คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
วีรพจน์ เพียรพิทักษ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3765/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพชำระหนี้ขัดเจตนารมณ์กฎหมาย และประมวลกฎหมายแพ่งฯ มาตรา 346
พระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 23 และ 24 มีเจตนารมณ์ให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพได้รับเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพทั้งหมดคราวเดียวโดยเร็วอย่างช้าไม่เกิน 30 วัน เพื่อนำไปเลี้ยงดูชีวิตตนเองและครอบครัว โดยไม่ถูกโอนหรือถูกบังคับคดีหรือถูกบังคับชำระหนี้ การที่จำเลยที่ 2 จ่ายเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแก่จำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 นำเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์ ซึ่งแม้เงินดังกล่าวจะถือว่าเป็นทรัพย์สินของโจทก์แล้ว แต่ก็ยังจำแนกได้ว่าเงินจำนวนใดเป็นเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่มิได้ปะปนกับเงินอื่นของโจทก์ จนไม่อาจแยกออกได้หรือได้ใช้สอยแปรเปลี่ยนเป็นทรัพย์สินอื่นแล้ว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 1 หักเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบอันเป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพออกจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของโจทก์เพื่อชำระหนี้จำเลยที่ 1 จึงเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าว และยังขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 346 ที่กำหนดว่าสิทธิเรียกร้องรายใดตามกฎหมายศาลจะสั่งยึดไม่ได้ สิทธิเรียกร้องนั้นจะนำไปหักกลบลบหนี้ไม่ได้ด้วย จำเลยที่ 1 จึงต้องคืนเงินจำนวนที่หักไว้ให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหภาพแรงงาน นายจ้างไม่ต้องจัดประชุมหารือ
ตามข้อบังคับสหภาพแรงงานธนาคาร อ. กำหนดว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมดซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวน คณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้ สหภาพแรงงานธนาคาร อ. มีคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่จดทะเบียนไว้ จำนวน 16 คน เมื่อการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงานเข้าร่วมประชุมจำนวน 7 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม คณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยจึงไม่ชอบจำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประชุมหารือระหว่างจำเลยกับคณะกรรมการลูกจ้างตามมาตรา 50 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3607/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างไม่ชอบด้วยข้อบังคับสหภาพแรงงานเนื่องจากองค์ประชุมไม่ครบ จึงไม่มีหน้าที่จัดประชุมหารือ
ตามข้อบังคับสหภาพแรงงานธนาคารเอเซีย ข้อ 27 กำหนดว่า การประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานจะต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของคณะกรรมการทั้งหมด ซึ่งหมายถึงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการที่จดทะเบียนไว้สหภาพแรงงานธนาคารเอเซียมีคณะกรรมการสหภาพแรงงานที่จดทะเบียนไว้ 16 คน เมื่อการประชุมคณะกรรมการสหภาพแรงงานเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการลูกจ้างมีกรรมการสหภาพแรงงานร่วมเข้าประชุมจำนวน 7 คน จึงไม่ครบองค์ประชุม คณะกรรมการลูกจ้างที่ได้รับการแต่งตั้งซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย จึงเป็นคณะกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงไม่มีหน้าที่ต้องจัดให้มีการประชุมหารือระหว่างจำเลยกับคณะกรรมการลูกจ้างตาม มาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดส่วนอัตราเงินสมทบประกันสังคม: เปรียบเทียบสวัสดิการนายจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาลนายจ้างและลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคม โดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ โดยให้คะแนน 3 ระดับ คือ 0,-1,+1 ผลลัพธ์การให้คะแนน ถ้าได้คะแนน 0 และ -1 หมายถึงนายจ้างไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบถ้าได้คะแนน +1 หมายถึงนายจ้างได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ และตามประกาศของคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วยแบ่งเป็น 9 หัวข้อ โดยใน 8 หัวข้อโจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ส่วนหัวข้อเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลนั้นตามประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉินแต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้ง แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯ สมควรได้คะแนน 0 เมื่อรวมคะแนนกับอีก 8 หัวข้อ คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคมฯโจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดส่วนอัตราเงินสมทบประกันสังคม: เปรียบเทียบสวัสดิการนายจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ประกาศคณะกรรมการประกันสังคม ฯ พ.ศ. 2534มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉินแต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้ง แต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้วถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้ อยู่ในระดับเดียวกัน ประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 สมควรได้ 0 คะแนน เมื่อรวมคะแนนกับอีกแปดหัวข้อซึ่งมีคะแนนรวมเท่ากับ 0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3540/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดหย่อนเงินสมทบประกันสังคม พิจารณาจากสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้เทียบกับประโยชน์ทดแทนตามกฎหมาย
ศาลแรงงานกลางพิพากษายกฟ้องจำเลยที่ 1 ไปแล้ว อุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขการลดส่วนอัตราเงินสมทบเกี่ยวกับประโยชน์ทดแทนกรณีประสบอันตรายหรือเจ็บปวด กรณีทุพพลภาพ กรณีคลอดบุตร และกรณีตาย พ.ศ. 2534 กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขอลดส่วนและการพิจารณาหักส่วนลดอัตราเงินสมทบที่รัฐบาล นายจ้าง และลูกจ้างจะต้องส่งเข้ากองทุนประกันสังคมโดยให้พิจารณาเปรียบเทียบระหว่างสวัสดิการที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้างกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 และตามประกาศคณะกรรมการประกันสังคมดังกล่าวได้ระบุเกี่ยวกับหลักเกณฑ์หรือปัจจัยที่ใช้พิจารณาให้คะแนนในเรื่องสวัสดิการกรณีเจ็บป่วย แบ่งเป็น 9 หัวข้อ โจทก์ได้คะแนนรวมเท่ากับ 0 ใน 8 หัวข้อ อีก 1 หัวข้อ คือ ระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลปรากฏว่า ประกาศสำนักงานประกันสังคมมีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งในกรณีฉุกเฉิน แต่ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาล ส่วนระเบียบของโจทก์ไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับจำนวนครั้งแต่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับระยะเวลาการรักษาพยาบาลถือได้ว่าสวัสดิการเกี่ยวกับระยะเวลาที่จ่ายค่ารักษาพยาบาลที่โจทก์จัดให้อยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 ได้คะแนน0 คิดเป็นคะแนนรวมทั้งสิ้นเท่ากับ 0 จึงต้องถือว่าสวัสดิการที่โจทก์จัดให้พนักงานอยู่ในระดับเดียวกับประโยชน์ทดแทนตามพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 โจทก์จึงไม่ได้รับการลดส่วนอัตราเงินสมทบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำนาญในโครงการเอื้ออาทร: จำนวนปีที่ทำงานตามข้อบังคับธนาคาร
ตามข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบำเหน็จ บำนาญ กำหนดวิธีการคำนวณ "บำนาญ" ว่า ให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 ผลลัพธ์จะเป็นบำนาญซึ่งจำเลยที่ 1 ต้องจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนข้อความว่า "จำนวนปีที่ทำงาน" หมายถึง จำนวนปีที่โจทก์ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 จริงๆ มิได้มีความหมายให้นับรวมไปจนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่ออายุครบ 60 ปีด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ย่อมไม่มีเวลาทำงานกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มี "ปีที่ทำงาน" ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังกล่าว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2505 เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 โจทก์มีอายุการทำงาน 33 