พบผลลัพธ์ทั้งหมด 241 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2782/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สหกรณ์แสวงหากำไร: การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองแรงงานกรณีจ้างงานเกิน 2 ปี และสิทธิค่าชดเชย
สหกรณ์จำเลยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมฐานะทางเศรษฐกิจของสมาชิกโดยร่วมกันดำเนินธุรกิจเพื่อประโยชน์ด้วยกัน โดยสมาชิกในฐานะผู้ถือหุ้นร่วมลงหุ้นและรับฝากเงินจากสมาชิกแล้วนำมาให้สมาชิกกู้โดยคิดดอกเบี้ย หากมีเงินทุนเหลือก็จะนำไปให้สหกรณ์อื่นกู้ จำเลยมีรายได้เป็นค่าธรรมเนียมจากการเข้าเป็นสมาชิกและดอกเบี้ยจากการให้สมาชิกและสหกรณ์อื่นกู้ยืม เมื่อมีกำไรก็จัดสรรเป็นเงินทุนสำรอง ค่าบำรุงสันนิบาตสหกรณ์และจ่ายเป็นผลตอบแทนให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืนกับจ่ายเป็นเงินโบนัสแก่กรรมการและเจ้าหน้าที่อันเป็นการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจจำเลยจึงมิใช่นายจ้างซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานที่มิได้แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ตามข้อ (3) แห่งกฎกระทรวงฯ ซึ่งออกตามความในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯจึงต้องนำมาตรา 118 แห่งพระราชบัญญัตินี้ มาใช้บังคับแก่จำเลย เมื่องานที่จำเลยจ้างโจทก์มิใช่การจ้างในโครงการเฉพาะที่มิใช่ปกติทางธุรกิจ มิใช่งานตามฤดูกาล แต่เป็นการทำงานตามปกติธุรกิจของจำเลย แม้การจ้างงานระหว่างโจทก์กับจำเลยจะเป็นการจ้างงานที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นโจทก์ก็มิใช่ลูกจ้างที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 118 วรรคสามและวรรคสี่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์ซึ่งทำงานมาแล้ว 2 ปี จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันตามมาตรา 118(2) พร้อมดอกเบี้ย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2702/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมและการหักกลบลบหนี้ระหว่างนายจ้างลูกจ้าง
จำเลยอ้างว่าโจทก์ขาดคุณสมบัติของการเป็นพนักงานตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยว่าด้วยวินัยของพนักงาน แต่ระเบียบข้อบังคับฯที่จำเลยอ้างดังกล่าว มิใช่คุณสมบัติของการเป็นพนักงาน และหากเป็นข้อกำหนดวินัยในการทำงานก็มิได้ระบุเรื่องการมีภาระหนี้สินของพนักงานไว้โดยตรง จำเลยจึงไม่อาจยกเหตุการมีภาระหนี้สินของโจทก์มาปรับเข้ากับเรื่องวินัยในการทำงานและถือว่าเป็นการขาดคุณสมบัติของการเป็นพนักงานได้ ทั้งภาระหนี้สินของโจทก์ดังกล่าวก็เป็นกรณีที่โจทก์เป็นหนี้จำเลยเพียงรายเดียว และเป็นหนี้ที่จำเลยเองเป็นผู้พิจารณาให้โจทก์กู้ยืม จำเลยเลิกจ้างโจทก์ด้วยเหตุดังกล่าว จึงเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์เป็นหนี้เงินกู้ยืมจำเลยและศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยเป็นหนี้ต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง โจทก์และจำเลยจึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นหนี้เงินอย่างเดียวกันและหนี้ของโจทก์และจำเลยถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็สามารถนำหนี้ของตนเองมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341
โจทก์เป็นหนี้เงินกู้ยืมจำเลยและศาลมีคำพิพากษาให้โจทก์ชำระหนี้แก่จำเลยแล้ว ส่วนจำเลยเป็นหนี้ต้องชำระเงินแก่โจทก์ตามคำพิพากษาของศาลแรงงานกลาง โจทก์และจำเลยจึงต่างมีความผูกพันซึ่งกันและกันโดยมูลหนี้อันมีวัตถุเป็นหนี้เงินอย่างเดียวกันและหนี้ของโจทก์และจำเลยถึงกำหนดชำระแล้ว จำเลยก็สามารถนำหนี้ของตนเองมาหักกลบลบหนี้กับหนี้ของโจทก์ได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681-2683/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเรื่องโบนัส ไม่ขัดมติคณะรัฐมนตรีและ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
มติคณะรัฐมนตรีที่ยกเว้นให้จำเลยไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงาน โดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลย อันมีผลทำให้สภาพการจ้างเดิมในเรื่องดังกล่าวยังคงใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น มิได้ห้ามไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง จำเลยจึงสามารถดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสพนักงานได้ ไม่ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัส มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากเดิมได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และเงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ นายจ้างสามารถออกประกาศเพื่อนำไปสู่ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสได้
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัส มิได้เกิดจากข้อเรียกร้องของนายจ้างหรือลูกจ้าง จึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงให้แตกต่างไปจากเดิมได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน และเงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างต้องจ่ายตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ นายจ้างสามารถออกประกาศเพื่อนำไปสู่ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2681-2683/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเรื่องโบนัสและการยินยอมของลูกจ้าง การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
มติคณะรัฐมนตรีที่ยกเว้นให้จำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบของทางราชการในเรื่องเงินเดือน สวัสดิการและผลประโยชน์ค่าตอบแทนของพนักงานโดยให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และหรือเงื่อนไขในการจ้างเดิมของจำเลย มีผลทำให้สภาพการจ้างเดิมในเรื่องดังกล่าวยังคงใช้บังคับกันต่อไปได้เท่านั้น มิได้ห้ามไม่ให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลง จำเลยจึงสามารถดำเนินการให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเดิมเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสพนักงานได้ ไม่ขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสมิได้เกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากข้อตกลงเดิมได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและเงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงสามารถออกประกาศเพื่อนำไปสู่ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสกับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 13
