรือรายการสินค้าที่อ้างว่าจำเลยที่ 1ยักยอกไปแนบมาท้ายฟ้องด้วย เมื่อโจทก์มิได้กล่าวแสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหากับข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาในเรื่องที่จำเลยที่ 1 ยักยอกเงินและสินค้าของโจทก์ไป คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31 เป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนลูกจ้างโดยไม่ได้รับมอบอำนาจเป็นโมฆะ
โจทก์ซึ่งเป็นสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างว่าจำเลยสั่งให้สมาชิกของโจทก์หมุนเวียนหยุดงานเป็นช่วง ๆ โดยอ้างเหตุจำเป็นเนื่องจากประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และจ่ายค่าจ้างให้สมาชิกของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยระหว่างหยุดงานเพียงร้อยละห้าสิบของอัตราค่าจ้างปกติ การกระทำของจำเลยเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 เป็นการผิดสัญญาจ้างและเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยสมาชิกของโจทก์และโจทก์มิได้ตกลงยินยอมด้วยขอให้บังคับจำเลยจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบแก่สมาชิกของโจทก์ เป็นกรณีที่สมาชิกของโจทก์แต่ละคนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541และตามสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของสมาชิกของโจทก์โดยตรงซึ่งหากสมาชิกของโจทก์คนใดประสงค์จะฟ้องขอให้บังคับจำเลยปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานสมาชิกของโจทก์คนนั้น ก็จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 36
สมาชิกของโจทก์มิได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานเป็นผู้ฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8และมาตรา 31
สมาชิกของโจทก์มิได้เป็นโจทก์ฟ้องจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานเป็นผู้ฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8และมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: สหภาพแรงงานฟ้องแทนสมาชิกต้องได้รับมอบอำนาจชัดเจน
การฟ้องนายจ้างฐานผิดสัญญาจ้างและเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยลูกจ้างและสหภาพแรงงานมิได้ตกลง ยินยอม ขอให้บังคับนายจ้างจ่ายค่าจ้างที่ยังจ่ายขาดแก่ลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกสหภาพแรงงานนั้น เป็นกรณีที่ลูกจ้างแต่ ละคนมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และตามสัญญาจ้างกับนายจ้างโดยตรง หากลูกจ้างคนใดจะฟ้องขอให้บังคับนายจ้างปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานก็จะต้องเป็นโจทก์ฟ้องต่อศาลโดยจะดำเนินคดีด้วยตนเองหรือแต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความให้ดำเนินคดีแทน หรือจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานซึ่งตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีแทนตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 36 ก็ได้ เมื่อลูกจ้างมิได้เป็นโจทก์ฟ้องนายจ้างเองและมิได้มอบอำนาจให้สหภาพแรงงานดำเนินคดีแทน สหภาพแรงงานจึงไม่มีอำนาจฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานฯ พ.ศ. 2522 มาตรา 8 และมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3971/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของสหภาพแรงงาน: สิทธิของลูกจ้างต้องเป็นผู้ฟ้องเองหรือมอบอำนาจ
สมาชิกของสหภาพแรงงานโจทก์แต่ละคนหากมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ที่จะได้รับหรือจ่ายค่าจ้างที่ยังขาดอยู่อีกร้อยละห้าสิบตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ และตามสัญญาจ้างแรงงานกับจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างของสมาชิกโจทก์สามารถบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามกฎหมายและสัญญาจ้างแรงงานได้โดยเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาล ซึ่งจะดำเนินคดีด้วยตนเองหรือจะแต่งตั้งผู้แทนหรือทนายความ หรือจะมอบอำนาจให้สหภาพแรงงานที่ตนเป็นสมาชิกดำเนินคดีแทนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 36 ก็ได้ เมื่อสมาชิกโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยและมิได้มอบอำนาจให้โจทก์ดำเนินคดีแทน แต่โจทก์ในฐานะสหภาพแรงงานฟ้องจำเลยโดยมิได้มีข้อโต้แย้งใด ๆ เกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายแพ่งกับจำเลย โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 และมาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3825/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม การพิจารณาเจตนาการกระทำ และความรับผิดของนายจ้างและบริษัท
คดีแรงงาน โจทก์หรือจำเลยอาจฟ้องหรือให้การเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาก็ได้ทั้งการดำเนินคดีควรเป็นไปโดยสะดวก ประหยัด รวดเร็ว เสมอภาค และเป็นธรรมตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ
เหตุที่จำเลยเลิกจ้างเป็นเรื่องที่โจทก์ตวาดใส่จำเลยว่า "หยิบขึ้นมาทำไม" จำเลยโกรธจึงเลิกจ้างโจทก์ ถ้อยคำดังกล่าววิญญูชนโดยทั่วไปในฐานะนายจ้างอาจไม่พอใจบ้างที่ถูกลูกจ้างกล่าวทำนองทักท้วงเช่นนั้น และนายจ้างอาจได้รับความเสียหายบ้างในด้านการบังคับบัญชา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งย่อมมีการสั่งงาน สอบถาม ถกเถียง และโต้แย้งกันเป็นปกติวิสัย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวถ้อยคำนั้นโดยมีเจตนาหรือประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายการกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ
โจทก์ฟ้อง บ. ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท อ. และบริษัท อ. ในฐานะนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ในชั้นพิจารณาจำเลยยอมรับว่าเป็นกรรมการบริษัท อ. และเป็นนายจ้าง ทั้งต่อสู้คดีโดยอ้างความผิดที่โจทก์ได้กระทำซึ่งเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย บ. กับบริษัท อ. จึงต่างเป็นนายจ้างของโจทก์และมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีนี้ด้วย และเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
เหตุที่จำเลยเลิกจ้างเป็นเรื่องที่โจทก์ตวาดใส่จำเลยว่า "หยิบขึ้นมาทำไม" จำเลยโกรธจึงเลิกจ้างโจทก์ ถ้อยคำดังกล่าววิญญูชนโดยทั่วไปในฐานะนายจ้างอาจไม่พอใจบ้างที่ถูกลูกจ้างกล่าวทำนองทักท้วงเช่นนั้น และนายจ้างอาจได้รับความเสียหายบ้างในด้านการบังคับบัญชา แต่เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในระหว่างการทำงานของนายจ้างและลูกจ้าง ซึ่งย่อมมีการสั่งงาน สอบถาม ถกเถียง และโต้แย้งกันเป็นปกติวิสัย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์กล่าวถ้อยคำนั้นโดยมีเจตนาหรือประสงค์ให้จำเลยได้รับความเสียหายการกระทำของโจทก์จึงมิใช่การจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ
โจทก์ฟ้อง บ. ในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท อ. และบริษัท อ. ในฐานะนายจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 5 ในชั้นพิจารณาจำเลยยอมรับว่าเป็นกรรมการบริษัท อ. และเป็นนายจ้าง ทั้งต่อสู้คดีโดยอ้างความผิดที่โจทก์ได้กระทำซึ่งเป็นเหตุเลิกจ้างด้วย บ. กับบริษัท อ. จึงต่างเป็นนายจ้างของโจทก์และมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีนี้ด้วย และเนื่องจากจำเลยเลิกจ้างโจทก์ในฐานะผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท อ. จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพเพื่อชำระหนี้ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมายและสิทธิลูกจ้าง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้จัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ได้จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่ธนาคารจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้นำเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เงินจำนวนดังกล่าวทั้งหมดแม้จะอยู่ในบัญชีเงินฝากของโจทก์ซึ่งถือว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์แล้ว แต่ก็ยังจำแนกได้ว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่ มิได้ปะปนกับเงินอื่นของโจทก์จนไม่อาจแยกออกได้หรือได้ใช้สอยแปรเปลี่ยนไปเป็นทรัพย์สินอื่นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หักเงินจำนวน 47,647.22บาท ซึ่งเป็นส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของโจทก์จากบัญชีเงินฝากของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1จึงขัดต่อเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 23,24 และยังเป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 จำเลยที่ 1จึงต้องคืนเงินที่หักไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชำระหนี้ขัดต่อกฎหมายและเจตนารมณ์ของกฎหมาย
พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 มาตรา 24 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 23 สิทธิเรียกร้องเงินจากกองทุนไม่อาจโอนกันได้และไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดี" การที่จำเลยที่ 1 หักเงินจำนวน 47,647.22 บาท ซึ่งเป็นส่วนของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของโจทก์จากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทกฎหมายดังกล่าว และยังเป็นการขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 346 ซึ่งบัญญัติว่า "สิทธิเรียกร้องรายใดตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนั้นจะนำไปหักกลบลบหนี้ไม่ได้" ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินที่หักไว้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชำระหนี้ขัดเจตนารมณ์กฎหมาย และประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 346
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 23 และ 24 มีเจตนารมณ์ให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดคราวเดียวโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน 30 วัน เพื่อนำไปเลี้ยงดูชีวิตตนเองและครอบครัว โดยไม่ถูกโอนหรือถูกบังคับคดีหรือถูกบังคับชำระหนี้ การที่จำเลยที่ 2 จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ ซึ่งแม้เงินดังกล่าวจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์แล้ว แต่ก็ยังจำแนกได้ว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่มิได้ปะปนกับเงินอื่นของโจทก์ จนไม่อาจแยกออกได้หรือได้ใช้สอยแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หักเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว และยังขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 ที่กำหนดว่าสิทธิเรียกร้องรายใดตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนั้นจะนำไปหักกลบลบหนี้ไม่ได้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนที่หักไว้ให้แก่โจทก์