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวให้นับอายุการทำงานเป็นเวลา 34 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 คำนวณบำนาญโดยนำเงินเดือนเดือนสุดท้ายของโจทก์คูณด้วย 34 ซึ่งเป็นจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 จึงเป็นการคิดคำนวณบำนาญตามระเบียบของธนาคารตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการเอื้ออาทรน้องพี่และถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ บำนาญแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3379/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณบำนาญกรณีลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่ ต้องคำนวณจากระยะเวลาทำงานจริงตามข้อบังคับ
ตามข้อบังคับว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการปฏิบัติงานของธนาคารกรุงเทพ ฯ พาณิชย์การ จำกัด ฉบับที่ 2 ว่าด้วยเรื่องบำเหน็จ บำนาญ กำหนดวิธีการคำนวณ "บำนาญ" ว่า ให้นำเงินเดือนเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 ผลลัพธ์จะเป็นบำนาญซึ่งจำเลยที่ 1 จะต้องจ่ายให้แก่พนักงานเป็นรายเดือนตลอดชีวิต ส่วนข้อความว่า "จำนวนปีที่ทำงาน" หมายถึง จำนวนปีที่โจทก์ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 จริง ๆ มิได้มีความหมายให้นับรวมไปจนถึงวันที่โจทก์เกษียณอายุและพ้นจากตำแหน่งหน้าที่เมื่ออายุครบ 60 ปีด้วย เมื่อจำเลยที่ 1 อนุมัติให้โจทก์ลาออกตามโครงการเอื้ออาทรน้องพี่มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2539 แล้วโจทก์ก็ไม่ได้ทำงานกับจำเลยที่ 1 อีกต่อไป ย่อมไม่มีเวลาทำงานกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มี "ปีที่ทำงาน" ตามที่กำหนดในข้อบังคับดังกล่าว โจทก์เข้าทำงานเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2505 เมื่อนับถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2538 โจทก์มีอายุการทำงาน 33 ปี 8 เดือนเศษ ซึ่งตามข้อบังคับดังกล่าวให้นับอายุการทำงานเศษของปีที่เกิน 6 เดือน ให้นับเป็น 1 ปี เพราะฉะนั้นโจทก์จึงมีอายุการทำงาน 34 ปี เมื่อจำเลยที่ 1 คำนวณบำนาญโดยนำเงินเดือนเดือนสุดท้ายของโจทก์คูณด้วย 34 ซึ่งเป็นจำนวนปีที่ทำงานแล้วหารด้วย 50 จึงเป็นการคิดคำนวณบำนาญตามระเบียบของธนาคารตรงตามที่กำหนดไว้ในโครงการเอื้ออาทรน้องพี่และถูกต้องตามข้อบังคับว่าด้วยเงินบำเหน็จ บำนาญแล้ว จำเลยที่ 1 ไม่ได้คิดเงินบำนาญให้โจทก์ขาดไปแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างฟ้องเรียกค่าเสียหายจากทายาทลูกจ้างได้ต่อเมื่อนายจ้างชดใช้ค่าเสียหายให้บุคคลภายนอกแล้ว
นายจ้างจะเรียกให้ลูกจ้างชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ลูกจ้างก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ นายจ้างจะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปแล้ว จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนดังกล่าวคืนจากลูกจ้างได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 426 นายบุญธรรมผู้ตายเป็นลูกจ้างโจทก์ขับรถส่งสินค้าโดยประมาท ทำให้ทรัพย์สินบุคคลภายนอกเสียหาย ศาลพิพากษาให้โจทก์และผู้ตายใช้ค่าเสียหาย เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ตามคำพิพากษาให้แก่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งเป็นผู้เสียหาย โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสามในฐานะทายาทของผู้ตายชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3373/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากลูกจ้าง/ทายาท: ต้องชำระหนี้ให้เจ้าหนี้ก่อน จึงมีสิทธิไล่เบี้ย
โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างของ บ.ผู้ตายจะเรียกให้ บ. ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่ บ. ก่อให้เกิดขึ้นแก่บุคคลภายนอกในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างได้ โจทก์จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่บุคคลภายนอกไปนั้น จึงจะมีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ชดใช้แก่บุคคลภายนอกไปแล้วคืนจากลูกจ้างได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 426 เมื่อโจทก์ยังไม่ได้ชำระหนี้ให้แก่บุคคลภายนอก โจทก์จึงยังไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยในฐานะทายาทของ บ. ชดใช้หนี้ดังกล่าวให้แก่โจทก์
of 25