โจทก์ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยระงับการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2542 แต่ให้จ่ายเป็นค่าครองชีพจำนวน 0.5 เท่าของเงินเดือน ตามประกาศของจำเลยแทน จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างให้มีผลแตกต่างไปจากข้อตกลงเดิมโดยระงับการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 และปี 2542 ซึ่งสามารถกระทำได้และขณะนั้นจำเลยยังมิได้จ่ายเงินโบนัสประจำปีดังกล่าวให้แก่พนักงานจึงมีผลใช้บังคับ ไม่เป็นการย้อนหลังจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 และปี 2542 ให้โจทก์
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างเรื่องการจ่ายเงินโบนัสมิได้เกิดจากข้อเรียกร้องจึงไม่อยู่ในบังคับของมาตรา 20 แห่งพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518นายจ้างและลูกจ้างย่อมมีสิทธิทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงให้มีผลบังคับแตกต่างไปจากข้อตกลงเดิมได้เท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานและเงินโบนัสเป็นเงินที่นายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างนอกเหนือไปจากที่นายจ้างจะต้องจ่ายตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มิได้มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างจึงสามารถออกประกาศเพื่อนำไปสู่ข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินโบนัสกับโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อมาตรา 13
โจทก์ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยระงับการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2542 แต่ให้จ่ายเป็นค่าครองชีพจำนวน 0.5 เท่าของเงินเดือน ตามประกาศของจำเลยแทน จึงเป็นกรณีที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างและโจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างทำข้อตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างให้มีผลแตกต่างไปจากข้อตกลงเดิมโดยระงับการจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 และปี 2542 ซึ่งสามารถกระทำได้และขณะนั้นจำเลยยังมิได้จ่ายเงินโบนัสประจำปีดังกล่าวให้แก่พนักงานจึงมีผลใช้บังคับ ไม่เป็นการย้อนหลังจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายเงินโบนัสประจำปี 2541 และปี 2542 ให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การละทิ้งหน้าที่งานเพื่อทำธุรกิจส่วนตัวถือเป็นเหตุให้จำเลยเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาขออนุญาตหยุดงานเป็นเวลา 4 วัน ติดต่อกัน แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาต โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานให้แก่จำเลยในวันและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย เมื่อโจทก์ไม่มาทำงานแต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชาเพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลาหยุดโดยไม่ได้รับอนุญาตและการละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำงานในวันทำงานและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย แม้โจทก์จะยื่นใบลาต่อจำเลยขออนุญาตหยุดงานในวันที่ 9 ถึง11 ตุลาคม 2543 แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาตโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานในวันและเวลาทำงานดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่มาทำงาน แต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชา เพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ข้อตกลงสภาพการจ้างไม่อาจใช้แปลความสัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันอ้างมีข้อความเกี่ยวกับการจ้างจำเลยที่ 1 เข้าทดลองงานเท่านั้น ไม่มีข้อความใดเกี่ยวพันกับสัญญาค้ำประกันที่จะนำมาแปลความหมายในสัญญาค้ำประกันได้ ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพื่อให้นำมาพิจารณาประกอบสัญญาค้ำประกัน หรืออ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าจำเลยมีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น ล้วนแต่เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญา ค้ำประกันอีก ซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การขยายความรับผิดเกินกว่าที่ตกลงกัน และข้อจำกัดการนำสืบพยานเพิ่มเติม
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 อ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าโจทก์มีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญาค้ำประกันนั้นอยู่อีก จึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้าง: การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ต้องประเมินตามพจนานุกรมและความเสียหายที่เกิดขึ้น
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119(1) มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 1(1) จึงต้องให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่วโกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้างการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้างการที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทนก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลยก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556-2557/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างรายเดือน การกระทำทุจริตต่อหน้าที่ต้องพิจารณาตามความหมายของพจนานุกรมและข้อเท็จจริงโดยรวม
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 (1) มิได้ให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ไว้ และมิได้ใช้คำว่า "โดยทุจริต"ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 1 (1) จึงต้องให้ความหมายคำว่า "ทุจริต" ตามพจนานุกรมคือ ความประพฤติชั่ว โกง ไม่ซื่อตรง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง
โจทก์ทั้งสองเป็นลูกจ้างรายเดือน ลักษณะการจ้างมิได้ถือเอาการทำงานในแต่ละวันเป็นเกณฑ์ในการจ่ายค่าจ้าง การที่โจทก์ทั้งสองละทิ้งหน้าที่ไปเล่นเกมส์คอมพิวเตอร์ในวันเกิดเหตุระหว่างเวลาทำงานเพียงชั่วขณะไม่ทำให้โจทก์ทั้งสองได้รับประโยชน์เพิ่ม แม้การกระทำของโจทก์ทั้งสองเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงการทำงานไปบ้าง และเป็นผลให้จำเลยต้องจ่ายค่าจ้างโดยไม่ได้รับประโยชน์จากการทำงานเป็นการตอบแทน ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองกระทำทุจริตต่อหน้าที่ หรือจงใจทำให้จำเลยได้รับความเสียหาย
โจทก์ทั้งสองไม่เคยถูกตักเตือนมาก่อน ทั้งข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ก็มิได้ระบุว่า การละทิ้งหน้าที่หรือหลีกเลี่ยงการทำงานเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานกรณีร้ายแรง จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของนายจ้างกรณีร้ายแรง การที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสอง จำเลยต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์ทั้งสอง